ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

6.ท่านพระนาลกะ (มหาสาวก)


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 3 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 23 January 2006 - 08:27 PM

6.ท่านพระนาลกะ

[attachmentid=1468]

พระนาลกะเป็นลูกของน้องสาว อสิตะดาบส หรือกาฬเทวิลดาบส ที่อาศัยอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าประสูติใหม่ๆ กาฬเทวิลดาบส ได้เห็นลักษณะมหาบุรุษ32ประการของพระพุทธเจ้า ถูกต้องตามตำราของพราหมณ์ว่า หากออกบวชจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จึงได้แนะนำให้ท่านนาลกะผู้เป็นหลานชาย ออกบวชประพฤติพรตตามลัทธิของพราหมณ์เพื่อคอยเจ้าชายสิทธัตถะออกบวช ท่านนาลกะก็ทำตามคำแนะนำของกาฬเทวิลดาบส
อุปสมบถ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกบวชแล้วได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วท่านนาลกะได้ทราบข่าว จึงไปเข้าเฝ้ากราบพระพุทธเจ้า เพื่อทูลถามปัญหาโมไนย* พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสตอบว่า พึงทำจิตให้เสมอในสัตว์ทั้งปวงโดยเท่ากัน อย่าโกรธ อย่าโทมนัสขัดเขืองเมื่อถูกบริภาษ เมื่อพระองค์ทรงตรัสจบ ท่านนาลกะจึงบังเกิดความเลื่อมใสพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทูลขอบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัย

บรรลุมรรคผล ครั้นบวชแล้ว พระนาลกะได้ทูลลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปอยู่ในป่า อุตสาหะทำความเพียรในโมไนยอย่างอุกฤษฎ์ ไม่ทำความสนิทสนมกับชาวบ้าน ไม่ติดในบุคคลและสถานที่อยู่ เป็นผู้มักน้อยในการเห็น เป็นผู้มักน้อยในการฟัง เป็นผู้มักน้อยในการถาม ท่านบำเพ็ญสมณะธรรมอยู่ ในไม่ช้า ท่านก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ และเป็นธรรมเนียมของผู้ปฏิบัติโมไนยอย่างอุกฤษฎ์เป็นอย่างสูง ใน ศาสนา ของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ จะมีพระสาวกผู้บำเพ็ญโมไนยเช่นนี้เพียงองค์เดียวเท่านั้น
ดับขันธปรินพพาน เพราะฉะนั้นในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นามว่า “สมณโคดม” พระนาลกะถือว่าเป็นผู้บำเพ็ญเพียรโมไนยปฏิบัติอย่างอุกฤษฎ์ นับตั้งแต่วันที่ท่านได้บรรลุเป็นพระอรหันต์เป็นต้นมา ท่านดำรงอายุสังขารอยู่เพียงแค่ 7 เดือนเท่านั้น ก็ ดับขันธปรินิพพาน ในอิริยาบถยืนเฉพาะพระพักตร์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

*โมไนยะ (โม-ไน-ยะ)หมายถึง ความเป็นมุนี ความเป็นนักปราชญ์ คุณธรรมของนักปราชญ์ ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี ในเรื่องราวของท่านที่ปรากฏอยู่ในที่ต่างๆ กล่าวว่าท่านดำรงอยู่ในตำแหน่งเอตทัคคะด้วย คือ เป็นยอดเยี่ยมกว่าภิกษุทั้งหลาย ในด้านการประพฤติ โมไนยปฏิบัติ แต่ในเอตทัคคะในบาลีไม่ปรากฏ จึงไม่ได้กล่าวไว้ในประวัติของท่าน


สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพพะยาปัชฌา อะนีฆา สุขีอัตตานัง ปะริหะรันตุ.
ด้วยผลบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำนี้ ขอให้เจ้ากรรมนายเวร พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ตลอดจนวงศาคณาญาติทั้งหลาย ทั้งอดีตและปัจจุบัน และผู้ที่อาศัยอยู่ทั้ง 4โลก อันได้แก่ มนุษย์ นรก บาดาล สวรรค์ จงมีส่วนบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำด้วยเทอญ

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  646.jpg   4.62K   22 ดาวน์โหลด


#2 extra

extra
  • Members
  • 409 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 January 2006 - 09:37 PM

สาธุค่ะ happy.gif

#3 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 January 2006 - 10:08 PM

ชื่อพระนาลกะผมค้นคว้าไม่ปรากฎในพระไตรปิฏก ผู้รู้ท่านใดทราบช่วยบอกหน่อยครับ
ท่านเป็นองค์เดียวกับ พระนารทะ หรือไม่?


ว่าด้วยโมไนยธรรม

[๒๐๗] คำว่า เพราะฉะนั้น มุนีทั้งหลายผู้เห็นความปลอดโปร่ง ละซึ่งความยึดถือได้
เที่ยวไปแล้ว มีความว่า คำว่า เพราะฉะนั้น ได้แก่ เพราะเหตุนั้น เพราะการณ์นั้น เพราะ
เหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น คือ เห็นโทษนั้นในวัตถุที่ยึดถือว่าของเราทั้งหลาย
เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เพราะฉะนั้น.
คำว่า มุนีทั้งหลาย มีความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ
ได้แก่ ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ ชนทั้งหลายประกอบ
แล้วด้วยญาณนั้น ชื่อว่ามุนี คือ ผู้ถึงแล้วซึ่งญาณชื่อว่าโมนะ. โมไนยยะ (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี)

มี ๓ ประการคือ โมไนยธรรมทางกาย ๑ โมไนยธรรมทางวาจา ๑ โมไนยธรรมทางใจ ๑.

โมไนยธรรมทางกายเป็นไฉน? การละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมไนยธรรมทางกาย
กายสุจริต ๓ อย่าง ญาณมีกายเป็นอารมณ์ การกำหนดรู้กาย มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การ
ละฉันทราคะในกาย นี้ชื่อว่า โมไนยธรรมทางกาย.


โมไนยธรรมทางวาจาเป็นไฉน? การละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโมไนยธรรมทางวาจา.
วจีสุจริต ๔ อย่าง ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ การกำหนดรู้วาจา มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การ
ละฉันทราคะในวาจา ความดับแห่งวจีสังขาร ความบรรลุทุติยฌาน ชื่อว่าโมไนยธรรมทางวาจา นี้
ชื่อว่าโมไนยธรรมทางวาจา


โมไนยธรรมทางใจเป็นไฉน? การละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมไนยธรรมทางใจ. มโน
สุจริต ๓ อย่าง ญาณมีจิตเป็นอารมณ์ การกำหนดรู้จิต มรรคอันสหรคตด้วยปริญญา การละ
ฉันทราคะในใจ ความดับแห่งจิตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ชื่อว่าโมไนยธรรมทางจิต นี้
ชื่อว่าโมไนยธรรมทางใจ
. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

บัณฑิตทั้งหลาย ได้กล่าวมุนีผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็น
มุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยธรรมที่ทำให้เป็นมุนี
เป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง บัณฑิตทั้งหลายได้กล่าวมุนีผู้เป็นมุนีทางกาย เป็น
มุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ หาอาสวะมิได้ว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี เป็นผู้มีบาปอันล้างเสียแล้ว ฯลฯ

ที่มา : เล่ม 29 พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส


#4 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 17 March 2007 - 04:14 PM

สาธุ