ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

การอุทิศส่วนกุศล


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ใยไหม

ใยไหม
  • Members
  • 4 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 December 2009 - 09:04 AM

เนื่องจากไหมเป็นคนที่ใส่บาตรตอนเช้า แต่ไม่มีเวลาหรือว่าที่ทางที่จะสะดวกสำหรับกรวดน้ำอุทิศแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับ

เลยทำให้แทบจะไม่เคยกรวดน้ำเลย แต่ก็พยายามตั้งจิตอธิษฐานแผ่ส่วนกุศลแทน ไม่ทราบว่าบุญที่เราทำนั้นและได้แผ่ทางจิตไปแล้ว

ทางผู้ล่วงลับท่านจะได้รับบุญที่เราทำให้หรือไม่ค่ะ

#2 เด็กผู้น้อย

เด็กผู้น้อย
  • Members
  • 436 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 December 2009 - 09:45 AM

อย่างน้อยเราได้บุญอยู่แล้วครับ ส่วนเราอุทิศให้เขาจะได้ไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเขาอยู่ในฐานะรับได้หรือไหมซึ่งมันเป็นรายละเอียดปลีกย่อยครับ แต่ก็อุทิศไปก่อนเถอะหากเขายังรับไม่ได้ทันทีบุญที่เราอุทิศไปให้ก็จะไปรอส่งผลอยู่ดีครับผม

#3 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 24 December 2009 - 10:32 AM

การอุทิศบุญนั้น ปัจจัยที่จะทำให้ผู้รับได้รับบุญก็มีอยู่ 2 ปัจจัยหลักๆ น่ะครับ คือ

1. ทำบุญถูกเนื้อนำบุญ แ้ล้วอุทิศบุญให้ จะมีกำลังบุญมากน่ะครับ ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าอชาติศัตรู ขณะกำลังทอดพระเนตรวิวอยู่ที่ชั้นบนของปราสาท ระหว่างนั้น พระองค์ได้เห็นเปรตมีฤทธิ์ตนหนึ่งกำลังเหาะผ่านมา พระองค์ได้ถามเปรตถึงที่มาที่ไป จึงได้ทรงทราบว่า เปรตตนนี้ได้ทราบข่าวว่า ญาติกำลังจะทำบุญอุทิศให้ จึงเหาะไปจะไปรับบุญ พระเจ้าอชาติศัตรูได้ฟัง ก็บอกให้เปรตมาบอกผลด้วยว่าได้รับบุญหรือไม่

ต่อมา เปรตได้เหาะมาบอกพระเจ้าอชาติศัตรูว่า ตนไม่ได้รับบุญเลย เพราะญาติทำบุญให้กับพวกนักบวชนอกพุทธศาสนา พระเจ้าอชาติศัตรูถามว่า แล้วทำอย่างไรเปรตถึงจะได้รับบุญล่ะ เปรตบอกว่า ต้องทำบุญกับพระในพระพุทธศาสนา พระเจ้าอชาติศตรูจึงบอกว่า เดี๋ยวจะช่วยเปรตเอง วันพรุ่งนี้ท่านจะนิมนต์พระสงฆ์มาฉันภัตตาหาร แล้วจะอุทิศบุญให้ ขอให้เปรตนั้นมารับบุญด้วย

พอวันต่อมา พระองค์ก็ได้ทำบุญนั้นไปจริงๆ ตกเย็น เทพบุตรตนหนึ่งได้เหาะผ่านมา บอกกับพระเจ้าอชาติศัตรูว่า ตนคือ อดีตเปรตตนนั้น ได้รับบุญจากพระเจ้าอชาติศัตรูแล้ว ขอบคุณที่อุทิศบุญให้ พระเจ้าอชาติศัตรูอัศจรรย์ใจยิ่งนักในผลบุญนี้

2. ผู้รับอยู่ในฐานะที่พร้อมจะรับบุญ เช่น ไม่ได้ตกนรกชั้นลึกๆ หรือ ขึ้นสวรรค์ชั้นสูงๆ มาก เป็นต้น ทำไมรับบุญไม่ได้ อุปมาคนตกนรกลึกๆ ดั่ง คนที่ติดคุกอยู่ เรานำมอเตอร์ไซด์(บุญอุทิศ)ไปให้ เขาก็ยังไม่สามารถรับได้ ต้องรอพ้นโทษก่อน
อุปมาคนขึ้นสวรรค์สูงๆ มาก เขาอาจไม่สนใจบุญอุทิศของเรา เพราะกำลังบุญของเขามีมาก ดัง เศรษฐีที่มีรถเบนซ์ขับเป็นสิับๆ คัน เรานำมอเตอร์ไซด์ไปให้เขา เขาก็ไม่สนใจน่ะครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#4 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 24 December 2009 - 09:56 PM

http://www.dmc.in.th...showtopic=17765
http://www.dmc.tv/fo....php/t7418.html
http://www.dmc.tv/fo...php/t16594.html
http://www.dmc.tv/fo...showtopic=21233
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#5 ศิษย์มีครู

ศิษย์มีครู
  • Members
  • 144 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 December 2009 - 08:46 AM

ความหมาย .-
คำว่า "กรวดน้ำ" นี้ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ให้คำจำกัดความไว้ว่า
"แผ่ส่วนบุญด้วยวิธีหลั่งน้ำ" การกรวดน้ำแผ่สว่นบุญนั้น สรุปแล้วมีอยู่ ๔ ประการ คือ
๑.กรวดน้ำตัดขาดจากกัน
๒.กรวดน้ำยกกรรมสิทธิ์ให้
๓.กรวดน้ำตั้งความปรารถนา
๔.กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศล

.๑. การหลั่งน้ำเพื่อตัดขาดจากกัน เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์ไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา
เป็นราชธานี ทรงตัดขาดไมตรีกับพม่า เพื่อประกาศอิสรภาพเมื่อเมืองแครง เมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๗ โดยวิธีหลั่งน้ำลง เหนือแผ่นดิน

๒.การหลั่งน้ำยกกรรมสิทธิ์ให้ครอบครอง เช่น เมื่อคราวที่สมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้พระอนุตตร
สัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จไปสู่กรุงราชคฤห์ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยราชบริพาร
ให้เลื่อมใสและได้ถวายวัดเวฬุวันเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นที่ประทับของพระบรมศาสดาเพราะ
ทรงเห็นว่าป่าไม้ไผ่ ที่เรียกว่า "พระราชอุทยานเวฬุวัน" เป็นที่ไม่ใกล้ ไม่ไกลจากชุมชนนัก สมควรเป็นที่อยู่ของสมณะได้

๓.การหลั่งน้ำตั้งความปรารถนา เพื่อให้สำเร็จผลที่ประสงค์ พึงเห็นตัวอย่างในมหาเวสสันดรชาดก
๔.การหลั่งน้ำแผ่กุศล พึงเห้นอุทาหรณ์ เช่น พระเจ้าพิมพิสารทรงถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประธาน เพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้บรรดาเปรตซึ่งเป็นพระญาติในชาติก่อนปรากฏ ในมังคลัตถทีปนีคัมภีร์ในพระพุทธ
ศาสนาว่า "เมื่อพระราชาทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก ทรงอุทิศส่วนกุศลว่า อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ ขอทานนี้(บุญนี้) จงสำเร็จ
แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า" วิธีนี้เป็นการแผ่ส่วนกุศลให้แก่ญาติทั้ง มิตรและสรรพสัตว์ได้ ชื่อว่าเป็นปัตติทานมัย
บุญสำเร็จด้วยการแผ่ส่วนบุญ

ปัญหาชวนคิด .-
๑.ทำไมจึงต้องกรวดน้ำหลังเวลาทำบุญ แล้วจะกรวดก่อนไม่ได้หรือ ?
ตอบ.-ปัจจุบันนิยมกรวดน้ำหลังจากทำบุญถวายทานเสร็จแล้ว เพื่อประสงค์จะทำเจตนาของตนให้บริสุทธิ์ทั้ง ๓
กาล คือ ๑.ในกาลก่อนให้ ซึ่งเรียกว่า ปุพพเจตนา เจตนาก่อนให้ ๒.ในกาลที่กำลังให้ เรียบกว่า มุญจนเจตนา เจตนาขณะให้ ๓.อปราปรเจตนา เจตนาต่อ ๆ ไปหลังจากให้ทานแล้ว

๒.จะหลั่งน้ำกรวด เวลาไหน ? หยุดเวลาไหน ?
ตอบ.-การหลั่งน้ำกรวด ควรหลั่งในเวลาที่พระเถระผู้เป็นประธานเริ่มอนุโมทนาว่า "ยถา วาริวหา..." ก็เริ่ม
หลั่งน้ำลงในภาชนะคือขันน้ำ หรือแก้วน้ำ ที่เตรียมไว้ พอพระรูปที่ ๒ รับว่า "สัพพีติโย" ก็หยุดหลั่งน้ำกรวด แล้วเทน้ำ
กรวดที่ยังเหลืออยู่นั้นลงในภาชนะที่รองรับน้ำให้หมด แล้วประณมมือรับพร

๓.ทำไมจึงต้องเทน้ำกรวดให้หมดในเวลาพระว่า ยถา จบลงและเริ่มรับสัพพี ?
ตอบ.-เพราะถือว่าเมื่อน่ำไหลไปมหาสมุทรสาครเต็มแล้ว ก็ไม่ไหลอีกต่อไป ความปรารถนาที่ตั้งไว้ก็บริบูรณ์
แล้ว ลำดับต่อไปก็ประณมมือรับพรจากพระ

๔.ทำไมจึงเทน้ำกรวดให้ไหลติดต่อกัน ไม่ให้ขาดสาย ?
ตอบ.-ความประสงค์เพื่อให้กุศลที่อุทิศไปให้ผู้ล่วงลับไปแล้วได้รับไม่ขาดระยะ ให้ติดต่อกันไป และความ
ปรารถนาก็จะได้ไม่ขาดระยะ เป็นไปโดยราบรื่น เหมือนกระแสน้ำที่ไหลไปสู่มหาสมุทรสาคร ย่อมไหลเป็นสายไม่ขาด
ระยะ หากเทน้ำให้หยดติ๋ง ๆ ขาดระยะ เปรียบเหมือนบุญกุศลที่จะได้ก็จะขาดระยะ ความปรารถนาก็จะขาดระยะ จึง
ให้เทน้ำหรือหลั่งน้ำเป็นสายเหมือนสายน้ำที่ไหลไปสู่มหาสมุมร หรือสายน้ำที่ไหลไปสู่แม่น้ำน้อยใหญ่ ฉะนั้น

๕.ทำไมจึงต้องกรวดน้ำ จะไม่กรวดได้หรือไม่ ?
ตอบ.-การกรวดน้ำ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามเอาไว้ อีกทั้งเป็นการแสดงถึงความยินดีในการบำเพ็ญกุศลที่ได้ทำไว้แล้ว และเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น เพื่อแสดงเจตนา
ของผู้กรวดน้ำ

๖.ทำไมจึงเทน้ำกรวดที่กลางแจ้ง ที่โคนต้นไม้ หรือในที่ไม่มีวัตถุสิ่งใดปกคลุม ?
ตอบ.-เพราะถือกันว่า การเทน้ำที่กรวดแล้วลงที่กลางแจ้ง เป็นที่สะอาด หรือโคนต้นไม้นั้น เพื่อต้องการ
ปลูกฝังนิสัยให้รักต้นไม้

๗.ทำไมต้องใช้น้ำกรวด จะกรวดแห้งไม่ได้หรือ ?
ตอบ.-การใช้น้ำกรวด เพราะถือตามประเพณีนิยมที่ได้ประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาแต่โบราณกาล และให้สม
กับคำอนุโมทนาของพระที่ว่า "ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนติ สาคะรัง เหมือนห้วงน้ำที่ยังมหาสมุทรสาครให้เต็มเปี่ยมฉะนั้น"
จะกรวดน้ำโดยไม่ใช้น้ำหรือที่เรียกกันว่ากรวดแห้งก็ได้ เรียกว่าปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการแผ่ส่วนบุญ ฯ

๘.ทำบุญแล้วไม่กรวดน้ำจะได้อานิสงส์หรือไม่ ?
ตอบ.-ได้ เพราะผู้ทำบุญก็ต้องได้บุญ ทำความดีก็ต้องได้ดี บุญต้องเป็นของผู้ทำบุญตลอดไป ไม่ไปไหนเสีย


๙.เวลากรวดน้ำใช้มือขวาหรือมือซ้ายกรวดน้ำ ?
ตอบ.-ควรใช้มือขวา เพราะมือขวาเป็นมือที่แสดงถึงความเคารพ เป็นการเคารพในทานที่ตนให้
และเคารพในปฏิคคาหกคือผู้รับทานจากเราด้วย การเคารพกันเขาใช้มือขวาแสดงความเคารพกันทั่วโลก เป็นสากลนิยม

๑๐.เวลาหลั่งน้ำกรวด ต้องใช้มือซ้ายรองรับน้ำหรือไม่ ?
ตอบ.-ไม่จำเป็นต้องใช้มือซ้ายรองรับน้ำกรวด เพียงแต่ใช้มือซ้ายจับภาชนะเปล่าไว้ จะจับที่ขอบปากหรือที่ตัวภาชนะ
ก็ได้ ไม่ต้องจับเลยก็ได้ ใช้แต่มือขวาจับที่กรวดน้ำ เช่น แก้วน้ำ คณโฑน้ำ หรือถ้วยน้ำอย่างเดียวก็ได้

๑๑.การกรวดน้ำจะกรวดด้วยภาษาไทยได้หรือไม่ ?
ตอบ.-การกรวดน้ำด้วยภาษาไทยเห็นว่าใช้ได้ ไม่มีอะไรขัดข้อง หรือข้อห้ามแต่ประการใดการกรวดน้ำด้วย
ภาษาอะไรนั้น ไม่สำคัญ แต่จุดสำคัญอยู่ที่การตั้งใจ ตั้งความปรารถนาดี คนเราจะได้ดีก็เพราะการตั้งจิตไว้ให้ดีเท่านั้น



ที่มาบทความจาก : http://www.geocities.com/watthasai


#6 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 25 December 2009 - 10:56 AM

เสริมจากเพื่อนกัลยาณมิตร จากข้อมูลในกระทู้เก่านะครับ

http://www.dmc.tv/fo...showtopic=15689


เรื่องเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร
ในกัปที่ ๙๒ นับจากภัทรกัปนี้
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปุสสะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
........
ฯลฯ

สรุปย่อจากพระเดชพระคุณ พระภาวนาวิริยคุณ หลวงพ่อ ทตฺตชีโว

QUOTE
วิธีกรวดน้ำและหลักเกณฑ์ต่างๆ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงแสดงให้ว่า

* ผู้ที่จะอุทิศส่วนกุศลต้องมีบุญมาก
ถ้ามีบุญน้อยก็เหมือนกับมีเศษสตางค์นั่นเอง จะแจกใครก็ไม่เต็มที่ จึงต้องทำบุญก่อน

* ผู้ที่ละโลกไปแล้วก็อยู่ในสภาพที่พอจะรับบุญได้

* ผู้รับบุญได้ตั้งใจอนุโมทนาเมื่อเวลาเจ้าของบุญเขาอุทิศส่วนกุศลให้



บทบาทของน้ำ ในพระพุทธศาสนา
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=2526

QUOTE
การกรวดน้ำมีวัตถุประสงค์หลัก ๓ ประการ
๑. เพื่อแสดงอาการให้
๒. เพื่อตั้งความปรารถนา ขอให้ผลบุญกุศลที่ได้ทำไปแล้ว เป็นปัจจัยให้ประสบความสำเร็จตามที่ตนปรารถนา
๓. เพื่ออุทิศ แบ่งปัน และให้ส่วนบุญแก่เพื่อนหรือญาติที่จากไป และแก่บรรดาสัตว์อื่น ๆ
โดยไม่เลือกหน้า เป็นวิธีการแสดงความใจกว้างในบุญ เพราะนี่ก็เป็นหนึ่งในบรรดาบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ
ที่เรียกว่า ปัตติทานมัย บุญสำเร็จได้ด้วยการแผ่แบ่งปันส่วนบุญ

ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม