ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

เนกขัมมะ บารมีคืออะไร อ่านเรื่องพระเตมีย์ใบ้แล้ว งงๆ ช่วยอธิบายด้วยครับ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 bongboo

bongboo
  • Members
  • 26 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 January 2006 - 06:03 PM

เนกขัมมะบารมีคืออะไร
การที่พระเตมีย์ใบ้แสดงตนให้ พระบิดา เห็นว่า พระองค์นั้นพิการเพื่อจะได้แสวงหาการโอกาสที่จะได้บำเพ็ญเนกขัมมะบารมี นั้น
เนกขัมมะบารมีเกิดขึ้นตอนไหน ตอนที่ ออกบวชแล้วหรือ
แล้วการที่พระเตมีย์ใบ้นั้น แสดงมาตลอดว่า พิการ ทั้งที่พระองค์ทรงแข็งแรง ไม่กระดิกแม้แขนขา นั้นผิดหรือไม่ เป็นการ ทำให้คนอื่นเข้าใจผิด นั้นผิดไหม รบกวนช่วย อธิบายที่ครับ กระผมอ่อนหัดจริงๆ

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  v13.jpg   22.61K   14 ดาวน์โหลด


#2 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 29 January 2006 - 06:36 PM

QUOTE
เนกขัมมะบารมีคืออะไร?

คือ ความดีอย่างยิ่งยวดที่สามารถก่อเกิด/พอกพูน/สั่งสมได้ โดยการบำเพ็ญตนให้มีเพศภาวะอันพรากออกจากเบญจกามคุณทั้งปวง (ประพฤติพรหมจรรย์) ครับ

QUOTE
เนกขัมมะบารมีเกิดขึ้นตอนไหน? ตอนที่พระองค์เสด็จออกผนวชแล้วหรือ?

ไม่ใช่ครับ หากแต่เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่พระราชกุมารเตมีย์ทรงมีพระดำริออกผนวชแล้วต่างหากล่ะ

QUOTE
แล้วการที่พระเตมีย์ใบ้นั้น แสดงมาตลอดว่า พิการ ทั้งที่พระองค์ทรงแข็งแรง ไม่กระดิกแม้แขนขา นั้นผิดหรือไม่ เป็นการ ทำให้คนอื่นเข้าใจผิด นั้นผิดไหม รบกวนช่วยอธิบายให้ทีครับ

ไม่ผิดครับ เนื่องจากพระราชกุมารทรงมีพระปรีชาในบุพเพนิวาสานุสสติญาณ (สามารถระลึกชาติหนหลังได้) อีกทั้งทรงเห็นว่า แต่ในอดีตเมื่อครั้งที่พระองค์ทรงเสวยชาติเป็นพระราชานั้น พระองค์เคยมีรับสั่งให้ลงทัณฑ์นักโทษประหารมาก่อนดุจเดียวกันกับพระราชบิดาของพระองค์ในชาติปัจจุบัน และด้วยเหตุแห่งอกุศลกรรมที่ได้ประกอบไว้นี้เอง ได้ฉุดคร่าพระองค์ไปสู่นิรยภูมิ (นรก) มาแล้ว ฉะนั้น การที่พระองค์ทรงแสดงพระอาการใบ้ ก็เพราะไม่ปรารถนาในราชบัลลังก์ เนื่องจากทรงเล็งเห็นว่า ในอดีตนั้น ราชสมบัตินี้เอง ที่เป็นเครื่องนำพาตัวเราไปสู่อบายภูมิ ครับ

#3 bongboo

bongboo
  • Members
  • 26 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 January 2006 - 06:46 PM

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

#4 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 January 2006 - 08:42 PM

QUOTE
เนกขัมมะบารมีคืออะไร

ตอบ ก็คือการฝึกจิตให้มั่นคงไม่หวั่นไหวในกิเลสกามเครื่องล่อใจ อันเป็นเหตุให้จิตหลงติดอยู่กับโลกหรือเพลินในการเกิด
QUOTE
เนกขัมมะบารมีเกิดขึ้นตอนไหน

ตอบ เกิดที่ใจมีใจเป็นใหญ่ครับ ในเรื่องพระเตมีย์ใบ้ พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีหลายอย่างประกอบทีเดียวคือ ขันติบารมี ใจต้องมั่นคงเหมือนแผ่นดิน ไม่น้อมไปในบาปอกุศล เครื่องล่อใจให้หลงติด หรือเพลิดเพลิน ไม่ยินร้ายหรือหวาดกลัวต่อภัยอันตรายใดๆ ใช้ความอดทนระงับใจ ยังไม่ใช่อุเบกขาบารมี เพราะยังร้อนใจแต่ทนไว้ ยังมีความอยากทางตัณหาอยู่แต่สะกดใจไว้อยู่ แต่ที่เนกขัมมะบารมีโดดเด่นก็คือตั้งแต่แรกเริ่มระลึกชาติได้เมื่อวัยเด็ก คือ จุดเริ่มต้นของเนกขัมมะบารมี ตราบใดที่ยังไม่สมปรารถนาในการบวชก็จะยอมอดทน ยอมแลกกับราชสมบัติ ความสุขในกามคุณอันโอฬาร เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งสถานเดียว หายใจเข้าก็คิดแต่จะบวช หายใจออกก็คิดแต่จะบวช พระราชาเราไม่อยากเป็นเราจะบวชลูกเดียว ไม่โลเลในการตัดสินใจแน่วแน่ ไม่ถอนถอย ไม่ยกเลิกความตั้งใจแต่วัยเด็ก มุ่งแต่จะบวชให้ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
QUOTE
แล้วการที่พระเตมีย์ใบ้นั้น แสดงมาตลอดว่า พิการ ทั้งที่พระองค์ทรงแข็งแรง ไม่กระดิกแม้แขนขา นั้นผิดหรือไม่ เป็นการ ทำให้คนอื่นเข้าใจผิด นั้นผิดไหม

ตอบ ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ท่านไม่ได้มุสา เพราะท่านไม่ได้พูด ความคิดของคนมันห้ามกันไม่ได้นานาจิตตัง เขาคิดไปเองครับ เหมือนอย่างเราพูดกับใครซักคนแล้วเขาไม่ตอบ ถ้าเราคิดไม่ดีก็อาจจะคิดว่า เอนี่หยิ่งหนิ หูหนวกหรอ บ้าหรือป่าว ฯลฯ แต่ถ้าคิดในแง่ดีก็คือ ถ้าเขาไม่ตอบแสดงว่าเขามีเหตุผลที่จะไม่ตอบในเวลานี้ และเหตุผลนั้นพระเตมีย์ก็ได้แจ้งให้บิดาได้ทราบเมื่อได้ทรงออกจากนอกเมืองเป็นผลสำเร็จแล้วครับ แสดงให้เห็นว่าเจตนาไม่ใช่บิดเบือนหรือปิดบัง แต่เพราะมีเหตุเมื่อถึงเวลาอันสมควรจึงค่อยบอกเท่านั้นเองครับ

#5 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 30 January 2006 - 06:42 PM

Splendid!!

#6 นิ่งๆ นุ่มๆ

นิ่งๆ นุ่มๆ
  • Members
  • 618 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 January 2006 - 07:29 PM

กิเลสกาม หมายถึงกามคุณทั้ง 5 ใช่ไหมคะ
อย่าทำตัวเหมือนเรือ ที่เก็บขยะในมหาสมุทร ใครเขาจะพูดอะไร จะว่าอะไรเราให้ใจขุ่น ก็อย่าไปสนใจ ปากก็ของเขา ความคิดก็ของเขา อย่าเอามาแบกไว้ เพราะสุดท้ายเรือจะล่มอยู่กลางมหาสมุทร ไปไม่รอด
น้าจี้

#7 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 30 January 2006 - 07:45 PM

ตามความเห็นของผมนะครับ คำว่า "กิเลสกาม" ไม่ได้หมายเอาเพียงแค่ "เบญจกามคุณ" แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ยังรวมความถึง กิเลสในสายของตระกูลราคะตัวอื่นๆ ด้วย อันได้แก่ *กามราคะ **รูปราคะ (ความยินดีในรูปฌาน) **อรูปราคะ (ความยินดีในอรูปฌาน) และ**ภวะราคะ (ความกำหนัดในภพ) เป็นต้น

หมายเหตุ *พระอนาคามีบุคคลสามารถละได้โดยเด็ดขาด
**พระอรหันต์เท่านั้น ที่สามารถละได้โดยเด็ดขาด


#8 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 January 2006 - 07:49 PM

ว่าด้วยกาม ๒ อย่าง

[๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
เมื่อสัตว์ปรารถนากามอยู่ ถ้ากามนั้น ย่อมสำเร็จแก่ สัตว์นั้นสัตว์นั้นได้ กามตามปรารถนาแล้ว ย่อมเป็นผู้อิ่มใจแน่นอน.
[๒] กามในคำว่า เมื่อปรารถนากามอยู่ ได้แก่ กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑.
วัตถุกามเป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจ (เบญจกามคุณ) เครื่องลาด เครื่องนุ่งห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แว่นแคว้น ชนบท กองพลรบ คลัง และวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วัตถุกาม. อีกอย่างหนึ่ง กามที่เป็นอดีต กามที่เป็นอนาคต กามที่เป็นปัจจุบัน ที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ที่เป็นทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิดประณีต เป็นของสัตว์ผู้เกิดในอบาย เป็นของมนุษย์ เป็นของทิพย์ ที่ปรากฏเฉพาะหน้าที่นิรมิตเอง ที่ผู้อื่นนิรมิต ที่หวงแหน ที่ไม่ได้หวงแหน ที่ยึดถือว่าของเรา ที่ไม่ยึดถือว่าของเราธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เป็นอารมณ์แห่งตัณหาชื่อว่ากาม เพราะอรรถว่า อันบุคคลพึงใคร่เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา กามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม.
กิเลสกามเป็นไฉน? ความพอใจ ความกำหนัด ความพอใจและความกำหนัด ความดำริ ความกำหนัดมาก ความดำริและความกำหนัด ความพอใจคือความใคร่ ความกำหนัดคือความใคร่ ความเพลิดเพลินคือความใคร่ ในกามทั้งหลาย ความปรารถนาในกาม ความเสน่หาในกามความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม ความติดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบในกาม ความยึดถือในกาม เครื่องกั้นกางคือกามฉันทะ ชื่อว่า กาม.

ที่มา : เล่ม 29 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส


#9 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 07 February 2007 - 09:57 AM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ