ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

การตั้งใจรักษาศีล แปด รวมไปถึง การตั้งใจจริงที่จะออกบวช ถือ เป็นการบำเพ็ญเนกขัมมะบารมีไหม


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 bongboo

bongboo
  • Members
  • 26 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 January 2006 - 07:00 PM

การรักษาศีลแปด ทุกวัน และหมั่นนั่งสมาธิ ฟังธรรม แต่ไปทำงาน ออฟฟิต และเล่าเรียนหนังสือ นั้นถือเป็นเนกขัมมะบารมีไหม
การบวชทางใจ ถือเป็นเนกขัมมะบารมีไหม
การที่เรียนจบแล้ว อยากบวชตลอดชีวิต ทั้งที่มีภาระ ต้องทำหลายอย่าง เช่น ทำงานใช้ทุนรัฐบาล (โท และ เอก) เป็นต้น เนกขัมมะจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่
การครองเรีอน (มีภรรยา) แล้ว ตัดสินใจออกบวชตลอดชีวิต โดยละทิ้งภรรยาไว้ข้างหลัง โดยที่ภรรยาอนุญาติ แต่เธอเองก้อลำบากในการหาเลี้ยงชีพ ถือเป็นการบำเพ็ญเนกขัมมะบารมีหรือไม่

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  00107.jpg   19.41K   8 ดาวน์โหลด


#2 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 29 January 2006 - 07:23 PM

ที่กล่าวมาทั้งหมด ล้วนเป็นการบำเพ็ญเนกขัมมะบารมีทั้งสิ้น หากแต่บารมีประเภทนี้ จะเกิดขึ้นได้มากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับระดับของการทรงรักษาไว้ กล่าวคือ การรักษาศีล ๘ (ฆราวาส) ย่อมได้ในระดับล่าง การรักษาศีล ๑o ของสามเณร ย่อมได้ในระดับปานกลาง และการรักษาศีล ๒๒๗ ของพระภิกษุ ย่อมได้ในระดับสูงสุด ดังนี้ ส่วนที่ว่าเนกขัมมะบารมีจะเกิดขึ้นเมื่อใดนั้น ขอตอบว่า ทุกๆ บารมี นับแต่ทานบารมีเป็นเบื้องต้น และอุเบกขาบารมีเป็นปริโยสาน ล้วนมีความดำริ/คิด เป็นจุดเริ่มต้นในการบังเกิดขึ้นของกุศลบารมีทั้งปวงครับ

#3 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 January 2006 - 08:18 PM

QUOTE
การรักษาศีลแปด ทุกวัน และหมั่นนั่งสมาธิ ฟังธรรม แต่ไปทำงาน ออฟฟิต และเล่าเรียนหนังสือ นั้นถือเป็นเนกขัมมะบารมีไหม

ตอบ เป็นบุญถ้าทำบ้างไม่ทำบ้างครับ ถ้าทำสม่ำเสมอติดเป็นนิสัยสันดานจึงจะเรียกว่าเป็นบารมีครับ
QUOTE
การบวชทางใจ ถือเป็นเนกขัมมะบารมีไหม

ตอบ เป็นยิ่งกว่าเป็นอีกครับ อย่างกรณีพระพาหิยะท่านยังสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในเพศฆราวาสได้เลยครับ ยังไม่ทันได้บวชก็ต้องโดนวัวหรือควายนี่แหละครับขวิดตายดับขันธ์นิพพาน แต่ใจก็ถือว่าบวชในแล้วครับ
QUOTE
การที่เรียนจบแล้ว อยากบวชตลอดชีวิต ทั้งที่มีภาระ ต้องทำหลายอย่าง เช่น ทำงานใช้ทุนรัฐบาล (โท และ เอก) เป็นต้น เนกขัมมะจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่

ตอบ เมื่อหมดห่วงแล้วครับ
QUOTE
การครองเรีอน (มีภรรยา) แล้ว ตัดสินใจออกบวชตลอดชีวิต โดยละทิ้งภรรยาไว้ข้างหลัง โดยที่ภรรยาอนุญาติ แต่เธอเองก้อลำบากในการหาเลี้ยงชีพ ถือเป็นการบำเพ็ญเนกขัมมะบารมีหรือไม่

ตอบ เป็นการตัดสินใจเพื่อที่จะหลุดพ้นจากวัฏฏะกำจัดทุกข์โดยแท้ ห่วงคือ พ่อ แม่ ลูก เมีย ถ้ายังตัดห่วงไม่ได้ก็ต้องเกิดอยู่ร่ำไป ถ้ารักจะพ้นทุกข์ต้องกำจัดห่วงคือ เครื่องผูกให้ได้เสียก่อน จากนั้นไปแสวงหาทำพระนิพพานให้แจ้ง ใช่จากเพื่อหนีความรับผิดชอบครับ แม้พระพุทธเจ้าเราเองท่านก็คิดเช่นนี้ หลังจากทรงยอมตัดห่วงเพื่อหวังประโยชน์ที่ยั่งยืนแล้ว เมื่อทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็ทรงกลับมาโปรดพุทธบิดา พุทธมารดา ราหุล พระนางพิมพา และพระญาติ พระเพื่อน หาได้ทอดทิ้งผู้มีพระคุณ หรือบุตรภรรยาครับ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#4 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 29 January 2006 - 08:29 PM

สาธุกับน้องก้องด้วยครับ ขอเสริม ที่เจ้าของกระทู้ถามว่า การละทิ้งภรรยา ออกบวช แล้วทำให้ภรรยา เดือดร้อนในการทำมาหากินนั้น เป็นเนกขัมมะบารมีหรือไม่

คำตอบคือ เป็นเนกขัมมะบารมีครับ ส่วนเรื่องความเดือดร้อนของภรรยานั้น เป็นวิบากกรรมของเธอเองครับ ความหมายคือ เมื่อวิบากกรรมตระหนี่จากชาติในอดีตส่งผล จะดลบันดาลให้เกิดความเดือดร้อนกับตัวเธอ เช่น สามีเกิดพิการ หรือ ตาย หรือ มีเหตุต่างๆ นาๆ ที่ทำให้เธอต้องเดือดร้อน ไม่ว่าสามึจะบวชหรือไม่ก็ตาม แต่การที่สามีบวช แล้วเธออนุญาติ บุญนี้จะไปช่วยตัดรอนวิบากกรรมของภรรยาให้หนักเป็นเบาได้ครับ คือ เดือดร้อนน้อยกว่าที่ควรจะเจอ

ยกตัวอย่างที่เห็นชัดขึ้น คือ ทหารต่างเมืองยกกองทัพมาจะมาตีเมืองเรา สามีคำนึงถึงประเทศชาติเป็นหลักก่อน จึงสละภรรยาออกไปเป็นทหารป้องกันประเทศชาติ ถามว่า ถ้าสามีไม่ไปเป็นทหาร สุดท้ายจะพรากจากกันหรือไม่ คำตอบคือ ถ้าฝ่ายข้าศึก ตีเมืองได้ สุดท้ายก็ต้องบ้านแตกสาแหรกขาด พรัดพรากจากกันอยู่ดี แต่ถ้ารักษาเมืองไว้ได้ ก็ย่อมกลับมาหากันได้ภายหลัง เป็นต้น
บางคนอาจจะถามว่า อ้าวแล้วถ้าข้าศึกตีเมืองไม่แตกล่ะ โดยที่สามีก็ไม่ต้องไปเป็นทหาร อย่างนี้ไม่ดีกว่าหรือ ก็ต้องถามกลับว่า แล้วคุณมั่นใจได้อย่างไรว่า ข้าศึกจะตีเมืองไม่ได้ ถ้าเราไม่ไปช่วย ปล่อยให้คนอื่นป้องกันเมืองไป

เช่นเดียวกัน ถ้าวิบากกรรมต่างๆ ของเราตามมาทัน เราและภรรยาย่อมต้องเดือดร้อน ดังนั้นสุ้สร้างบุญหนีวิบากกรรมไว้ดีกว่า เช่น ไปบวชเป็นต้น (ได้บุญใหญ่ทั้งผู้บวช และผู้สนับสนุน) อ้าวแล้วถ้า วิบากกรรมยังตามไม่ทันล่ะ ทำไมต้องไปบวชให้เมื่อยล่ะ ก็ต้องถามกลับว่า คุณมั่นใจมั้ยล่ะว่า วิบากกรรมจะตามไม่ทันไปตลอด สร้างบุญไว้จึงดีกว่า ไม่สร้างบุญครับ

ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#5 JOYSA

JOYSA
  • Members
  • 234 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 January 2006 - 07:44 AM

ศีลบารมีปฏิบัติ

ไฟล์แนบ



#6 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 30 January 2006 - 08:10 PM

ตอบได้ดีมาก เข้าใจง่ายดีครับ

#7 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 07 February 2007 - 09:58 AM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ