ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ศิริมานนทสูตร: การวางใจก็คือการวางสุขวางทุกข์


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Torres

Torres
  • Members
  • 49 โพสต์

โพสต์เมื่อ 20 July 2010 - 11:05 AM

ในศิริมานนทสูตร ตามลิงค์นี้ http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=8546

QUOTE
ดูกรอานนท์ บุคคลทั้งหลายผู้ปรารถนาเข้าสู่พระนิพพานจงวางเสียซึ่งใจ
อย่าอาลัยความสุข การวางใจก็คือการวางสุขวางทุกข์ และบาปบุญคุณโทษร้ายดี
ซึ่งเป็นของสำหรับโลกนี้เสียให้สิ้น สิ่งเหล่านี้สร้างไว้สำหรับโลกนี้เท่านั้น
เมื่อต้องการพระนิพพานแล้วต้องปล่อยวางไว้ในโลกนี้สิ้นทั้งนั้น
จึงจะได้ความสุขในพระนิพพาน ซึ่งเป็นสุขอย่างยิ่ง
เป็นความสุขอันหาส่วนเปรียบมิได้


เมื่อต้งการไปนิพพาน
การวางสุขวางทุกข์ พอนึกออก
แต่การวางบุญ หมายถึงไม่ต้องทำบุญหรือครับ

ช่วยอธิบายหน่อยครับ


#2 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 23 July 2010 - 01:11 AM

ได้ตามไปอ่านเนื้อหา ในกระทู้แล้ว
ทราบว่า เป็นการขยายความมาจาก อาพาธสูตร โดย อรรถกถาจารย์ ?

เชิญเจ้าของกระทู้
ลองศึกษา เนื้อหาพระสูตร ก่อนมีการอธิบาย ขยายความ ด้วยนะครับ
ว่ามี พุทธวจนะ ตอนไหน ทรงกล่าวถึง การวางบุญบาป หรือไม่ จะได้เทียบเคียงได้
และเข้าใจในเบื้องต้นว่า ตอนไหน คือ พุทธวจนะ ตอนไหน คือ อรรถกถาธิบายเพิ่มเติม

คิริมานนทสูตร หรือ อาพาธสูตร
http://board.palungj.....�-156470.html

*** อรรถกถา อาพาธสูตร ที่ ๑๐ ว่าด้วยทรงแสดงสัญญา ๑๐ ประการแก่พระคิริมานนท์ ผู้อาพาธ ***
http://tipitaka.2pt.....net/พร...B8�ร/

http://www.larnbuddh...tibat/apat.html

แนะนำ
http://nkgen.com/801.htm#2
เพราะมีลิงค์ขยายความคำศัพท์เฉพาะ

QUOTE
เมื่อต้องการไปนิพพาน
การวางสุขวางทุกข์ พอนึกออก
แต่การวางบุญ หมายถึงไม่ต้องทำบุญหรือครับ

ช่วยอธิบายหน่อยครับ


คำว่า วางบุญ กับ ไม่ต้องทำบุญ
คนละความหมายกันเลยนะครับ
ผมคิดว่า การวางบุญ ไม่ได้มีความหมายว่า ไม่ต้องทำบุญ ครับ

ที่จริง บุญ คือ ผลของกรรมดี ผลของการสร้างกุศลกรรมบท
บุญ มีคุณสมบัติ ในทางเจริญทั้งโลกียะสุข โลกียะสมบัติและโลกุตตระสมบัติ
บุญ มีคุณสมบัติ ชำระธาตุบาป แก้อกุศลมูล ดับกิเลสในใจตน

ดังนั้น ถ้าจะไปนิพพาน แล้ว ไม่ทำกรรมดี ( ไม่ต้องทำบุญ ตามที่เจ้าของกระทู้สงสัย ) ที่จะเกิดบุญ ไปชำระสะสางธาตุบาป ดับกิเลส อาสวะ อวิชชา
แล้วจะไปนิพพาน ได้หรือครับ ?

และเรื่องการไปนิพพาน ต้องวางบุญวางบาป
จริงหรือไม่ ในความหมายใด
ผมก็สนใจศึกษาเหมือนกันครับ

ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#3 ธาตุล้วนธรรมล้วน

ธาตุล้วนธรรมล้วน
  • Members
  • 255 โพสต์

โพสต์เมื่อ 23 July 2010 - 12:01 PM

เคยศึกษาอยู่เหมือนกัน บทความที่ยกมานั้น ก็ยังไม่ทราบว่า เป็นอรรถกาธิบายในระดับไหน ระดับอรรถกถาพระไตรปิฎก ฎีกา ปกรณ์วิเสส หรือัตตโนมติ หรือเป็นเป็นเพียงบทความที่ประพันธ์ขึ้นโดยครูบาอาจารย์ยุคใหม่กันแน่


หากจะกล่าวถึงการปล่อยวางบุญ ก็อาจจะหมายถึง การปล่อยวางจากการปรุงแต่งทั้ง 3

ได้แก่ อภิสังขาร 3 คือ

ปุญญาภิสังขาร การปรุงแต่งด้วยบุญ

อปุญญาภิสังขาร การปรุงแต่งที่ไม่ใช่บุญ

อเนญชาภิสังขาร การปรุงแต่งที่ไม่หวั่นไหว เช่นปรุงแต่งด้วยกำลังของฌาณสมาบัติ

ซึ่งสังขารทั้งสามอย่างนี้ ถึงที่สุดแล้วก็จำต้องละวาง ปล่อยวางทั้งหมด จึงจะเข้าถึงพระนิพพาน

แต่การปล่อยวางบุญเป็นคุณธรรมเบื้องสูง และมิใช่เป็นการปฏิเสธบุญ เราต้องบำเพ็ญบารมีให้บุญบารมีเต็มก่อน แล้วจึงจะสามารถมีกำลังหลุดพ้นไปสู่พระนิพพาน

เสมือนขั้นบันได ที่เราต้องอาศัยเหยียบเพื่อเดินขึ้นไปสู่ชั้นดาดฟ้านั้นเอง พอถึงชั้นดาดฟ้าแล้วก็ละจากบันได้ขั้นสูงสุด ขึ้นไปยืนอยู่บนดาดฟ้า ครับ

ยังมีพระพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า " พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า"

แต่ขอย้ำนะครับ ว่านี่เป็นธรรมะเบื้องสูงครับ ระดับปรมัตถ์ ไม่ควรใช้ปัญญาปุถุชนคิดเอาง่ายๆ ต้องสิกขาให้ดีๆ และต้องปฏิบัติด้วยครับ


[๑๒๘] อภิสังขาร ๓

(สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม — volitional formation; formation; activity)

๑. ปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร — formation of merit; meritorious formation)

๒. อปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป, สภาพที่ปรุงแต่กรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย — formation of demerit; demeritorious formation)

๓. อาเนญชาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นอเนญชา, สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน — formation of the imperturbable; imperturbability-producing volition)

อภิสังขาร ๓ นี้ เป็นความหมายของสังขารในหลักปฏิจจสมุปบาท ท่านแสดงไว้อีกนัยหนึ่งเพิ่มจากนัยว่าสังขาร ๓ ดู (๑๑๙) สังขาร ๓

Ps.II.206; Vbh.135. ขุ.ปฏิ.๓๑/๒๘๐/๑๘๑; อภิ.วิ.๓๕/๒๕๗/๑๘๑.



พระสุตตันตปิฎก เล่ม 4 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ อลคัททูปมสูตร ข้อ 280 หน้า 187

[๒๘๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล .....
..... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรม มีอุปมาด้วยแพ เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการยึดถือ ฉันนั้นแล เธอทั้งหลายรู้ถึงธรรมมีอุปมาด้วยแพที่เราแสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า.

ภาษาบาลีว่า

[๒๘๐] ภควา เอตทโวจ เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ปุริโส อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน .....
..... เอวเมว โข ภิกฺขเว กุลฺลูปโม มยา ธมฺโม เทสิโต นิตฺถรณตฺถาย โน คหณตฺถาย กุลฺลูปมํ
โว ภิกฺขเว ธมฺมํ เทสิตํ อาชานนฺเตหิ ธมฺมาปิ โว ปหาตพฺพา ปเคว อธมฺมา ฯ


อันนี้เป็นธรรมะเบื้องสูง เราจะถึงขั้นนั้นได้ เปรียบเสมือนคนข้ามฟากฟั่ง ต้องอาศัยแพข้ามฟากก่อน เมื่อถึงฝั่งแล้วจึงค่อยละไป

มิใช่ละแพไปตามอารมณ์แบบปุถุชน นอกจากจะข้ามฟั่งไม่ได้แล้ว จำต้องจมน้ำตายด้วย


ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ

ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ

เราตถาคต คือธรรมกาย

#4 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 17 November 2014 - 09:31 PM

สาธุ ๆ ๆ

 

เคลีย ชัดเจน  หายสงสัย สับสน



#5 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 November 2014 - 08:46 AM

http://health.dmc.tv...มานันทสูตร.html

ไฟล์แนบ


ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#6 kotchapornda

kotchapornda
  • Members
  • 649 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 18 November 2014 - 09:01 PM

อนุโมทนาสาธุ   ^_^