ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
* * * * * 2 คะแนน

ใครรู้ช่วยตอบทีครับ?


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 15 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 usr35843

usr35843
  • Members
  • 9 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 October 2010 - 02:27 PM

เห็นสิบแล้วจึงเห็นศูนย์หมายความว่าอย่างไรช่วยไขข้องใจหน่อยครับ?

#2 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 October 2010 - 02:38 PM

http://www.dmc.tv/fo...showtopic=17142

http://www.dmc.tv/fo...showtopic=17135

ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#3 Shutter_B

Shutter_B
  • Admin
  • 49 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 13 October 2010 - 02:54 PM

หลวงปู่เคยกล่าวไว้ว่า

"เห็นสิบแล้วเห็นศุนย์ เป็นเค้ามูลสืบกันมา
เที่ยงแท้แน่นักหนา ตั้งอนิจจาเป็นอาจิณ
จุติแล้วปฏิสนธิ ย่อมเวียนวนอยู่ทั้งสิ้น
สังขาราไม่ยืนยิน ราครีสิ้นเป็นตัวมา"

คำว่า "สิบ" หรือที่ หลวงปู่ชอบเรียกว่า กลางกั๊ก ก็คือฐานที่ 6 เมื่อใจถึงฐานที่ 6 แล้วจึงจะเห็นศูนย์ก็คือฐานที่ 7 นั่นเอง
ถ้าไม่เห็นสิบ ก็ไม่เห็นศูนย์ แต่ทำไมท่านถึงเรียกว่าสิบ ก็ยังไม่แน่ใจเหมือนกัน
รอท่านต่อไปมาอธิบายต่อนะค่ะ
"หน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง"

#4 Tung

Tung
  • Admin
  • 195 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 13 October 2010 - 04:13 PM

กำลังสงสัยเหมือนกันว่า ทำไม ใจหยุดจึงเรียกว่า สิบ

สิบ มีรากศัพท์อย่างไร ทำไมจึงเรียกแทนการที่ใจหยุดถูกส่วน

#5 usr35843

usr35843
  • Members
  • 9 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 October 2010 - 05:19 PM

สาธุ...ท่านใดทราบช่วยกันตอบมาอีกนะครับ จะได้ประเทืองปัญญา สาธุ....

#6 ping

ping
  • Admin
  • 251 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 13 October 2010 - 05:21 PM

สาธุ...ขออนุโมทนาบุญกับคำตอบของ นรอ.ที่นำมาตอบไว้ดีแล้ว

เป็นคำถามสุดฮิตตลอดกาล ตลอดไป...

#7 ธาตุล้วนธรรมล้วน

ธาตุล้วนธรรมล้วน
  • Members
  • 255 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 October 2010 - 08:44 PM

หมายเอาอาการหยุด กลางดวง เหนือกลางตัวสองนิ้ว (072)

ความหมายตามพระเดชพระคุณหลวงปู่สด มิใช่โดยกระผมนะครับทุกทั่น โหลดไฟล์ไปฟังกันได้เลย


........." เวลาสัตว์ไปเกิดมาเกิดแล้วก็มาอยู่ในที่สิบ อยู่ในกลางดวงนั้น กายละเอียดอยู่ในกลางดวงนั้น ".........

................................

อธิบายเพิ่มเติมโดยผม

สิบกับศูนย์อยู่ที่เดียวกันคือที่ 072 เป็นอาการหยุดใจ เข้าสิบแล้วจึงเห็นศูนย์ได้

กลางของกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้น ประกอบด้วยศูนย์ 5 ศูนย์ หน้าธาตุน้ำ ขวาธาตุดิน หลังธาตุไฟ ซ้ายธาตุลม ตรงกลางเป็นอากาศธาตุ.....กลางอากาศธาตุเป็นวิญญานธาตุ (ธาตุที่ 6)

กลางวิญญาณธาตุนั้นแหละคือสิบ หยุดใจ เมื่อเข้าสิบดีแล้วจะตกศูนย์
...............................

เมื่อเข้าสิบ เข้าไปอยู่ในสิบแล้ว คือกลางดวง 072 ใจหยุดที่กลางดวงนั้น จะตกศูนย์ ตกศูนย์ไปที่ฐานที่ 6 แล้วดวงใหม่จะปรากฎลอยขึ้นมาที่ 072 อีกเรื่อยๆ
...............................

มีคำเทศน์สอนนั่งสมาธิของหลวงปู่สดยืนยันครับ(ประมาณนาที 3.40) ว่าสิบและศูนย์อยู่ กลางดวง เหนือกลางตัวสองนิ้ว (072)

ชัดเจนที่สุดแล้วครับเป็นข้อยุติในความหมายโดยหลวงปู่สดเอง โหลดไปฟังพิสูจน์กันได้เลยครับทั่น

ส่วนในเรื่องคำศัพท์สันนิษฐานโบราณท่านอาจะเรียกให้คล้องจองกับคำว่าศูนย์ สิบ ศูนย์




ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ

ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ

เราตถาคต คือธรรมกาย

#8 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 13 October 2010 - 08:54 PM

ความคิดของinnerpeace วันนี้ต่างจากวันเก่าก่อนแล้วค่ะ

ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าถูกต้องหรือไม่จนกว่าจะเข้าถึงพระธรรมกาย ซึ่งกำลังฝึกฝนอยู่ค่ะ

"เห็นสิบแล้วเห็นศูนย์........."

ก่อนอื่นขอกราบขอขมาหลวงปู่ก่อนค่ะหากความคิดนี้ผิดพลาดไปจากที่หลวงปู่สอนไว้

หลวงปู่สอนไว้ว่า "หยุดเป็นตัวสำเร็จ" คือหยุดใจ และได้สอนต่อไปอีกว่า

ใจประกอบด้วย : เห็น จำ คิด รู้

คำว่า"เห็น " ไม่ทราบว่าคนอื่น ๆ จะเคยมีปัญหาอย่าง innerpeace หรือไม่? เพราะคิดว่าเห็นก็คือเห็นธรรมดาทั่ว ๆ ไป
อย่างที่เราเห็น ๆ กัน หรือ เป็นแบบ เห็นด้วยตาเนื้อเท่านั้น. ประมาณนั้น

แต่ "เห็น" ในความหมายของหลวงปู่ มิได้หมายถึงแค่เห็นด้วยตาเนื้อ

แต่เป็นการเห็น
ในเชิงลึกคือ เป็นการรับข้อมูลเข้ามา (receiving data) จากไหน ? ก็จากอายตนะทั้งหก (เป็นเวทนา)

อายตนะทั้งหก : ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นตัวดึงดูดเข้ามา แล้วส่งไปที่ใจศูนย์กลางการรับรู้ทุกอย่างก็เปลียนเป็นภาพหมด

...................ตัวอย่างเช่นได้ยินเสียงคนตะโกน ไฟกำลังไหม้บ้าน คุณได้ยินปั๊ปไม่ต้องหลับตาใจจะนึกเห็นภาพไฟไหม้ได้เลย

อย่างนี้เป็นต้น หรือได้กลิ่นหอม ๆของดอกมะลิคุณก็นึกออกเห็นภาพดอกมะลิ หรือพวงมาลัยดอกมะลิ ฯลฯ

จำ อันนี้คงไม่ยากต่อการเข้าใจ จำ (memory) ( เป็นสัญญา)เหมือนคอมพิวเตอร์รับข้อมูลแล้วบันทึกข้อมูลไว้

คิด (thought) (เป็นสังขารที่หมายถึงปรุงแต่งข้อมูล จากเห็นและจำมา)

รู้ (knowledge) เป็นการรู้สรุปข้อมูลจาก เห็น จำ คิด มาเป็นรู้ หรือ เรียกว่าวิญญาณ ( เป็นวิชาความรู้ที่อาจจะผิด ๆ ถูกๆ

..................ยังแก้ไขได้ เปลี่ยนแปลงได้ตามฐานข้อมูล เปรียบเหมือน การทำอาหารจะแกงสักหม้อหนึ่งเริ่มหาตั้งแต่ไปจ่าย

ตลาดหาซื้อของมา ให้ครบ แล้วปรุง จึงได้แกงมาหนึ่งหม้อ( เห็น จำ คิด รู้ ) แต่แกงนี้อาจจะรสดี หรือไม่ดีก็อยู่ที่คนปรุงมีคุณ

ภาพเพียงไร วิญญาณจึงเป็นวิชาที่ยังแก้ไขได้ แต่ญาณที่เป็นวิชชานั้นเกิดจากรู้แจ้งเห็นจริง เป็นสัจจธรรม (wisdom ที่พัฒนา

มาจากรู้แบบวิญญาณ)


ฉะนั้นเห็นสิบแล้วเห็นศูนย์ น่าจะหมายถึง


๑๐ ประการดังกล่าว คือ อายตนะทั้งหก และ ใจสี่(เห็น จำ คิด รู้)

เพราะการรับเอาอายตนะทั้งหกเข้ามาสู่ใจก็เหมือนเอาไม้ลงไปกวนน้ำ เมื่อน้ำถูกกวน น้ำไม่นิ่งแล้วจะมองอะไร ๆ ในน้ำไม่ได้

เพราะน้ำต้องนิ่งถึงจะมองเห็นได้ และต้องเป็นน้ำใส ๆด้วย ฉันใดใจคนก็ฉันนั้น คุณยายใช้ศัพท์ว่าขาดรู้ภายนอก แต่ข้างในใจ

ใสสว่างรู้แจ้งแทงทลุใจคนหมด เมื่อคิดถึงหลวงปู่ท่านใช้คำว่า "หยุดเป็นตัวสำเร็จ" เพราะเมื่อหยุดได้ใจจะกลับไปอยู่ที่ฐานดั้ง

ดั้งเดิมและมีพลัง ณ๐๗๒
.......................................

ก็ถือว่าเราเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะค่ะ จะรู้จริง ๆ คงต้องรอผู้เข้าถึงธรรมกายแล้วจริง ๆมาอธิบายขยายธรรมค่ะ ส่วน

innerpeace กำลังฝึกฝนตัวค่ะ






#9 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 13 October 2010 - 09:21 PM

เพิ่มเติมค่ะ

innerpeace เองก็เคยคิดอย่างที่ท่านธาตุล้วนธรรมล้วนนำแสดงไว้ข้างบนค่ะแต่ไม่แน่ใจ

วันนี้เคลียร์ใจ ขอบคุณมาก ๆ สรุปว่า กายและใจเป็นหนึ่งเดียวกันทังธาตุหยาบธาตุละเอียด(รูปนาม) ดิน น้ำ ลม ไฟ

อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ และใจ มารวมหยุดจุดกลางของกลางวิญญาณธาตุ เป็นตกสิบ เข้าศูนย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย

ต่าง ๆจากฐานที่หก ก็เข้ามาห่อหุ้มลอยขึ้นมาฐานที่เจ็ดเป็นดวงปฐมมรรค ใช่ม้ย ?
.............

ก็คงเข้าใจตามนี้นะคะ

#10 ธาตุล้วนธรรมล้วน

ธาตุล้วนธรรมล้วน
  • Members
  • 255 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 October 2010 - 09:36 PM

สาธุครับ

ณ 072 มีดวงธรรม

ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ นั่นแหละ

กลางของกลางดวงธรรมนั้น เป็นศูนย์ ศูนย์นั้นประกอบด้วยธาตุละเอียด หน้าธาตุน้ำ ขวาธาตุดิน หลังธาตุไฟ ซ้ายธาตุลม ตรงกลางอากาศธาตุ กลางอากาศธาตุเป็นวิญญาณธาตุ

ที่ศูนย์กลางของวิญญาณธาตุนั้น ก็ยังมีธาตุละเอียดของนามขันธ์ ๔ และธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุคิด และ ธาตุรู้ ก็ซ้อนอยู่ตรงกลางของกลางซึ่งกันและกันเป็นชั้นๆ กันเข้าไปข้างในอีก

และขยายส่วนหยาบออกมาเป็น ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และ ดวงรู้ อันเป็นธรรมชาติรวม (๔ อย่าง) ของ “ใจ”

กลางดวงนั้น หลวงปู่ท่านว่า....."เวลาสัตว์ไปเกิดมาเกิดแล้วก็มาอยู่ในที่สิบ อยู่ในกลางดวงนั้น กายละเอียดอยู่ในกลางดวงนั้น" .....(พอหยุดใจถูกส่วนก็จะตกศูนย์ ตกไปไหน? ตกไปที่ฐานที่ 6 แล้วดวงใหม่ลอยเด่นไปฐานที่ 7)

.....สรุป.....

สิบ ศูนย์ เป็นอาการหยุด

สิบ คือเข้ากลางดวง ณ 072 แล้วหยุดใจ จะตกศูนย์

ตกไปฐานที่ 6 เกิดเป็นดวงดวงปฐมมรรค หรือดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดึงดูดกันหนักขึ้น ก็เข้าสิบตกศูนย์ เคลื่อนลอยเด่นขึ้นมาฐานที่ 7ถ้าเห็นจริงๆจะเห็นเช่นนี้ครับ


มาสิบตกศูนย์ เข้าสิบแล้วตกศูนย์ เห็นสิบแล้วเห็นศูนย์


ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ

ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ

เราตถาคต คือธรรมกาย

#11 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 13 October 2010 - 09:48 PM

สาธุ ขอบพระคุณมาก ๆ ค่ะ โล่งงงงใจ

รู้สึกดีจังเลย น่าจะนั่งธรรมะได้ดีนะวันนี้

#12 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 13 October 2010 - 11:20 PM

สมมุติฐานที่น่าจะเป็นไปได้... สิบคือ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ วิญญาณธาตุ อากาสธาตุ เห็น จำ คิด รู้

ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆ ท่านค่ะ
ถึงจะแบบจำๆ ติดเข้งติดขา และใช้จินตมยปัญญาก็เถอะค่ะ ก็หวังว่าชาตินี้คงได้มีโอกาสเห็นด้วยตัวเอง
คืนนี้ฝนตก อากาศเย็นสบาย ไปนั่งสมาธิกันเถอะค่ะ

ความรู้ที่เกี่ยวข้อง (อย่าเพิ่งมึนกันไปก่อนนะคะ)
แนบไฟล์  see_10_1.jpg   50.11K   61 ดาวน์โหลด

แนบไฟล์  see_10_2.jpg   91.18K   70 ดาวน์โหลด
สองรูปด้านบน นำมาจากหนังสือคู่มือสมภาร

QUOTE
"ใจ" เป็นธาตุ (element) ชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับธาตุทั้งหลายในโลกนี้ เพียงแต่มีคุณสมบัติพิเศษเหนือกว่าธาตุทั้งหลาย คือ "ใจสามารถ รับ จำ คิด รู้ สิ่งต่างๆ ที่มากระทบ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้" ใจจึงมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ ว่า "วิญญาณธาตุ" แปลว่า "ธาตุรู้"
http://main.dou.us/v...s_id=213&page=7

QUOTE
อินทรีย์ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา หรือบางทีก็เรียกว่า พละ 5 มีส่วนสำคัญต่อการบรรลุธรรม หากศึกษาในพระไตรปิฎกจะพบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบได้ว่าคนไหน อินทรีย์อ่อน อินทรีย์แก่ คนไหนสามารถที่จะบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน พระสกทา-คามี พระอนาคามี หรือพระอรหันต์ได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็พิจารณาที่ดวงอินทรีย์ 5 ดวงนี้ ซึ่งเป็น
QUOTE
ตัวกำหนดความแก่อ่อนของธาตุธรรม คือ ตั้งแต่ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ วิญญาณธาตุ อากาสธาตุ เห็น จำ คิด รู้
ของบุคคลนั้น ดวงธรรมทั้ง 5 ดวงนี้ ถ้ายังมีขนาดไม่เท่ากัน เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง แสดงว่า อินทรีย์ของผู้นั้น ยังไม่แก่พอที่จะบรรลุธรรมได้ แต่ถ้าหากว่า ดวงธรรม 5 ดวง ใสสว่างโตเท่ากันแล้ว แสดงว่าบุคคลนั้นมีอินทรีย์แก่พอจะบรรลุธรรมได้ ฉะนั้นเวลาที่พระพุทธองค์พิจารณาอินทรีย์แก่อ่อน พระองค์ทรงมองไปในกาย ดูดวงอินทรีย์ทั้ง 5 ของบุคคลนั้นที่สั่งสมมาข้ามชาติ ดวงนี้จะเล็กหรือใหญ่ขึ้นกับอยู่กับการสั่งสมบุญบารมี บุญที่สั่งสมจะทำให้อินทรีย์ทั้ง 5 ปรับเปลี่ยนตลอด ดวง 5 ดวงถ้ายังโตไม่เท่ากัน เรียกว่า อินทรีย์ 5 แต่ถ้าโตเท่ากันเรียกว่า พละ 5 แสดงว่า พร้อมที่จะบรรลุธรรมแล้ว
http://main.dou.us/v...?s_id=88&page=6

QUOTE
11.1 ขันธ์ 5

เป้าหมายของการศึกษาเรื่องขันธ์ 5 ก็เพื่อให้รู้ว่าชีวิตประกอบด้วยอะไร เมื่อรู้องค์ประกอบของชีวิต เราจะรู้ลักษณะที่แท้จริงของชีวิต คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา และจะปล่อยวางจากสิ่งนั้นได้
ขันธ์ 5 มีทั้งส่วนหยาบและส่วนละเอียด ซึ่งในกายมนุษย์มีขันธ์ 5 อยู่ 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนละเอียด ส่วนกลาง และส่วนหยาบ

11.1.1 ขันธ์ 5 ส่วนละเอียด ขันธ์ 5 ในส่วนละเอียด ซ้อนอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นก็จะเห็นเป็นดวงกลมใสดวงเล็กๆ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปข้างใน ขนาดประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์ เมล็ดไทร หรือเท่าหยาดน้ำมันงาที่ใส ติดอยู่ที่ปลายขนจามรีที่มัชฌิมบุรุษ สลัดเสียแล้ว 7 ครั้ง ตั้งอยู่ในกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นแหละ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปข้างในใสละเอียดยิ่งกว่ากันตามลำดับ
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นธาตุละเอียดนี้เองที่ขยายส่วนออกมาเป็นส่วนหยาบออกมาเป็น ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้
11.1.2 ขันธ์ 5 ส่วนกลาง
ขันธ์ 5 ในส่วนกลางนี้ จะมี
QUOTE
ดวงธาตุอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เป็นดวงธาตุที่ทำหน้าที่ควบคุมโปรแกรมต่างๆ ในร่างกาย คือ
ควบคุมธาตุหยาบต่างๆ ในร่างกาย โดยทำหน้าที่เชื่อมโยงกับดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ซึ่งอยู่ที่ฐานที่ 6
ในดวงธาตุนี้มีศูนย์ประกอบด้วย 5 ศูนย์ คือ ดินอยู่ขวา น้ำอยู่หน้า ลมอยู่ซ้าย ไฟอยู่หลัง วิญญาณอยู่ตรงกลาง และยังมีอากาสธาตุอยู่รอบๆ ดวงวิญญาณธาตุ
ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นส่วนของรูป
อากาสธาตุและวิญญาณธาตุเป็นส่วนของนาม
โดยดวงวิญญาณธาตุจะอยู่ในอากาสธาตุ
และดวงวิญญาณธาตุนั้นจะมี เห็น จำ คิด รู้ ที่รวมเรียกว่า ใจ

ดวงเห็น จะมีขนาดประมาณเท่ากับกระบอกตา ธาตุเห็นอยู่ในกลางดวงนี้ มีหน้าที่รับอารมณ์ หรือเสวยอารมณ์
ดวงจำ จะมีขนาดประมาณเท่ากับตาขาว หรือดวงตาทั้งหมด ธาตุจำอยู่ในท่ามกลางดวงนี้ มีหน้าที่รวบรวมและจดจำอารมณ์
ดวงคิด จะมีขนาดประมาณเท่าตาดำ ธาตุคิดอยู่ในท่ามกลางดวงนี้ มีหน้าที่คิด หรือน้อมไปสู่อารมณ์ ไม่ว่าจะอยู่ไกลแสนไกล ก็ไปถึงได้โดยลำพัง
ดวงรู้ จะมีขนาดประมาณเท่าแววตาดำข้างใน ธาตุรู้อยู่ในท่ามกลางดวงนี้ มีหน้าที่รู้หรือรับรู้อารมณ์1
จะเห็นได้ว่าวิญญาณธาตุต่างจากวิญญาณขันธ์ วิญญาณธาตุคือใจทั้งหมด คือ เห็น จำ คิด รู้ ส่วนวิญญาณขันธ์คือส่วนรู้ เป็นเพียงแค่ผลงานของดวงรู้เท่านั้นเอง
เห็น จำ คิด รู้ นี้เอง ที่ขยายส่วนออกมาอีกเป็น กาย ใจ จิต วิญญาณ ของมนุษย์หรือสัตว์ทั้งหลาย

11.1.3 ขันธ์ 5 ส่วนหยาบ รูป คือ สิ่งที่มองเห็นได้ และสัมผัสได้ เป็นส่วนของร่างกายนี้ ประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ธาตุดินคือเนื้อหนัง ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น ธาตุน้ำคือน้ำเลือด น้ำหนอง น้ำตา เป็นต้น ธาตุลมคือลมที่พัดอยู่ภายในช่องท้อง ลมหายใจเข้าออก เป็นต้น ธาตุไฟคือความร้อน จากไออุ่นในร่างกาย เป็นต้น
นาม คือ ส่วนของใจ ประกอบด้วยธรรมชาติ 4 อย่าง ซึ่งต่างก็ทำหน้าที่ต่างๆ กัน ดังนี้
1. ธรรมชาติที่ทำหน้าที่เสวยอารมณ์ เรียกว่า เวทนา
2. ธรรมชาติที่ทำหน้าที่จดจำ หรือรวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน เรียกว่า สัญญา
3. ธรรมชาติที่ทำหน้าที่คิด หรือที่เรียกว่า จิต มีชื่อเรียกว่า สังขาร
4. ธรรมชาติที่ทำหน้าที่รู้ หรือรับรู้อารมณ์ มีชื่อเรียกว่า วิญญาณ1
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ธรรมชาติ 4 อย่างนี้เรียกว่า ใจ และต่างก็ทำหน้าที่ต่างๆ กัน แต่สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจนแทบจะแยกไม่ออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บางท่านอาจเข้าใจไปว่าเป็นธรรมชาติเดียวกัน บางท่านเข้าใจว่า จิตและวิญญาณ เป็นธรรมชาติเดียวกันก็มี
เมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรมของธรรมชาติที่น้อมไปหาอารมณ์ในแต่ละขณะ เมื่อจิตจะน้อมไปสู่อารมณ์ใดก็ตาม ย่อมกระทบกระเทือนถึงธรรมชาติอื่นๆ ได้แก่ ธรรมชาติที่ทำหน้าที่เสวยอารมณ์ คือ เวทนา กระเทือนถึงธรรมชาติที่ทำหน้าที่จดจำหรือรวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน คือ สัญญา และธรรมชาติที่ทำหน้าที่รู้ หรือรับรู้อารมณ์ ที่เรียกว่า วิญญาณ อีกประการหนึ่ง ให้ทำหน้าที่พร้อมกันไปในตัวเสร็จ เป็นอัตโนมัติ
ธรรมชาติทั้ง 4 อย่างนี้มีอุปมาดั่งข่ายของใยแมงมุม ซึ่งไม่ว่าจะมีอะไรมากระทบส่วนหนึ่ง ส่วนใดของข่ายนั้นให้กระเทือนแล้ว ส่วนอื่นๆ ย่อมได้รับความกระทบกระเทือนถึงกันหมดทั้ง ข่ายนั้น ธรรมชาติที่น้อมไปหาอารมณ์และทำหน้าที่พร้อมกันหมดทั้ง 4 นี้เองที่มีชื่อว่า ใจ
ดวงคิด หรือ จิตนั้น ลอยอยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงของหัวใจอันใสบริสุทธิ์ มีประมาณเท่าหนึ่ง ซองมือของผู้เป็นเจ้าของ และจิตนี้ โดยสภาพเดิมของมันแล้ว เป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงมีชื่อว่า ปัณฑระ แต่เนื่องจากจิตมักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ และมักน้อมไปสู่อารมณ์ภายนอกตัวเองอยู่เสมอ จึงเปิดช่องให้กิเลสเข้ามาทำให้จิตใจเศร้าหมอง ไม่ผ่องใส สีน้ำเลี้ยงของจิตจึงเปลี่ยนสีไปตามสภาพของกิเลสแต่ละประเภทที่ผ่านเข้ามา นั้น เป็นต้นว่า เมื่อจิตระคนด้วยโลภะหรือราคะก็จะเห็นเป็นสีชมพู หรือเกือบเป็นสีแดง เมื่อจิตระคนด้วยโทสะก็จะมีสีเกือบดำ และถ้า จิตระคนด้วยโมหะ ก็จะมีสีขุ่น เทาๆ หรือสีตะกั่วตัดก็มี ขึ้นอยู่ที่สภาพของกิเลสว่าหนักเบาเพียงใด
นอกจากนี้ อาการลอยของจิตในเบาะน้ำเลี้ยงของหัวใจนั้น ก็บอกอาการของจิตว่าฟุ้งซ่าน หรือเซื่องซึม หรือปกติ หรือหยุดอยู่ในอารมณ์เดียวเพียงใด กล่าวคือ ถ้าจิตลอยอยู่เหนือระดับน้ำเลี้ยงของหัวใจมาก ก็แสดงอาการของจิตว่า ฟุ้งซ่านมาก ถ้าลอยอยู่เหนือระดับน้ำเลี้ยงของหัวใจเพียงเล็กน้อย ก็นับว่ามีสภาพปกติธรรมดา ถ้าลอยปริ่มพอดีกับระดับน้ำเลี้ยงของหัวใจก็อยู่ในเอกัคคตารมณ์ และถ้าจมลงมาก ก็หลับไปเลย อย่างนี้เป็นต้น
ในขันธ์ทั้ง 5 คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ ก็มี เห็น จำ คิด รู้ ทั้งสี่อย่าง เจืออยู่ด้วยทุกขันธ์ อธิบายว่า ขันธ์ในส่วนหยาบแต่ละขันธ์ก็จะมีขันธ์ในส่วนกลางทุกขันธ์อยู่ด้วย
ที่กล่าวมานี้เป็นขันธ์ 5 ในส่วนละเอียด ส่วนกลางและส่วนหยาบ ในทางปฏิบัติ เมื่อเพ่งลงไปที่กลางวิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นขันธ์ 5 ส่วนละเอียด (อยู่ในกลางจุดกำเนิดเดิม)
http://main.dou.us/v...?s_id=88&page=3

ความรู้ที่เกี่ยวข้อง นำมาจากหนังสือ DOU เกือบทั้งหมด
รู้อย่างนี้แล้ว รีบมาเรียน DOU กันนะคะ

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป


#13 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 14 October 2010 - 02:02 AM

สาธุ อนุโมทนาบุญกับทุกท่านค่ะ ดีมากเลย

TWO THUMB UP!!

#14 ณ ๐๗๒

ณ ๐๗๒
  • Members
  • 1340 โพสต์
  • Location:Ladkrabang

โพสต์เมื่อ 14 October 2010 - 03:19 AM

ย่อยอีกครั้ง....ได้อีกหนึ่งแง่คิด ...ย่อยแบบจินตมยปัญญา ตามประสานักเรียนอนุบาล
QUOTE
ดวงธาตุอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เป็นดวงธาตุที่ทำหน้าที่ควบคุมโปรแกรมต่างๆ ในร่างกาย คือ
ควบคุมธาตุหยาบต่างๆ ในร่างกาย โดยทำหน้าที่เชื่อมโยงกับดวงธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ซึ่งอยู่ที่ฐานที่ 6
ใน ดวงธาตุนี้มีศูนย์ประกอบด้วย 5 ศูนย์ คือ ดินอยู่ขวา น้ำอยู่หน้า ลมอยู่ซ้าย ไฟอยู่หลัง วิญญาณอยู่ตรงกลาง และยังมีอากาสธาตุอยู่รอบๆ ดวงวิญญาณธาตุ
ธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นส่วนของรูป
อากาสธาตุและวิญญาณธาตุเป็นส่วนของนาม
โดยดวงวิญญาณธาตุจะอยู่ในอากาสธาตุ
และดวงวิญญาณธาตุนั้นจะมี เห็น จำ คิด รู้ ที่รวมเรียกว่า ใจ

และประโยคนี้จึงเป็นคำตอบเรื่อง "ห้าสลึง ตึงทั้งชาติ" "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว"
เพราะเหตุใด นั่งสมาธิ จึงสามารถปรับธาตุในร่างกายให้สมดุลได้ หายป่วยไข้ได้ รักษาโรคได้
เพราะว่า "ใจ" เชื่อมโยงกับดวงธาตุซึ่งควบคุมธาตุหยาบต่างๆ ในร่างกาย
นั่งสมาธิ-->ปรับใจ(ปรับปรุงส่วนละเอียด)-->โยงไปดวงธาตุ-->ปรับธาตุหยาบ(ปรุงปรุงส่วนหยาบ)

อืมม...ต้องขอบคุณคนถาม ดีใจจัง...ปลื้มๆๆ

ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)

ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี  ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ  ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป


#15 ดินสอแห่งธรรม

ดินสอแห่งธรรม

    สร้างบารมีเป็นหมู่คณะ = ฝึกตนให้เป็นผู้ใจกว้าง

  • Members
  • 1478 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ดุสิตบุรี
  • Interests:สร้างบารมีแบบเต็มกำลัง

โพสต์เมื่อ 14 October 2010 - 09:40 AM

...ชัดเจนมากมาย อิอิ
..อันมือของฉันสองมือนี้ ดูเล็กนิดเดียวและไม่มั่นใจว่าฉันจะสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่โลกใบนี้ได้.. แต่ฉันมั่นใจว่า ...หัวใจของฉันนี้ มอบไว้ให้แด่พระพุทธศาสน์....

#16 Nee-Sansanee 2

Nee-Sansanee 2
  • Members
  • 893 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 06 January 2014 - 10:38 AM

กลับมาทบทวนอีกทีดียิ่งกว่าเดิม

:)