ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ปัญหาสติปัฏฐาน


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 usr37290

usr37290
  • Members
  • 12 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 October 2010 - 08:35 PM

ผมฝึกสติมาได้สักระยะใหญ่ๆเเล้วครับเเต่มีคำถามที่ต้องการทราบอยู่ คือเวลาที่มีอารมณ์หนึ่งๆเกิดขึ้น ตามหลักแล้วหากนำสตินั้นไปจับอารมณ์นั้นดูจะหายไปทันที เเต่ของผมมันไม่หาย ทั้งๆที่ไม่ได้มีความต้องการเพลิดเพลินหรือหลงไหลได้เสียกับอารมณ์นั้นๆ อยากทราบว่าเป็นเพราะเหตุใดครับ

#2 ตะวันกลางกาย

ตะวันกลางกาย
  • Members
  • 42 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 October 2010 - 08:57 PM

เราต้องฝึกไปเรื่อยๆ วันนี้ยังไม่ดับ เดี๋ยววันต่อๆไปก็ดับไปเอง จนวางเฉยต่ออารมณ์ทั้งหลายได้
ที่สำคัญคือต้องไม่ให้ใจตก รักษาใจของตัวเองให้ได้ตลอดเวลา ตามหลักวิชานะครับ

#3 usr37290

usr37290
  • Members
  • 12 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 October 2010 - 09:07 PM

อ๋อ... คือเป็นธรรมดาของใจที่มันเคยชินมาใช้ใหมครับ

#4 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 31 October 2010 - 09:14 PM

อารมที่ว่านั้นมีลักษณะเป็นอย่างไรครับ เป็นรูปของเวทนา หรือวิตก หรือวิจาร หรืออย่างไรครับ

แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ก็อย่าไปสนใจนะครับค่อยๆเอาสติกับสบาย ประคับประคองใจเดี๋ยวใจก็นิ่งได้เอง

ไม่ว่าจะฝึกสติด้วยวิธีไหน ล้วนแล้วแต่เป็นการฝึกใจให้หยุดนิ่งอย่างละมุนละม่อม ด้วยกันทั้งสิ้น




#5 usr37290

usr37290
  • Members
  • 12 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 October 2010 - 09:22 PM

ขอบคุณครับ แล้วหากมีสัมผัสเกิดขึ้นพร้อมกัน อย่างเช่น การได้ยิน กับ อาการคัน เราควรจะกำหนดอย่างไรครับ หากใช้วิธีกากำหนดแบบพูดในใจ แบบยุบหนอ พองหนอ

#6 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 31 October 2010 - 09:34 PM

ขอบคุณครับ แล้วหากมีสัมผัสเกิดขึ้นพร้อมกัน อย่างเช่น การได้ยิน กับ อาการคัน เราควรจะกำหนดอย่างไรครับ หากใช้วิธีกากำหนดแบบพูดในใจ แบบยุบหนอ พองหนอ


ก็ไม่ต้องไปเครียดถึงขนาดที่ว่า คันแล้วเกาไม่ได้ เมื่อยแล้วขยับไม่ได้ ถ้าเครียดขนาดนั้นนั่งไปก็ทำให้สภาพใจอึดอัดป่าวๆ ถ้าเมื่อยก็ค่อยๆขยับ คันก็เกาเบาๆ เอามือเขี่ยไล่ยุงไปเบาๆก็พอ เว้นเสียแต่ว่าคุณจะเสี่ยงบารมีตั้งสัจจะว่าจะไม่ขยับกาย ไม่ลุกจนกว่าจะถึงตอนนั้นๆๆ ถ้าตั้งสัจจะเสี่ยงบารมีก็เอาแบบพอดีๆอย่าให้ถึงขนาดที่ตั้งแล้วต้องเกิดคำถามลึกๆในใจว่า (ตูจะไหวมั้ยเนี่ย)

ส่วนเสียงดังรอบด้านก็ไม่ต้องไปสนใจครับ เป็นเรื่องธรรมดาเลี่ยงไม่ได้ แต่เมื่อใจเป็นสมาธิอยู่ภายในระดับหนึ่ง จะไม่ได้ยินไปเองครับ
ผมเคยนั่งธรรมะ กลางเสียงเครื่องไฟงานแต่งงานของเพื่อนบ้าน ประมาณ 1 ชม.ไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย พอออกจากสมาธิจึงได้รู้ว่า ภายนอกเสียงเพลงรำวงกระหน่ำเปิดกันมันระเบิด ไม่รู้เหมือนกันว่านั่งไปได้ยังไง




#7 usr37290

usr37290
  • Members
  • 12 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 October 2010 - 09:44 PM

อ๋อ คือไม่ต้องไปกำหนดทุกขณะจิตแบบเป๊ะๆว่าขณะนี้มีอาการอะไรเกิดขึ้นจะกลายเป็นการเพ่งใช่ใหมครับ

#8 ธาตุล้วนธรรมล้วน

ธาตุล้วนธรรมล้วน
  • Members
  • 255 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 October 2010 - 09:56 PM

สวัสดีครับ

อยากทราบ ภูมิหลังและความเข้าใจ ในการปฏิบัติธรรมของท่าน usr37290 ด้วยนะครับ
....................................................

และไม่ทราบว่าท่านได้ฝึกปฏิบัติแบบวิชชาธรรมกายหรือไม่เพียงใดครับ
....................................................

ท่านเข้าใจในหลักสมถะวิปัสสนา สติปัฏฐาน บารมี 10 มากน้อยเพียงใดครับ
...................................................

สาธุกับการเสวนาธรรมนะครับ คือแบบว่าจะได้แนะนำการปฏิบัติกันได้ดีขึ้นครับ


ละธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ

ธัมมะกาโย อะหัง อิติปิ

เราตถาคต คือธรรมกาย

#9 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 01 November 2010 - 07:43 AM

ตามที่น้องสิริปโภบอกนั่นแหละครับ คุณเจ้าของกระทู้

ซึ่งความจริงการที่เจ้าของกระทู้ถามเช่นนี้ มันก็ไม่แปลก เหมือนคนฝึกหัดขับรถใหม่ๆ อะไรๆ ก็จะเกร็งไปหมด ซึ่งเกิดจากความตั้งใจมากเกินไป เพราะกลัวว่า อาจจะขับผิดพลาด แล้วเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น หากใครที่หัดขับรถใหม่ๆ จะต้องเรียนรู้ความรู้ทางทฤษฎีว่า
สายตาจะต้องมองไปข้างหน้า แต่ทุกๆ 8 วินาที สายตาจะต้องละจากภาพข้างหน้ามาดูกระจกหลัง และกระจกข้าง เพื่อดูเหตุการณ์รอบตัวรถทั้งหมด ทั้งหน้า หลัง ซ้าย ขวา เป็นต้น

ทีนี้ผู้ฝึกหัดใหม่ก็เกร็งน่ะสิครับ เพราะจะกังวลว่า เอะนี่ 8 วินาทีหรือยังนะ คง 8 วินาทีแล้วมั้ง ว่าแล้วก็เหลียวไปดูกระจกทีหนึ่ง ดูไปก็กลัวภัย เพราะสายตาละมาจากหน้ารถ ก็เลยต้องรีบย้อนกลับไปมองหน้ารถ เป็นอย่างนี้ไปหลายวัน ด้วยความทุกข์ทรมานทีเดียว

แต่ขับรถเก่งขึ้นๆ เก่งขึ้น อาการเกร็งที่เกิดจากการตั้งใจมากเกินไป ก็จะหายไป กลายเป็นขับรถด้วยอาการที่เป็นธรรมชาติไปแทน แทนที่จะเป็นว่า ต้องละสายตาไปดูกระจกทุกๆ 8 วินาที ผู้ขับรถที่ชำนาญก็จะละสายตาไปดูกระจกในจังหวะที่เหมาะสมกันเอง โดยไม่รู้สึกเกร็งแต่อย่างใด
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร