ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

เพราะเหตุใดภาษาจึงมีเพศชายเพศหญิง


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 คุณชายรัชชานนท์

คุณชายรัชชานนท์

    มีหลายอย่างที่หาคำตอบ

  • Members
  • 75 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 06 September 2013 - 11:01 PM

มึนเลยคับ



#2 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 07 September 2013 - 02:39 PM

ไม่ใช่เรื่องมึนเลยล่ะครับ เพราะในหลายๆ ประเทศ ภาษาก็จะไม่แบ่งแยกชายหญิงน่ะครับ เป็นเรื่องของบางประเทศเท่านั้นเอง เช่น

 

เมืองไทย ผู้ชาย พูดว่า ผม ส่วนผู้หญิง พูดว่า ฉัน หรือ ดิฉัน แต่ในอังกฤษ ทั้งชายและหญิง พูดว่า I (ไอ) ไม่มีแบ่งแยก

อีกทั้งในญี่ปุ่น ทั้งชายและหญิง พูดว่า วาตาชิ (แปลว่า ผมหรือฉัน) ก็ไม่มีแบ่งแยก

 

เมืองไทย ผู้ชาย พูดว่า ครับ ส่วนผู้หญิง พูดว่า ค่ะ แต่ในอังกฤษ ทั้งชายและหญิง พูดว่า Sir (เซอร์) ไม่มีแบ่งแยก

อีกทั้งในญี่ปุ่น ทั้งชายและหญิง พูดว่า กูดาไซด์ ซึ่งก็ไม่มีแบ่งแย่งเช่นกัน


ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#3 คุณชายรัชชานนท์

คุณชายรัชชานนท์

    มีหลายอย่างที่หาคำตอบ

  • Members
  • 75 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 07 September 2013 - 10:33 PM

เคยเรียนภาษาฝรั่งเศส มีเพศจริงๆนะคับ



#4 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 09 September 2013 - 12:37 PM

คือ มีแบ่งแยกเพศ เป็นบางประเทศเท่านั้นเองน่ะครับ


ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#5 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 September 2013 - 03:06 PM

คำในภาษาไทยที่ยืมบาลีมาก็มีเพศ เช่น กุมาร-กุมารี, บุตร-บุตรี, กินนร-กินรี, ดาบส-ดาบสินี, ภิกษุ-ภิกษุณี, สามเณร-สามเณรี, อุบาสก-อุบาสิกา ที่แปลกก็ กระหัง-กระสือ ฯลฯ

 

บางคำเป็นหญิง แต่ไม่ใช่หญิง เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ


ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#6 Super Bright

Super Bright
  • Members
  • 11 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 09 September 2013 - 04:25 PM

การแบ่งเพศของคำนั้น ก็เพื่อแบ่งประเภทในทางไวยากรณ์นั่นเอง

 

คำเพศเดียวกัน ใช้แบบเดียวกัน เช่น คำว่า “ราช” กับคำว่า “ปุรุษ” เป็นเพศชาย กรรมวิธีการนำไปใช้ก็เป็นแบบเดียวกัน
ส่วนคำว่า "ปาป" และ "ผล" เป็นเพศกลาง วิธีการใช้ก็ต่างออกไป ถ้าเพศหญิง ก็เช่น ทาริกา นารี

ตัวอย่างการใช้  เมื่อเป็นประธาน เอกพจน์


ราช > ราชะ (เติม “ะ” หลังคำ)
ปุรุษ > ปุรุษะ (เติม “ะ” หลังคำ)


ปาป > ปาปมฺ (เติม มฺ หลังคำ)
ผล > ผลมฺ (เติม มฺ หลังคำ)
 

ทาริกา > ทาริกา (ไม่เปลี่ยนรูป)
นารี > นารี (ไม่เปลี่ยนรูป)


จะเห็นว่า เพศชาย เพศกลาง เพศหญิง เมื่อนำไปใช้ จะมีแบบแผนแตกต่างกัน  ใช้ผิดถือว่า ผิดเพศ

ในบางภาษา เราสามารถบอกเพศของคำได้ชัดเจน จากเสียงที่ปรากฏ (ที่เสียงท้าย) เช่น ในภาษาสเปน/อิตาลี
ลงท้ายเสียง o เป็นเพศชาย ลงท้ายเสียง a เป็นเพศหญิง อย่างนี้ไม่ต้องจำ  แต่ภาษาฮินดีนั้น ไม่แน่นอน ไม่อาจระบุจากเสียงท้ายได้เลย


กรณีของภาษาสันสกฤต ออกจะก้ำกึ่ง กล่าวคือ อาจสังเกตได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เช่น คำที่ลงท้ายด้วยเสียง อา จะเป็นคำเพศหญิง แต่คำที่ลงท้ายด้วยสระ อะ อาจเป็นเพศชายก็ได้
เพศกลางก็ได้ ส่วนที่ลงท้ายด้วยสระ อิ อุ นั้น ไม่อาจทายได้ว่าเป็นเพศไหน คำที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะนั้นพบได้ทั้งสามเพศ จึงทายไม่ถูกเช่นกัน

คำบางคำ ก็มีทางเลือกสองอย่าง จะใช้อย่างเพศชายก็ได้ เพศกลางก็ได้  หรือจะใช้อย่างชายก็ได้ เพศหญิงก็ได้ ฯลฯ เช่น ภูมิ ปกติเป็นเพศหญิง แต่ใช้เป็นเพศชายก็ได้ เมื่อเป็นชื่อบุรุษ


การจำเพศของคำนามจึงนับว่าสำคัญมากๆื มิฉะนั้น นำมาใช้ผิดเพศ คนอ่านแปลไม่ออกทีเดียวเชียว


การแบ่งเพศของคำนั้น ไม่ค่อยจะเกี่ยวกับเพศจริงๆ สักเท่าไหร่  แต่คำเรียกบุคคล ส่วนใหญ่จะเป็นชาย-หญิงตามเพศ เช่น พาล (เพศชาย) แปลว่า เด็กชาย,
พาลา (เพศหญิง) แปลว่าเด็กหญิง, ปิตฺฤ (เพศชาย) แปลว่า บิดา, มาตฺฤ (เพศหญิง) แปลว่า แม่

แต่ก็ไม่ใช่เช่นนั้นทั้งหมด เช่น "ทาร" (เมื่อใช้รูปพหูพจน์) แปลว่า ภรรยา ซึ่งควรจะเป็นเพศหญิง แต่คำนี้เป็นเพศชายนะครับ, ส่วน "กลตฺร" ก็แปลว่า ภรรยา แต่เป็นเพศกลาง  สุดท้าย คำว่า "ปตฺนี" แปลว่า ภรรยา เหมือนกัน แต่เป็นเพศหญิง (ตรงกับหลักตรงที่ลงท้ายด้วยสระอี)

 

อนึ่ง คำว่า  “ธรฺษวร” (อ่านว่า ธัร-ษะ-วะ-ระ) แปลว่า ขันที เป็นคำนามเพศชาย ไม่ใช่เพศกลาง ;)


การแบ่งคำนามในภาษาสันสกฤต นอกจากแบ่งตามเพศแล้ว ยังแบ่งตามเสียงท้ายของคำ (เรียกว่า การันต์ - ending) นั้นด้วย เช่น ปติ (ลงเสียง อิ)
และ ภานุ (ลงเสียง อุ) เป็นคำนามเพศชาย แต่วิธีการนำมาใช้แตกต่างกัน

มีหลายทฤษฎีที่สันนิษฐานถึงที่มาของการกำหนดเพศของคำนามในภาษาตระกูลอินเดีย-ยุโรปนี้ แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจนพอที่จะยืนยันว่าทฤษฎีใดถูกต้องพอจะยอมรับได้
และไม่ค่อยจะสำคัญนัก เพราะมีแต่ข้อสันนิษฐาน  แต่มักจะเสนอตรงกันว่า เดิมมีสองเพศ แล้วมาเติมเพศกลางภายหลัง
ขณะที่ในภาษาต่างๆ ในปัจจุบัน มักจะเหลือแค่สองเพศ คือชายและหญิงเหมือนเดิม

สรุปว่า คำนามในภาษาสันสกฤตมี 3 เพศ แต่ละเพศมีรูปแบบการใช้ที่แตกต่างกัน เมื่อเรียนรู้คำศัพท์และความหมายแล้ว ต้องจำเพศของคำให้ได้ด้วย

 

ภาษายุโรปปัจจุบัน เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน อิตาลี ฯลฯ จะพบเพศของคำนาม บางภาษามีสองเพศ บางภาษามีถึงสามเพศ  ท่านที่ไม่คุ้นกับภาษาเหล่านี้อาจจะงงๆ
เพศ ของคำ (คำนาม คำสรรพนาม และคำวิเศษณ์) ในภาษาตระกูลอินเดียยุโรปนั้น มีศัพท์ฝรั่งว่า gender

ส่วนภาษาไทยนั้นไม่มี

ในภาษาสันสกฤต (และภาษาบาลี) มีสามเพศ ได้แก่ เพศชาย เรียกว่า (ปุํลฺลิงฺค - masculine) เพศกลาง (นปุงฺสกลิงฺค - neuter) และเพศหญิง (สฺตฺรีลิงฺค - feminine)

 

อ่านมาจาก GotoKnow



#7 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 10 September 2013 - 02:23 PM

ถือว่า ได้เปิดหูเปิดตา สาธุด้วยครับ เรื่องของภาษา ถือว่าเป็นข้อตกลงที่จะสื่อสารให้เข้าใจกันของคนกลุ่มหนึ่งในยุคหนึ่งๆ

หากมีใครตั้งภาษาอะไรขึ้นมา แล้วคนอื่นๆ ไม่ยอมรับ คือ ไม่ตกลงจะใช้ภาษานี้ด้วย ภาษาที่ตั้งมาโดยคนคนนั้น ก็จะไม่เกิดขึ้น

 

หรือ หากคนอื่นยอมรับกันพอสมควร แต่พอเวลาผ่านไปคนกลุ่มใหม่ไม่ยอมรับภาษานั้น ภาษานั้นก็จะหายไปในที่สุดเช่น คำว่า "จุงเบย" ซึ่งวัยรุ่นสมัยนี้นิยมพูดกัน แปลว่า จังเลย แต่หากวัยรุ่นฮิตคำใหม่ๆ ขึ้นมา คำว่า "จุงเบย" ก็จะสูญหายไปในอนาคต

 

ส่วนอีกคำ คือ คำว่า "OK" แปลให้รู้และเข้าใจกันว่า "ถูกต้อง ดีแล้ว เห็นด้วย เป็นต้น" ความจริง คำนี้ เป็นคำที่ผิดหลักภาษาอังกฤษ แต่พอนิยมใช้กันมาเรื่อยๆ คำว่า เลยกลายเป็นคำเป็นถูกต้องไปแทน คือ เริ่มต้นจากผิด ก็กลายเป็นถูกได้ หากทุกคนเข้าใจและตกลงกันว่าได้ (ไม่นับผิดศีลนะครับ)

 

ที่มาของคำว่า "OK" สืบเนื่องมาจาก มีชายคนหนึ่ง ไม่ค่อยรู้หนังสือ เขาประกอบธุรกิจค้าข้าย แต่ละวันเขาต้องตรวจสอบบิล และเซ็นรับรองบิลอยู่หลายใบ บิลแต่ละใบเมื่อเขาตรวจเสร็จแล้ว โดยปรกติเขาจะต้องเซ็นกำกับว่า "All Correct" แปลว่า "ถูกต้องทั้งหมดแล้ว"

 

แต่เนื่องจาก เขาไม่ค่อยรู้หนังสือ เขาเลยสะกดคำไม่ถูก เขาจึงเซ็นไปว่า "Oll Korrect" นั่นคือ เขาสะกดผิดจากตัว A เป็นตัว O และตัว C เป็นตัว K เขาเซ็นบิลเช่นนี้เรื่อยๆ มา จนต่อมากิจการค้าขายของเขาดีขึ้นมากๆๆๆ จนบิลไม่กี่ใบ กลายเป็นบิลกองใหญ่ เขาก็เลยเริ่มเซ็นย่อจากคำว่า "Oll Korrect" กลายเป็น "OK"

 

แต่การกลับกลายเป็นว่า ภาษาของเขาได้รับความนิยม คำว่า "OK" จึงกลายเป็นคำที่นิยมใช้กันมาตราบเท่าทุกวันนี้ ซึ่งถ้าหากเขาไม่สะกดผิด คำที่นิยมจะกลายเป็นคำว่า "AC" ไปแทน


ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#8 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 10 September 2013 - 02:38 PM

เรื่องภาษานี่  จะว่าแปลกก็แปลกนะครับ  เพราะเท่าที่เคยคุยกับนักภาษาศาสตร์มา  ว่าทำไมเขาถึงอ่านตัวอักษรสมัยโบราณได้  เขาบอกว่า  ไม่ว่าภาษาอะไรในโลกนี้  พอไล่ไปแล้ว  จะย้อนไปหาภาษาที่ใช้ก่อนๆ ได้  และภาษาทุกภาษาในโลกนี้  แม้จะต่างถิ่นกันแสนไกล  แต่วิธีการใช้ภาษาจะเป็นรูปแบบที่คล้ายคลึงกันหมด  สามารถที่จะพอเดาได้ว่าเขาเขียนถึงอะไร  อาจจะไม่เป๊ะๆ  แต่ก็ทำให้เข้าใจได้คร่าวๆ

 

ก็เลยทำให้นึกถึงเรื่องราวในพระไตรปิฎกได้  ที่ว่า  ก่อนหน้านี้   พวกเราทุกคนพูดภาษาเดียวกันหมดตอนต้นกัปล์   แต่เมื่อวิบากกรรมส่งผลให้เกิดเพศ  เกิดความเสื่อมทรามของผิวพรรณ  เกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย  ทำให้มีการหลีกเล้นกันไปในที่ต่างๆ คนที่วิบากกรรมส่งผลคล้ายๆ กัน  มีลักษณะเหมือนกัน  ก็จับกลุ่มกันแยกตัวออกไป  เมื่อมีลูกมีหลาน  ภาษาก็พัฒนาเปลี่ยนแปลงไป  จนแยกเป็นประเทศต่างๆ อย่างปัจจุบัน  และคงอีกนาน  กว่าจะกลับมาพูดในภาษาเดียวกันได้อีก  ถ้าศึกษากันต่อไป  ถ้ามีหลักฐานทางภาษามากพอ  เราอาจจะได้รู้ก็ได้นะครับว่าภาษาแรกของมนุษย์นี้  คือภาษาอะไรแน่ๆ 

 

พระพุทธศาสนานี่  ยิ่งศึกษายิ่งลึกซึ้งนะครับ 


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#9 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 11 September 2013 - 03:07 PM

เยี่ยมมาก


ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร