ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

คำศัพท์กระจ่างใจ ตอนที่ 2


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 4 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 13 September 2013 - 11:36 AM

อีกคำศัพท์หนึ่ง ที่พระอาจารย์ท่านยกมาไว้ คือ คำว่า "วิเวก" ท่านบอกให้ฟังว่า ศัพท์ในภาษาไทย มีความหมายที่ให้ความรู้สึกน่ากลัว เช่น "วิเวกวังเวง" เป็นบรรยากาศที่ไม่มีใครอยากอยู่ในบรรยากาศแบบนี้

 

แต่ความหมายที่แท้จริงของคำว่า "วิเวก" ในภาษาบาลี นั้น คำว่า "วิเวก" มาจาก 2 คำ คือ "วิ" และ "เวก"

คำว่า "วิ" มาจากคำว่า "วิเศษ"

ส่วนคำว่า "เวก" มาจากคำว่า "เอก หรือ เอกา" แปลว่า การอยู่ผู้เดียว

 

รวมคำแล้ว คำว่า "วิเวก" คือ การอยู่ผู้เดียวอย่างวิเศษ หมายถึง การที่นักบวช อาศัยบรรยากาศที่สงัด ปลีกวิเวกทำความเพียร ทำสมาธิ ทำภาวนา จนสามารถบรรลุธรรมอันเป็นคุณวิเศษได้

 

คำว่า "วิเวก" จึงมีความหมายไปคนละทางกับ คำที่ใช้ในภาษาไทยกันเลยทีเดียวครับ พอฟังมาถึงตรงนี้ ผมเลยย้อนนึกดู ยังมีอีกหลายคำทีเดียว ที่ภาษาไทย ใช้คนละเรื่องกับภาษาบาลี เช่นคำว่า "อาวุโส" ภาษาไทย หมายถึง ผู้หลักผู้ใหญ่ ที่สูงวัย แต่ในทางบาลี คำว่า "อาวุโส" เป็นคำที่ใช้เรียกผู้น้อย ส่วนผู้ใหญ่ เขาจะเรียกว่า "ภันเต" เป็นต้น

 

คำศัพท์กระจ่างใจ  ตอนที่ 1  http://www.dmc.tv/fo...showtopic=24815


แก้ไขโดย ทัพพีในหม้อ 26 September 2013 - 10:38 PM
ขออนุญาติเรียนแนะนำทุกท่านนะครับ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการค้นคว้า ถ้าท่านต้องการเขียนกระทู้ที่มีความต่อเนื่องกัน ขอให้เขียนต่อลงไปในกระทู้เดิม หรือ วางลิ้งค์กระทู้เดิมในกระทู้ใหม่(อย่างที่ทำตัวอย่าง) ซึ่งจะทำให้กระทู้ของท่านเกิดความสมบูรณ์ มีประโยช

ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#2 มองอย่างแมว

มองอย่างแมว
  • Members
  • 722 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:NYC

โพสต์เมื่อ 26 September 2013 - 09:23 AM

ทำให้ผมคิดถึง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ความหมายในภาษาไทยไม่เหมือนในทางพระพุทธศาสนาครับ


"ฉุดมันเอาไว้ หยุดมันเอาไว้ ไม่ให้มันรวนเร ต้องหยุดนิ่งสุดใจ หยุดมันเอาไว้ ฉุดมันเอาไว้ ไม่ให้มันซวนเซ ต้องฉุดให้ใจหยุด"
- ไมโคร (เพลง หยุดมันเอาไว้)
"แค่หลับตา... (ลบเลือนทุกสิ่ง เหลือเพียงหนึ่งเดียว) เธอจะเห็นยามเธอหลับตา... (ใช้ใจสัมผัสและมองสิ่งนั้น) เธอจะเห็นตัวฉันเป็นอย่างที่เป็น"
- อุ๊ หฤทัย (เพลง แค่หลับตา)

#3 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 26 September 2013 - 11:57 AM

ใช่แล้ว โดยเฉพาะคำว่า เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

เวทนา ภาษาไทย หมายถึง น่าสงสาร แต่ ภาษาบาลี หมายถึง ความรู้สึก ซึ่งหลวงปู่ใช้คำว่า "เห็น"
สัญญา ภาษาไทย หมายถึง ให้คำมั่นไว้ว่าจะทำตามนั้น แต่ภาษาบาลี หมายถึง ความจำ ซึ่งหลวงปู่ใช้คำว่า "จำ"
สังขาร ภาษาไทย หมายถึง ร่างกาย แต่ภาษาบาลี หมายถึง ความคิด ซึ่งหลวงปู่ใช้คำว่า "คิด"

วิญญาณ ภาษาไทย หมายถึง ภูตผี แต่ภาษาบาลี หมายถึง ความรู้ ซึ่งหลวงปู่ใช้คำว่า "รู้"


ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#4 คุณชายรัชชานนท์

คุณชายรัชชานนท์

    มีหลายอย่างที่หาคำตอบ

  • Members
  • 75 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 26 September 2013 - 10:26 PM

ทำไมความหมายมันเพี้ยนไปได้ล่ะคับ



#5 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 27 September 2013 - 12:31 PM

คงต้องไปสืบค้นประวัติ ที่มาของแต่ละภาษาน่ะครับ เหมือนคำว่า "OK" ว่าทำไมนำมาใช้ในความหมายว่า "ถูกต้อง ดีแล้ว ตกลง" เป็นต้น ซึ่งคำนี้ผมสงสัยมาตั้งแต่เด็กว่า OK มันย่อมาจากอะไร คำเต็มมันคือ อะไร และคำเต็มแปลอีท่าไหน ถึงได้แปลว่า "ถูกต้อง ดีแล้ว ตกลง"

 

มากระจ่างใจเอาก็ถึงคราววัยเริ่มแก่พอดี


ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร