ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ทาน ศิล ภาวนา อย่างไหนสำคัญก่วากัน


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 6 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Souriya

Souriya
  • Members
  • 53 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ส.ป.ป.ลาว
  • Interests:วิชชาธรรมกาย

โพสต์เมื่อ 02 November 2013 - 04:27 PM

สวัสดี ครับ เพื่อนฯนักสร้างบารมีทุกท่าน.

 

อยากชาบว่า ทัง 3 อย่างนี้ (ทาน ศิล ภาวนา) อันไหนสำคันที่สุด และต้องทำควบคู่กันไหม

หลือว่า ควนจะเลือกทำอันที่สำคัญที่สุดครับ.

 

ถ้าจะภาวนาอย่างเดียว จะดีไหม เพาะได้ยินว่าได้บุญมากที่สุด หลือ จะเนั้นถือศีลอย่างเดียวเพาะเป็นคนจนมีเงินน้อย....หลือว่าควนจะไห้ทานอย่างเดียว ถือศีลบ้างเป็นบางวัน และภาวนาบ้างเป็นบางโอกาด....อย่างไหนดีครับ ช่วยแนะนำด้วยครับ...

 

สาธุครับ

 

อีก 1 คำถามครับ

 

ถ้าสมมุดว่า เราวางแผนไว้ว่าอีก 2 ปีข้างหน้า จะออกบวซด้วยความเหลื้อมใสในพุทะสาสะหนา โดยมีออฟชัน ให้เลือก 2 อย่าง

 

1. ตั้งใจทำงานหาเงินให้คอบคัว สะสางพาละกิดทุกอย่างให้เรียบร้อย แล้วค้อยออกบอซในอีก 2 ปีข้างหน้า

2. หลังจากได้สืกสาทัมมะ ก่อเข้าใจว่าชีวิดคนเรามันสั้นนัก...ก่วาว่าจะตายก่อนได้บวซ... เลียลดเวลาลงมาไว้แค่ 6 เดือน จะออกบวซ...แต่ว่าบวซแล้วก่อต้องสืกออกมา เพาะว่างานยังค้างอยู่ และอีกอย่างเงินที่หามาก่อยังไม้เถีงเป้าที่ต้องกานให้กับความคัว...

 

ควนจะทำอย่างไรดีครับ.....ควนเลือกข้อ 1 คือ สะสางพะระกิดให้เสัดเรียบร้อยทุกอย่าง แล้วค่อยออกบวซ จะบวซนานแค่ไหนก่อทำได้ดั่งใจคิด หลือว่า จะเลือกข้อ 2 เพาะก่วาอยุ่ไม้ถืง 2 ปี ครับ.

 

สาธุครับ

 


สิ่งที่ต้องสะสมคือบุนกุสน สิ่งที่ต้องสะแหวงหาคือพระรัตนะไตรพายใน เป้าหมายชีวิดคือที่สุดแห่งทัม ที่พักละหว่างทางคือ ดุสิดบุรี วงบุนพิเสด เขดพระโพทิสัด.

ละชั่วทุกอย่าง ทำดีทุกรูบแบบ ทำใจให้พ่องใส อยากไปไหนก่อไปได้ทุกที่...


#2 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 02 November 2013 - 06:53 PM

ทาน  ศีล  ภาวนา  ถามว่าอย่างไหนสำคัญกว่ากัน  ตอบไม่ได้หรอกครับ   เหมือนกับถามท่านว่า  อาหาร  น้ำ  อากาศ  อย่างไหนสำคัญกว่ากัน  ใครก็ตอบยาก  เพราะความต้องการของตนในขณะนั้นไม่เหมือนกัน

 

อาหาร  น้ำ  อากาศ  จำเป็นต่อชีวิตทั้งสามอย่าง  ขาดสิ่งใด  สิ่งหนึ่ง  ชีวิตก็อยู่ได้ไม่นาน   ทาน  ศีล  ภาวนา  ทั้งสามอย่างก็ขาดการเกื้อหนุนกันไม่ได้เหมือนกัน  

 

ทำทานอย่างเดียว  ไม่รักษาศีล  ไม่ทำสมาธิเจริญภาวนา  เวลาบุญส่งผล  ให้มีทรัพย์ร่ำรวย  แต่ทรัพย์ก็จะวิบัติเพราะเราไม่มีปัญญาในการจัดการใช้จ่าย

 

ทำสมาธิภาวนาอย่างเดียว  ไม่ทำทาน  ไม่รักษาศีล  เวลาบุญส่งผล  ให้เป็นคนฉลาด  มีปัญญามาก  แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการดำเนินชีวิต  ได้อยู่ในที่ อปฏิรูปเทส  ขาดกัลยาณมิตร  ชีวิตก็ดำเนินไปลุ่มๆ ดอนๆ  ไม่มีความสะดวกสบาย  ติดขัดไปหมด

 

และ  ฯลฯ

 

เพราะฉะนั้น  ทาน  ศีล  ภาวนา  "ต้อง" ทำไปพร้อมๆ กัน  ให้ทุกสิ่งทุกอย่างส่งผลเกื้อหนุน ส่งเสริมซึ่งกันและดัน  เส้นทางชีวิต  เส้นทางการสร้างบารมีก็จะราบรื่น

 

..................................................................

 

ส่วนคำถามอีกข้อ  ขอแนะนำว่า  อย่าถามคนอื่นครับ  เพราะไม่มีใครรู้ดีไปกว่าตัวเรา  ถ้า "พร้อม" เมื่อไหร่  ก็บวชเมื่อนั้นทันทีครับ  อย่ารอ  อย่าวางแผน  เพราะมันจะไม่เป็นไปตามแผนนั้นอย่างแน่นอน  จำไว้ครับ  "พร้อม-แล้ว-บวช" 

 

........................................................................

 

แต่เชื่อผมเถอะ  ท่านที่จะเข้ามาตอบท่านถัดไป  ต้องตอบว่า   "  ไม่ต้องรอ  บวชเลย "  อย่างแน่นอน  ฟันธงฉับๆ


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#3 ดินสอแห่งธรรม

ดินสอแห่งธรรม

    สร้างบารมีเป็นหมู่คณะ = ฝึกตนให้เป็นผู้ใจกว้าง

  • Members
  • 1478 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ดุสิตบุรี
  • Interests:สร้างบารมีแบบเต็มกำลัง

โพสต์เมื่อ 03 November 2013 - 11:10 PM

^_^ ...เป็นคำถามที่ดีนะครับ

 

... ทาน ศีล ภาวนา  ทั้ง 3 นี้ มีอานิสงค์แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงนะคับ เทียบหรือแทนกันไม่ได้เลย  ผมขออธิบายแบบสั้นๆละกันนะคับ 

 

- ทาน เป็นเบื้องต้นแห่งการสร้างบารมี เป็นเหมือนเสบียงติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ เป็นหลักประกันถึงอุปกรณ์ที่จะหล่อเลี้ยงตัวเราในการสร้างบารมี เป็นบารมีประเภทที่ทำง่ายที่สุด  คือการ "ให้" เพราะเริ่มเมื่อใด ที่ไหน เวลาใดก็ได้ แต่อานิสงค์หรือผลบุญจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของผู้ให้ทาน และผู้รับทาน โดยเอาความบริสุทธิ์จากกิเลสอาสวะเป็นเครื่องวัด ถ้าบริสุทธิ์มาก ผลของอานิสงค์ก็มีมาก...

 

- ศีล  เป็นบารมีประเภทที่ต้องใช้กำลังใจ ความเข้าใจในเรื่องของบุญของทานมาระดับหนึ่งแล้ว จึงมองหาบารมีที่ยิ่งๆขึ้นไปกว่าการให้ และมีอานิสงค์ที่มากกว่า ยาวนานกว่า เร็วแรงกว่า ศีล นั้น เป็นเบื้องต้นแห่งความบริสุทธิ์นั่นเอง ผู้ใดมีศีลก็เท่ากับได้สร้างความบริสุทธิ์ให้เกิดขึ้น มีความระมัดระวังบาปอกุศลมากขึ้น และมีโอกาสสร้างบุญได้ง่ายขึ้น มีปกตินิสัยรักการสร้างบุญมากขึ้นตามไปด้วย

 

... และการรักษาศีลจะทำได้ยากกว่า การทำทานอย่างแน่นอน เพราะต้องใช้กำลังใจสูง ต้องมีเป้าหมายคือ พระนิพพานที่ยิ่งยวดกว่าการให้ทาน ด้วยการทำกาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์ และสิ่งนั้นจะบริุสุทธิ์ได้ ก็ด้วยมี "ศีล" นี้เอง...

 

-ภาวนา  จริงๆแล้ว การภาวนา มิได้หมายถึงการท่องในใจ หรือกำหนดลมหายใจเท่านั้น ภาวนา เป็นบริกรรมอย่างหนึ่ง ที่จะทำในขณะทำสมาธิ  ซึ่งสมาธินี้เองเป็นการหยุดความคิด การกระทำ อันเป็นข้าศึกต่อการถึงซึ่งพระนิพพาน และไม่มีนิพพานใดที่ไม่อาศัยสมาธิ ดังนั้นประตูสู่พระนิพพานต้องใช้สมาธิ และการที่จะเจริญภาวนา หรือเจริญสมาธิภาวนา ก็มีความหมายถึง การมีเป้าหมายสู่ความหลุดพ้น

 

.....คือ การหยุดทุกสิ่งไว้เท่านี้ ไม่คิด ไม่พูด ไม่ทำอะไร ทำแต่ใจนิ่งๆ มีบริกรรมในระหว่างปฏิบัติธรรมไปต่างๆ เช่น สัมมา อะระหัง หรืออื่นๆใด ก็เพื่อให้ใจไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คิดโ่น่นคิดนี่ เพราะหากไม่บริกรรมแล้ว ความคิด คำพูด การกระทำ ที่เราทำมา มันจะมาปรากฎตอนทำสมาธิ ทำให้เราปล่อยใจคิดไปเรื่อยเปื่อย ไม่เป็นสมาธิที่ถูกต้อง

 

....เพราะสมาธิที่ยังมีความคิดเรื่องอื่นๆอยู่ ยังเป็นสมาธิที่เป็นเรื่องที่ผ่านมาของชีวิต มิใช่สมาธิที่เกิดจากความไม่คิด เรียกว่า สมาธิแบบคิดเรื่องอื่น กับไม่คิดเรื่องอื่น จะมีความเครียด ความวิตกต่างกัน และการไม่คิดหรือ "หยุด" จึงเป็นสิ่งที่ทุกคนแสวงหา เพราะต้องการออกจากความคิด เพื่อทำใจสบายๆไม่คิดเรื่องอะไรเลยนั่นเอง และตักตวงความสุขจากการทำสมาธินั้น ด้วยอารมณ์นั้นไปนานๆ..

 

---------

...ส่วนการออกบวชนั้น หากจะรอบวชระยะยาว บางทีก็อาจมีชีวิต หรือรักษาลมหายใจให้รอถึงวันนั้นไม่ได้ เพราะคนเรา มนุษย์เราเวลาของชีวิตมีกี่เดือน กี่วัน กี่ปี เราไม่มีทางรู้เลย  มีชีวิตอยู่แค่หายใจเข้าออกเท่านั้นเอง  ดังนั้นการบวช หากตั้งใจแล้ว ก็ให้บวชเลย จะบวชระยะสั้นหรือยาวก็ล้วนมีอานิสงค์ที่ยิ่งใหญ่ทั้งนั้น  และการบวชสั้นหลายๆครั้งก็เป็นเหมือนการตั้งแผนผังของชีวิตให้มีบารมีมากพอจะบวชระยะยาวได้ในอนาคตนั่นเอง...

 

...มิควรคิดว่าเราจะต้องพร้อม  เพราะความพร้อมนั้นไม่มี ถ้าความพร้อมมีจริง มนุษย์คงเข้านิพพานกันไปเกือบหมดแล้ว แต่เพราะกระแสกิเลสที่รุนแรงนี้เอง ทำให้มนุษย์ยังต้องทำมาหากิน เป็นกังวล มีภาระ มีหนี้สิน มีทุกอย่างไปจนถึงเหตุผลที่จะยังไม่ทำบุญ สร้างบารมี หรือบวชในตอนนี้...

 

...ผู้ที่บวชได้ และได้บวชส่วนใหญ่ มาจากการตัดสินใจทั้งสิ้น คือ "ทิ้งทุกอย่าง วางทุกสิ่ง แล้ววิ่งเข้าวัด ...บวช "  เขาถึงได้บวชกัน ไม่งั้นก็คิดวนไปวนมาเหมือนพายเรือในแอ่งน้ำ พายไปพายมาก็เลิกพายเลิกคิด  ..สุดท้ายก็สิ้นแรง และสิ้นลมไปตามกรรม...  *-)


..อันมือของฉันสองมือนี้ ดูเล็กนิดเดียวและไม่มั่นใจว่าฉันจะสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่โลกใบนี้ได้.. แต่ฉันมั่นใจว่า ...หัวใจของฉันนี้ มอบไว้ให้แด่พระพุทธศาสน์....

#4 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 04 November 2013 - 12:27 PM

เวลาอยู่กลางทะเล คุณคิดจะไม่สนใจอะไร ระหว่าง

 

1) เรือ

2) เสบียงในเรือ

3) หางเสือ

 

1) หากไม่สนใจ เรือ ก็คือ ไม่คิดรักษาศีล ย่อมจมน้ำตาย หมายถึง ทำบาปกรรมแล้วพลัดไปอบาย ทนทุกข์ยาวนาน ย่อมไม่มีทางพ้นทุกข์

2) หากไม่สนใจ เสบียงในเรือ ก็คือ ไม่คิดทำทาน แน่นอนไม่ถึงกับจมน้ำเพราะเรือยังอยู่ แต่จะอดอาหาร ถามว่า ทำได้ไหม ตอบว่า ขึ้นกับสถานการณ์ นั่นคือ หากคุณแล่นเรือใกล้จะถึงฝั่งแน่แล้ว คุณสามารถทิ้งเสบียงในเรือ แล้วรีบแล่นเรือเข้าฝั่ง(พระนิพพาน) ได้โดยตรง

แต่ถ้าหากอยู่กลางทะเล คิดทิ้งเสบียงในเรือ ก็อดตายเท่านั้นเอง

เปรียบเสมือน หากเราใกล้บรรลุพระนิพพานแล้ว เราก็ตัดสินสละทางโลกทุกอย่าง ออกบวชเป็นพระ มุ่งบำเพ็ญเพียรในป่า แล้วก็นิพพาน อย่างนี้ไม่ต้องทำทานก็ได้ แต่หากเรายังคิดข้องแวะอยู่ทางโลก อย่างนี้ การทำทานจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากไม่ทำทาน ก็ไม่มีทรัพย์ หากไม่มีทรัพย์ ก็ต้องดิ้นรนปากกัดตีนถีบ เพื่อแสวงหาทรัพย์ ไม่คิดปฏิบัติธรรม หรือ บางทีผิดศีลเพื่อให้ได้ทรัพย์มา ก็ไปอบายอยู่ดี

 

3) หากไม่สนใจ หางเสือ ก็คือ ไม่คิดภาวนา อย่างนี้ลอยคอกลางทะเลตลอดไป หมดโอกาสบรรลุนิพพาน สุดท้ายก็จะพลาดท่าเสียทีห้วงทะเลแห่งวัฏฏสังสาร เข้าจนได้

 

ในความเห็นผม ถ้าคิดจะเดินเรือ ข้ามทะเลวัฏฏะ เรือ เสบียง และหางเสือ ล้วนจำเป็นอย่างยิ่ง แต่บางท่านอาจบอกว่า ฉันรู้สึกว่า ใจฉันสะอาด สว่าง สงบใกล้นิพพาน แล้ว เลิกทำทานดีกว่า ก็ต้องถามตัวเองว่า ยังคงอยากข้องแวะกับทางโลกอยู่หรือไม่ หรือ คิดเลิกข้องแวะ ด้วยการสละทุกสิ่ง ออกบวชมุ่งปฏิบัติธรรม ไม่สนใจใคร เฉกเช่น พระพาหิยะ และเพื่อนภิกษุอีก 7 รูป ในกาลก่อน ถ้าอย่างนี้ ไม่ต้องทำทานได้ครับ ไปถามใจตัวเองให้ดี


ขอแก้ไข ประโยคที่ว่า "เพราะหากทำทาน ก็ไม่มีทรัพย์" เป็น "หากไม่ทำทาน ก็ไม่มีทรัพย์"

คอมพิวเตอร์ ผมเป็นอะไรไม่ทราบ ไม่สามารถแก้ไขกระทู้ได้โดยตรง เลยใช้วิธีโพส ต่อมาแบบนี้ครับ


แก้ไขโดย ทัพพีในหม้อ 04 November 2013 - 02:22 PM
แก้ให้แล้วครับ

ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#5 ก้าน

ก้าน
  • Members
  • 16 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 04 November 2013 - 07:53 PM

ทาน  ศีล  ภาวนา  ถามว่าอย่างไหนสำคัญกว่ากัน  ตอบไม่ได้หรอกครับ   เหมือนกับถามท่านว่า  อาหาร  น้ำ  อากาศ  อย่างไหนสำคัญกว่ากัน  ใครก็ตอบยาก  เพราะความต้องการของตนในขณะนั้นไม่เหมือนกัน

 

อาหาร  น้ำ  อากาศ  จำเป็นต่อชีวิตทั้งสามอย่าง  ขาดสิ่งใด  สิ่งหนึ่ง  ชีวิตก็อยู่ได้ไม่นาน   ทาน  ศีล  ภาวนา  ทั้งสามอย่างก็ขาดการเกื้อหนุนกันไม่ได้เหมือนกัน  

 

ทำทานอย่างเดียว  ไม่รักษาศีล  ไม่ทำสมาธิเจริญภาวนา  เวลาบุญส่งผล  ให้มีทรัพย์ร่ำรวย  แต่ทรัพย์ก็จะวิบัติเพราะเราไม่มีปัญญาในการจัดการใช้จ่าย

 

ทำสมาธิภาวนาอย่างเดียว  ไม่ทำทาน  ไม่รักษาศีล  เวลาบุญส่งผล  ให้เป็นคนฉลาด  มีปัญญามาก  แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการดำเนินชีวิต  ได้อยู่ในที่ อปฏิรูปเทส  ขาดกัลยาณมิตร  ชีวิตก็ดำเนินไปลุ่มๆ ดอนๆ  ไม่มีความสะดวกสบาย  ติดขัดไปหมด

 

และ  ฯลฯ

 

เพราะฉะนั้น  ทาน  ศีล  ภาวนา  "ต้อง" ทำไปพร้อมๆ กัน  ให้ทุกสิ่งทุกอย่างส่งผลเกื้อหนุน ส่งเสริมซึ่งกันและดัน  เส้นทางชีวิต  เส้นทางการสร้างบารมีก็จะราบรื่น

 

..................................................................

 

ส่วนคำถามอีกข้อ  ขอแนะนำว่า  อย่าถามคนอื่นครับ  เพราะไม่มีใครรู้ดีไปกว่าตัวเรา  ถ้า "พร้อม" เมื่อไหร่  ก็บวชเมื่อนั้นทันทีครับ  อย่ารอ  อย่าวางแผน  เพราะมันจะไม่เป็นไปตามแผนนั้นอย่างแน่นอน  จำไว้ครับ  "พร้อม-แล้ว-บวช" 

 

........................................................................

 

แต่เชื่อผมเถอะ  ท่านที่จะเข้ามาตอบท่านถัดไป  ต้องตอบว่า   "  ไม่ต้องรอ  บวชเลย "  อย่างแน่นอน  ฟันธงฉับๆ

เห็นด้วยครับพร้อมแล้วบวชเลยไม่ต้องรอช้าแต่เรื่องทานนั้นได้ยินพระทานว่าเพื่อลดความตะหนี่ขี่เหนียวเท่านั้นแต่ก็ได้บุญต้องทำควบคู่กันไปคือ ทาน ศีล   ภาวนา    เป็นต้นคิดว่างั้น :) ครับ



#6 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 04 November 2013 - 08:24 PM

การลดความตระหนี่  เป็นอานิสงส์ในการฝึกใจตนให้สูงขึ้นของการให้ทานครับ  

 

ทาน ..ทางมาแห่งทรัพย์สมบัติ
 
20100904-6.jpg
 
ความหมายและประเภทของทาน
 
        ทาน หมายถึง การให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่หวังผลตอบแทน เมื่อเราให้ทาน แม้จะไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทนก็ตาม แต่ก็จะมีบุญเกิดขึ้น และบุญนั้นจะช่วยออกแบบชีวิตของเราให้สมบูรณ์พร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ ถ้าใครปราศจากทานบารมี เกิดมาก็จะยากจน สร้างบารมีได้ไม่สะดวก เพราะมัวแต่กังวลเรื่องการทำมาหากิน “ทาน” จึงเป็นพื้นทานของการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความเจริญก้าวหน้า ทาน เป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ 10_การทำทานจึงเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง คำว่า “ทาน” นี้โดยทั่วไปมักเข้าใจสับสนกับคำว่า “บุญ” เนื่องจากเรามักจะเรียกการถวายของแด่พระภิกษุว่า “ทำบุญ” แต่เมื่อให้ของแก่คนยากจน หรือคนที่ด้อยกว่าตน มักเรียกว่า “ทำทาน” แต่จริงๆ แล้ว การให้นั้นไม่ว่าจะให้แก่ใครก็ตามถือว่าเป็นทานทั้งสิ้น และได้บุญทั้งนั้น
 
20100904-7.jpg
 
ทานแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
 
1.อามิสทาน คือ การให้วัตถุสิ่งของต่างๆ เป็นทาน เช่น ข้าว น้ำ ผ้า ยานพาหนะ ที่อยู่อาศัย ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ประทีปโคมไฟ เป็นต้น
 
การให้อามิสทานนี้ แบ่งตามคุณภาพของสิ่งที่ทำทานได้เป็น 3 อย่าง ดังนี้
    1.1    ทาสทาน ให้ของที่ด้อยกว่าตนเองใช้ ได้บุญน้อย
    1.2    สหายทาน ให้ของที่เสมอกับที่ตนเองใช้ ได้บุญมากขึ้น
    1.3    สามีทาน ให้ของที่ดีกว่าที่ตนเองใช้ ได้บุญมากที่สุด
 
2.อภัยทาน คือ การให้ขีวิตสัตว์เป็นทาน รวมทั้งการปล่อยวางความโกรธให้หมด ไปจากใจ เลิกพยาบาท ให้อภัยกัน
 
3.วิทยาทาน คือ การให้ความรู้เป็นทาน และให้คำแนะนำสั่งสอนที่ดี ที่มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
 
4.ธรรมทาน คือ การให้ความรู้เรื่องธรรมเป็นทาน เช่น การแนะนำสั่งสอนให้เข้าใจเรื่องบุญ บาป ให้ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส ด้วยการทำสมาธิ(Meditation)ภาวนา ซึ่งจะเป็นทางมาแห่งความสะอาดบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ จนกระทั้งสิ้นอาสวกิเลสได้
 
การให้ธรรมทานเปรียบเสมือนการให้ประทีปส่องทางชีวิตให้ดำเนินไปในทางที่ถูกต้อง ดีงาม ธรรมทานจึงมีอานิสงส์ยิ่งใหญ่และประเสริฐกว่าทานทั้งปวง
 
20100904-2.jpg
 
การให้ทานที่มีอานิสงส์มาก
 
        การให้ที่ได้บุญมาก มีผลนับประมาณมิได้ ตามหลักของพระพุทธศาสนา จะต้องครบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
 
1.วัตถุบริสุทธิ์ หมายถึง สิ่งของที่นำมาทำทานหามาได้โดยชอบธรรม ไม่ได้ไปลักขโมยมา
2.บุคคลบริสุทธิ์ หมายถึง ทั้งผู้รับและผู้ให้มีศีลมีธรรมตามเพศภาวะของตน
3.เจตนาบริสุทธิ์ หมายถึง มีเจตตนาให้ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา เชื่อในผลของทานทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังจากให้แล้ว
 
        นอกจากนี้ การให้ทานจะได้บุญมากหรือน้อย ยังขึ้นอยู่กับเจตตนาของผู้ให้อีกด้วย ถ้าให้ทานแบบเฉพาะเจาะจงบุคคลใดบุคคลหนึ่งเรียกว่า “ปาฏิปุคลิกทาน” จะได้บุญน้อยกว่าการให้ทานแก่หมู่คณะโดยไม่เจาะจงผู้หนึ่งผู้ใด ที่เรียกว่า “สังฆทาน” ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรับรองไว้ว่า “สังฆทานเป็นประมุขของผู้หวังบุญ พระสงฆ์นั่นแหละเป็นประมุขของผู้บูชาและเป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า”
 
ของที่ให้แล้วไม่ได้บุญ
 
        ของบางอย่างไม่ควรนำไปให้ใคร เพราะเมื่อให้แล้วนอกจากจะไม่ได้บุญ ยังมีโทษ หรือบาปกรรมเกิดขึ้นแก่ทั้งผู้ให้และผู้รับ ได้แก่ สุรา ยาเสพติด มหรสพที่ทำให้ประมาทมัวเมาสัตว์เพื่อการผสมพันธุ์ รูปภาพ หรือสิ่งของที่ยั่วยุกามารมณ์ อาวุธหรือยาพิษเพื่อการทำมิจฉาชีพ
 
20100904-8.jpg
 
อานิสงส์ของการให้ทาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอานิสงส์ของทานไว้ในสีหสูตรว่า
 
1.  ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก
2.  คนดีเป็นอันมากย่อมพอใจคบหาผู้ให้ทาน
3.  ชื่อเสียงอันดีงามของผู้ให้ย่อมฟุ้งขจรไป
4.  ผู้ให้ย่อมแกล้วกล้าอาจหาญ ไม่เก้อเขินในที่ประชุมชน
5.  เมื่อละจากโลกนี้ ผู้ให้ย่อมบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
 
20100904-9.jpg
 
        อานิสงส์ 4 ประการแรกส่งผลในชาติปัจจุบัน ประการสุดท้ายส่งผลในชาติหน้า นอกจากนี้ ทานบางอย่างก็มีอานิสงส์ที่เด่นชัดอยู่ในตัวเอง เมื่อเราทำทานแล้ว แม้ไม่ได้อธิษฐานก็ตาม บุญก็จะส่งผลตามลักษณะของทาน ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในกินททสูตรว่า “ผู้ให้อาหาร ชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้วรรณะ ผู้ให้ยาน (พาหนะ) ชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ และผู้ที่ให้พักอาศัย ชื่อว่าให้ทุกอย่าง ส่วนผู้ที่ให้ธรรมทานชื่อว่าให้อมฤตธรรม”
 

สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#7 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 06 November 2013 - 09:29 AM

Option1 ผังบวชยาวดี ปราศจากเครื่องกังวล

 

Option2 ผังสั้น แต่ยังข้องโลก


ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC