ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

สมถะ กับ อนาถา ต่างกันอย่างไร เข้าใจกันว่าอย่างไร

อนาถา

  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 4 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Tung

Tung
  • Admin
  • 195 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 12 November 2013 - 11:02 PM

อยากทราบว่าเห็นของแต่ละท่านว่า สะท้อนสังคมไทยว่า

 

- สมถะ หมายถึงอย่างไร

- อนาถา หมายถึงอย่างไร

- ทั้งสองแตกต่างกันอย่างไร

- ช่วยยกตัวอย่างอย่างไรเรียกสมถะ อย่างไรเรียกอนาถา

 

คุณอนันต์ อัศวโภคิน เคยพูดบอกว่าคนไทยสับสนระหว่าง สมถะ กับ อนาถะ ความจริงมันไม่เหมือนกัน เช่นสมมติว่าเรามีรถสามคันแต่ทุกคันถูกใช้หมดอย่างเต็มที่เต็มเวลาเพื่อทำงาน ก็ถือว่าสมถะ แต่ถ้าเรามีบ้านเล็กๆหลังนิดเดียวแต่ไม่เคยอยู่บ้านเลยแต่ไปอยู่คอนโด อันนั้นถือว่าไม่สมถะ ส่วนอนาถะคือความขาดแคลน ความน่าสงสาร ความดูจนดูไม่มีอะไร เรากลับนิยมทำบุญทำทานกับสิ่งนี้ทำให้ประเทศที่ถือพุทธศาสนาและนิยมอนาถะแบบเราไม่เจริญรุ่งเรืองสักทีเช่นประเทศรอบๆเราไปจนถึงศรีลังกา ซึ่งแตกต่างจากฮ่องกงใต้หวันและญี่ปุ่นที่เขาไม่ได้นิยมอนาถะ

 

ทุกท่านมีความเห็นอย่างไร อยากฟัง

 

แนบไฟล์  anata.jpg   62.78K   81 ดาวน์โหลด



#2 ดินสอแห่งธรรม

ดินสอแห่งธรรม

    สร้างบารมีเป็นหมู่คณะ = ฝึกตนให้เป็นผู้ใจกว้าง

  • Members
  • 1478 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ดุสิตบุรี
  • Interests:สร้างบารมีแบบเต็มกำลัง

โพสต์เมื่อ 13 November 2013 - 12:51 AM

..   :P  ..ขอแปลความหมายก่อน เพื่ออธิบายต่อ หุหุ  ..จริงๆ สมถะ ก็แปลได้ว่า ความสงบ หรือ ปลีกวิเวก คือ พึงพอใจในที่ที่ตนมีเพียงเท่านี้ ฯลฯ

 

ส่วนอนาถา คือ ความไม่มี ความขาดแคลน และยังคงต้องการหามาเพิ่มอยู่...

 

- ทั้งสอง แตกต่างกันตรงที่ "ความต้องการ"   สมถะ ความสงบนี้ แม้ผู้ที่มั่งมี หรือไม่มี ก็จะแสวงหาเมื่อต้องการแสวงหา หรือหลีกหนีให้พ้นจากความวุ่นวาย ทั้งภายในและภายนอก ทั้งจิตใจและร่างกาย และมีเป้าหมายเพื่อพบความสงบและความสุขที่เกิดจากการพ้นจากความวุ่นวายเป็นเป้าหมาย..

 

...ส่วนอนาถา หรืออนาถะ ในแบบที่ไม่ได้ขาดแคลน แต่อาจเหมือนขาดแคลนจนไปตีความว่า เหมือนกันสมถะ คือ "อ๋อ ..ต้องการหลีกหนีความสบาย  หลีกหนีสิ่งที่บำรุง หรือมาอำนวยความสะดวกเรา" ... จริงๆ แล้วก็เป็นแค่การตีความโดยนำมารวมกัน ซึ่งในความหมายนั้นไม่ได้มีความหมายไปในทางเดียวกันเลย แต่เมื่อนำมารวมกันก็เข้ากันได้ เช่น  การหลีกพ้น ความสงบ จากการทำตนให้ไม่ยึดติด ไม่สนใจความสะดวก ปลีกวิเวกจากความหรูหรา ฯลฯ (เรียกว่า นำมาผสมกันดูเป็นไปในทางนี้กัน)...

 

...อนาถาในเชิงที่คุณอนันต์กล่าวนั้น ประเทศที่อาจสนใจหรือมีความพอใจในสิ่งที่ดูไม่เจริญ ไม่ล้ำหน้าล้ำสมัย  กับที่เน้นให้ประเทศดูล้ำหน้าล้ำสมัย ดูดี ดูไม่น่าสงสาร ดูหรูหราเป็นหน้าเป็นตาประเทศตน... นี้ก็มีเจตนาไม่เหมือนกัน แต่แท้จริงแล้วประเทศไทยไม่ได้เป็นแบบนั้น  เรามีลักษณะผสมผสานกันไป  คือมีทั้งหรูหรา  และล้าหลัง การรักษาสิ่งที่บ้านเมืองที่ดูล้าหลังยังรวมไปถึง  การที่ประชาชนมีอาชีพ หรือมีวิถีชีวิตที่ดูน่าเห็นใจ น่าสงสาร หรือ ดั่งในภาพคือ เป็นขอทาน  ฯลฯ

 

...ดังนั้นที่เกริ่นมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่ออธิบาย ว่า การทำบุญกับคนที่ดูน่าสงสาร หรือบ้านเมืองที่ทำเหมือนจน เหมือนยากไร้ ทั้งๆที่ประเทศนี้ก็พัฒนาได้ ไม่ต้องให้มีขอทานก็ได้(หรือมีให้น้อยกว่านี้) รวมไปถึง การทำบุญในแบบที่เรียกว่าให้ทานกับผู้ยากไร้ในประเทศที่ไม่ได้ยากไร้ หรือมีโอกาสพัฒนาให้ดีขึ้นได้ ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ที่จะทำให้ ความขาดแคลน หรือดูน่าสงสารนี้หายออกไป... และการทำทานกับคนยากไร้ หรือ ทำทานกับคนอนาถา การนำทรัพย์มาช่วยเหลือคนเหล่านี้ มันเหมือนไม่ได้ก้าวเดินไปข้างหน้า กลับมาเจือจุนในจุดที่เรียกว่า "ตัน" หรือ พัฒนาได้ยาก....

 

...เขาก็มองแบบประเทศที่พัฒนาแล้วนั่นแหละ ว่า การใช้ทรัพย์สินของประเทศมุ่งเน้นเดินไปข้างหน้า อะไรไม่เจริญก็เปลี่ยน อะไรอยากรักษาก็แค่รักษาไว้ในมุมใดมุมหนึ่ง แต่กำลังทรัพย์ทั้งหมดของประชาชนควรเอาไปพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้า และไม่ควรต้องสนใจสิ่งที่พัฒนาได้ยาก หรือ สนับสนุนในส่วนที่ไม่พัฒนา (คนที่พัฒนาได้ยาก) เพราะเขามองที่การเพิ่มของสิ่งเหล่านี้ด้วย ว่า ยิ่งสนับสนุนก็กลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และทรัพย์ของประเทศก็เสียกำลังลงไปกับการต้องดูแลอนาถา ( ผมพยายามใช้คำที่ไม่กระทบเกินไปนะครับ พยายามแปลความหมายอีกทีให้กว้างขึ้น)...

 

...ดังนั้น หากเราได้ลองศึกษาประเทศอื่นๆดู  เราจะพบว่า บางประเทศทีั่ดูยังยากจนอยู่ เพราะมีอนาถาค่อนข้างมากนั้น ทำให้ประเทศที่ไม่ชอบสิ่งเหล่านี้มองดูว่า เป็นเรื่องน่าสงสารที่ไม่ควรสนับสนุนช่วยเหลือ หรือทำบุญ เพราะมีผลต่อภาพพจน์และเศรษฐกิจของประเทศ (เขามองกว้างแบบนั้น)  ..แต่กับคนไทยเรา เรามีจิตใจอ่อนโยน อยากให้ผู้ไม่มี ได้มีมั่ง แต่ทว่า การเพิ่มของอนาถานี้ ก็มีมากขึ้นจริงๆ และก็มีอนาถาที่เป็นผู้มั่งมีได้จริงๆ (ขอจนมั่งมี)  ...แต่หลักๆ คือ ต่างชาติ เขาเน้นการพัฒนาประเทศของตนเป็นหลักนั่นเองครับ สิ่งใดที่เป็นจุดอ่อนเขาก็ไม่อยากให้มี หรือถ้ากำจัดได้โดยไม่กระทบต่อมนุษยชน หรือภาพพจน์ของประเทศในภายหลัง เขากำจัดได้เขาก็จะกำจัดทันที....

 

....จริงๆ ก็เป็นเหตุผลที่ควรคิดตามนะครับ พยายามคิดในมุมที่กว้างขึ้น คำตอบ หรือความเข้าใจก็จะมาสู่คุณในมุมมองต่างๆอีกมาก ว่า จะทำอย่างไรในเมื่อต่างประเทศมองดูเราอยู่แบบนี้ และเขาเข้าใจแบบนี้ เราควรต้องทำอย่างไร?  ^_^

 

...ปล. การอธิบายของผมตั้งใจให้ไม่ละเอียด เป็นเหมือนแนวคิด เพื่อลดการกระทบกระทั่ง อ่านแล้วอาจงงๆ แต่ลองอ่านดีๆ อ่านหลายๆรอบ ก็จะพอเข้าใจน่ะครับ  :)


..อันมือของฉันสองมือนี้ ดูเล็กนิดเดียวและไม่มั่นใจว่าฉันจะสร้างสิ่งดีๆ ให้เกิดแก่โลกใบนี้ได้.. แต่ฉันมั่นใจว่า ...หัวใจของฉันนี้ มอบไว้ให้แด่พระพุทธศาสน์....

#3 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 13 November 2013 - 07:42 AM

ในส่วนตัว  ผมเข้าใจคำว่าอนาถะ  ไปในทิศทางเดียวกับกับพระอาจารย์ครับ   แต่ของผมจะเติมคำว่า  ขาดแคลนแม้กระทั่ง "โอกาศ"  เข้าไปด้วย  คือสิ้นหนทางจริงๆ  ขาดปัจจัย 4  ยังพอแสวงหาได้  แต่ถ้าขาดโอกาศในการแสวงหา  นี่คือ  ที่สุดของที่สุดครับ

 

ส่วนสมถะยังขอผ่านอยู่  เพราะยังไม่ทราบว่าจะอธิบายยังไงดี

 

รอฟังท่านดินสอฯ ก่อนครับ


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#4 cheterkk

cheterkk
  • Members
  • 270 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 November 2013 - 10:59 AM

ผมคิดเห็นว่า "อนาถะ" ถ้าเราให้ทานแก่บุคคลที่เป็นอนาถะ  เราก็ถือว่าให้ทานได้บุญเช่นกันนะครับ ซึ่งในพระสูตรกล่าวว่า 

 

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ 

 
 
๑ . ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี 
 
๒ . ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม 
 
๓ . ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๘ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม 
 
๔ . ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม 
 
๕ . ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ 
พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น " พระ " แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า " สมมุติสงฆ์ " พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น " พระ " ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ " พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธมเจ้า " และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ 
 
๖ . ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่ - พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ( ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น ) 
 
๗ . ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม 
 
๘ . ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม 
 
๙ . ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม 
 
๑๐ . ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม 
 
๑๑ . ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแด่พระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม 
 
๑๒ . ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะถวายสังฆทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม 
 
๑๓ . การถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า " การถวายวิหารทาน " แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม " วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน " อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น " โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ " ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน 
 
๑๔ . การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ( ๑๐๐ หลัง ) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ " ธรรมทาน " แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม " การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้รู้ได้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ " 
 
๑๕ . การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ " อภัยทาน " แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานก็คือ " การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู " ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ " ละโทสะกิเลส " และเป็นการเจริญ " เมตตาพรหมวิหารธรรม " อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง " พยาบาท " ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง 
อย่างไรก็ดี การให้อภัยทานแม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่น ๆ ทั้งมวล ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า " ฝ่ายศีล " เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน


#5 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 13 November 2013 - 05:43 PM

สาธุ กับบัณฑิตทุกท่าน

 

สมถ สมถะ การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์. ว. มักน้อย

อนาถ ไม่มีที่พึ่ง, น่าสงสาร, น่าสังเวช,สลดใจ

 

ทั้งสองต่างกันโดยสิ้นเชิงเมื่อมาใช้กับ บุคคล

 

- บุคคลสมถะมีความเป็นอยู่เรียบง่าย...หมายถึง ผู้ที่พึ่งพาตนให้อยู่รอดและอยู่ได้ ไม่ว่าฐานะทางการเงิน เศรษฐกิจ จะเป็นอย่างไร

- บุคคลอนาถา...หมายถึง ผู้ยากไร้ ขาดแคลนปัจจัยสี่ในการดำรงชีพ พึ่งพาตนไม่ได้ ยังต้องการ การสงเคราะห์จากผู้อื่น เพื่อการอยู่รอด


ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC