ความงามและศิลปะ ถือเป็นสุนทรียศาสตร์ เป็นปรัชญาทางตะวันตก ไม่ค่อยมีเรื่องศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง นักปรัชญามักมีความคิดอิสระเป็นของตนเอง
เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับพระพุทธศาสนา ในความคิดเห็นว่า ความงามและศิลปะ น่าจะเป็นด้านพุทธสุนทรียศาสตร์ ความงามและศิลปะที่สามารถแบ่งประเภทเป็นความงามทางโลกและทางธรรม
สุนทรียศาสตร์ เป็นค าในภาษาสันสกฤต แปลว่า วิชาที่ว่าด้วยเรื่องความงาม หรือสิ่งที่ สวยงาม ภาษาอังกฤษใช้ค าว่า Aesthetics มาจากภาษาเยอรมันว่า Aesthetikosหมายถึง Perception (เห็นได้ เข้าใจได้) และหมายถึงศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้สึกอันมีความงามเป็น พื้นฐาน(เครือจิต ศรีบุญนาค, ผ.ศ.และคณะ, สุนทรียภาพของชีวิต, กรุงเทพมหานคร, เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น จ ากัด, 2542, หน้า1)
ในพระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงความงามดังนี้ สีลวีมังสชาดก ว่าด้วยอานิสงส์ของศีล
[๔๖๙] ได้ทราบมาว่า ศีลเป็นความงาม ศีลเป็นเยี่ยมในโลก ท่านจงดูซิ งู
ใหญ่มีพิษอันร้ายแรง ย่อมไม่เบียดเบียนผู้อื่นด้วยรู้สึกตัวว่า เป็นผู้มีศีล.
[๔๗๐] เราจักสมาทานศีลที่บัณฑิตรับรองแล้วว่า เป็นความปลอดภัยในโลก
เป็นคุณชาติเครื่องให้บัณฑิตเรียกบุคคลผู้ประพฤติตามข้อปฏิบัติของพระ
อริยะว่า เป็นผู้มีศีล.
[๔๗๑] อนึ่ง บุคคลผู้มีศีล ย่อมเป็นที่รักของญาติทั้งหลาย และรุ่งเรืองในหมู่
มิตร เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติ.
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ 27พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 19ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 1 ข้อที่469 หน้าที่120
ความงามที่ปรากฏในพระพุทธศาสนา แทรกเข้ามาเป็นความงามด้านวัฒนธรรมประเพณี ดังเช่น ความงามในประเพณีการทำบุญ การตกแต่งประทีปเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา การตกแต่งสถานที่ด้วยธงตะขาบธงพระศาสนา พุทธศิลป์ในการปั้นพระพุทธรูป ออกแบบเจดีย์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา มีค่าต่อความงามด้านจิตใจที่จะพัฒนาไปสู่ร่างกาย
เหมือนดั่ง ความงามภายใน ที่ศูนย์กลางกาย ค่ะ