ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

บทความดีๆ - เสาพระเจ้าอโศกมหาราช


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 10 October 2015 - 07:07 PM

แนบไฟล์  2_207.jpg   127.36K   0 ดาวน์โหลด

แนบไฟล์  112_204.jpg   124.22K   0 ดาวน์โหลด

 

เสาหัวสิงห์ ๔ ทิศ 


ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์สารนาถ เมืองพาราณสี
ซึ่งเดิมประดิษฐานอยู่บนยอดเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช แต่หักลงมา


ปัจจุบันอินเดียใช้หัวสิงห์นี้เป็นตราราชการประจำแผ่นดินอินเดีย 
ถือเป็นสัญญลักษณ์ประจำชาติ มีปรากฏอยู่ในธนบัตร-ธงชาติของอินเดีย 

และข้อความจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่จารึกไว้ใต้หัวสิงห์ดังกล่าวคือ

 

สตฺยเมว ชยเต (เทวนาครี : सत्यमेव जयते) หมายถึง ความจริงชนะทุกสิ่ง 


ได้ถูกนำมาเป็นคำขวัญประจำชาติของประเทศอินเดียอีกด้วย 

 

 

 

 

แนบไฟล์  __11_795.jpg   270.14K   0 ดาวน์โหลด

ต้นเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช 

ที่ถูกทุบทำลายหักออกเป็น ๕ ท่อน ณ สารนาถ

 

 

แนบไฟล์  __11_175.jpg   195.31K   0 ดาวน์โหลด

อักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี) บนต้นเสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช 

 

เป็นจารึกพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกมหาราช 
มีเนื้อความดังต่อไปนี้

“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ
ได้มีพระบรมราชโองการให้ประกาศแก่มหาอำมาตย์ทั้งหลาย
ณ พระนครปาฏลีบุตร และ ณ นครอื่นๆ ว่า


ข้าฯ ได้กระทำให้สงฆ์มีความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว
บุคคลใดๆ จะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ก็ไม่สามารถทำลายสงฆ์ได้
ก็แลหากบุคคลผู้ใดจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม
จักทำสงฆ์ให้แตกกัน บุคคลนั้นจักต้องถูกบังคับให้นุ่งขาวห่มขาว
และไปอาศัยอยู่ ณ สถานที่อื่น (นอกวัด)
พึงแจ้งสาส์นพระบรมราชโองการนี้ให้ทราบทั่วกัน
ทั้งในภิกษุสงฆ์และในภิกษุณีสงฆ์ด้วยประการฉะนี้” 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก   http://www.dhammajak...034&view=unread


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#2 kotchapornda

kotchapornda
  • Members
  • 649 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 11 October 2015 - 12:18 PM

สาธุค่ะ อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ  ^_^



#3 อารยาดุสิต

อารยาดุสิต
  • Members
  • 104 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 11 October 2015 - 10:51 PM

พระเจ้าอโศกมหาราช (เทวนาครี: अशोकःอังกฤษAshoka the Great; พ.ศ. 240 - พ.ศ.312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะ ผู้ปรีชาสามารถพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ทรงปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) เป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์โมริยะ พระมารดานามว่า สิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา 11 พระองค์

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิอโศกมหาราช หรือพระเจ้าอโศกมหาราช เดิมเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่โหดร้าย ชอบการทำสงครามกับแว่นแคว้นต่างๆ จนได้รับสมญานามว่า จัณฑาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้โหด####ม) แต่หลังจากที่พระองค์หันมานับถือพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และจากพระราชกรณียกิจมากมายนานัปการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญด้วยทศพิธราชธรรมอย่างแท้จริง ทำให้ภายหลังทรงได้รับการขนานพระราชสมัญญานามว่า ธรรมาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม)

ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหด####มเป็นอย่างยิ่ง ได้สั่งฆ่าขุนนางที่กระด้างกระเดื่อง จำนวน 500 ใคร ไม่เชื่อฟัง หรือ ขัดคำสั่งของพระองค์ให้ฆ่าเสีย ในคราวหนึ่ง นางสนมกำนัลไปหักกิ่งรานกิ่ง ดอกและต้นอโศกเล่น พระองค์ทรงกริ้วมาก จึงจับนางสนมกำนัลเหล่านั้นเผาทั้งเป็น ด้วยเหตุนี้จึงได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่า อโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา) มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์พระนิโครธโปรดแสดงธรรม พระนิโครธก็แสดงธรรม จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต่อมาได้ฟังพระธรรมจากพระสมุทรเถระ ทรงส่งกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนเข้าถึงพระรัตนตรัย พระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ หลักศิลาจารึกมหาวิทยาลัยนาลันทา ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักพุทธธรรม (ธรรมราชา) ปกครอง นอกจากนี้ พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่งสมณทูตไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย สายที่ 8 มาเผยแพร่ที่ สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเป็นสมณทูต และพระองค์เป็นผู้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร

ต่อมาก็โปรดเกล้าให้สร้างบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกต้นไม้ เพื่อจัดสาธารณูปโภคและสาธารณะตามหลักพุทธธรรม ต่อจากนั้นก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน 4 แห่ง เป็นคนแรก และทรงสถาปนาให้เป็นเป็นสถานที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และต่อมาพระองค์ทรงได้สมญานามว่า ธรรมาโศก แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม ทรงครองราชย์ได้ 41ปี

ข้อมูลจากhttps://th.wikipedia.org/wiki/

การศึกสงครามไม่อาจนำสันติภาพเข้ามาในแว่นแคว้นได้ เมื่อคราที่พระเจ้าอโศกมหาราชนำพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง  เป็นการแผ่ขยายพระราชอำนาจโดยไม่มีสงคราม เป็นการนำพุทธจักรมาปกครองร่วมกับอาณาจักร   ในสมัยนั้น มีลัทธิอื่นๆที่ยังปรากฏในอินเดีย ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ทุกลัทธิ แต่ทรงนำพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นแบบแผนในการปกครองและแผ่ขยายระหว่างแว่นแคว

สันติภาพที่แท้จริงเป็นสันติภาพภายในยุติสงครามทั้งภายนอกและภายใน 

อนุโมทนาบุญกับทุกท่านค่ะ



#4 InnerDot

InnerDot
  • Members
  • 79 โพสต์

โพสต์เมื่อ 12 October 2015 - 09:45 AM

บรรพบุรุษชาวพุทธ ให้เลือกชื่นชมความดี อนุโมทนากับความดี ไม่ต้องสนใจความไม่ดีของพระองค์ท่านซึ่งถูกต้องที่สุด (แม้จะมีประวัติบันทึกไว้ทั้งด้านความอำมหิตและด้านความดีก็ตาม)...

 

แต่ขออภัยนะครับ พอกล่าวถึงพระเจ้าอโศกฯ มีเรื่องที่เกี่ยวข้องที่ช็อคความรู้สึกของนักเรียนอย่างผมอยู่เรื่องหนึ่ง ผมเคยชมคลิปจากยูทูป มีพระสงฆ์บางรูป "เชื่อมั่น และสอนลูกศิษย์ว่า" ต้นกำเนิดพระไตรปิฎก(ทั้ง 84000 ข้อ)ที่เก่าแก่ที่สุด คัดลอกและแปลต่อๆกันมาจากอักษรพราหมีที่อยู่เสาหินพระเจ้าอโศก!!!...   (ยุคนี้มีแหล่งหาความรู้มากมาย แต่ว่า ที่ถูกต้องจริงๆนั้นๆ ต้องพิจารณาให้แยบคายกันเข้าไว้นะครับ)

 

(ขออภัยแอดมิน ที่กล่าวเกินเลยนอกเรื่องครับ...ประเด็นที่ต้องการสื่อคือ ที่ขีดเส้นใต้ ข้างบนนั่นแหละครับ)



#5 ทัพพีในหม้อ

ทัพพีในหม้อ
  • Moderators
  • 3279 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 12 October 2015 - 06:13 PM

การสังคายนาครั้งที่ 3 ที่ชมพูทวีป

          การทำสังคายนาครั้งที่สามเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 235 ที่อโศการาม กรุงปาฏลีบุตร ประเทศอินเดีย โดยมีพระโมคคลีบุตร ติสสเถระ เป็นประธาน การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระสงฆ์มาประชุมร่วมกัน 1,000 รูป ดำเนินการอยู่เป็นเวลา 9 เดือน จึงเสร็จสิ้น ไม่ปรากฏการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในการสังคายนาครั้งนี้

มูลเหตุสังคายนา

          ข้อปรารภในการทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ มีพวกเดียรถีย์ หรือนักบวชศาสนาอื่นมาปลอมบวช ด้วยเห็นแก่ลาภสักการะ และเพื่อบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา ได้แสดงลัทธิและความเห็นของตนว่า "เป็นพระพุทธศาสนา เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า" พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ จึงได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราชสังคายนาพระธรรมวินัยเพื่อกำจัดความเห็นของพวกเดียรถีย์ออกไป

การสังคายนา

          ในการทำสังคายนาครั้งนี้ คงมีการซักถามพระธรรมวินัยและตอบข้อซักถามเช่นเดียวกับการสังคายนาครั้งก่อน แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดว่า พระเถระรูปใดทำหน้าที่ซักถาม รูปใดทำหน้าที่ตอบข้อซักถาม พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ ได้แต่งคัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรมไว้ด้วย และเมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้ว ก็มีการส่งคณะทูตไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ ในที่นี้มีพระมหินทเถระ ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในลังกา รวมทั้งพระโสณะเถระและพระอุตตระเถระ ที่นำพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ยังดินแดนสุวรรณภูมิด้วย

          พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้ขอความอุปถัมภ์จากพระเจ้าอโศกมหาราชให้มีการสอบสวน สะสาง กำจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชประมาณ 60,000 รูป แล้วให้สละสมณเพศออกจากพระพุทธศาสนาได้สำเร็จ

          ส่งพระธรรมทูตออกเผยแพร่ศาสนายังนานาประเทศ

          หลังการสังคายนาได้มีการส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ 

          รวม 9 สายด้วยกัน โดยส่งไปสายละ 5 รูป เพื่อจะได้ทำพิธีอุปสมบทได้ถูกต้องตามพระวินัย

          สายที่ 1 พระมัชฌัตติกเถระ พร้อมด้วยคณะรวม 5 รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นกัศมีระและแคว้นคันธาระ

          สายที่ 2 พระมหาเทวเถระ พร้อมด้วยคณะรวม 5 รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหิสมณฑล และดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโคธาวารี

          สายที่ 3 พระรักขิตเถระ พร้อมด้วยคณะรวม 5 รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วนวาลีประเทศ

          สายที่ 4 พระธรรมรักขิตเถระ หรือพระโยนกธรรมรักขิตเถระ (ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นฝรั่งคนแรกในชาติกรีกที่ได้เข้าบวชในพระพุทธศาสนา) พร้อมด้วยคณะ ได้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ อปรันตกชนบท

          สายที่ 5 พระมหาธรรมรักขิตเถระ พร้อมด้วยคณะรวม 5 รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหาราษฎร์

          สายที่ 6 พระมหารักขิตเถระ พร้อมด้วยคณะรวม 5 รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ โยนกประเทศ

          สายที่ 7 พระมัชฌิมเถระ พร้อมด้วยคณะอีก 4 รูป คือ 1. พระกัสสปโคตรเถระ 2. พระมูลกเทวเถระ 3. พระทุนทภิสสระเถระ และ 4. พระเทวเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย

          สายที่ 8 พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ พร้อมด้วยคณะอีก 3 รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ

 

          สายที่ 9 พระมหินทเถระ (โอรสพระเจ้าอโศกมหาราช) พร้อมด้วยคณะรวม 4 รูป คือ 1. พระอริฏฐเถระ 2. พระอุทริยเถระ 3. พระสัมพลเถระ และ 4. พระหัททสารเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ลังกาทวีป ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ กษัตริย์แห่งลังกาทวีป

 

การสังคายนาครั้งที่ 4 ที่ชมพูทวีป เริ่มมีการบันทึกพระไตรปิฎกเป็นลายลักษณ์อักษรบนแผ่นทองเหลือง

         การทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 643 ที่เมืองชาลันธร แต่บางหลักฐานก็กล่าวว่าทำที่กัศมีร์หรือแคชเมียร์ ตอนเหนือของประเทศอินเดีย เป็นการผสมผสานลักษณะของศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน พระเจ้ากนิษกะ ได้ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งนี้ หลักฐานทิเบตกล่าว่า มีพระอรหันตสาวก 500 รูป พระโพธิสัตว์ 500 และมีบัณฑิตอีก 500 เข้าร่วมในการทำสังคายนาครั้งนี้

          การทำสังคายนาครั้งนี้กระทำโดยพระภิกษุฝ่ายสรติวาทินและพระภิกษุฝ่ายมหาสังฆิกะบางนิกายร่วมกัน ฝ่ายเถรวาทจะไม่บันทึกถึงการสังคายนาครั้งนี้ แต่ประวัติศาสตร์โดยทั่วไปก็จารึกไว้ จึงเป็นสังคายนาที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่พุทธศาสนิกฝ่ายอุตรนิกาย 


มูลเหตุการสังคายนา

          พระปรารศวเถระได้แนะนำพระเจ้ากนิษกะ เพื่อการทำสังคายนาโดยมุ่งหวังที่จะปรับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาให้เป็นเอกภาพ และประสงค์จะบันทึกคัมภีร์ฝ่ายสัพพัตถิกวาท เป็นภาษาสันสกฤต และเพื่อทำให้พุทธศาสนาแบบมหายานมั่นคง

          ผลจากการทำสังคายนา

          1. มีการเขียนคำอธิบายพระไตรปิฎกหรืออรรถกถาเป็นภาษาสันสกฤตปิฎกละ 100,000 โศลก รวม 300,000 โศลก กล่าวคือ พระสูตร 100,000 โศลก เรียกว่า อุปเทศศาสตร์ พระวินัย 100,000 โศลก เรียกว่า วินยวิภาษาศาสตร์ พระอภิธรรม 100,000 โศลก เรียกว่า อภิรรมวิภาษาศาสตร์ 

          2. มีการประสานความคิดระหว่างนิกายต่างๆ ทั้ง 18 นิกายแล้วจารึกอักษรคัมภีร์ทางศาสนาเป็นสันสกฤต ครั้งแรก หลวงจีนยวนฉ่าง ได้กล่าวถึงการสังคายนาครั้งนี้ว่าได้มีการจารึกพระธรรมลงแผ่นทองเหลือง และเก็บไว้ในหีบทำด้วยศิลา เพื่อเก็บรักษาไว้ในพระเจดีย์

          ในการสังคายนาครั้งนี้ มหายานแยกตัวออกไปอย่างชัดเจนและเจริญรุ่งเรืองแพร่หลาย มีพระสงฆ์และชาวพุทธสำคัญเป็นปราชญ์ เป็นที่ปรึกษา เป็นกวีในราชสำนัก ทรงส่งสมณทูตไปประกาศพระศาสนาในอาเซียกลาง ซึ่งทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายไปยัง จีน เกาหลี มองโกเลีย และญี่ปุ่น ในสมัยต่อมาทรงสร้างสถูปและวัดวาอารามเป็นอันมาก และเป็นสมัยที่ศิลปะแบบคันธาระ เจริญถึงขีดสุด 

(พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต), พระพุทธศาสนาในอาเซีย. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา 2540, หน้า 342)


ตติยสังคายนา : สังคายนาครั้งที่ ๓
clear.gif หลังจากทุติยสังคายนา ๑๑๘ ปี คือหลังพุทธปรินิพพาน ๒๑๘ ปี พระเจ้าอโศกมหาราชทรงครองอิศวริยาธิปัตย์ทั่วสากลชมพูทวีป ณ พระนครปาตลีบุตร ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาบำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจตุปัจจัย ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์มหาวิหารมากมาย ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา จนพวกเดียรถีย์ขาดแคลนปัจจัยเครื่องยังชีพบางพวกเข้ามาปลอมบวชในพระพุทธศาสนาแล้วไม่เลิกละลัทธิของตน พากันประพฤติสับสนวิปริตผิดพุทธบัญญัติ เป็นจำนวนมากจนยากจะแยกแยะออกว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด พวกภิกษุภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักพากันระอารังเกียจ งดการทำสังฆกรรมร่วมเป็นเวลานานถึง ๗ ปี
clear.gifพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสั่งอำมาตย์ให้ไประงับอธิกรณ์ อำมาตย์ ผู้ไม่หนักในเหตุผลก็ถือพระบรมราชโองการไปสั่งให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรมร่วมกันเสีย หาไม่จะลงโทษประหาร พระสงฆ์ผู้หนักในพระธรรมวินัยไม่ยอมร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับพวกอลัชชี อำมาตย์ได้ให้ประหารเสีย ๒-๓ รูป เพราะถือว่าขัดรับสั่ง พระติสสเถระพระราชอนุชาเห็นเหตุเช่นนั้น ท่านจึงลุกมานั่งคั่นพระสงฆ์อื่นในที่ใกล้อำมาตย์ อำมาตย์จำท่านได้ก็สั่งหยุดการประหารแล้วกลักไปกราบทูลให้ทรงทราบเรื่องราวทั้งหมด ได้สดับเรื่องราวแล้วทรงร้อนพระทัยกลัวปาป เที่ยวทรงถามพระสงฆ์ว่ากรณีเช่นนี้บาปจะตกแก่อำมาตย์หรือพระองค์ พระสงฆ์ทั้งปลอมและจริงก็ตอบตามลัทธิของตน ไม่ลงเป็นแนวเดียวกัน ทำให้ทรงสงสัยยิ่งขึ้น จึงทรงมีรับสั่งให้อาราธนาพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระมาเพื่อขจัดความสงสัย ท่านได้ถวายพระพรว่า ในกรณีนี้บาปตกแก่อำมาตย์ผู้สั่งประหาร เพราะพระองค์มิได้ทรงมีเจตนาจะทไปาณาติบาตแต่ประการใด ท่านไถวายเทศนาให้ทรงเข้าใจในลัทธิพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องอีกเป็นเวลา ๗ วัน
clear.gifเมื่อทรงทราบอธิกรณ์แล้วจึงมีพระบรมราชโองการให้พระสงฆ์ทั่วชมพูทวีปมาประชุมที่อโศการามแล้วประทับนั่งภายในม่านพร้อมกับพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระรับสั่งให้เรียกพวกภิกษุที่ถือลัทธิเดียวกันนั่งเป็นกลุ่ม ๆ ตรัสถามและทรงวินิจฉัยตามคำแนะนำของพระโมคคัลีบุตรติสสเถระว่า พวกใดเป็นมิจฉาทฏฐิ พวกใดเป็นสัมมาทิฏฐิ ได้ทรงขจัดพวกเดียรถีย์ปลอมบวชในครั้งนั้นเสียประมาณ ๖๐,๐๐๐ รูป เมื่อทรงชำระอธิกรณ์แล้ว จึงทรงอาราธนาให้พระวิสุทธิสงฆ์ทั้งปวงร่วมกันทำอุโบสถสัฆกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน
clear.gifเมื่อทรงชำระอธิกรณ์เสร็จแล้ว พระโมคัลลีบุตรติสสเถระจึงเลือกพระอรหันตขีณาสพทรงอภิญญาได้ ๑,๐๐๐ รูป เป็นตัวแทนของพระสงฆ์จำนวน ๖,๐๐๐,๐๐๐ รูป เพื่อประชุมกันทำสังคายนา ตติยสังคายนาครั้งนี้ทำอยู่เป็นเวลา ๘ เดือน ที่อโศการาม พระนครปาตลีบุตรมในพระบรมราชูปถัมภ์ ของพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๑๘


สมาชิกเว็บไซต์ทุกท่านที่เข้ามาอ่านกระทู้ สามารถร่สมกิจกรรมสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของที่ระลึกจากทางทีมงานได้ฟรีๆ ทำตามนี้เลยครับ ..... ทุกๆ กระทู้ที่สมาชิกตั้งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 3 คะแนน ..... ทุกๆ การตอบกระทู้ที่เป็นการตอบแบบมีสาระทางธรรม จะได้รับคะแนนสะสมทันที่ 1 คะแนน และ 0.1 คะแนนสำหรับการเข้ามาอนุโมทนาบุญ ..... อย่าลืมมาร่วมกิจกรรมกันนะครับ

#6 อารยาดุสิต

อารยาดุสิต
  • Members
  • 104 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 12 October 2015 - 09:43 PM

    ในสมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงปกครองอินเดียในสมัยนั้น ไม่ได้ทรงเชียวชาญทางด้านสงครามแต่ด้านเดียว  เมื่อทรงรวบรวบแว่นแคว้นต่างๆได้ มีการปกครองแบบศูนย์รวมอำนาจไว้ที่พระมหากษัตริย์  มีการสร้างระบบชลประทาน สร้างถนนเชื่อมโยงไปยังแว่นแคว้นต่างๆ เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจการค้าทำให้ประเทศอินเดียมีความเจริญก้าวหน้า  เมื่อรับพระพุทธศาสนาเข้ามาได้ส่งได้ส่งพระธรรมทูตทั้งเก้าสายออกเผยแผ่  ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญก้าวหน้า  มากกว่าที่จะเจริญในแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนาเท่านั้น หากแต่ขยายออกไปในหลายๆแว่นแคว้นทีเดียว 

    ทรงนำหลักธรรมในมงคลสูตร สิคาโลวาทสูตร ประกาศให้ประชาชนต้องปฏิบัติ  ให้กลายเป็นวัฒนธรรม  โดยทรงบอกว่าเป็นเสมือนได้ขึ้นสวรรค์ทั้งเป็น  ภิกษุใด ภิกษุณีใดก่อเหตุไม่สุจริต ก่อเหตุทะเลาะวิวาทในวัดให้ลาสิกขาและออกจากวัด  ทรงเริ่มขบวนธรรมยาตรา โดยเสด็จเป็นตัวอย่าง ดังปรากฏในศิลาจารึก”...แต่ก่อนนี้ราษฎรทั้งหลาย จะได้ยินแต่เสียงยุทธเภรี เสียงช้าง เสียงม้า เสียงโล่ดั้ง ศาสตาวุธกระทบกัน ครั้นมาบัดนี้ ราษฎรทั้งหลายจักได้ยินแต่เสียงธรรมเภรีแทน มีแต่เสียงธรรม เสียงเชิญชวนให้ปฏิบัติธรรม...” ทรงประกาศห้ามฆ่าสัตว์  สร้างโรงพยาบาลสำหรับคนและสัตว์ ดำเนินการด้านสังคมสงเคราะห์ สร้างโรงเลี้ยงคนชรา เด็กอนาถา คนทุพพลภาพ  ขุดบ่อน้ำสาธารณะ   ทรงตั้งเจ้าหน้าที่กวดขันการปฏิบัติธรรมเพื่อตรวจสอบความประพฤติของข้าราชการ เมื่อข้าราชการปฏิบัติธรรมจะมีรางวัลพระราชทานให้เป็นกรณีพิเศษและการทรงพระธรรมทูตไปไกลถึงอัฟกานิสถาน ซีเรียโบราณ อียิปต์ กรีก  ในสายของพระโสณะ และพระอุตตระได้เข้ามาเผยแผ่ทางสุวรรณภูมิ  

(เสถียร โพธินันทะ.2514 .ประวัติพระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ ภาค1 .มหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา หน้าที่88-90)

   “...ราษฎรทั้งหลายจักได้ยินแต่เสียงธรรมเภรีแทน มีแต่เสียงธรรม เสียงเชิญชวนให้ปฏิบัติธรรม..” ประโยคนี้ ยังคงดังก้องมาจนทุกวันนี้   พระเดชพระคุณพระเทพญานมหามุนี ได้ขยายการปฏิบัติธรรม  ศูนย์ปฏิบัติธรรมได้เปิดสาขาต่างๆในต่างประเทศทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อสันติภาพภายในที่แท้จริง 

กราบอนุโมทนาบุญค่ะ  



#7 InnerDot

InnerDot
  • Members
  • 79 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 October 2015 - 11:15 AM

1.เรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าอโศกมหาราช ที่เราได้ยินได้ฟังมาในบ้านเรา  "ส่วนใหญ่" นำมาจากคัมภีร์ "มหาวงศ์" (คล้ายๆพงศาวดารที่บรรพบุรุษชาวศรีลังกาได้บันทึกต่อเนื่องกันมาหลายๆๆๆๆๆๆๆรัชกาล) เป็นเรื่องราวที่สืบต่อๆๆกันมาแถบตอนใต้ของอินเดีย

 

2.ส่วนอีกคัมภีร์หนึ่งที่บันทึกเรื่องของพระเจ้าอโศกเอาไว้คือ คัมภีร์อโศกาวทาน จะแพร่หลายขึ้นไปทางตอนเหนือของอินเดีย 

 

3.และที่น่าเชื่อถือมากๆๆๆๆที่สุด ก็เรื่องราวที่ถูกบันทึกไว้ในเสาหินอโศก

 

คัมภีร์ในข้อ 1 (มหาวงศ์) ได้บันทึกถึงการเสด็จไปเกาะลังกา(ประเทศศรีลังกาปัจจุบัน)ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาไว้ด้วย และในคัมภีร์นี้เอง ได้ถูกนำมาอ้างอิงในกลุ่มของชาวพุทธปัจจุบันในเรื่อง "การบวชภิกษุณีสงฆ์" ด้วยเช่นกัน กล่าวคือ

 

-ในกลุ่มที่บอกว่า ภิกษุณีต้องบวชโดยผ่านการบวชจากภิกษุณีด้วยกันเองก่อน(ดังเรื่องราวของพระภิกษุณีสังฆมิตตา ราชธิดาของพระเจ้าอโศกฯต้องเดินทางข้ามทะเลไปบวชได้กุลธิดาชาวศรีลังกาถึงที่)

-ส่วนกลุ่มที่เห็นแย้งว่า ภิกษุณีบวชได้ โดยอาศัยเพียงภิกษุสงฆ์เท่านั้น ก็อ้างถึงเหตุการณ์ในคัมภีร์มหาวงศ์ด้วยเช่นกันว่า สมณทูตทั้ง 9 สายที่พระเจ้าอโศก(ร่วมกับคณะสงฆ์ยุคนั้น)ส่งไปเผยแผ่รอบทิศนั้น มีเพียงทิศเดียวคือทิศที่เดินทางไปเกาะลังกาเท่านั้นอาศัยพระสังฆมิตตเถรี บวชภิกษุณี ขณะที่อีก 8 ทิศที่เหลือ ไม่ปรากฏภิกษุณีสงฆ์แม้แต่รูปเดียวที่เดินทางไปด้วย แต่ในคัมภีร์มหาวงศ์ได้กล่าวสรุปเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรว่า แต่ละแคว้นทั้ง 8 แคว้นได้มีภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีเกิดขึ้นเท่านั้นรูป เท่านี้รูป...  



#8 InnerDot

InnerDot
  • Members
  • 79 โพสต์

โพสต์เมื่อ 15 October 2015 - 11:25 AM

(....คัมภีร์ทีปวงศ์ เป็นอีกคัมภีร์หนึ่งที่คู่กันกับ มหาวงศ์ กล่าวถึงพระเจ้าอโศกเช่นกันแต่เนื้อหาจะมีน้อยกว่า และเป็นแบบสรุป ขณะที่มหาวงศ์จะบันทึกละเอียดถึงขนาดบันทึกคำพูด คำสนทนาเอาไว้ด้วย  )

 

(เพิ่มเติมครับ จริงๆแล้วถ้าไปอ่านช่วงต้นๆของคัมภีร์ทีปวงศ์ จะมีคำว่า "ธรรมกาย" ปรากฏอยู่ด้วยนะครับ เพียงแต่ยังไม่มีนักวิชาการท่านใดนำมาอ้างอิงหรือค้นคว้าต่อเท่านั้นเอง...)



#9 looktanloikaew

looktanloikaew
  • Members
  • 139 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:Bangkok

โพสต์เมื่อ 18 October 2015 - 05:00 PM

สาธุค่เ