ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

เชื่อ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 7 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 20 February 2006 - 10:16 PM

หลักความเชื่อ ๑๐ประการ

[attachmentid=2484]

หลักนี้มีที่มาใน กาลามสูตร และสูตรอื่นๆ ที่ตรัสไว้สำหรับให้ทุกคน มีความเชื่อในเหตุผลของตนเอง ในเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นว่า สิ่งที่มีผู้นำมากล่าวหรือสั่งสอนนั้น ตนควรจะเชื่อถือเพียงไร หรือไม่ มีผู้ไปทูลถามว่า เขาได้รับความลำบากใจ ในการที่สมณะพราหมณ์พวกหนึ่ง ก็สอนไปอย่างหนึ่ง สมณะพราหมณ์พวกอื่น ก็สอนไปอย่างอื่น หลายพวกหลายอย่างด้วยกัน จนไม่รู้ว่า จะเชื่อใครดี ในที่สุด พระองค์ ตรัสหลักสำหรับ ทำความเชื่อแก่คนพวกนั้น มีใจความว่า

๑. มา อนุสฺสาเวน อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา
๒. มา ปรมฺปราย อย่าเชื่อโดยเหตุสักว่าตามสืบๆ กันมา
๓. มา อิติ กิราย อย่าเชื่อโดยตื่นข่าว
๔. มา ปิฎกสัมฺปทาเนน อย่าเชื่อโดยอ้างปิฎก
๕. มา ตกฺกเหตุ อย่าเชื่อโดยนึกเดาเอาเอง
๖. มา นยเหตุ อย่าเชื่อโดยคาดคะเน
๗. มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าเชื่อโดยการตรึกตรองตามอาการ
๘. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนกฺขนฺติยา อย่าเชื่อโดยเห็นว่าถูกตามลัทธิของตน
๙. มา ภพฺพรูปตาย อย่าเชื่อโดยเห็นว่า ผู้พูดควรเชื่อได้
๑๐. มา สมโฌ โน ครุ อย่าเชื่อโดยถือว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา
แต่ให้เชื่อ การพิจารณา ของตนเอง ว่า คำสอนเหล่านั้น เมื่อประพฤติ กระทำตาม ไปแล้ว จะมีผลเกิดขึ้นอย่างไร ถ้ามีผลเกิดขึ้น เป็นการทำตนเองและผู้อื่น ให้เป็นทุกข์ เดือดร้อน ก็เป็นคำสอน ที่ไม่ควรปฏิบัติตาม ถ้าไม่เป็นไป เพื่อทำตนเอง และ ผู้อื่นให้เดือดร้อน แต่เป็นไปเพื่อ ความสุข ความเจริญ ย่อมเป็นคำสอน ที่ควรทำตาม ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการพูดถึง ราคะ โทสะ โมหะ ว่าเป็นสิ่ง ควรละหรือไม่ ผู้ฟังจะต้องพิจารณา ให้เห็นชัด ด้วยตนเองว่า ราคะ โทสะ โมหะ เป็นสิ่งที่นำมา ซึ่ง ความทุกข์ หรือ ความสุข ให้เห็นชัดแก่ใจ ของตนเสียก่อน เมื่อเห็นว่า ราคะ โทสะ โมหะ เป็นของร้อน จึงละเสีย ตามคำสอน ถ้ายังพิจารณา ไม่เห็นแม้แต่เล็กน้อย ก็เป็นสิ่งที่ให้รอไว้ก่อน ยังไม่ปฏิบัติตาม จนกว่า จะได้พิจารณาเห็นแล้ว จึงปฏิบัติตาม โดยสัดส่วน ของการพิจารณาเห็น ไม่ยอมเชื่อ และปฏิบัติตาม สักว่า โดยเหตุ ๑๐ อย่าง ดังกล่าวแล้วข้างต้น
หลักนี้ เป็นการแสดงถึงความที่พระพุทธศาสนา ให้ความเป็นอิสระ ในความเชื่อ อย่างถึงที่สุด พึงรู้ไว้ในฐานะ เป็นอุปกรณ์ แห่งการควบคุม ความเชื่อของตน ให้เป็นไปในทาง ที่จะปฏิบัติ ให้เป็นผลสำเร็จได้จริงๆ

คำว่า ฟังตามกันมา หมายถึง สิ่งที่บอกเล่า ต่อๆ กันมาตาม ธรรมเนียม เป็นต้น
คำว่า ทำตามสืบๆ กันมา หมายถึง การทำตามสืบๆ กันมา โดยไม่ต้องคำนึง ถึงเหตุผล แต่ถือเอาการที่ทำสืบๆ กันมานั้นเองเป็น เหตุผล ลักษณะเช่นนี้เรียกกันว่า เถรส่องบาตร
คำว่า ตื่นข่าว หมายถึง สิ่งน่าอัศจรรย์ ที่กำลังลือกระฉ่อน กันอยู่ในขณะนั้น
คำว่า อ้างปิฎก หมายถึง มีหลักฐานที่อ้างอิงในตำรับตำรา หรือแม้แต่ในพระไตรปิฎก
คำว่า นึกเดาเอาเอง คำว่า คาดคะเนเอาเอง และ คำว่า ตรึกตรองตามอาการ ทั้งสามนี้ คล้ายกันมาก หากแต่ว่า หนักเบา กว่ากัน ตามลำดับ คำว่า เดา หมายถึง การใช้เหตุผลชั่วแล่น ชั่วขณะ ตามวิสัยของ คนธรรมดาทั่วไป คำว่า คาดคะเน ก็มีลักษณะอย่างนั้น หากแต่ว่า มีการเทียบเคียง โดยนัยต่างๆ ที่รัดกุมกว่า ซึ่งเป็นวิสัย ของผู้มีปัญญา คำว่า ตรึกตามอาการ คือการใช้เหตุผล หรือ ใช้สิ่งแวดล้อม เป็นเหตุผล ตามที่มีปรากฏ อยู่เฉพาะหน้า ในที่นั้นๆ ซึ่งรัดกุมยิ่งไปกว่า การคาดคะเน
คำว่า ต้องตามลัทธิของตน หมายความว่า เข้ากันได้กับ ความคิดเห็น ของตน หรือ เข้ากับลัทธิ ที่ตนถืออยู่แล้วแต่ก่อน
คำว่า ผู้พูดควรเชื่อได้ หมายความว่า ผู้พูดเป็นผู้ที่ใครๆ พากันเชื่อถือ เพราะเป็นบัณฑิต นักปราชญ์ เป็นคนเฒ่าคนแก่ เป็นคนเคยไปในที่นั้นๆ มาแล้ว เป็นต้น
คำว่า ถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา หมายความถึง ครูบาอาจารย์โดยตรง


ติดตำราจะติดตัง



จงรักษาดวงใจให้ผ่องแผ้ว
อย่าทิ้งแนวการถือคือเหตุผล
อย่าถือแต่ตามตำราจะพาตน
ให้เวียนวนติดตังนั่งเปิดดู
อย่าถือแต่ครูเก่าเฝ้าส่องบาตร
ต้องฉลาดความหมายสมัยสู
อย่ามัวแต่อ้างย้ำว่าคำครู
แต่ไม่รู้ความจริงนั้นสิ่งใด
อย่ามัวแต่ถือตามความนึกเดา
ที่เคยเขลาเก่าแก่แต่ไหนๆ
ต้องฉลาดขูดเขลาปัดเป่าไป
ให้ดวงใจแจ่มตรูเห็นลู่ทางฯ

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  8.jpg   22.09K   31 ดาวน์โหลด


#2 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 20 February 2006 - 11:29 PM

มีรายละเอียดดีจังและคำร้อยกรองก็ความหมายตรงดี ครับ

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  00003_28.gif   22.04K   11 ดาวน์โหลด


#3 gioia

gioia
  • Members
  • 593 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 02:34 AM


เรื่องนี้สอนว่าอย่าติดอยู่แต่ในตำรา แต่ให้ติดศูนย์แทน !!
ติดศูนย์แต่ไม่ต้องไปแก้ศูนย์ แต่ให้ติดเข้าไปกลางศูนย์แทน
เพราะจะได้ความรู้ที่แท้จริง
อนุโมทนาบุญค่ะ






#4 Omena

Omena
  • Members
  • 1409 โพสต์
  • Location:44/5 หมู่ 10 ตำบลหนองอ้อ ถนนเพชรเกษม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110

โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 06:30 AM

สาธุๆๆ
ดีตามเคย พี่ธรรมจักร
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที

สุนทรพ่อ




muralath2@hotmail

#5 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 February 2006 - 03:09 PM

ถ้าติดตำราจะติดตังส์ ถ้าติดสตางส์ก็ต้องขอลืมหละจ้า 55555
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#6 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 February 2006 - 04:44 PM

มีคำถามครับ
เรื่องกาลามสูตร ผมเคยได้เจอเพื่อนต่างศาสนิกนำมาถกแล้วเอามาถามชาวพุทธว่า

ในกาลามสูตรบอกว่าไม่ให้เชื่อเพราะสมณะนี้เป็นครูของเรา ถ้าอย่างงี้เราก็เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้าและเชื่อกาลามสูตรนี้ไม่ได้เช่นกันเพราะพระพุทธเจ้าสอนไม่ให้เชื่อเพราะสมณะนี้เป็นครูของเรา

ถ้าเพื่อนๆ โดนคนถามอย่างงี้ เพื่อนๆ จะมีวิธีตอบและชี้แจงเขาอย่างไรกันบ้างครับ
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#7 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 February 2006 - 05:07 PM

พระพุทธเจ้าท่านสอนไม่ให้หูเบาหลงเชื่อง่าย แต่ท่านไม่ได้สอนให้ดื้อไม่ยอมรับความจริงเมื่อพิสูจน์แล้วว่าเป็นจริงนะครับ

ถ้าไม่เชื่อแล้วพิสูจน์ความจริง เรียกว่า คนฉลาดแก้โง่

ถ้าไม่เชื่อแล้วไม่พิสูจน์ติดดื้อ เรียกว่า คนโง่อวดฉลาด

ถามเขาดูครับว่าอยากเป็นคนแบบไหนครับ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#8 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 18 March 2007 - 03:45 PM

สาธุ