ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ปริศนาแห่งความฝัน ตอนที่ 1


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 3 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 13 April 2006 - 05:01 PM

ปริศนาแห่งความฝัน ตอนที่ 1
การศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบแนวคิดเรื่องความฝัน ตามหลักพระพุทธศาสนาและหลักจิตวิทยา

คำนำ
รายงานการศึกษา วิเคราะห์ เปรียบเทียบแนวคิดเรื่องความฝัน ตามหลักพระพุทธศาสนาและหลักจิตวิทยาฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา จิตวิทยาพุทธศาสนา
ดำเนินการสอนโดยท่านเจ้าคุณศรีปริยัติโมลี เพื่อให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจในวิชาว่าด้วยจิตและเจตสิก
สามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบทฤษฎีจิตและเจตสิกในพระพุทธศาสนา กับทฤษฎีจิตในปรัชญาตะวันตกได้ และสามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

นับเป็นความโชคดีอย่างยิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับงานมอบหมายเรื่อง ความฝัน
ทำให้ข้าพเจ้าได้รู้จักการค้นคว้าหาข้อมูล รวบรวมเอกสาร งานเขียนที่ท่านผู้รู้เรียบเรียงและรวบรวมไว้จากห้องสมุด
ได้อ่านหนังสือมากมาย เพื่อจะนำมาวิเคราะห์ว่า
ฝันคืออะไร
ทำไมคนเราจึงต้องฝัน
ไม่ฝันไม่ได้หรือ
แล้วคนไม่เคยฝันเลยมีไหม
ฝันมีลักษณะอย่างไร
เชื่อถือได้แค่ไหน ฯลฯ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ทรงพูดถึงเรื่องความฝันไว้ว่าอย่างไร
อะไรเป็นสาเหตุให้เราต้องฝัน ฝันเชื่อถือได้แค่ไหน
ฝันมีกระบวนการทำงานอย่างไร

ทั้งนี้พบว่า ฝันเป็นกระบวนการทำงานของจิตอย่างหนึ่ง ที่รับรู้เป็นภาพทางมโนทวาร
ในขณะที่เราหลับ จากสาเหตุ ๔ อย่างคือ ธาตุวิปริต จิตนิวรณ์ เทพสังหรณ์ และบุพพนิมิต
ลักษณะของฝันมีทั้งดี ไม่ดี กลาง ๆ ที่น่าเชื่อถือมากที่สุด คือ
บุพพนิมิต เพราะเป็นความฝันที่เกิดจากบุญบาปที่สั่งสมไว้ข้ามภพข้ามชาติ
เป็นการบอกอนาคตหรือเหตุการณ์ล่วงหน้าด้วยสัญญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในฝันนั้น
อันเป็นที่มาของการทำนายฝัน การตีความหมาย และอื่น ๆ อีกมากมาย หลากหลายทัศนะ


นักปราชญ์ข้างฝ่ายตะวันตก อย่าง ฟรอยด์, กุสตาฟ จุง ฯลฯ ซึ่งเป็นทั้งนักจิตวิทยาและแพทย์
ได้ทำการศึกษาเรื่องความฝันเหมือนกัน พบว่า ความฝันของคนเรานั้น เป็นการสนองความต้องการ
หรือความปรารถนาที่แอบซ่อนไว้ในใจ ปรากฏมาเป็นภาพ เป็นสัญญลักษณ์ต่าง ๆ ในฝัน
ทั้งยังทำหน้าที่ทดแทนทัศนคติหรือสำนึกในขณะตื่น จึงได้นำความฝันมาใช้กับทฤษฎีจิตวิเคราะห์เพื่อรักษา(พิการทางจิต) เพื่อให้เขาสามารถกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข


ในการศึกษาครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รวบรวมความฝัน ในทางพระพุทธศาสนา ที่ใช้คำว่าสุบินนิมิต ทั้งที่มีมาในคัมภีร์พระไตรปิฎก
ตั้งแต่ สุบินนิมิตของพระนางสิริมหามายา ตอนตั้งพระครรภ์, ปัญจมหาสุบินนิมิตของพระพุทธองค์ ก่อนการตรัสรู้ ซึ่งพระองค์ทรงทำนายฝันด้วยพระองค์เอง, สุบินวิถี ในคัมภีร์พระอภิธรรม, สุบินปัญหาในมิลินทปัญหา ฯลฯ เพื่อให้ได้เห็นภาพความฝันและการทำนายฝันในอดีตว่า มีมาอย่างไร เป็นพื้นฐานให้สามารถนำไปเปรียบเทียบกับแนวคิดทางตะวันตกได้ถูกต้องมากที่สุด


อย่างไรก็ตามในฐานะที่เราเป็นพุทธศาสนิกชน ควรอย่างยิ่งที่จะต้องประพฤติ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งถือว่า คนมีกิเลสเท่านั้นที่ฝัน และยังถืออีกว่า
เมื่อใดก็ตามที่เราเกิดตัณหา (ความอยาก) ขึ้น เมื่อนั้นอุปาทาน (ความยึดมั่น ถือมั่น) จะเกิดตามมาทันที

ซึ่งตัณหานี้เองเป็นตัวที่ทำให้คนเราจะต้องกลับมาเกิดอีก จึงพอจะสรุปสั้น ๆ ได้ว่า
ตราบใดที่เรายังฝันอยู่ แสดงว่า เราก็ยังมีกิเลส ตัณหา อุปาทาน ตราบนั้นเราจะต้องกลับมาเกิดอีกแน่นอน

ที่สำคัญที่สุดคือ พระพุทธองค์ทรงสอน ไม่ให้ยึดมั่น ถือมั่นในความฝัน เพราะจะเป็นอุปสรรคต่อการพ้นทุกข์ ด้วยจุดมั่งหมายในทางพระพุทธศาสนา มุ่งให้ศาสนิกเข้าถึงความสงบ
สร้างสติไว้กับตัวในการดำเนินชีวิต ดีกว่าปล่อยความคิดให้เลื่อนลอย ฟุ้งซ่าน


หวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจเรื่องจิตและความฝัน

นางสาว ศศิวรรณ กำลังสินเสริม รหัส ๔๔๕๐๙
กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕




บทที่ ๑
บทนำ


๑.๑ ความเป็นมาและความสำคัญของการศึกษาเรื่อง ความฝัน
“ความฝัน” เป็นส่วนหนึ่งในวิชาจิตวิทยาพุทธศาสนา
ซึ่งเป็นการศึกษาที่ผสมผสานระหว่างศาสนศึกษา (Religious Studies) กับจิตวิทยา (Psychology) เป็นผลพลอยได้ที่เกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาการสังคมศาสตร์และจิตวิทยา

ซึ่งความก้าวหน้านี้มีส่วนสำคัญยิ่งต่อการเปลี่ยนแนวโน้มการศึกษาศาสนาไปสู่วิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์
มีการค้นคว้าวิจัย มีรายงานการศึกษาค้นคว้าที่แจ่มชัดขึ้น ทันต่อวิวัฒนาการและความเปลี่ยนแปลง
ค่านิยม ศรัทธา ศาสนาในสังคม ทำให้การศึกษาศาสนาน่าสนใจยิ่งขึ้น

ปัจจุบันพบว่า พฤติกรรมทางศาสนา (Religious behavior) เป็นแกนภายในของบุคลิกภาพของบุคคลที่มีส่วนสำคัญต่อการกำหนดแนวทางพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์
ความเชื่อ ศรัทธา ค่านิยมทางศาสนา มีบทบาทต่อวิถีประพฤติปฏิบัติทางสังคม
ทั้งในส่วนที่เป็นการตอบสนองให้เกิดการสร้างสรร การเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด การตัดสินใจ และการสร้างมติเลือกของสมาชิกในสังคมให้แตกต่างหรือสอดคล้องกันได้


ระบบศาสนาจึงมีอิทธิพลแฝงทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อพฤติกรรมอื่น ๆ (Non-religious behavior)
เช่น พฤติกรรมทางเศรษฐกิจ การเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
ตลอดถึงการส่งเสริม สร้างสรรค์คุณค่า หรือค่านิยม (value) ใหม่ให้แก่สมาชิกในสังคม
การสร้างแนวร่วมทางพฤติกรรม องค์กรศาสนา สามารถทำให้มนุษย์ที่ต่างเผ่าพันธุ์ ต่างเชื้อชาติ ต่างสีผิว ยอมปฏิบัติที่จะอยู่ร่วมกันอย่างปรองดอง และยอมปฏิบัติตนไปในทางเดียวกัน อย่างพร้อมเพรียง
เพื่อบรรลุจุดหมายของศาสนา และอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองได้


การสร้างแนวร่วมทางอุดมการณ์ในสังคม และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชน ล้วนเป็นผลสำเร็จจากสถาบันศาสนาเป็นจักรกลสำคัญทั้งสิ้น
มนุษย์เป็นสัตว์ประเภทหนึ่งที่มีศักยภาพในด้านต่าง ๆ สูงล้ำเกินกว่าสัตว์อื่นจะมาเทียบเคียงได้
กล่าวคือ มนุษย์เป็นสัตว์ที่ใช้สมอง มีเหตุผล มีปัญญา และพัฒนาการอันซับซ้อน จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด

ถ้ามนุษย์เราจะฝันมากกว่าสัตว์ประเภทอื่น ที่เป็นเช่นนี้เพราะ สมองของเราซับซ้อนมากกว่านั่นเอง
เรื่องราวของความฝันกับการทำนายฝันนั้น ดูเหมือนจะแยกกันไม่ออกเลย เราได้ให้ความสนใจกันมานานแล้ว ตั้งแต่ยุคโบราณจนกระทั่งถึงยุคไฮเทคและอาจเลยเรื่อยไป
อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้เรามีทฤษฎีหลากหลายสำหรับใช้อธิบายว่า
ความฝันเหล่านั้นเกิดได้อย่างไร เกิดขึ้นเมื่อใด มีอะไรเป็นสาเหตุ และมีผลกระทบต่อชีวิตของเราหรือไม่

ด้วยวิทยาการอันล้ำเลิศแห่งยุคสมัย จึงทำให้เรื่องราวเกี่ยวกับความฝันมิใช่สิ่งลึกลับซับซ้อนอีกต่อไป
แม้นว่า บางเสี้ยวจะมีคำถามตามติดมาอีกมากมายก็ตาม เรารู้ว่าเราหลับฝันทุกคืน
แต่ละคืนจะเสียเวลาราวหนึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
สำหรับฝันถึงเรื่องต่าง ๆ ทุกคนต้องการนอนหลับฝัน ที่กล่าวว่านอนหลับสนิท ไม่ได้ฝันเลยนั้น เป็นเพราะเขาจดจำในรายละเอียดของความฝันนั้น ๆ ไม่ได้เสียมากกว่า


อย่างไรก็ดี เรื่องของความฝันแม้จะมิใช่ตัวกำหนดทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับชีวิตของเรา
แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตในการดำรงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับฝัน หรือฝันกลางวัน
เพราะความฝันเป็นการแสดงออกโดยธรรมชาติ เป็นความในใจของมนุษย์ และเป็นการระบายออกทางอารมณ์ที่เก็บกดไว้

วันนี้ คุณคือส่วนหนึ่งของความฝัน แล้วฝันของคุณล่ะเป็นเช่นไร ? บอกหน่อยได้ไหม ?


๑.๒ วัตถุประสงค์ที่ศึกษาเรื่องความฝัน
เพื่อศึกษาถึงสภาวะทางศาสนาที่ปรากฏอยู่ในชีวิตจิตใจของมนุษย์ แล้วแสดงออกในลักษณะเป็นจิตสำนึก
จิตไร้สำนึก ประสบการณ์ บุคลิกภาพ และพฤติกรรมต่าง ๆ อันเกิดจากปฏิกิริยาที่มนุษย์ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม และสภาวะที่ชีวิตต้องเผชิญได้แก่ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความไม่แน่นอนของโชคชะตา และธรรมชาติแวดล้อม
ซึ่งมักปรากฏออกมาในรูปของความเชื่อทางศาสนา
โดยศึกษาเฉพาะส่วนที่ปรากฏออกมาในรูปของความฝัน ว่า ความฝัน
คืออะไร
มีลักษณะอย่างไร
การนอนหลับกับกาiนอนหลับฝันเหมือนกันหรือไม่
เหตุใดจึงฝัน
ความฝันมีกี่ประเภท
ความฝันสัมพันธ์กับมนุษย์อย่างไร
มีอะไรอยู่เบื้องหลังความฝัน
และความฝันมีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
รวมทั้งการแปลความหมายสัญญลักษณ์ที่ปรากฏในฝันนั้น
โดยศึกษา วิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างหลักทางพระพุทธศาสนา กับหลักจิตวิทยา

๑.๓ ขอบเขตของการศึกษา
ใช้วิธีการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ โดยการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสาร (Document Research)
ขั้นปฐมภูมิ (Primary source) ได้แก่
คัมภีร์พระไตรปิฎก คัมภีร์พระพุทธศาสนา


และขั้นทุติยภูมิ ได้แก่ อรรถกถา มิลินทปัญหา เป็นต้น

โดยการศึกษาวิเคราะห์จากนานาทัศนะกับความฝัน
ศึกษาวิเคราะห์จากทฤษฎีเกี่ยวกับความฝันที่นักวิชาการทั้งหลายได้รวบรวมและเรียบเรียงไว้
ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับความฝัน
รวมทั้งศึกษาถึงความเหมือนและความต่างระหว่างความฝันตามหลักพุทธศาสนาและหลักจิตวิทยา


๑.๔ วิธีดำเนินการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้ อาศัยการวิเคราะห์ และตีความจากแหล่งข้อมูลดังนี้

๑. ศึกษาจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary source) คือ
แหล่งข้อมูลที่สำคัญอันเป็นหลักคำสอนสำคัญโดยตรง ได้แก่
คัมภีร์พระไตรปิฎก ของฝ่ายเถรวาท ศึกษาค้นคว้าหลักคำสอนเกี่ยวกับจิต และความฝัน
จาก พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ / ๒๓๖ / ๑๖๙ (มหาจุฬาเตปิฏกํ),
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่มที่ ๙ / ๒๓๖ / ๗๗,
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก – ฉักกนิบาต เล่มที่ ๒๒ / ๑๙๖ / ๓๓๕ - ๓๓๗
และพระอภิธรรมปิฏก วิภังค์ เล่มที่ ๓๕ / ๑๑๒ / ๙๗

๒. ศึกษาจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary source) ได้แก่
คัมภีร์อรรถกถา ฎีกา และหนังสือที่นักปราชญ์ทั้งหลายเขียนไว้ ทั้งที่เกี่ยวกับความฝัน และจิตวิทยา
รวมทั้งทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เช่นทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ของซิกมันด์ ฟรอยด์ ของกุสตาฟ ยุง
และศึกษาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา จิตวิทยาพระพุทธศาสนา มิลินทปัญหา ของปุ้ยแสงฉาย ฯลฯ

๓. รวบรวมข้อมูล นำข้อมูลที่รวบรวมแล้วมาจัดหมวดหมู่
ทำการศึกษา วิเคราะห์ วิจารณ์ เรียบเรียง เขียน ทั้งนี้ เพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจต่อไป
จากแหล่งข้อมูล เช่นที่ หอสมุดแห่งชาติ หอสมุดกลางมหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัดมหาธาตุฯ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น

๑.๕ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ทำให้เข้าใจถึงความหมายของความฝัน ความฝันคืออะไร ลักษณะของความฝัน เหตุของความฝัน
ประเภทของความฝัน และความฝันสัมพันธ์กับมนุษย์อย่างไร

- ทำให้เข้าใจความฝันในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ตั้งแต่ พระสุบินของนางสิริมหามายา
พระสุบินของพระเจ้าสุทโธทนะ พระสุบินนิมิต ๕ ประการก่อนตรัสรู้
และพระสุบินของพระเจ้าปเสนทิโกศล ๑๖ ประการ รวมถึงความฝัน ในมิลินทปัญหา

- ทำให้ทราบถึงความรู้พื้นฐานของผู้ที่จะทำนายความฝัน และวิธีการทำนายฝัน

- ทำให้มีหลักในการตีความความหมายของความฝัน ว่าควรเชื่อหรือไม่ ฝันในช่วงไหนน่าจะเป็นจริงมากกว่า

- ทำให้เข้าใจเรื่องความฝันตามหลักพระพุทธศาสนา และหลักจิตวิทยาได้อย่างถูกต้อง

- ทำให้มีข้อมูลเกี่ยวกับความฝันเพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าต่อไป


ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  sukou2.jpg   40.74K   33 ดาวน์โหลด


#2 จ.ใจเดียว

จ.ใจเดียว
  • Members
  • 92 โพสต์

โพสต์เมื่อ 16 April 2006 - 05:30 PM

เมื่อว่าตามหลักการวิจัยแล้ว วัตถุประสงค์ของการวิจัยค่อนข้างกว้างไปหน่อย

#3 CEO

CEO
  • Members
  • 577 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย

โพสต์เมื่อ 29 April 2006 - 12:38 AM

ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ยังคงฝันไปเรื่อย
สร้างบารมีทุกวินาที
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้

#4 ป่าน072

ป่าน072
  • Members
  • 371 โพสต์
  • Location:โคราช
  • Interests:การศึกษาต่อในวิชา วิทยาศาสตร์<br />วิศวะปิโตรเคมี

โพสต์เมื่อ 22 August 2006 - 04:34 PM

ชอบภาพที่มีในกระทู้นี้มากเลยค่ะ
สวยมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

เมื่อดวงตาปิดสนิมอย่างละมุน
ไม่มีลุ้นเร่งจองมองที่หมาย
ก็จะพบผู้รู้อยู่กลางกาย
ธาตุอ่อนแก่มากมายถึงปลายทาง