เนื่องจากเคยศักษาธรรมะจากหลาย ๆ วัด ดิฉันได้รับคำแนะนำวัดแห่งหนึ่งจะมีวิธีกำหนดลมหายใจ โดยใช้วิธีแก้กรรมในปัจจุบันในชาตินี้โดยให้อุทิศบุญกุศลให้คู่กรรมคู่เวรและชดใช้ในชาตินี้เพื่อจะได้หมดกรรม จึงขอคำแนะนำวิธีนี้และวิธีการกำหนดดวงแก้วแตกต่างกันไหมค่ะ และวิธีไหนจึงจะเหมาะสมที่สุด
ขอบคุณค่ะ
กนกกาญจน
วิธีแก้กรรม
เริ่มโดย รักดวงแก้ว, Apr 21 2006 09:56 AM
มี 10 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 09:56 AM
#2
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 10:09 AM
ถ้ากำหนดความรู้สึกของลมหายใจไว้ที่กลางท้อง ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ก็ไม่แตกต่างครับ แต่ถ้าเป็น ตามลมหายใจแบบเข้าออก เข้าออก จิตเลื่อนไปเลื่อนมา อันนี้แตกต่างแน่นอน
ส่วนวิธีแก้กรรม ถ้าหมายถึงทำให้กรรมหายไปเฉยๆ แบบความเชื่อเทวนิยม อันนี้ไม่มีในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะครับ มีแต่ให้แก้ไขการกระทำใหม่โดยทำบุญมากๆ เพื่อวิบากกรรมจะได้เจือจางไป เปรียบเสมือนอะไร
1) เหมือนการเติมเกลือเติมน้ำแหละครับ น้ำคือบุญ บาปคือเกลือ ถ้าเติมน้ำเยอะ น้ำก็ไม่เค็ม แต่เกลือยังคงอยู่เหมือนเดิม
2) เหมือนการผสมสี สีขาวคือบุญ สีดำคือบาป เติมสีขาวมากขึ้นเท่าไหร่ ความเข้มของสีดำก็ยิ่งเจือจาง แต่ถามว่าสีดำยังมีอยู่ไหม ก็ยังมีเหมือนเดิม
ส่วนวิธีแก้กรรม ถ้าหมายถึงทำให้กรรมหายไปเฉยๆ แบบความเชื่อเทวนิยม อันนี้ไม่มีในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะครับ มีแต่ให้แก้ไขการกระทำใหม่โดยทำบุญมากๆ เพื่อวิบากกรรมจะได้เจือจางไป เปรียบเสมือนอะไร
1) เหมือนการเติมเกลือเติมน้ำแหละครับ น้ำคือบุญ บาปคือเกลือ ถ้าเติมน้ำเยอะ น้ำก็ไม่เค็ม แต่เกลือยังคงอยู่เหมือนเดิม
2) เหมือนการผสมสี สีขาวคือบุญ สีดำคือบาป เติมสีขาวมากขึ้นเท่าไหร่ ความเข้มของสีดำก็ยิ่งเจือจาง แต่ถามว่าสีดำยังมีอยู่ไหม ก็ยังมีเหมือนเดิม
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา
*********************
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา
*********************
รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว
เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว
เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล
คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
#3
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 10:31 AM
ตามที่ศึกษาเป็นแบบยุบหนอ พองหนอ กำหนดจิตให้รู้เนื้อรู้ตัวว่าอะไรมากระทบ ถ้าสงบนิ่งได้ก็จะมีวิบากกรรมมาทวง ซึ่งจะสามารถอุทิศชดใช้กรรมนั้นได้เลยในขณะนั้นค่ะ จึ่งอยากทราบว่าแตกต่างกับวิชาธรรมกายไหมค่ะ
ขอบคุณค่ะ
กนกกาญจน
ขอบคุณค่ะ
กนกกาญจน
#4
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 11:13 AM
QUOTE
เนื่องจากเคยศึกษาธรรมะจากหลาย ๆ วัด ดิฉันได้รับคำแนะนำวัดแห่งหนึ่งจะมีวิธีกำหนดลมหายใจ โดยใช้วิธีแก้กรรมในปัจจุบันในชาตินี้โดยให้อุทิศบุญกุศลให้คู่กรรมคู่เวรและชดใช้ในชาตินี้เพื่อจะได้หมดกรรม
ตอบ สามารถทำได้ คือเมื่อเราปฏิบัติธรรมแล้วไม่ว่าวิธีใดวิธีหนึ่ง เมื่อปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิภาวนา รักษาศีล แล้วสามารถทำให้เกิดบุญได้ ก็สามารถอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวรได้ เมื่ออุทิศแล้วก็ขออโหสิจากเขาด้วย ถ้าบุญเราพอสามารถทำให้เจ้ากรรมนายเวรของเราเลื่อนพบภูมิที่ดีขึ้นได้ มีความสุขขึ้นได้ แล้วถ้าเจ้ากรรมของเราไม่มีความอาฆาตแค้นแรงหนัก เขาก็อาจจะอโหสิให้เราได้ แต่ถ้าเจ้ากรรมนายเวร เขาอาฆาตแค้นเรามาก เขาก็อาจจะยังไม่อโหสิกรรมให้ เราก็ต้องเพียรทำบุญทำกุศล อุทิศให้เขา แล้วก็ขออโหสิจากเขาบ่อยๆ สักวันเขาก็จะต้องอโหสิให้เองครับ อุปมา ดั่งเหล็กกล้าร้อนๆ เหล็กยิ่งร้อนมาก ก็ต้องใช้เวลานานถึงจะหายร้อน ถ้าเราเอาน้ำคือบุญ นิดๆหน่อยๆ เอาไปเทใส่ของร้อน มันก็ยังไม่หายร้อนในทันทีครับ แต่ถ้ามันรดเรื่อยๆ ถึงน้ำจะน้อย แต่รดเรื่อยๆ รดบ่อยๆ ก็จะทำให้เย็นได้ไม่วันใดก็วันหนึ่งครับ
ใช่อย่างนี้หรือเปล่าครับวิธีแก้กรรม ที่คุณ tycoon เคยไปศึกษามาครับ _/ \_
*********************************************************
ใ ค ร ช อ บ. . .ใ ค ร ชั ง. . .ช่ า ง เ ถิ ด
ใ ค ร เ ชิ ด. . .ใ ค ร ชู. . .ช่ า ง เ ข า
ใ ค ร เ บื่ อ. . .ใ ค ร บ่ น. . .ท น เ อ า
ใ จ เ ร า. . .ร่ ม เ ย็ น. . .เ ป็ น พ อ
. . .|2@|<_|3( )( )|\| @ |-|()T/\/\@I|_.C()/\/\. . .
ใ ค ร เ ชิ ด. . .ใ ค ร ชู. . .ช่ า ง เ ข า
ใ ค ร เ บื่ อ. . .ใ ค ร บ่ น. . .ท น เ อ า
ใ จ เ ร า. . .ร่ ม เ ย็ น. . .เ ป็ น พ อ
. . .|2@|<_|3( )( )|\| @ |-|()T/\/\@I|_.C()/\/\. . .
#5
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 12:34 PM
ใช่ค่ะ คุณรักบุญ แต่ยังสังสัยวิธีวิชาธรรมกายแตกต่างกับวิธียุบหนอ พองหนอเพื่อแก้กรรมรึเปล่าค่ะ ? เพราะจะได้หายสงสัยและสามารพอธิบายให้กับผู้อื่นได้ค่ะ
Tycoon
Tycoon
#6
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 02:16 PM
ไม่ค่อยอยากใช้คำว่าแก้กรรมเลยค่ะ
ให้ใช้ว่า เราสามารถแก้ไขวิบากกรรม(สิ่งที่เคยทำพลาดพลั้งมาในอดีต)โดยการ ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ทุกวันไม่ให้ขาดแม้แต่วันเดียว ซึ่งถามว่าแม้ทำเช่นนี้แล้วจะไปลบล้างวิบากกรรมที่เราเคยทำมาหรือไม่ ก็ต้องตอบว่าไม่
เหมือนกับที่คุณMiraclE...DrEaM ได้ยกตัวอย่างอุปมาบาปกรรมเหมือนเกลือ และบุญ(กรรมดี)เหมือนน้ำ เมื่อในภาชนะมีน้ำน้อยเกลือเยอะ น้ำก็จะออกรสเค็มเด่นขึ้นมา แต่เมื่อเอาน้ำเติมเข้าไปมากๆเข้า น้ำในภาชนะก็ออกรสเค็มน้อยลง ยิ่งเติมน้ำมากเท่าไหร่ รสเค็มก็หายไป แต่ถามว่าเกลือยังอยู่ในภาชนะนั่นหรือเปล่า ก็ต้องบอกว่าอยู่ไม่ได้หายไปไหน การทำความดีหรือทำบุญก็เพื่อช่วยให้วิบากกรรมที่เราเคยทำไม่ออกรสออกชาติ แต่ถ้าเมื่อไหร่บุญน้อยมันก็จะตามมาชนในทันทีเหมือนกัน
ส่วนเรื่องอุทิศบุญให้คู่กรรมคู่เวร ก็ทำไปพร้อมอธิษฐานขอให้คู่กรรมคู่เวรของเราเมื่อรับบุญไปแล้วก็ให้อโหสิกรรมให้กับเรา วิบากกรรมของเราก็จะเบาบางลงไป แต่ถามว่าเค้ามีสิทธิ์ที่จะไม่อโหสิกรรมให้เราไม๊ ก็ตอบว่ามี แต่ว่าอย่างไรก็ตามเมื่อเราทำบุญ ทำความดีทีไร บุญก็จะช่วยปกป้องรักษาเราให้วิบากกรรมถ้าหนักก็จะส่งผลกับเราน้อย ถ้ากรรมเล็กๆน้อยๆก็อาจจะไม่ส่งผลเลยในช่วงนั้น
ส่วนเรื่องการนั่งสมาธินั้น วิธีการไหนก็เป็นตัวทำให้จิตสงบเหมือนๆกัน แต่เมื่อจิตสงบแล้วถ้าน้อมนำมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายซึ่งเหมือนกับทางเอกสายเดียวไม่มีทางอื่นอีกแล้ว และหยุดสนิทตรงศูนย์กลางกายก็จะเหมือนกับเปิดประตูเข้าไปสู่เส้นทางแห่งการเข้าถึงธรรมค่ะ
ส่วนการนั่งสมาธิวิชชาธรรมกายนั้นเป็นการนั่งสมาธิให้เข้าถึงธรรม ให้ได้เข้าถึงพระธรรมกาย ซึ่งเป็นกายแห่งการตรัสรู้ธรรม เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งความเป็นจริงของชีวิต โดยรายละเอียดคงต้องไปหาหนังสือมาอ่านละค่ะ วิธีการนั่งสมาธิแบบไหนไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการเข้าถึงพระธรรมกายภายในที่มีอยู่แล้วในตัวของทุกคน วิธีการนั้นก็แตกต่างจากวิชชาธรรมกายค่ะ
อยากจะแนะนำให้คุณ tycoon และท่านอื่นๆที่มีความสงสัยเกี่ยวกับสมาธิได้เข้าไปกราบเรียนถามพระอาจารย์ที่วัด เพื่อที่ท่านจะได้ตอบคำถามทุกคำถามที่คุณสงสัยค่ะ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวคุณเองและไว้ไปทำหน้าทีกัลยาณมิตรค่ะ
ให้ใช้ว่า เราสามารถแก้ไขวิบากกรรม(สิ่งที่เคยทำพลาดพลั้งมาในอดีต)โดยการ ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ทุกวันไม่ให้ขาดแม้แต่วันเดียว ซึ่งถามว่าแม้ทำเช่นนี้แล้วจะไปลบล้างวิบากกรรมที่เราเคยทำมาหรือไม่ ก็ต้องตอบว่าไม่
เหมือนกับที่คุณMiraclE...DrEaM ได้ยกตัวอย่างอุปมาบาปกรรมเหมือนเกลือ และบุญ(กรรมดี)เหมือนน้ำ เมื่อในภาชนะมีน้ำน้อยเกลือเยอะ น้ำก็จะออกรสเค็มเด่นขึ้นมา แต่เมื่อเอาน้ำเติมเข้าไปมากๆเข้า น้ำในภาชนะก็ออกรสเค็มน้อยลง ยิ่งเติมน้ำมากเท่าไหร่ รสเค็มก็หายไป แต่ถามว่าเกลือยังอยู่ในภาชนะนั่นหรือเปล่า ก็ต้องบอกว่าอยู่ไม่ได้หายไปไหน การทำความดีหรือทำบุญก็เพื่อช่วยให้วิบากกรรมที่เราเคยทำไม่ออกรสออกชาติ แต่ถ้าเมื่อไหร่บุญน้อยมันก็จะตามมาชนในทันทีเหมือนกัน
ส่วนเรื่องอุทิศบุญให้คู่กรรมคู่เวร ก็ทำไปพร้อมอธิษฐานขอให้คู่กรรมคู่เวรของเราเมื่อรับบุญไปแล้วก็ให้อโหสิกรรมให้กับเรา วิบากกรรมของเราก็จะเบาบางลงไป แต่ถามว่าเค้ามีสิทธิ์ที่จะไม่อโหสิกรรมให้เราไม๊ ก็ตอบว่ามี แต่ว่าอย่างไรก็ตามเมื่อเราทำบุญ ทำความดีทีไร บุญก็จะช่วยปกป้องรักษาเราให้วิบากกรรมถ้าหนักก็จะส่งผลกับเราน้อย ถ้ากรรมเล็กๆน้อยๆก็อาจจะไม่ส่งผลเลยในช่วงนั้น
ส่วนเรื่องการนั่งสมาธินั้น วิธีการไหนก็เป็นตัวทำให้จิตสงบเหมือนๆกัน แต่เมื่อจิตสงบแล้วถ้าน้อมนำมาหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกายซึ่งเหมือนกับทางเอกสายเดียวไม่มีทางอื่นอีกแล้ว และหยุดสนิทตรงศูนย์กลางกายก็จะเหมือนกับเปิดประตูเข้าไปสู่เส้นทางแห่งการเข้าถึงธรรมค่ะ
ส่วนการนั่งสมาธิวิชชาธรรมกายนั้นเป็นการนั่งสมาธิให้เข้าถึงธรรม ให้ได้เข้าถึงพระธรรมกาย ซึ่งเป็นกายแห่งการตรัสรู้ธรรม เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งความเป็นจริงของชีวิต โดยรายละเอียดคงต้องไปหาหนังสือมาอ่านละค่ะ วิธีการนั่งสมาธิแบบไหนไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการเข้าถึงพระธรรมกายภายในที่มีอยู่แล้วในตัวของทุกคน วิธีการนั้นก็แตกต่างจากวิชชาธรรมกายค่ะ
อยากจะแนะนำให้คุณ tycoon และท่านอื่นๆที่มีความสงสัยเกี่ยวกับสมาธิได้เข้าไปกราบเรียนถามพระอาจารย์ที่วัด เพื่อที่ท่านจะได้ตอบคำถามทุกคำถามที่คุณสงสัยค่ะ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตัวคุณเองและไว้ไปทำหน้าทีกัลยาณมิตรค่ะ
#7
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 02:46 PM
ตอบคุณ tycoon ดีที่สุดคือ ไปถามพระอาจารย์นั่นแหละครับ สำหรับผู้มาใหม่ ส่วนผมก็จะให้ความรู้เบื้องต้นปูพื้นไปก่อน จะได้คุยกับพระอาจารย์ได้ง่ายขึ้น
การฝึกสมาธิ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค กำหนดไว้ถึง 40 วิธีแน่ะครับ วิธีฝึกสมาธิที่วัดพระธรรมกายใช้สอนอยู่ก็เป็นหนึ่งใน 40 วิธี ที่เรียกว่า อาโสกกสิน ครับ หรือนึกนิมิตเป็นแสงสว่าง หรือ บางท่านถนัดที่จะนึกถึงองค์พระ ก็ยังเป็นหนึ่งใน 40 วิธีเช่นเดียวกัน ที่เรียกว่า พุทธานุสติ ครับ
ส่วนวิธีการปฏิบัติแบบกำหนดลมหายใจ หรือยุบหนอพองหนอ นั้น ก็เป็นหนึ่งใน 40 วิธีเช่นเดียวกัน ที่เรียกว่า อานาปาณสติ แปลว่า ใช้สติจับลมหายใจให้หยุดนิ่ง
ความหมายของทุกๆ วิธี ก็เพื่อต้องการให้ใจสงบ หยุดนิ่งเข้าไปอยู่ภายในไงล่ะครับ แม้เริ่มต้นไม่เหมือนกัน แต่ถ้าปฏิบัติถูกวิธีแล้ว สุดท้ายจะได้ผลเช่นเดียวกันครับ
เหมือนเราจะวางแผนไปเที่ยวเชียงใหม่ มีคนบอกว่า ไปโดยรถบัส ขับรถไปเอง นั่งรถไฟไป หรือ นั่งเครื่องบินไป นั้นไม่เหมือนกัน ถามว่า เขาพูดถูกหรือไม่ คำตอบคือ เขาก็พูดถูกครับ เพราะรายละเอียดวิธีการแต่ละวิธีย่อมไม่เหมือนกัน แต่ถ้าอีกคนบอกว่า สุดท้ายก็ถึงเชียงใหม่ได้เหมือนกัน เขาพูดถูกหรือไม่ คำตอบก็คือ เขาก็พูดถูกใช่มั้ยครับ เพราะจุดหมายปลายของแต่ละวิธีก็คือ เชียงใหม่ เหมือนๆ กัน อย่าหลงทางก็ไปถึงแน่ ใช่มั้ยครับ
เช่นเดียวกัน การฝึกสมาธิ 40 วิธีนั้น ถ้ามีคนบอกว่า มันแตกต่างกัน เขาก็พูดถูกครับ เพราะรายละเอียดในการฝึกแต่ละวิธีมันไม่เหมือนกัน แต่ถ้าอีกคนบอกว่า ถ้าทำถูก(ไม่หลงทาง) สุดท้ายก็ได้ผลเหมือนกัน คือ ใจหยุดนิ่ง เขาก็พูดถูกใช่มั้ยครับ
การฝึกสมาธิ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค กำหนดไว้ถึง 40 วิธีแน่ะครับ วิธีฝึกสมาธิที่วัดพระธรรมกายใช้สอนอยู่ก็เป็นหนึ่งใน 40 วิธี ที่เรียกว่า อาโสกกสิน ครับ หรือนึกนิมิตเป็นแสงสว่าง หรือ บางท่านถนัดที่จะนึกถึงองค์พระ ก็ยังเป็นหนึ่งใน 40 วิธีเช่นเดียวกัน ที่เรียกว่า พุทธานุสติ ครับ
ส่วนวิธีการปฏิบัติแบบกำหนดลมหายใจ หรือยุบหนอพองหนอ นั้น ก็เป็นหนึ่งใน 40 วิธีเช่นเดียวกัน ที่เรียกว่า อานาปาณสติ แปลว่า ใช้สติจับลมหายใจให้หยุดนิ่ง
ความหมายของทุกๆ วิธี ก็เพื่อต้องการให้ใจสงบ หยุดนิ่งเข้าไปอยู่ภายในไงล่ะครับ แม้เริ่มต้นไม่เหมือนกัน แต่ถ้าปฏิบัติถูกวิธีแล้ว สุดท้ายจะได้ผลเช่นเดียวกันครับ
เหมือนเราจะวางแผนไปเที่ยวเชียงใหม่ มีคนบอกว่า ไปโดยรถบัส ขับรถไปเอง นั่งรถไฟไป หรือ นั่งเครื่องบินไป นั้นไม่เหมือนกัน ถามว่า เขาพูดถูกหรือไม่ คำตอบคือ เขาก็พูดถูกครับ เพราะรายละเอียดวิธีการแต่ละวิธีย่อมไม่เหมือนกัน แต่ถ้าอีกคนบอกว่า สุดท้ายก็ถึงเชียงใหม่ได้เหมือนกัน เขาพูดถูกหรือไม่ คำตอบก็คือ เขาก็พูดถูกใช่มั้ยครับ เพราะจุดหมายปลายของแต่ละวิธีก็คือ เชียงใหม่ เหมือนๆ กัน อย่าหลงทางก็ไปถึงแน่ ใช่มั้ยครับ
เช่นเดียวกัน การฝึกสมาธิ 40 วิธีนั้น ถ้ามีคนบอกว่า มันแตกต่างกัน เขาก็พูดถูกครับ เพราะรายละเอียดในการฝึกแต่ละวิธีมันไม่เหมือนกัน แต่ถ้าอีกคนบอกว่า ถ้าทำถูก(ไม่หลงทาง) สุดท้ายก็ได้ผลเหมือนกัน คือ ใจหยุดนิ่ง เขาก็พูดถูกใช่มั้ยครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร
#8
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 02:59 PM
ต้องขอขอบคุณทุกๆ ท่านที่แนะนำช่วยให้ดิฉันเข้าใจมากขึ้นค่ะ
#9
โพสต์เมื่อ 21 April 2006 - 04:04 PM
ขอบคุณ ครับ สาธุ
#10
โพสต์เมื่อ 25 April 2006 - 10:02 AM
ทุกวิทีทำให้ใจหยุด(เป็นสมาธิ)เหมือนกัน แล้วแต่ จริต เรา เราต้องเข้าใจ,รู้ ตัวเราก่อน นะ ผมว่า เพราะทุกวิทีเป็น อุบาย ทำให้ ใจสงบ ***someone อย่ามี การแบ่งแยก สาย เลยนะ พวกเราล้วนมี บรมครูคนเดียวกันคือ พระพุทธเจ้า ครับ
#11
โพสต์เมื่อ 23 February 2007 - 12:04 PM
ครับ น้ำก็คงต้องเติมกันต่อไปจนกว่าจะเต็มเปี่ยม อย่าเผลอเติมเกลือเพิ่มนะครับ สาธุ