ไปที่เนื้อหา


- - - - -

สมาธิ กับ วิปัสนา


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 7 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 *Guest*

*Guest*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 02 April 2005 - 06:56 PM

ทำสมาธิ กับทำ วิปัสนา ต่างกันอย่างไร

#2 มองอย่างแมว

มองอย่างแมว
  • Members
  • 722 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:NYC

โพสต์เมื่อ 02 April 2005 - 07:47 PM

วิปัสสนา เป็น subset ของสมาธิ
โดยสมาธิแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ สมถะ กับ วิปัสสนา ครับ
รายละเอียดคงต้องรอผู้รู้มาตอบอีกที
"ฉุดมันเอาไว้ หยุดมันเอาไว้ ไม่ให้มันรวนเร ต้องหยุดนิ่งสุดใจ หยุดมันเอาไว้ ฉุดมันเอาไว้ ไม่ให้มันซวนเซ ต้องฉุดให้ใจหยุด"
- ไมโคร (เพลง หยุดมันเอาไว้)
"แค่หลับตา... (ลบเลือนทุกสิ่ง เหลือเพียงหนึ่งเดียว) เธอจะเห็นยามเธอหลับตา... (ใช้ใจสัมผัสและมองสิ่งนั้น) เธอจะเห็นตัวฉันเป็นอย่างที่เป็น"
- อุ๊ หฤทัย (เพลง แค่หลับตา)

#3 *Guest*

*Guest*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 02 April 2005 - 11:35 PM

การทำสมาธิหรือกรรมฐานนั้น มี 2 ส่วนที่เชื่อมโยงกัน ก็คือสมถกรรมฐาน ซึ่งเป็นการทำใจให้สงบอย่างมีสติ ซึ่งจะเป็นตัวนำไปสู่วิปัสนา คือใจหยุดนิ่งและได้เรียนรู้ธรรมะภายในซึ่งเป็นความรู้และความเข้าใจทุกอย่างตามความเป็นจริง โดยอาศัยธรรมจักขุ(เท่านั้น)

#4 *Guest*

*Guest*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 20 May 2005 - 01:26 AM

สมาธิ หรือ ภาวนา หรือ กัมมัฏฐาน มีสองส่วนคือ
๑. สมถสมาธิ หรือ.......
๒. วิปัสสนาสมาธิ หรือ.....

ส่วนของสมถสมาธิ ไม่มีปัญหา
คือการฝึกให้ใจสะอาด บริสุทธิ์ หยุด นิ่ง ใส สว่าง โฟกัส ใจเป็นอิสระ
เทคนิคและวิธีการตำราพระศรีลังกามี ๔๐ วิธี แต่ความเป็นจริงแตกย่อยเป็นพันอย่างที่หลวงพ่อเคยพูดขณะนำนั่ง
ผลคือใจจะหยุด นิ่ง ใส สว่าง สะอาด บริสุทธิ์ ความรู้สึกก็จะโล่ง โปร่ง เบา สบาย สงบ เป็นอิสระ มีความสุข(ที่แท้จริง ไม่ใช่สุขจอมปลอมอย่างชาวโลก) จากสุขน้อย จนสุขแบบพรรณนาได้ยาก
ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกับเป็นการทำกล้องหรือแว่นขยายชนิดพิเศษ ส่วนจะขยายได้ละเอียด ถูกต้อง แค่ไหนก็ขึ้นกับความบริสุทธิ์ หยุด นิ่ง ละเอียด.....แค่ไหนของใจ

วิปัสสนาสมาธิถ้าตอบแบบ mainstream Buddhism ก็คือ
การเอาใจที่เป็นสมาธิ หยุดนิ่ง มีสติต่อเนื่องนี้ มาพิจารณาคนสัตว์สิ่งของต่าง ก็จะเข้าใจตามกฏไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำให้ใจไม่ยึดมั่นถือมั่นปล่อยวางได้
พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม เข้าใจเรื่องของใจและกิเลสในใจ ปล่อยวางจากหยาบๆ เข้าสู่ความละเอียดยิ่งๆขึ้นไป
ก็เหมือนกับการเอากล้องหรือแว่นพิเศษมาส่อง ก็จะได้ความรู้เรื่องโลกและชีวิตมากขึ้นเป็นลำดับๆไป เหมือนเราใช้กล้องจุลทัศน์ส่องดูของที่ละเอียดยิ่งๆขึ้นไป พอเข้าใจเหตุแห่งทุกข์ก็ตัดใจ จากกิเลส เข้าถึงความสุขยิ่งๆขึ้นไป ส่วนตอนท้ายที่จะหมดกิเลส และเข้านิพพานนั้นคำอธิบายยังไม่ค่อยเคลีย เพราะconcept เรื่องอัตตา อนัตตา และ นิพพาน ยังตีความไม่ชัด

แต่สำหรับวิปัสสนาถ้าอธิบายตามหลักวิชชาธรรมกาย ทุกอย่างเคลีย หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านพูดชัดว่าพุทธศาสนาเริ่มต้นที่พระธรรมกาย(เพราะสายฮินดูก็ทำสมาธิด้วย เจ้าชายสิทธัตถะก็เริ่มจากจุดสูงสุดของสมาธิสายฮินดู แต่ก็ทราบว่ายังไม่สมบูรณ์ยังไม่หลุดพ้น จึงไปทำต่อให้สมบูรณ์ หลุดพ้นเข้านิพพานได้ เมื่อท่านทรงบรรลุธรรมใหม่จะมาบอกอาจารย์ทั้งสองท่านแต่ก็สายไปแล้ว) เพราะหากกล้องหรือแว่นพิเศษของเรา ไม่สมบูรณ์ ความรู้ที่เกิดขึ้นก็ยังไม่สมบูรณ์ ซึ่งเครื่องชี้วัดสภาวะของใจที่บริสุทธิ์สมบูรณ์ ก็เมื่อเข้าถึงพระธรรมกาย แล้วจึงมาทำวิปัสสนาอาศัยธรรมจักขุ พิจารณาก็จะรู้จริงรู้แจ้งรู้วิธีการขจัดกิเลส

ความสมบูรณ์ของความรู้ประกอบด้วยสองส่วนคือ
๑. ความบริสุทธิ์ หยุดนิ่ง ใส สว่าง ละเอียดของใจ
๒. จุดหรือมุมมองที่ ถ้ามองหรือพิจารณาจากฐานที่ต่างกันความรู้ที่เกิดขึ้นก็ต่างกันหรือเหมือนกันบางส่วนแต่ไม่สมบูรณ์ หรือไม่ถูกต้องไปเลย เหมือนมองต่างมุม(เลยมีปัญหา)
วิชชาธรรมกายใช้ใจที่สะอาดบริสุทธิ์หยุดนิ่งสว่างสมบูรณ์ ซึ่งตัวบ่งชี้คือพระธรรมกาย และใช้ศูนย์กลางกาย (ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งที่แท้จริง main station) พิจารณาจากกลาง มองจากศูนย์กลาง องค์ประกอบสองอย่างนี้ทำให้ความรู้ที่เกิดขึ้นจึงถูกต้องสมบูรณ์ตรงตามความเป็นจริง

หลวงพ่อถึงพยายามบอกว่าอย่าเถียงกันเลยให้มาปฏิบัติแบบเดียวกันแล้วมองมุมเดียวกัน และมุมที่ควรมองด้วยคือมองจุดศูนย์กลาง ทุกคนก็จะมีความรู้ถูกต้องเหมือนกันหมด เลิกขัดแย้งกัน

การตีความก็ชัดคือ
ในภพสาม นี้ทุกอย่างเป็นไปตามกฏของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
แต่ในนิพพานนั้น เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา

เป็นความเห็นส่วนตัวนะที่พยายามเปรียบเทียบให้ใจ หรือแว่นขยายหยาบๆพอจะตรองตามได้ แต่ในความเป็นจริงนั้นมีมิติ มีอะไรที่ซับซ้อนกว่านี้มากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ.......เกินปัญญาปุถุชนเพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยได้รู้เห็นมาก่อน

#5 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 10 July 2005 - 03:13 AM

โดยหลักการปฏิบัติกรรมฐานตามคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ทรงแสดงไว้ว่า

เทว (อ่านว่า ทะ-เว) เม ภิกฺขเว วิชฺชภาคิยา ดูกร! ภิกษุทั้งหลาย วิชชานั้น มี ๒ ประการ

กตเม เทว สองประการนั้นเป็นเช่นไร

สมโถ จ สมถะ ความสงบระงับ อย่างหนึ่ง

วิปสฺสนา จ วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง อย่างหนึ่ง

สมโถ ภาวิโต กิมตฺถมนุโภติ เมื่อเจริญสมถะขึ้นแล้ว ต้องการอะไร

จิตฺตํ ภาวิยติ ต้องการให้จิตอยู่ในภาวะที่ดี

จิตฺตํ ภาวิตํ กิมตฺถมนุโภติ จิตดีขึ้นนั้น เป็นอย่างไร (หมายถึง ต้องการอะไร)

โย ราโค โส ปหียติ ความกำหนัดยินดีอันใดที่มีอยู่ในจิตใจ ความกำหนัดยินดีนั้นย่อมหมดไป สงบไป ระงับไป ด้วยสมถะ

วิปสฺสนา ภาวิตา กิมตฺถมนุโภติ เมื่อเจริญวิปัสสนาแล้ว ต้องการอะไร

ปญฺญา ภาวิยติ ต้องการทำปัญญาให้เจริญขึ้น

ปญฺญา ภาวิตา กิมตฺถมนุโภติ มีปัญญาขึ้นแล้ว ต้องการอะไร

ยา อวิชฺชา สา ปหียติ ความไม่รู้จริงอันใดที่มีอยู่ในจิต ความไม่รู้นั้นย่อมหมดไป ด้วยความเห็นแจ้ง คือ วิปัสสนา

ดูกร! ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล มนสิการเป็นแดนเกิด มีผัสสะเป็นสมุทัย มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง มีสมาธิเป็นประมุข มีสติเป็นใหญ่ มีปัญญาเป็นยิ่ง มีวิมุตติเป็นแก่น ดังนี้

พุทธพจน์

"ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน"
พระพุทธภาษิต


ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


[/color]
"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒



"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"

"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"

[color="#990000"]ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

#6 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 15 July 2005 - 10:08 AM

สมถกรรมฐานนั้น มี ๔o ประการ ได้แก่ กสิณ ๑o อสุภะ ๑o อนุสสติ ๑o อัปปมัญญา ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตฐาน ๑ และอารุปป ๔

สำหรับวิปัสสนากรรมฐาน มีหลักปฏิบัติที่สำคัญอยู่ด้วยกัน ๖ ประการ ได้แก่

๑.) ขันธ์ ๕
๒.) อายตนะ ๑๒
๓.) ธาตุ ๑๘
๔.) อินทรีย์ ๒๒
๕.) อริยสัจ ๔
๖.) ปฏิจจสมุปปบาทธรรม (คือ ธรรมอันเป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันในการเกิด-ดับ)

"ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน"
พระพุทธภาษิต


ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


[/color]
"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒



"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"

"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"

[color="#990000"]ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

#7 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 17 July 2005 - 01:15 AM

มรณํขลังดั่งแก้ว อนุสสติ
อสุภหนึ่งถึงสิบสิ เพ่งไว้
อานาปานสติมิ ประมาท มุ่งเทิอญ
ถึงแก่นพุทธธรรมไซร้ สว่างสิ้นภพไตร

(อังคาร กัลยาณพงศ์ : ประพันธ์)

"ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน"
พระพุทธภาษิต


ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง ของแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด ไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตไม่ตรัสวาจานั้น

ตถาคตรู้วาจาใด แม้เป็นของจริง เป็นของแท้ และไม่ประกอบด้วยประโยชน์
แต่วาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ แม้วาจานั้นตถาคตก็ไม่ตรัส

อนึ่ง ตถาคตรู้วาจาใด เป็นของจริง เป็นของแท้ ประกอบด้วยประโยชน์
ทั้งวาจานั้นเป็นที่รัก เป็นที่เจริญใจของคนอื่นๆ ตถาคตย่อมรู้กาลอันควรที่จะใช้วาจานั้น
พระอมตะวจนา แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


[/color]
"...พระพุทธศาสนา บริบูรณ์ด้วยสัจธรรมที่เป็นสาระ และเป็นประโยชน์ในทุกระดับ
แต่จะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้เหมาะสมแก่ภาวะปัจจุบัน
ด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง จึงจะเกิดเป็นประโยชน์ขึ้นได้..."

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๒



"รู้ใดก็ไม่ประเสริฐ เท่ารู้แจ้งด้วยปัญญาธรรมอันเกิดมีในตน"

"อัศวินปฏิญาณตนเป็นคนกล้า
ดวงใจเปี่ยมคุณธรรม
ซื่อตรงยึดมั่นในวาจาสัตย์
อุทิศชีวิตพิชิตมาร"

[color="#990000"]ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

#8 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 30 January 2007 - 12:16 PM

กราบอนุโมทนาบุญครับ สาธุ