ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ขอคำชี้แนะเรื่องประสบการณ์ภายใน


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 12 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 sam1

sam1
  • Members
  • 15 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 May 2006 - 08:55 PM

ผมเป็นนักเรียนใหม่คับ..มีประสบการณ์ภายในมาขอคำชี้แนะ.ผมเริ่มนั่งสมาธิจริงๆ จัง ๆ เมื่อไม่นานคับ..เมื่อก่อนใช้วิธีกำหนดลมหายใจเข้าออก พอมารู้จักวิชชาธรรมกายก็เลยลองฝึกตามวิธีของพระเดชพระคุณหลวงปู่.. ก็ก้าวหน้ามาเป็นลำดับ..จากที่นั่งได้ไม่กึง 10 นาทีตอนนี้นั่งได้นานคราวละชั่วโมงได้..โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณครูไม่ใหญ่คับ...มีครั้งหนึ่งที่มีความรู้สึกว่าใจวูบลงแรงมากคล้ายถูกดูด.อย่างแรง..แล้วมีความรุ้สึกว่าตัวเราหายไป..ก็ลองปล่อยไปสักพักแต่ก็ยังไม่มีอะไรยังมีความรู้สึกว่าถูกดูดเข้าไปเรื่อย ๆ ..ก็พยายามวางใจเฉยๆ ดูไปเรื่อยๆ ..แต่ใจตอนนั้นแว๊ปหนึ่งรู้สึกกลัวนิดๆ คับ..เพราะมีความรู้สึกว่าตัวเราไม่มีแล้ว.ก็เลยลองขยับนิ้วดูใจก็เลยถอนออกมา..
อยากขอคำชี้แนะคับ.ใครเคยมีประสบการณ์ลักษณะแบบนี้..ควรทำอย่างไรต่อไปคับ


#2 light...in...body

light...in...body
  • Members
  • 37 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 May 2006 - 09:16 PM

นิ่งๆ นานๆ เข้า นิ่ง นุ่ม เบา เบา เดี๋ยวเราจะเห็นเอง เดี๋ยวเราจะเห็นเอง

#3 xlmen

xlmen
  • Members
  • 978 โพสต์

โพสต์เมื่อ 07 May 2006 - 11:43 PM

QUOTE
มีครั้งหนึ่งที่มีความรู้สึกว่าใจวูบลงแรงมากคล้ายถูกดูด.อย่างแรง..แล้วมีความรุ้สึกว่าตัวเราหายไป..ก็ลองปล่อยไปสักพักแต่ก็ยังไม่มีอะไรยังมีความรู้สึกว่าถูกดูดเข้าไปเรื่อย ๆ ..ก็พยายามวางใจเฉยๆ ดูไปเรื่อยๆ ..แต่ใจตอนนั้นแว๊ปหนึ่งรู้สึกกลัวนิดๆ คับ..เพราะมีความรู้สึกว่าตัวเราไม่มีแล้ว.ก็เลยลองขยับนิ้วดูใจก็เลยถอนออกมา..

ตอบ สมาธิเริ่มจะทรงตัวครับ หมั่นทำใจหยุดใจนิ่งบ่อยๆ ที่ฐานที่ 7 แล้วแรงดูดจะเกิดขึ้นสม่ำเสมอเองครับ ถ้าจิตเกิดความกลัวถอนจากสมาธิแสดงว่าจิตเริ่มสังขารคือปรุงแต่ง สมาธิก็เคลื่อนครับต้องหมั่นฝึกไปเรื่อยๆ คอขาดบาดตายช่างมันเราจะไม่ถอนจากสมาธิเด็ดขาด ลองทำดูนะครับ
หยุดเหมือนรถเบรค นิ่งเหมือนน้ำในโอ่งที่ปราศจากลม แน่นเหมือนหลักที่ปักลงในเลน
ไม่สั่นคลอน ใสเหมือนน้ำที่ปราศจากตะกอน

#4 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 May 2006 - 12:28 AM

ประสบการณ์ดีแล้วนะครับ ก็ไม่ต้องทำอะไร...let it be ปล่อยให้มันเป็นไป ไม่ต้องลุ้น ไม่ต้องเร่ง ไม่ต้องจ้อง ทำใจเฉยๆ มีอะไรให้ดูก็ดูไป เกิดอะไรขึ้นก็เกิดไป เป็นคนดูที่ดีนะครับ อย่าเป็นผู้กำกับ...อ้อ แล้วก็ไม่ต้องเอ๊ะ ไม่ต้องอ๊ะ ไม่ต้องขยับตัวด้วยนะครับ นิ่งๆ นุ่มๆ เบ๊าเบา
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#5 ตาล

ตาล
  • Members
  • 69 โพสต์
  • Location:ดุสิตบุรีวงบุญพิเศษ เขตของบรมโพธิสัตว์

โพสต์เมื่อ 08 May 2006 - 03:03 AM

เรื่องน่ารู้เบื้องต้นในการปฏิบัติธรรม

-ให้มีความอยากนั่ง และ นั่งอย่างสบาย มีความสุขในการนั่ง- พอนั่งปุ๊ปก็หมดหน้าที่ของตา หรือ ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นหน้าที่ของใจแล้ว

- ให้รักษาอารมณ์สบายตลอดเวลาทั้งในการนั่งและช่วงอื่น ๆ เพราะว่าอารมณ์สบายจะทำให้เกิดความง่าย ง่ายต่อการนึกนิมิต ง่ายต่อการหยุดนิ่ง ง่ายต่อการเข้ากลาง ง่ายต่อการเข้าถึงกายภายใน

ความสบายมี 2 อย่าง คือ เกิดขึ้นเอง กับ เราสร้างขึ้น ความสบายที่เกิดขึ้นเอง จู่ๆ ก็เกิดขึ้นเอง ส่วนความสบายที่เราสร้างขึ้นมาทำได้....
โดย 1. ห่างจากบุคคล สิ่ง ที่ทำให้ไม่สบายใจ
2. หาสิ่งที่ทำให้สบายใจ เช่น ชมนกชมไม้ ฟังเพลง อยู่สงบคนเดียว- ให้รักษาอารมณ์สบายก่อนที่จะนั่งจนเกิดความรู้สึกอยากนั่ง มีความพอใจในการนั่ง เห็น ไม่เห็นเป็นเรื่องรอง(ไม่สำคัญ)

- นิมิต คำภาวนา มีไว้กันความฟุ้ง ความง่วง ถ้าไม่ฟุ้ง ไม่ง่วง ก็ให้จรดเข้าภายใน หรือจรดเข้าศูนย์กลางกาย อย่าอยากได้ อยากเห็น เพราะเราจะเผลอไปเร่ง แล้วดึงประสาทตา ปวดขมับ เกร็งกล้ามเนื้อ ท่องไว้ ๆ “ ถ้าเราได้ด้วยความอยาก ถึงจะใสแค่ไหน ก็ไม่เอา” ให้ได้ด้วยความสบายอย่างเดียว

- การปฏิบัติธรรม ให้มีมรรคผล นิพพาน เป็นแก่นสาร ไม่หวังลาภ ยศ สรรเสริญ ถ้าหวังอย่างนั้น จะทำให้จิตไม่นิ่ง ต้องทำใจให้บริสุทธิ์ คิดเสมอว่า เรียนไปทำไม เอาจริงไหม ปล่อยใจเลื่อนลอยไปที่อื่นหรือเปล่า

- จริงวันนี้ ได้วันนี้ จริงพรุ่งนี้ ได้พรุ่งนี้- อย่าใช้ความหยาบในการปฏิบัติเพื่อหาความละเอียด เช่นอารมณ์เศร้าหมอง ขุ่นมัว ลมหายใจเร็ว แรง จิตใจสั่น ไหว ริบรัว ฯลฯ

- ใจที่มีพลัง จะต้องเป็นใจที่เป็นกลาง ๆ ตั้งมั่น มั่นคง

- แม้เราจะไม่เข้าถึงธรรมในวันนี้ แต่อารมณ์สบาย คือ ของขวัญอันยิ่งใหญ่แก่จิตใจ ซึ่งจะทำให้เราเข้าถึงธรรมในวันหน้า

- จิต มีลักษณะเป็นดวง จึงเรียกว่า ดวงจิต เห็น = มองห่าง ๆ เหมือนของสองสิ่ง ได้ = มองใกล้ ๆ หรือ เข้า ๆ ออก ๆ เป็น = เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มั่นคง กลืน แยกไม่ออก

- ความเบา ความสบาย เป็นสิ่งที่เมื่อนั่งแล้วต้องเริ่มทำ ไม่ว่าจะได้ธรรมะในระดับใดก็ตาม

- ชัดไม่ชัด ไม่สำคัญ สำคัญว่ากลางหรือเปล่า นิมิตสัดส่ายเคลื่อนไหว อย่าตาม!!! จรดใจนิ่ง ๆ เข้ากลางอย่างเดียว แล้วจิตก็จะรวมลงสู่กลางเอง

- นึกดวงแก้ว ก็นึกแบบช้าง อย่าให้มีลีลา หรือมีพิธีรีตองมากมาย การนึกก็นึกอย่างสบาย นึกเห็น ก็เห็น เพราะใจเป็นธาตุสำเร็จอยู่แล้ว ให้มีความมั่นใจ ความมั่นใจเท่านั้นที่จะสร้างความมั่นใจต่อ ๆ ไป

- อย่ากลัวเสียเวลา อย่ากลัวเสียหน้า อย่ากลัวว่าจะไม่ได้

- เป็นพระภายนอก 1. สันโดษ ไม่คลุกคลีด้วยคนหมู่มาก 2. ไม่สะสม ไม่เห็นแก่ลาภ 3. ไม่อยากเด่น ไม่อยากดัง 4. อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นไปเพื่อบุญกุศลล้วน ๆ

- อย่าท้อใจ อย่าน้อยใจ เพราะเมื่อกระแสใจเสื่อมคุณภาพ บาปจะเข้าครอง ต้องปลุกใจให้ฮึดสู้ นั่งให้สนุก เบิกบาน ให้เป็นบุญบันเทิงให้ได้

- อย่าเสียดายความคิดเก่า ๆ จงสลัดทิ้งออกไป ตัดใจให้เหมือนตายจาก- เรื่องหยาบ ๆ ภายนอก ถ้าดูเบา จะมีผลต่อภายใน

- ถ้าไม่ฝึกจรดศูนย์กลางกายตลอดเวลา เวลานั่งใจจะรวมได้ช้า ต้องมัวปัดของเก่าออก ทำให้เสียเวลา

- ถ้าเห็นภาพต้นไม้ คน สัตว์ อย่าไปสนใจ เพราะใจเริ่มเป็นสมาธิ จึงจะเห็นภาพ ให้ดูเฉย ๆ ดูจุดที่เล็กที่สุด เดี๋ยวภาพก็จะเปลี่ยนไปเอง เปลี่ยนไปสู่ความไม่เปลี่ยน

- ความง่ายเกิด เพราะเราทำจิตให้คิดว่าง่าย ความยากเกิด เพราะเราทำจิตให้คิดว่ายาก ถ้ายาก เด็กทำไม่ได้หรอก อย่ากลัวว่าจะไม่ได้ อย่ากลัวว่าจะได้ช้า

- อย่ากลัวว่าจะไม่ได้ เพราะดวงธรรมที่โตเท่ากับฟองไข่แดงของไข่ไก่ มีในมนุษย์ทุกคน ถ้าไม่มีก็เป็นคนไม่ได้ ถ้าดวงนี้แตกดับ กายก็แตกดับดวงธรรมมีกันทุกคน เพียงแต่ไม่เห็น ถ้าใจยังสัดส่ายอยู่

- อย่านั่งไปบ่นไป “ไม่เห็นมีอะไร ๆ ๆ ๆ ” ให้เฉย จะได้นิสัยอุเบกขา ใจจะได้เป็นกลาง ๆ ถ้าส่วนไหนตึง นั่นพยายามเกินไป อย่าฝืน ให้ปรับ- จุดเริ่มต้นที่ไหนก็ได้ แต่ส่งท้ายต้องศูนย์กลางกาย ช่วงแรกใจอาจจะอยู่ข้างหน้า หรือที่ไหนก็ไม่รู้ อย่ากังวล ปล่อยไป เดี๋ยวจะเข้าศูนย์กลางกายเอง แม้ไม่เห็น แม้ไม่ชัด แต่ให้ใจอยู่กลางท้อง พร้อมความหวังว่าจะได้รักษาใจให้สบาย เดี๋ยวได้แน่


- ถ้าใจยังไม่พร้อมที่จะนึก อย่าเพิ่งนึก ให้วางใจเฉย ๆ จงคอยด้วยใจที่เยือกเย็น วางใจในที่สบาย ๆ การวางใจเฉย ๆ ไม่ใช่ช้า เพราะใจเฉย เป็นใจที่ใกล้กับใจละเอียดแล้ว

- ยิ่งอยากก็ยิ่งยาก เลิกอยากก็เลิกยาก จำไว้......... ผู้ที่สว่างเดี๋ยวนี้ ก็คือผู้ที่เคยฟุ้งมาก่อน ผู้ที่จิตตั้งมั่นเดี๋ยวนี้ ก็คือผู้ที่เคยมืดมาก่อน

- เมื่อจิตหยาบ ให้ทำให้นิ่งก่อน พอจิตละเอียด จะกระดิกจิตถึงดวงแก้ว ถึงองค์พระได้ ถ้าไปนึกตอนทิ่จิตหยาบ จะเครียด เพราะมีความอยากนำหน้า ต้องทำให้นิ่งก่อน

- ทำไมฟุ้ง ทำไมคิดหลายเรื่อง เพราะจิตกำลังหาที่สบาย เมื่อยังไม่พบที่ชอบก็แสวงหาต่อไป เมื่อพบที่ชอบก็หยุด การที่มีความคิดเหลือเฟือ ไม่ใช่ว่าฝึกจิตไม่ได้ เพราะความคิดเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของจิต

- เมื่อเข้าถึงกำเนิดความสุข แหล่งของความสุขที่ศูนย์กลางกาย จิตก็จะไม่ไปไหน มีสุข เกิด ความพอใจ พอเหมาะ พอดี พอเพียง แค่ส่งจิตถึงศูนย์กลางกายนิดเดียว แล้วจิตถอน ก็ได้บุญมากแล้ว หรือแค่เห็นแสงแว๊บนิดเดียว ชีวิตวันนั้นก็มีความสุขแล้ว คุ้มค่าแล้ว เหมือนคนเล่นน้ำ เอาเท้าจุ่มน้ำตื้น ๆ ก็ยังชื่นใจ

- ถ้าอยากได้เร็ว จะได้ช้า ถ้าไม่กลัวช้า จะได้เร็ว ให้ตัดใจ หักใจ ห้ามใจ ของหยาบ ๆ ก่อน เรื่องข้างในมีอีกเยอะ อย่าไปเลอะเรื่องข้างนอก พลังใจเป็นต่อ เพราะใจจ่อศูนย์กลางกาย ไฟฟ้าที่ลืมปิด ชีวิตที่ลืมศูนย์กลางกาย น่าเสียดายจังน่ะสายน้ำอาจหมุนวน สายลมอาจเปลี่ยนทิศ แต่สายใยของชีวิต จะไม่เปลี่ยนทิศจากศูนย์กลางกาย

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  072.gif   56.52K   9 ดาวน์โหลด


#6 minori

minori
  • Members
  • 24 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 May 2006 - 07:08 AM

ไม่ต้องไปทำอะไรครับ....หยุดตั้งแต่เบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย
" หยุดนิ่งเฉยๆ....ได้มั้ย " ชอบประโยคนี้จากโอวาทของหลวงพ่อครับ

#7 ฟ้ายังฟ้าอยู่

ฟ้ายังฟ้าอยู่
  • Members
  • 2511 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 May 2006 - 09:30 AM

อย่าแข่งกับตัวเอง (อย่าคิดว่าประสบการณ์ของวันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน)
อย่าแข่งกับคนอื่น (อย่าคิดว่า เราต้องเข้าถึงความสุขแบบที่คนอื่นเจอ หรือเห็นแบบที่คนอื่นเห็น)

ให้ทำใจหยุดที่ศูนย์กลางกาย ขอเพียงแค่หนึ่งนาทีในหนึ่งชม.

อย่าสงสัย อย่าเอ๊ะ อย่าอ๊ะ มีความมืดก็ให้ดูความมืด มีความสว่าง ก็ให้ดูความสว่าง นิ่งอย่างเดียว เดี๋ยวสมหวังค่ะ
"เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว พบแล้วไม่กำจะเกิดมาทำไม
อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย.."
พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)


#8 บุญรักษา

บุญรักษา
  • Members
  • 189 โพสต์
  • Interests:ขอชีวิตงดงามตามที่ฝัน ขอทุกวันเป็นวันอันสดใส ขอทุกก้าวคือก้าวที่มั่นใจ ขอวันใหม่ก้าวไกลไปกว่าเดิม

โพสต์เมื่อ 08 May 2006 - 04:57 PM

เคยเช่นกันครับ

อาการคล้ายถูกดูดวูบไปเช่นนี้ ครั้งบรรพชาเป็นสามเณร สักพักจะรู้สึกอีกครั้งก็ตอนพระอาจารย์ท่านใช้จีวร พาดมาที่ศรีษะ แล้วดึงขึ้น ตอนนั้นเพ่งผ่านการปลงผมแรก ๆ เลย จีวรงี้ติดหนึบเลยครับ แหม่ พระอาจารย์ท่านเมตตา

ประสบการณ์แจ่มที่สุดก็สบาย ๆ เรื่อย ๆ มีดวงใส ๆ ลอยเด่นไม่รู้ว่ากลางท้องป่าวน่ะ ครับ
ตอนนั้นไม่ได้สนใจกลางท้องไหม มีความสุขใจประทับใจมาก ณ ช่วงเวลาตอนนั้น ตัวเราว่างเปล่า ไม่ได้รู้สึกวูบน่ะครับ รู้สึกว่ามีสติตลอดเวลา แต่พอไม่ได้ทำสม่ำ
เสมอ ก็หาย อาจจะมีส่วนที่ติดวิถีทางโลก ที่ทำให้มีอะไร ๆ ให้ขุ่นใจได้ง่าย อกหักรักคุดมั่ง ตั้งแต่ย่างวัยหนุ่มนี้ไม่เคยนั่งสมาธิได้ดี เท่านั้นเลยครับ

#9 sam1

sam1
  • Members
  • 15 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 May 2006 - 07:27 PM

ขอบคุณทุกท่านคับที่เมตตา...ทุกคำชี้แนะจะนำไปเป็นแนวทางปฎิบัติคับ.

#10 ปุฉฉา13

ปุฉฉา13
  • Members
  • 104 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 May 2006 - 09:18 PM

สู้ๆ..

#11 CEO

CEO
  • Members
  • 577 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย

โพสต์เมื่อ 08 May 2006 - 11:27 PM

โอ้ สาธุ สาธุ สาธุ ที่ทำได้ครับ สาธุ ครับ
สร้างบารมีทุกวินาที
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้

#12 ประคองบุญ

ประคองบุญ
  • Members
  • 210 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 May 2006 - 01:09 AM

สาธุ สาธุ _/l\_
ถ้าได้ประสบการณ์แบบนี่คงดีนะเรา แต่ยังมะมีสักกะที

#13 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 04 March 2007 - 09:47 AM

กราบอนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ