ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ดอกไม้สมณะ ของขวัญแด่... ผู้ประพฤติพรหมจรรย์


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 2 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 10 May 2006 - 12:28 AM

การเจริญกายคตาสติที่สามารถปรากฏได้ทั้ง วัณณนิมิต ปฏิกูลนิมิต และธาตุนิมิต นั่นเป็นเพราะโกฏฐาสะทั้ง ๓๒ มีลักษณะทั้ง ๓ เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยกันทุกโกฏฐาสะ นิมิตทั้ง ๓ นี้ วัณณนิมิตและปฏิกูลนิมิตปรากฏได้ไม่ยาก สำหรับธาตุนิมิตนั้นทั้งปรากฏยากและรู้ได้ยาก
โดยหลักปฏิบัติแล้ว ในอุคคหโกสัลละ ๗ ประการให้ถือเอา ๒ ข้อแรก คือ วจสา (การพิจารณาโดยใช้วาจา) และมนสา (การพิจารณาด้วยใจ) เป็นหลักของการปฏิบัติ ส่วนที่เหลือ ๕ ข้อหลัง เป็นข้อปลีกย่อยของข้อ มนสา กล่าวคือ เมื่อใจพิจารณาโกฏฐาสะอย่างใดอย่างหนึ่งตามวาจาที่ท่องบ่นอยู่ ในเวลานั้น การพิจารณาโดยความเป็นสี เป็นรูปร่างสัณฐานที่เกิด ที่ตั้งและกำหนดขอบเขตก็มีพร้อมไปด้วย ยกตัวอย่างในการภาวนาหมวดแรกซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังนี้

๑. เกสา คือ ผม มีทั้งสีดำ แดง ขาว สัณฐานกลมยาว มีจำนวนประมาณ ๙,ooo,ooo เส้น เกิดขึ้นอยู่เบื้องบนของร่างกาย ตั้งอยู่ในหนังอ่อนซึ่งห่อหุ้มกระโหลกศีรษะ บริเวณที่อยู่ของเส้นผม สุดลงแค่จดหมวกหูทั้งสองข้าง ด้านหน้าจดหน้าผาก ด้านหลังจดหลุมคอ ขอบเขตของเส้นผมตอนล่างสุดของผมแต่ละเส้น มีโคนหยั่งลงไปในหนังศีรษะลึกประมาณเท่าปลายเมล็ดข้าวเปลือก ตอนบนมีขอบเขตแค่อากาศ (หมายความว่าสุดสิ้นแค่ความยาวสั้นของเส้นผมของแต่ละคน) ขึ้นเป็นแต่ละเส้นๆ ขึ้นติดกันสองเส้นไม่มีเส้นผมขึ้นอยู่ในที่เฉพาะดังที่กล่าวนี้ ไม่ขึ้นอยู่ในโกฏฐาสะอื่นอีก

๒. โลมา คือ ขนมีสีดำบ้าง เหลืองบ้าง ไม่ดำล้วน มีจำนวนประมาณ ๙o,ooo,ooo เส้น แต่ละเส้นมีสัณฐานดังรากต้นตาล ปลายน้อมลง เกิดอยู่ทั้งส่วนบนและส่วนล่างของร่างกาย อยู่ตามผิวหนังทั่วตัว เว้นไว้แต่ที่เส้นผมเกิด ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ขอบเขตตอนล่างกำหนดเอาแค่รากของขนที่แยงฝังอยู่ในหนังหุ้มร่าง ลึกประมาณเท่าไข่เหา ตอนบนกำหนดเอาอากาศคือสุดเท่าความยาว ส่วนกว้างกำหนดด้วยส่วนของกันและกัน ไม่มีการขึ้นติดกันสองเส้น มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่อยู่ในโกฏฐาสะอื่นๆ

๓. นขา คือ เล็บ มีสีขาว สัณฐานเหมือนเกล็ดปลา เกิดอยู่ทั้งสองส่วนคือที่มือและเท้า ตั้งอยู่ที่หลังปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ขอบเขตกำหนดด้วยเนื้อปลายนิ้วทั้งสามด้าน ภายในกำหนดด้วยเนื้อหลังนิ้ว ภายนอกและปลายกำหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้างกำหนดด้วยส่วนของกันและกัน ไม่มีเล็บติดกันสองอันมีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสะอื่นๆ

๔. ทันตา คือ ฟัน มีสีขาว จำนวน ๓๒ ซี่ บางคนมีเพียง ๒๘-๒๙ ซี่มีสัณฐานต่างๆ คือตอนกลางๆ มีซี่ฟันเป็นระเบียบอยู่ ๔ ซี่ ฟันข้างล่างเหมือนเม็ดน้ำเต้าที่เสียบติดไว้เป็นลำดับบนก้อนดินเหนียว ฟันหน้า ๔ ซี่ ทั้งบนล่างมีรากฟันซี่ละรากเดียว ทรวดทรงเหมือนดอกมะลิตูม ฟันกรามมีราก ๒ ง่ามปลายฟันก็มี ๒ ง่าม ทรวดทรงเหมือนไม้ค้ำเกวียน ถัดกรามเข้าไปเป็นฟันกรามใน มีราก ๓ ง่าม ปลายฟันก็มี ๓ ง่าม ส่วนกรามในสุดมีราก ๔ ง่าม ปลายมี ๔ ง่าม มีลักษณะดังนี้ทั้งฟันล่างและบน เกิดอยู่ส่วนบนของร่างกายตั้งอยู่ที่กระดูกคางทั้งสอง ขอบเขตเบื้องต่ำกำหนดด้วยอากาศ ส่วนกว้างกำหนดด้วยส่วนของกันและกัน ฟันติดกันสองซี่ไม่มี มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสะอื่นๆ

๕. ตโจ คือ หนัง ได้แก่ผิวหนังที่ห่อหุ้มร่างกาย มีสีดำบ้าง คล้ำบ้าง เหลืองบ้าง ขาวบ้าง ส่วนที่เป็นหนังหนาจึงจะมีสีขาวอย่างเดียว หนังมีขนาดสัณฐานเท่าร่างกาย เกิดคลุมอยู่หมดทั้งส่วนบน ส่วนล่าง รัดรึงอยู่ไปทั่วทั้งตัว ขอบเขตเบื้องต่ำกำหนดด้วยพื้นที่ตั้งอยู่เบื้องบน กำหนดด้วยอากาศมีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่โกฏฐาสะอื่นๆ
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เหล่านี้ เมื่อว่าโดยสี สัณฐาน กลิ่น ที่อาศัยเกิด ที่ตั้ง ล้วนเป็นของน่าเกลียดทั้งสิ้น สังเกตได้เวลาของเหล่านี้บังเอิญหลุดออกจากที่ตั้งไปหล่นอยู่ในอาหาร แม้จะเป็นอาหารที่ดีวิเศษเพียงใดก็ดูเป็นอาหารนั้นสกปรกไปทันที สำหรับโกฏฐาสะอื่นๆ ก็ใช้วิธีพิจารณาในทำนองเดียวกัน

๖. พิจารณามังสัง คือ เนื้อก้อนเนื้อในร่างกายของเราแยกเป็นประเภทได้ ๙oo ชิ้น มีสีแดงราวดอกทองกวาวหรือทองหลางป่า มีสัณฐานต่างๆ กันตามที่อยู่ เนื้อแข้งเหมือนใบตาลที่ยังม้วนห่ออยู่ หรือเหมือนดอกเกดตูม เนื้อขาเหมือนลูกศิลาที่ใช้บดของ เนื้อสะโพกเหมือนก้อนเส้า เนื้อหลังเหมือนเยื่อตาลสุก เนื้อสีข้างดั่งดินที่นำมาทาฝาฉางเก็บข้าวเปลือก เนื้อนมดังก้อนดินที่แขวนเอาไว้ เนื้อแขนดังหนูตัวใหญ่ที่ถูกถลกหนังตัดหัวตัดเท้าวางซ้อนกัน เนื้อก้นดังเนื้อตัวกบ เนื้อลิ้นดังกลีบดอกบัว เนื้อจมูกดังถุงที่วางคว่ำไว้ เนื้อขุมตาดังลูกมะเดื่อเกือบสุก เนื้อศีรษะมีสัณฐานดังดินที่เอามาทาบางๆ ใช้รมบาตรว่าโดยทิศ เนื้อมีอยู่ทั้งตอนบนตอนล่าง ว่าโดยที่ตั้ง เนื้อหุ้มกระดูกอยู่ทั้ง ๓oo ท่อน
ผู้ปฏิบัติพึงพิจารณาให้เห็นปฏิกูลว่า แม้เนื้อกับกระดูกหุ้มติดกันอยู่ แต่ทั้งคู่ไม่รู้จักกัน เหมือนเอาดินทาฝาบ้าน ดินกับฝาก็ไม่รู้จักกัน เนื้อกับกระดูกก็เป็นสภาวะสูญเปล่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล พิจารณาถึงขอบเขต เบื้องต่ำอยู่ที่พื้นของร่างกระดูก เบื้องบนหุ้มไว้ด้วยหนัง ทางขวางสิ้นสุดลงด้วยชิ้นเนื้อนั้นเอง

๗. พิจารณานหารุ คือ เส้นเอ็นมี ๙oo เส้น มีสีขาวบางแห่งว่าสีน้ำผึ้งมีสัณฐานต่างๆ เส้นใหญ่ เหมือนดอกคล้าตูม เส้นเล็กเหมือนเชือกที่ใช้ดักหมู เส้นที่เล็กกว่าลงไปเหมือนเชือกเส้นเล็ก ที่ขนาดเล็กกว่านั้นเหมือนสายพิณชาวสิงหฬ ที่เล็กลงไปที่สุดเหมือนเส้นด้าย เส้นที่หลังมือหลังเท้าเหมือนสัณฐานเท้าของนก เส้นที่บนศีรษะเหมือนผ้าทุกุลพัตรเนื้อห่างที่คนวางไว้บนศีรษะทารก เส้นในหลังใหญ่ประมาณเท่าเมล็ดในพุดทรา มีสีต่างๆสีดำก็มี สัณฐานเหมือนแหและอวนที่ขึงออกตากไว้กลางแดด เส้นทั้งหลายรัดรึงกระดูกไว้ทั้ง ๓oo ท่อน เกี่ยวประสานกันไว้ทั่วกรัชกายเหมือนรูปหุ่นที่มีสายยนต์ขึงไว้ เส้นใหญ่แล่นออกไปตามชายโครงซ้าย 5 เส้น ขวา 5 เส้น สันหลังข้างซ้าย ๕ เส้น ข้างขวา ๕ เส้น เส้นใหญ่ทั้งสิ้นนี้ไปรวมกันอยู่ที่คอ และยังมีเส้นใหญ่แล่นไปตามแขนซ้ายขวาข้างละ ๑o เส้น (หน้าแขน ๕ เส้น หลังแขน ๕ เส้น) เท้าทั้งสองอีกข้างละ ๑o เส้น เส้นที่เล็กกว่านั้น เหมือนด้ายฟั่นก็มี เหมือนเถากระพังโหมก็มี เกี่ยวประสานกระดูกน้อยๆ ให้ผูกติดอยู่กับเอ็นใหญ่ ว่าโดยที่ตั้ง เส้นเอ็นเหล่านี้อยู่ทั่วร่างกาย ถ้าว่าโดยขอบเขต เบื้องต่ำตั้งอยู่ที่กระดูก ๓oo ท่อน เบื้องบนตั้งอยู่ในเนื้อ เบื้องขวางอยู่ที่เส้นเอ็นด้วยกัน ให้พิจารณาเป็นปฏิกูลว่า เส้นเอ็นกับกระดูกผูกพันกันอยู่ก็จริง แต่ไม่รู้จักกัน ธรรมเหล่านี้เป็นสภาวะสูญเปล่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล

๘. พิจารณากระดูก มีอยู่ประมาณ ๓oo ท่อน คือ กระดูกมือ ๖๔ กระดูกเท้า ๖๔ กระดูกอ่อน ๖๔ ที่อยู่ในเนื้อ (มีอย่างละ ๖๔ ชิ้น) กระดูกเท้า ๒ ข้อเท้า ๒ แข้ง ๒ เข่า ๒ ขา ๒ สะโพก ๒ สะเอว ๒ สันหลัง ๑๘ ซี่โครง ๒๔ กระดูกอก ๑๔ หัวใจ ๑ รากขวัญ ๒ กระดูกใหญ่ ๒ แขน ๒ อก ๒ คอ ๗ คาง ๒ จมูก ๑ กระบอกตา ๒ หู ๒ หน้าผาก ๑ สมอง ๑ ศีรษะ ๙


#2 CEO

CEO
  • Members
  • 577 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย

โพสต์เมื่อ 15 May 2006 - 11:06 AM

การทำสมาธิมี 40 วิธี
ทุกวิธีแตกต่างกัน
แต่ทุกวิธีมุ่งไปสู่จุดเดียวกัน
ดังนั้น
ทำวิธีใดก็ได้ที่ทำให้ใจเราสบายที่สุด
สร้างบารมีทุกวินาที
แม้ชีวิตนี้ก็ให้ได้

#3 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 20 March 2007 - 10:46 AM

สาธุ