ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ดอกไม้สมณะ ของขวัญแด่... ผู้ประพฤติพรหมจรรย์


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 1 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

ไชยานุภาพ ปราบหงสาวดี

    "ความเพียรเครื่องเผากิเลสพึงกระทำเสียแต่วันนี้"

  • Members
  • 2171 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ราชอาณาจักรสยามประเทศ
  • Interests:ADVANCE MEDITATION

โพสต์เมื่อ 10 May 2006 - 12:32 AM

วิธีเจริญสมถภาวนาโดยกายคตาสติ


กายคตาสติ หมายถึง การระลึกถึงส่วนต่างๆ ของร่างกาย อันมีจำนวน ๓๒ อาการอยู่เนืองๆ
คำว่า กายะ แปลว่า กอง หมายความว่า กองของอาการ ๓๒ มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น
ดังนั้น กายคตาสติ หมายถึง สติที่เป็นไปโดยการนำเอากองแห่งอาการ ๓๒ มาเป็นอารมณ์

ในร่างกายของเรามีส่วนต่างๆ อยู่ ๓๒ ได้แก่
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อใยกระดูก ม้าม
หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด
ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง
น้ำดี เสมหะ น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ น้ำมันข้น
น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมูตร

กายคตาสตินี้มีประโยชน์มาก เพราะจะทำให้เกิดความสังเวชสลดใจ พ้นจากโยคะอันเป็นเครื่องผูกสัตว์ให้ติดอยู่ใน กาม ภพ ความเห็นผิด และความหลง
- ทำให้เกิดสติสัมปชัญญะเป็นพิเศษ
- ได้ปัจจเวกขณญาณ (ญาณที่เกิดแก่ผู้บรรลุมรรคผลแล้ว)
- มีความเป็นอยู่อย่างเป็นสุขแม้ในชีวิตปัจจุบัน
- ทำให้แจ้งซึ่งวิชชา ๓ และวิมุตติผล

กายคตาสตินี้ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทวัตติงสกายกรรมฐาน

วิธีปฏิบัติกายคตาสติ ผู้ปฏิบัติพึงทราบกิจเบื้องต้น ๒ ประการใหญ่ๆ คือ
๑. ฉลาดในการศึกษา (อุคคหโกสลลํ) ๗ อย่าง
๒. ฉลาดในการพิจารณา (มนสิการโกสลลํ) ๑O อย่าง

๑. ฉลาดในการศึกษา คือ ต้องฉลาดในการพิจารณาโดย
- ใช้วาจา (วจสา)
- ใช้ใจ (มนสา)
- ความเป็นวรรณะ คือ สีต่างๆ (วณณโต)
- ความเป็นรูปร่างสัณฐาน (สณฐานโต)
- ที่เกิด (ทิสาโต) เช่น เกิดอยู่ส่วนบน หรือส่วนล่างของร่างกาย
- ที่ตั้ง (โอกาสโต) ว่าตั้งอยู่ ณ ส่วนใดของร่างกาย
- กำหนดขอบเขต (ปริจเฉทโต) เช่น กำหนดว่าเส้นผมหยั่งลึกลงไปในศีรษะ ประมาณเท่าความยาวของเมล็ดข้าวเปลือก ในรูที่เส้นผมงอกขึ้นมานั้นมีเพียงรูละหนึ่งเส้น เขตปลายผม คือ สุดความยาว

๒. ฉลาดในการพิจารณา คือ พิจารณาไปโดย
- ลำดับ เรียงตามก่อนหลัง ไม่ข้ามไปข้ามมา หรือกระโดดข้ามหมวด (อนุปุพพโต)
- ไม่รีบร้อนนัก (นาติสีฆโต)
- ไม่เฉื่อยช้านัก (นาติสณิกโต)
- บังคับจิตใจไม่ให้ไปคิดเรื่องอื่น (วิกเขปปปฏิพาหนโต)
- ก้าวล่วงบัญญัติเสีย เช่น ไม่คำนึงถึงชื่อที่ตั้งขึ้นสำหรับเรียก (ปณณตติสมติกกมโต)
- ทิ้งโกฏฐาสะในส่วนที่ไม่ปรากฏ โดยสี สัณฐาน ที่เกิด ที่ตั้ง ขอบเขต ตามลำดับ (อนุปุพพมุญจนโต)
- ใช้พิจารณาในโกฎฐาสะอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้เข้าถึงอัปปนา (อปปนาโต)
- พิจารณาพระสูตร ๓ ประการ (ตโย จ สุตตนตา) มีอธิจิตตสูตร สีติภาวสูตร โพชฌังคโกสัลลสูตร

เมื่อทราบกิจเบื้องต้นถี่ถ้วนถูกต้องแล้ว จึงพิจารณาดูรูปกายของตนเองตั้งแต่บนสุด คือเส้นผมลงไปจนถึงปลายเท้า แล้วย้อนพิจารณาตั้งแต่ปลายเท้าจนถึงเส้นผมทบไปทวนมา ให้เห็นว่ารูปกายนี้เต็มไปด้วยสิ่งโสโครกประการต่างๆ ต่อจากนั้นจึงท่องชื่อให้ขึ้นใจแล้วระลึกตามความหมายไปด้วย

ภาษาบาลีที่ใช้เรียกโกฏฐาสะทั้ง ๓๒ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๖ หมวดดังนี้
หมวดที่ ๑. เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
หมวดที่ ๒. มังสัง นหารุ อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง วักกัง
เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม
หมวดที่ ๓. หทยัง ยกนัง กิโลมกัง ปิหกัง ปัปผาสัง
หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด
หมวดที่ ๔. อันตัง อันตคุณัง อุทริยัง กรีสัง มัตถลุงคัง
ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า สมอง
หมวดที่ ๕. ปิตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท
น้ำดี เสมหะ น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ น้ำมันข้น
หมวดที่ ๖. อัสสุ วสา เขโฬ สิงฆานิกา ลสิกา มุตตัง
น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมูตร

การภาวนา หากใช้ภาษาบาลีต้องทราบความหมายในโกฏฐาสะที่ออกชื่อไปด้วย หากไม่สะดวกในการจำ จะว่าเป็นภาษาไทยให้เข้าใจพร้อมไปทีเดียวก็ได้ และเนื่องจากโกฎฐาสะมีถึง ๓๒ อย่าง ไม่สะดวกที่จะท่องคราวเดียวติดต่อกัน จึงแบ่งออกเป็นหมวดๆ รวมทั้งสิ้น ๖ หมวด

ระยะที่หนึ่ง บริกรรมภาวนาในหมวดที่หนึ่งโดยอนุโลม คือ ว่าเรียงลำดับกันไป ๕ วัน และว่าโดยปฏิโลม คือ ทวนกลับจากท้ายมาต้นอีก ๕ วัน ต่อจากนั้นว่ารวมทั้งอนุโลม ปฏิโลม รวมกันตลอด ๕ วัน รวมระยะที่หนึ่งใช้เวลา ๑๕ วัน
ระยะที่สอง ใช้ภาวนาในหมวดที่สองในทำนองเดียวกัน ๑๕ วัน
ระยะที่สาม เอา ๒ หมวดมารวมกัน แล้วพิจารณาโดยอนุโลมก่อน ๕ วัน โดยปฏิโลม ๕ วัน ว่ารวมกันตลอดอีก ๕ วัน รวมทั้งสิ้น ๑๕ วัน
ระยะที่สี่ ใช้ภาวนาในหมวดที่สามในทำนองเดียวกับระยะแรก เป็นเวลา ๑๕ วัน
ระยะที่ห้า เอา ๓ หมวดรวมกัน ในทำนองเดียวกับระยะที่สาม เป็นเวลา ๑๕ วัน
ระยะที่หก ใช้ภาวนาในหมวดที่สี่ ในทำนองเดียวกับระยะแรก เป็นเวลา ๑๕ วัน
ระยะที่เจ็ด เอา ๔ หมวดรวมกัน ในทำนองเดียวกับระยะที่ห้า เป็นเวลา ๑๕ วัน
ระยะที่แปด ใช้ภาวนาในหมวดที่ห้า ในทำนองเดียวกับระยะแรก เป็นเวลา ๑๕ วัน
ระยะที่เก้า เอา ๕ หมวดรวมกัน ในทำนองเดียวกับระยะที่เจ็ด เป็นเวลา ๑๕ วัน
ระยะที่สิบ ใช้ภาวนาในหมวดที่หก ในทำนองเดียวกับระยะแรก เป็นเวลา ๑๕ วัน
ระยะที่สิบเอ็ด เอา ๖ หมวดรวมกัน ในทำนองเดียวกับระยะที่เก้า เป็นเวลา ๑๕ วัน
รวมเวลาในการพิจารณาทั้งสิ้น ๕ เดือน ๑๕ วัน

ผู้ที่มีบารมีแก่กล้า เป็นติกขบุคคล เจริญกายคตาสติดังนี้จะใช้เวลาไม่ถึง ๕ เดือน ๑๕ วัน ก็จะสำเร็จเป็นปฐมฌานลาภีบุคคล บางคนเร็วมากไม่ทันต้องท่องบ่น เพียงฟังอาจารย์สั่งสอนโกฏฐาสะก็ปรากฏเกิดขึ้นแก่ใจแล้ว พวกบารมีปานกลาง (มัชฌิมบุคคล) เกิดช้าไปบ้าง แต่เมื่อครบ ๕ เดือน ๑๕ วันก็สำเร็จ ส่วนพวกบารมีอ่อน (มันทบุคคล) อาจไม่มีฌานปรากฏ หากมันทบุคคลผู้ใดยังไม่ท้อถอยหมดกำลังใจ ควรท่องบ่นปฏิบัติต่อไปอีก ๖ เดือน โดยกระทำเหมือนการเริ่มต้นใหม่

กายคตาสตินี้ ในการปฏิบัติใหม่ๆ เมื่อต้องท่องบ่นครั้งแรก จะต้องท่องบ่นโดยกำหนดเป็นอย่างๆ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ยังไม่ต้องพิจารณาเรื่องความเป็นสี เป็นปฏิกูล เป็นธาตุดิน น้ำ ฯลฯ แต่อย่างใด ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้วัณณนิมิต หรือปฏิกูลนิมิต หรือธาตุนิมิตเกิด ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เมื่อบริกรรมโดยความเป็นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แต่นิมิตเรื่อง สี ปฏิกูล ธาตุ เกิดขึ้นเอง แสดงว่าผู้ปฏิบัติเคยมีบารมีที่เกี่ยวกับการเจริญกสิณดังนั้นมาแต่ภพก่อน สมควรเจริญภาวนาโดยท่องบ่นพิจารณาโดยความเป็น สี ปฏิกูล หรือธาตุ ตามที่ปรากฏนั้นต่อไป จึงจะเหมาะสมถูกต้องกับจริตอัธยาศัย


#2 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 20 March 2007 - 10:46 AM

สาธุ