ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

น่าจะเป็นความคิดเห็นส่วนตัวในเรื่องของ "วิกฤตพุทธศาสนา"


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 4 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 บุญโต

บุญโต
  • Members
  • 2192 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • Interests:ปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 20 June 2006 - 01:54 PM

ได้รับอีเมล์นี้มาค่ะ...น่าจะเป็นความคิดเห็นและความรู้สึกส่วนตัวมากกว่า ซึ่งข้อความบางส่วนมีการกล่าวถึงบุคคลของวัดพระธรรมกายด้วย(แต่เขียนชื่อผิด) ถ้าเข้าใจไม่ผิด...ผู้เขียนน่าจะมองว่า "สมาธิ" เป็นเรื่องของจุดขาย/สินค้า....อยากให้คนที่ไม่เคยนั่งสมาธิ ลองฝึกนั่งสมาธิสักระยะหนึ่งจังเลย

ส่วนมุมมองที่ระบุในเรื่องของศาสนาพุทธกับการประหารชีวิต...ทุกท่านมีความคิดเห็นอย่างไรค่ะ...จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องของ กฏหมายบ้านเมืองหรือปล่าวค่ะ...เพียงแต่มาเชื่อมโยงตรงที่ว่า "เมื่อเราเป็นชาวพุทธแล้ว เราไม่ควรมีกฏประหารชีวิตหรือปล่าว"

......................................................................

แต่ในกรณีของไทยผมคิดว่าเมื่อศาสนาพุทธแบบลังกาเข้ามา ศาสนาในประเทศไทยแข็งแกร่งอยู่แล้ว แล้วก็ในส่วนที่เป็นสังคมมันเป็นส่วนที่ศาสนาผีและวัฒนธรรมประเพณีเดิมเป็นผู้รองรับ พุทธศาสนาสามารถตั้งในประเทศไทยได้โดยการประนีประนอมกับศาสนาเดิมที่มีอยู่แล้ว แล้วก็รับผิดชอบเฉพาะส่วนที่เป็นศีลธรรมส่วนตัว แล้วปล่อยให้ศีลธรรมส่วนสังคมกลายเป็นภาระหน้าที่ของศาสนาเก่า ศาสนาผีและศาสนาอื่น ๆ ที่คนไทยเคยนับถือมาก่อน

นำการสนทนาโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
(ความยาว 22 หน้ากระดาษ A4)

ประเด็นที่ผมจะพูดวันนี้คือ ประเด็นเกี่ยวกับวิกฤตพุทธศาสนาในสังคมไทยในปัจจุบันนี้ ซึ่งผมขอพูดสั้น ๆ ดังต่อไปนี้ คือผมคิดว่าประเด็นแรกที่คิดว่าแทบจะไม่ต้องพูดอะไรมากนักก็จะเห็นพ้องต้องกันก็คือว่าผมคิดว่าเมืองไทยหลังจากประมาณปี 2510 เป็นต้นมาถึงปัจจุบันนี้เราจะพบว่ามันมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ทั้งในทางเศรษฐกิจก็ตาม ทั้งในทางการเมืองก็ตาม ทั้งในทางสังคมก็ตาม เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก

หลังจาก 2510 เป็นต้นมา เรามีสังคมแบบใหม่ เรามีเศรษฐกิจใหม่ เรามีการเมืองใหม่ อะไรหลาย ๆ อย่างค่อย ๆ คลี่คลายไปเรื่อย ๆ สังคมอันนี้ผมคิดว่าเป็นสังคมที่ศาสนาพุทธของไทยซึ่งมีตั้งแต่โบราณไม่อาจจะตอบสนองได้ มันเกิดปัญหาขึ้นสองส่วนด้วยกัน

ส่วนที่หนึ่ง คือ พุทธศาสนาเคยตอบปัญหาของคนในสังคมไทยแต่โบราณ ในลักษณะที่เป็นปัจเจก เมื่อเปรียบเทียบกับพุทธศาสนาในนิกายอื่น ๆ จะพบว่าศาสนาพุทธไทยจะเป็นศาสนาที่เน้นเรื่องของปัจเจกค่อนข้างสูง แล้วก็ค่อยปล่อยให้เรื่องของสังคมเป็นภาระหน้าที่ของศาสนาผีบ้าง ปล่อยให้เป็นภาระหน้าที่ของวัฒนธรรมทางสังคมของคนไทยเอง ในการจัดการบ้าง แน่นอนหลักธรรมของปัจเจกคอยกำกับการจัดการด้านสังคมของพุทธศาสนาในประเทศไทยอีกด้วย

อย่างไรก็ตามศาสนาพุทธไทยค่อนข้างเน้นในเรื่องของการหลุดพ้นของปัจเจกบุคคลสูงมาก เพราะฉะนั้นปัญหาประการแรกหลังจาก 2510 มานี้ ผมคิดว่าพุทธศาสนาของไทยในปัจจุบันนี้สามารถตอบปัญหาเรื่องของปัจเจกได้ดีพอ เพราะว่า ปัจเจกของไทยเข้ามาอยู่ในสภาวะทางสังคมทางเศรษฐที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เพราะฉะนั้นการตอบสนองต่อพฤติกรรมก็ตาม ต่อปัญหาชีวิตของคนในสังคมก็ตาม ที่เน้นปัจเจกแบบโบราณ ส่วนที่เน้นส่วนนั้นเอามาประยุกต์ใช้กับสังคมสมัยใหม่ไม่ได้

อย่างที่อาจารย์ประเวศท่านชอบพูดเสมอว่า เวลาที่พระให้ศีลว่า”อทินนาทาน” อย่าขโมยนี่ พระท่านคิดถึงแต่เพียงกล้วยสักหวีหนึ่ง ที่อยู่ข้าง ๆ บ้าน ว่าอย่าแอบไปตัดกล้วยชาวบ้านมากิน ในขณะที่การขโมยจริงในสังคมเรา มันขโมยกันเป็นพันห้าร้อยล้าน มันไม่ใช่แค่กล้วยหวีเดียว แล้วมีกระบวนการการขโมยที่ซับซ้อนมาก ซึ่งตัวหลักศีลในพุทธศาสนาไม่สามารถจะ ไปกำกับควบคุม หรือถูกนำมาใช้ในการกำกับพฤติกรรมของคนได้อย่างแท้จริง เวลาคนจะซื้อหุ้นของธนาคาร ธนาคารในแง่หนึ่งในสมัยหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปล้นสดมภ์คนก็ว่าได้ ถ้าวิเคราะห์ไปให้ถึงที่สุด แล้วเราไปซื้อหุ้นของโจรที่ปล้นสดมภ์คนอื่นมันถูกหรือผิด ผมคิดว่าพระท่านไม่ได้อธิบายเรื่องเหล่านี้เลย

เพราะฉะนั้นในตัวพฤติกรรมของปัจเจกเองที่เรายกมาจากศีลธรรมของศาสนาพุทธในสมัยโบราณแบบไทย มันใช้ไม่ได้กับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ผมว่านี่เป็นปัญหาประการที่หนึ่งของพุทธศาสนาไทยในช่วงหลัง2510 เป็นต้นมา

ปัญหาประการที่สอง คือ ปัญหาทางด้านสังคม เพราะเหตุผลที่ว่าในศาสนาพุทธแบบไทยสมัยก่อนนี้เน้นในเรื่องของปัจเจกค่อนข้างมาก จึงไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญว่า การกระทำของปัจเจกสัมพันธ์กับสังคมอย่างไร ผมคิดว่าคำสอนในพุทธศาสนาแต่โบราณ อย่างที่พูดเมื่อสักครู่ ท่านปล่อยปัญหาเรื่องสังคมให้ผีจัดการ ให้วัฒนธรรมจัดการ ให้อะไรอื่น ๆ จัดการ ฉะนั้นจึงไม่ได้ประยุกต์เอาหลักธรรมของพุทธศาสนา มาใช้ในการควบคุมดูแลสังคม

จนถึงทุกวันนี้ผมคิดว่าถ้าลองนึกถึงคำสอนในศาสนาพุทธของนักปราชญ์ไทยที่พูดเรื่องสังคม มันน่าประหลาดว่า มีคำสอนอยู่เพียงแค่สองคน มีท่านพุทธทาสคนหนึ่งกับท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎกอีกคนหนึ่ง พูดถึงเรื่องว่า การจะประยุกต์เอาหลักธรรมศาสนาพุทธมาใช้ในการควบคุมกำกับสังคม หรือมาใช้ในเชิงสังคม เพราะฉะนั้น ผมว่านี่ก็เป็นช่องโหว่อีกอันหนึ่งที่ศาสนาพุทธไทยขาดหายไป ที่เห็นชัดขึ้นเป็นปัญหามากขึ้น ตั้งแต่เมื่อสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ประเด็นที่สาม ที่ผมอยากจะพูดถึงก็คือว่าเมื่อเป็นเช่นนี้ถามว่ามัน มีการทำอะไรในการทำสามสิ่งบ้าง สามสิ่งที่ว่าที่ผมคิดว่ามีความสำคัญมากเลยในศาสนาทุกศาสนาก็คือ

อันที่หนึ่ง ก็คือ ผมขอเรียกเป็นภาษาชาวบ้านว่า คำอธิบาย มันต้องมีคำอธิบาย ผมไม่อยากใช้คำว่าคำอธิบายใหม่ ทั้ง ๆ ที่อยากจะใช้เพราะจะดูเหมือนกับว่า เราสามารถไปตีความคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ตลอดไป เราจะตีความได้ไม่ได้ก็แล้วแต่ แต่ผมคิดว่าศาสดาของศาสนาใดก็แล้วแต่สอนเอาไว้ มันต้องมีการตีความโดยสังคมให้มีความความหมายในชีวิตจริงของคน ในยุคแต่ละยุคแต่ละสมัยอยู่ตลอดเวลา ในแง่นี้ผมคิดว่าไม่ว่าจะเป็นคำอธิบายในเชิงการกระทำของบุคคลก็ตาม การกระทำของสังคมก็ตาม หรือในแง่ของตัวปรมัตธรรมก็ตาม มันจะต้องมีคำอธิบายให้มันเข้ากับยุคสมัย ให้มันสามารถเข้าใจได้ในยุคสมัยต่าง ๆ ตลอดเวลา แม้ว่าคำอธิบายนั้นมันอาจจะยืนตามแบบเดิมก็ตาม อธิบายใหม่ให้มันเข้าใจได้ให้เป็นที่ยอมรับได้ทั่ว ๆ ไป ผมว่าในส่วนนี้ศาสนาพุทธนับตั้งแต่ร้อยปีที่ผ่านมา ทำสิ่งนี้ไม่ค่อยจะมากนัก ทั้ง ๆ ที่สังคมเราในร้อยปีที่ผ่านมาเปลี่ยนแปลงขึ้นมาก ยิ่งหลัง 2510 เป็นต้นมา ผมคิดว่าการให้ความหมายการให้คำอธิบายในแง่นี้น้อย ไม่ใช่ไม่ทำเลยนะ แต่น้อยมาก

อันที่สอง ต่อมา คือสืบเนื่องกับเรื่องคำอธิบาย เมื่อมันมีคำอธิบายสอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบันแล้ว ทำให้เราสามารถกำหนด ท่าทีต่อชีวิตให้มันสอดคล้องกับสังคมในปัจจุบันนี้ได้ สิ่งนี้ก็ไม่มีอีกเหมือนกันหรือมีน้อยมากในวงการพุทธศาสนาของไทย ในการกำหนดท่าทีต่าง ๆ เช่นเป็นต้นถามว่า ในฐานะชาวพุทธเราควรจะมีท่าทีอย่างไรต่อกฎหมายประหารชีวิต ผมคิดว่า ทั้งโลกเขากำลังถกเถียงกันเรื่องนี้ มีคำตอบเรื่องนี้ ซึ่งเราอาจจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วย แต่ถามว่าคำตอบจากท่าทีชาวพุทธไทยจะเป็นยังไง เราควรจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการประหารชีวิตคน โทษประหารชีวิตในกฎหมาย อย่างนี้เป็นต้น แล้วลองมองเรื่องอื่น ๆ อีกเยอะแยะไปหมด

ในฐานะชาวพุทธนี่ควรทำอย่างไรกับคนที่เข้าไปรุกป่าดงลาน ในฐานะชาวพุทธควรทำยังไงกับปัญหาโสเภณี เยอะแยะไปหมด ผมว่าไม่มีการคิดถึงเรื่องนี้ ไม่มีการเผยแพร่เรื่องเหล่านี้ ไม่ใช่ไม่มีเลย มีเหมือนกันแต่น้อย และแน่นอน...

อันที่สาม ก็คือ แนวทางปฏิบัติเมื่อมันมีคำอธิบายเกี่ยวกับปรมัติธรรมก็ตาม เกี่ยวกับหลักคำสอนอย่างนี้ การวางท่าทีต่อชีวิตอย่างนี้ และแนวทางปฏิบัติจะเป็นอย่างไรให้จะสอดคล้องกัน เวลานี้ พระจำนวนหนึ่งพยายามจะตีความคำว่า เช่นเป็นต้นว่า มัจฉะ สุราเมรายะ สุราคืออะไร เมรัยคืออะไร มัจฉะคืออะไร เพื่อจะมาดูว่าคิดอะไรได้บ้าง ไม่ต้องพูดถึงพระ แม้แต่ฆราวาสทำยังไงกับเรื่องงานคอกเทลล์ คุณเป็นนักการทูตคุณเข้าไปในงานคอกเทลล์ คุณต้องทำยังไงกับปัญหาเรื่องงานคอกเทลล์อย่างนี้เป็นต้น แนวทางปฏิบัติเหล่านี้ไม่มี

ผมคิดว่าคนที่ล้มเหลวที่สุด สถาบันที่ล้มเหลวที่สุดในการสร้างสามสิ่งนี้เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมนี้ ก็คงจะไม่แปลกประหลาดอะไรใคร ๆ ก็คงเห็นด้วยว่า คือสถาบันสงฆ์ แม้ว่าคนที่เป็นผู้นำในการอธิบายสามอย่างนี้ได้อย่างดี ได้อย่างเป็นที่เผยแพร่ ที่รู้ทั่ว ๆ กัน จะเป็นพระก็ตาม คือที่ผมออกชื่อไปแล้วเมื่อกี้นี้ ก็คือท่านอาจารย์พุทธทาสกับท่านเจ้าคุณธรรมปิฎก แต่ว่าจำนวนน้อยมาก

ในสมัยหนึ่งก่อนถึงช่วง 2490 กว่า ๆ ขึ้นมาถึง 2520 โดยประมาณ เราจะพบว่าในช่วงนั้นจริง ๆ แล้ว มีฆราวาสเข้ามามีส่วนในการอธิบาย อย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างนี้อยู่บ้าง เช่น ผมอยากจะนึกถึงคน เช่น อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ซึ่งเป็นผู้พยายามนำเอาพุทธศาสนา วิธีมองพุทธศาสนาแบบมหายานเข้ามา แล้วท่านก็เป็นนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญมาก ๆ และสามารถอธิบายนิกายต่าง ๆ ของมหายานได้เยอะแยะไปหมด

ผมอยากจะให้นึกถึงอาจารย์พร ผมนึกนามสกุลท่านไม่ออก(รัตนสุวรรณ) คือเราจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายของท่านช่างเถอะไม่สำคัญ แต่ว่ามันมีคนที่เป็นฆราวาสเข้ามามีส่วนในการนิยามสามอย่าง คือ คำอธิบาย การวางท่าที และการปฏิบัติ แบบพุทธที่ร่วมกันกับพระด้วย ซึ่งเป็นของใหม่นะครับ

จาก 2490 มาคือ ลองนึกย้อนกลับไปสังคมไทยสมัยก่อนนี้ คนที่ทำหน้าที่ตรงนี้คือพระสงฆ์ ไม่มีฆราวาส. ฆราวาสไม่เข้ามายุ่งเรื่องนี้ แต่ว่าในช่วงหลัง 2475 ก็จะมีคนเหล่านี้แล้ว มันมาเฟื่องฟูค่อนข้างมากในช่วง 2490 ขึ้นมาถึง 2520. คนที่เป็นฆราวาสเหล่านี้ ถามว่าได้รับความยอมรับจากกลุ่มคนชั้นนำพวกปัญญาชนชั้นนำร่วมยุคสมัยแค่ไหน ผมออกจะมีความประทับใจว่า พวกปัญญาชนไทยในช่วงนั้น ไม่ค่อยชอบพวกฆราวาสที่มาอธิบายศาสนาเท่าไหร่นัก บุคคลเหล่านี้แทบจะไม่เคยถูกยกย่อง โดยคนซึ่งเป็นปัญญาชนในช่วงนั้นเลย ผมจำได้ว่าคุณคึกฤทธิ์ ปราโมทย์ เคยพูดถึงพระสงฆ์บอกว่า คือ คุณคึกฤทธ์ มีบทความเขียนทำนองเย้ยหยันท่านหญิงพูนพิศมัย ซึ่งเป็นฆราวาสคนหนึ่ง ในเชิงเย้ยหยันอยู่ก็มีนะครับ แล้วบางครั้ง ก็เอามาล้อเล่นอย่างเช่นเป็นต้นบอกว่า สมัยนี้เขาเลิกนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์กันหมดแล้ว เขานับถือพระพุทธ พระธรรม และท่านหญิงพูนฯ เป็นต้น เป็นพระรัตนตรัยทั้งสามของไทยแทน คือเห็นเป็นเรื่องตลก เห็นเป็นเรื่องอะไร แล้วก็มีการเสียดสีว่า เดี๋ยวนี้พระต้องไปนั่งฟังฆราวาสเทศน์ แล้ว เวลาท่านพุทธทาสเป็นคนเริ่มต้นที่จะเทศน์แบบชนิดที่ไม่ใช่แบบเก่า คือว่าลุกขึ้นยืนปาฐกถาแบบนี้ ก็จะถูกล้อว่าเป็นคนที่ไปเอาอย่างฆราวาสในการเทศนาธรรมตามแบบฆราวาส เพราะฉะนั้นผมคิดว่า แม้แต่มีจำนวนน้อยก็ไม่ค่อยได้รับการยอมรับเท่าไหร่นัก ฉะนั้นผมคิดว่าพลังในการที่จะปรับเปลี่ยนหรือให้คำอธิบายใหม่ ให้พลังใหม่แก่คำอธิบาย การวางท่าทีและแนวทางการปฏิบัติของชาวพุทธที่มีต่อความเปลี่ยนแปลงสังคม ก็ยิ่งอ่อนแอลง หมายความว่าคุณมีแต่สถาบันสงฆ์ที่เป็นผู้กระทำ แล้วพอมีฆราวาสไปช่วย ฆราวาสเหล่านี้ก็ไม่ค่อยได้รับการยอมรับเท่าที่ควร

และที่น่าสังเกตคือหลังจาก 2520 มานี่หายไปเลย เวลานี้อาจจะมีอยู่บ้าง เช่น อาจารย์ประเวศ ท่านอาจจะใช้หลักธรรมในพุทธศาสนา ไปอธิบายการเมือง อธิบายอะไรเยอะแยะไปหมด ผมไม่ทราบว่าท่านตั้งใจหรือไม่ แต่ท่านจะไม่มีภาพพจน์แบบอาจารย์พร คือท่านจะพยายามระวังตัวเองหรือเปล่าไม่ทราบ แต่ว่าท่านไม่ตกไปอยู่ในกลุ่มคนที่อาจจะพูดได้ว่า เป็นกลุ่มคนที่ให้ความหมาย ในพุทธศาสนาใหม่ ถ้าเอาศาสนาพุทธมาอธิบายการเมือง อธิบายเศรษฐกิจ อธิบายสังคมอะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าไม่เป็นผู้นำการให้ความหมายในศาสนาพุทธแบบคนรุ่นนั้นต่อไป ปัจจุบันนี้อาจจะพูดได้ว่าไม่มีเลย ไม่นับแม่ชีจันที่อยู่ธรรมกาย ซึ่งก็เป็นกึ่ง ๆ นักบวชไปแล้ว แทบจะไม่มีคนที่เป็นฆราวาสธรรมดาเข้าไปมีบทบาทในด้านนี้อีกเลย เพราะฉะนั้น ปัจจุบันนี้ก็อยู่ในมือของพระสงฆ์

ผมเข้าใจว่าพระสงฆ์ไทยถึงเวลานี้โดยส่วนใหญ่ไม่นับท่านเจ้าคุณธรรมปิฎก โดยส่วนใหญ่แล้วก็ยังมองพุทธศาสนา มองคำสอนพุทธศาสนาโดยเน้นเรื่องปัจเจกเป็นอย่างมาก ฉะนั้นขอให้สังเกตด้วยว่า จะมีคำตอบจากพระสงฆ์ ไม่ใช่คณะสงฆ์นะ พระสงฆ์เป็นองค์ ๆ ไป เป็นรูป ที่เกี่ยวกับเรื่องของปัจเจกเยอะมาก

คำสอนในสายของท่านอาจารย์มั่น กลับไปอ่านใหม่ให้ดี ๆ จะพบว่า ก็จะเน้นเรื่องทางหลุดพ้นของปัจเจก แต่ว่าเป็นการเน้นในเรื่องสายการปฏิบัติมากกว่าสายปริยัติ ท่านก็ไม่ได้ปฏิเสธปริยัติเหมือนกัน แต่ว่าก็เป็นการทางหลุดพ้นของปัจเจก. ธรรมกาย ถามว่าธรรมกายกำลังทำอะไรอยู่ ผมว่าเสน่ห์ที่เรียกร้องให้คนเข้าไปหาธรรมกาย คือการตอบปัญหาของปัจเจก บางคนเคยอธิบายบอกคล้าย ๆ ว่าชีวิตคนชั้นกลางในปัจจุบันมันวุ่นวาย สินค้าที่ขายดีมากให้กับคนชั้นกลางคือ ทำให้ลืมความวุ่นวาย ทำให้เกิดความสงบในจิตใจเป็นชั่วครู่ชั่วยาม การดึงคนไปนั่งสมาธิ ได้สมาธิต่ำสมาธิอ่อน อะไรก็แล้วแต่เถอะ มันก็ทำให้เกิดความสงบในจิตใจก็เป็นสินค้าที่ขายได้ทั้งนั้น ก็จะขายกัน. ที่จริงในต่างประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์เช่นที่อเมริกาก็ขายสมาธิ สมาธิไม่ได้เป็นของศาสนาพุทธแต่เพียงอย่างเดียว อย่างฮินดูเขาขายสมาธิกันทั้งนั้นเป็นต้น

หลวงพ่อคูณ อันนั้นแก้ปัญหาปัจเจกอย่างตรงไปตรงมาเลย ใครมีปัญหาขายที่ดินไม่ออก ก็เอาโฉนดไปท่านก็เหยียบให้ คือท่านไม่แตะต้อง คือท่านเขกหัวให้ใครเป็นนายก ท่านไม่เคยถามว่า เฮ้ย มึงโกงเขามาบ้างหรือเปล่าวะ ท่านก็ไม่ได้ถามท่านก็เขกโป๊ก แล้วก็จะไปเป็นนายกฯเลย แล้วท่านก็ตอบปัญหาที่เป็นปัญหาสมัยใหม่ของปัจเจกทั้งหลาย เช่น แจกเหรียญที่ทำให้เชื่อว่าจะแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุ อุบัติเหตุเป็นสิ่งที่น่ากลัวมากสำหรับคนในยุคปัจจุบัน เพราะว่าสถิติการตายสูงสุดคือรถยนต์ ฉะนั้นคนกลัวอุบัติเหตุก็แก้ปัญหาด้วยการมีเหรียญหลวงพ่อคูณ ก็เป็นการแก้ปัญหาปัจเจกอีก ผมไม่ได้บอกว่าท่านไม่มีฤทธิ์ไม่มีเดชในการที่จะป้องกันอุบัติเหตุ อาจจะมีก็ได้. แต่ว่ามันไม่เกี่ยวอะไรกับสังคม มันเป็นเรื่องการแก้ปัญหาปัจเจก ท่านไม่เคยเป็นผู้เริ่มต้นในการรณรงค์ให้คนขับรถเลิกดื่มสุรา หรือว่าจำกัดความเร็วรถ จำกัดความเร็วบนท้องถนนลง ท่านไม่ได้สนใจในเรื่องนั้นแต่ว่าท่านแจกเหรียญด้วยความเมตตา เพื่อให้คนได้เหรียญจะไม่คอหักตายในรถยนต์

ท่านปัญญานันทะ ถามว่าเข้ามาเกี่ยวในสังคมไหม ผมว่าก็เกี่ยว แต่เป็นการเกี่ยวกับสังคมในแง่ที่ว่า เมื่อมันเกิดปัญหาทางสังคมอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านเป็นผู้ชี้คำตอบให้ ท่านไม่ได้ให้เครื่องมือที่เป็นสากล เครื่องมือที่เราได้สิ่งนี้แล้วเราจะเอาสิ่งนี้ไปเป็นพลังในการไปตัดสินปัญหาสังคมต่าง ๆ ว่าเราควรจะมีท่าทีอย่างไร แต่ท่านจะบอกว่าเกิดอันนี้ขึ้น หมอนี่ถูกหมอนี่ผิด หมอนั่นดีหมอนั่นไม่ดี เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเกิดปัญหาสังคมอะไรต้องถามท่านเสมอ สักวันท่านมรณภาพไปจะไปถามใครยังไม่รู้ เพราะว่ามันไม่ได้ตัว”แก้วปัญญา”สำหรับเอาใช้ส่องกรณีต่าง ๆ ขึ้น ในแง่นี้ผมก็เลยไม่นับท่านว่าเป็นผู้เข้าไปแก้สังคม

พระที่ผมคิดว่าพยายามจะเข้าไปทำอะไรกับสังคม ไม่ใช่ไม่มีเสียเลยนะแต่ว่ามีเหมือนกัน ที่ดังที่สุดคือพระพยอม ผมว่าท่านทำได้ ท่านก็ทำในสเกลจำกัดเท่าที่ท่านจะทำได้ แล้วก็มีพระอีกหลายองค์ที่เข้าไปทำปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของเอดส์ แต่จะว่าเป็นสังคมมันก็ไม่เชิง คือหมายความว่าพระจำนวนมากท่านสงสาร ท่านมีเมตตาสูง ท่านสงสารคนเหล่านี้ถึงอยากจะช่วยให้เขาตายโดยสงบหรือช่วยญาติเขา แต่ไม่ใช่มองปัญหา HIV เป็นปัญหาว่าสังคมทั้งหมดจะปลุกระดมหรือเคลื่อนสังคมทั้งหมดเข้ามารับปัญหา HIV อย่างไร อันนี้ผมคิดว่าเท่าที่ผมรู้จักพระที่ทำปัญหาเรื่อง HIV ท่านไม่ได้คิดขนาดนั้น. เป็นต้นว่า ยังไม่มีสักวัดหนึ่งในการที่จะเปิดอบรมญาติผู้ป่วย หรือรับญาติผู้ป่วยไม่ใช่รับผู้ป่วย เพราะว่าสิ่งที่มันเป็นปัญหาเวลานี้คือครอบครัวและชุมชนมันไม่มีพลังในการดูแล HIV แต่ว่าตัวผู้ป่วย HIV เองก็เดือนร้อนนั้นไม่มีปัญหา จะแก้มันโดยวิธีไหน

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  Wbbaa.gif   5.66K   8 ดาวน์โหลด


#2 sage_072

sage_072
  • Members
  • 271 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:นครราชสีมา
  • Interests:ต้องการเรียนรู้กฏแห่งกรรม และสนทนาธรรมกับเพื่อนกัลยาณมิตร

โพสต์เมื่อ 20 June 2006 - 04:26 PM

อ่านให้จบนะคะ
แล้วเราจะพบกับทัศนคติ
ให้ได้เปรียบเทียบ
thamma_072.p

#3 Omena

Omena
  • Members
  • 1409 โพสต์
  • Location:44/5 หมู่ 10 ตำบลหนองอ้อ ถนนเพชรเกษม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110

โพสต์เมื่อ 21 June 2006 - 07:56 PM

QUOTE
เวลาคนจะซื้อหุ้นของธนาคาร ธนาคารในแง่หนึ่งในสมัยหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปล้นสดมภ์คนก็ว่าได้ ถ้าวิเคราะห์ไปให้ถึงที่สุด แล้วเราไปซื้อหุ้นของโจรที่ปล้นสดมภ์คนอื่นมันถูกหรือผิด ผมคิดว่าพระท่านไม่ได้อธิบายเรื่องเหล่านี้เลย


อันนี้ออกจะโอเว่อร์ไปหน่อย
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที

สุนทรพ่อ




muralath2@hotmail

#4 inspiral

inspiral
  • Members
  • 23 โพสต์

โพสต์เมื่อ 21 June 2006 - 08:48 PM

กลุ่มนักวิชาเกินพวกนี้ ให้ศึกษาประวัติตั้งแต่อดีตของพวกเหล่านี้ให้ดี เพราะมีบทบาทและมีอิทธิพลพอสมควร ที่สำคัญกลุ่มนี้ ไม่ค่อยเชื่อในการปฏิบัติสมาธิในแนวของทางวัด

#5 Mai D na

Mai D na
  • Members
  • 282 โพสต์

โพสต์เมื่อ 22 June 2006 - 05:16 PM






นัก วิ ชา การ

วิ เคราะห์ เป็น อย่าง เดียว

แต่ ปฏิ บัติ ไม่ เป็น








แม้กาลเวลาจะเปลี่ยนไป
แต่..
เ ป้ า ห ม า ย ไ ม่ เ ป ลี่ ย น แ ป ร