ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

บริโภคอย่างฉลาด..ระวังสารปนเปื้อนในอาหาร


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 1 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 gioia

gioia
  • Members
  • 593 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 July 2006 - 06:47 PM

การคุ้มครองผู้บริโภคโดยควบคุมปริมาณสารปนเปื้อนในอาหาร
คงเป็นเรื่องในความรับผิดชอบของ อย.
แต่เราผู้บริโถค ก็ควรระมัดระวังดูแลสุขภาพเราเองด้วยค่ะ


EU เตรียมปรับมาตรการแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella ในไข่ไก่

ผลจากการสุ่มตรวจหาการปนเปื้อนของเชื้อ Salmonella ในฟาร์มไก่ไข่ของหน่วยงาน ความปลอดภัยด้านอาหารของสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority) พบว่า ไก่ไข่ใน EU ร้อยละ 31.7 มีการติดเชื้อ Salmonella ในระดับสูง
โดยแยกเป็น

- โปรตุเกส : เป็นประเทศที่มีการติดเชื้อ Salmonella มากที่สุดถึงร้อยละ 77.6
- สเปน สาธารณรัฐเช็ก โปแลนด์ : เป็นกลุ่มประเทศที่มีการติดเชื้อ Salmonella เป็นลำดับรองลงมา คือ อยู่ในระดับร้อยละ 51 – 62
- สหราชอาณาจักร : มีการติดเชื้อ Salmonella ร้อยละ 11.9

ลักเซมเบิร์ค สวีเดน และสโลวัก : เป็นกลุ่มประเทศที่ปลอดจากเชื้อ Salmonella

อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการยุโรปจะนำผลจากการสุ่มตรวจในครั้งนี้ ไปใช้ประมวล สร้างเป็นฐานข้อมูลในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจังให้ทั่วถึงทั้ง 25 ประเทศสมาชิกในอนาคต เพราะที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2001 (พ.ศ. 2544) ได้เคยมีความพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวในบางประเทศสมาชิก หากไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งขณะนี้ EU มีเป้าหมายที่จะทำให้ทุกประเทศสมาชิก EU เป็นประเทศที่ปลอดเชื้อ Salmonella (Salmonella Zero) ให้ได้ภายในปี 2008 (พ.ศ. 2551) และจะออกมาตรการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2010 (พ.ศ. 2553) เป็นต้นไป โดยจะควบคุมไข่ไก่เพื่อการบริโภค ว่าจะต้องมาจากฟาร์มที่ปลอดจากเชื้อ Salmonella เท่านั้น ยกเว้นแต่ในกรณีของไข่ที่ได้รับการฆ่าเชื้อด้วยระบบพาสเจอไรเซอร์ก็จะสามารถอนุญาตให้วางจำหน่ายได้

ในปัจจุบัน EU ไม่มีการนำเข้าไข่ไก่จากประเทศที่สาม หากมีการนำเข้ากันเองภายใน ประเทศสมาชิก ยกตัวอย่างสหราชอาณาจักรมีการนำเข้าไข่ไก่จากสเปนเป็นจำนวนมาก (ปีละประมาณ 7,000 ตัน) ส่งผลให้สหราชอาณาจักรมีมาตรการนำเข้าที่เข้มงวดต่อการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella เป็นอย่างมาก อาทิ ให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ Salmonella ในไก่ไข่ การบรรจุหีบห่อต้องมีการระบุวันที่ควรบริโภค « ควรบริโภคก่อนวันที่... » (best-before date) และต้องมีระบบสืบย้อนกลับที่ดีในไข่ ไก่ และอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่นั้นๆ
EU ให้ความสำคัญกับการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อแบคทีเรียในสินค้าอาหารเป็นอย่างมาก

จากการที่ให้มีการสุ่มตรวจเชื้อ Salmonella ในฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อจัดทำแผนการควบคุมแก้ไขปัญหาในครั้งนี้จากแหล่งผลิตขั้นพื้นฐานอย่างจริงจังให้ทั่วถึงทั้ง 25 ประเทศสมาชิก เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่า เชื้อ Salmonella เป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่ส่งผลอันตรายรุนแรงก่อให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างเฉียบพลันในกรณีที่มีการบริโภคอาหารโดยมิได้ผ่านการต้มสุก

ที่ผ่านมา DG-SANCO เคยจัดการบรรยายเกี่ยวกับมาตรการควบคุมเชื้อ Salmonella ในสัตว์เลี้ยงเพื่อการบริโภค โดย EU ได้เน้นประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกับบทบาท หน้าที่ และผลกระทบของประเทศที่สาม อันจะมีผลต่อการส่งออกสินค้าสัตว์ปีกไปยังกลุ่มประเทศสมาชิก สำหรับในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยโดยตรงนั้น คือ การควบคุม ตรวจสอบ เชื้อ Salmonella ภายใต้ข้อกำหนด « Salmonella absence in 25 grams » ในสินค้าไก่ดิบ

กล่าวคือ หากมีการสุ่มตรวจตัวอย่างเนื้อไก่ดิบ จำนวน 25 กรัม จะต้องปลอดจากเชื้อ Salmonella โดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ดี ประเด็นดังกล่าวอาจมิใช่ประเด็นที่มีผลต่อไทยในทันที เนื่องจากขณะนี้ ไทยยังคงอยู่ในระหว่างการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไข้หวัดนก และปัจจุบันไทยยังสามารถส่งออกได้แก่เพียงไก่ต้มสุกไปยังสหภาพ ยุโรปเท่านั้น ประกอบกับข้อกำหนดดังกล่าวจะมีผลปรับใช้นับตั้งแต่วันที่ 12 ธันวาคม 2553 (ค.ศ. 2010) เป็นต้นไป

แม้ว่าในชั้นนี้ ไทยจะมิได้ส่งออกไข่ไก่ไปยัง EU หากไทยควรเพิ่มความระมัดระวังสำหรับการปนเปื้อนของเชื้อ Salmonella ในกลุ่มสินค้าเกษตรและอาหารที่ส่งไปจำหน่ายยัง EU

อาทิ สินค้าประมงแช่แข็ง และผักสด โดยเฉพาะประเด็นผักสดซึ่งเป็นสินค้าที่สามารถบริโภคดิบได้ จึงส่งผลให้ EU ให้ความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่มีความเสี่ยงเช่นเดียวกับไข่ไก่ (ชาวยุโรปนิยมบริโภคไข่ดิบโดยใช้ปรุงเป็นอาหาร หรือในบางครั้งรับประทานกึ่งดิบกึ่งสุก) ซึ่งที่ผ่านมากลุ่มประเทศสมาชิก EU บางประเทศ (นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และฟินแลนด์) ได้เคยห้ามการนำเข้าผักสดจากไทย เหตุจากการตรวจพบเชื้อ Salmonella เมื่อกลางปี 2548 กอปรกับการที่ขณะนี้ EU มีนโยบายชัดเจนที่จะทำให้ EU ปลอดจากเชื้อ Salmonella (Salmonella Zero) ภายในปี 2551

ดังนั้น ไทยควรพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหาเรื่องการปนเปื้อนเชื้อ Salmonella อย่างครบวงจร

(ในปี 2549 EU ยังคงตรวจพบเชื้อ Salmonella ในสินค้าผักสดของไทย จำนวน 10 ครั้ง ส่วนใหญ่พบในใบกระเพรา ผักบุ้ง ผักชี และใบสะระแหน่)







ทางการสหราชอาณาจักรตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ Salmonella ในนำเข้าจากไทย ทางการสหราชอาณาจักรตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ Salmonella ในนำเข้าจากไทย จำนวน 3 รายการ ได้แก่ ในใบพลู (Betel Leaves) ใบ Ong Choi และใบสะระแหน่ (Mint)
การตรวจพบดังกล่าวเป็นการสุ่มตรวจ ณ ด่านนำเข้า (Border Control) ส่งผลให้ทางการสหราชอาณาจักรปฏิเสธการนำเข้า และสินค้าจะถูกส่งกลับ (Product [to be] re-dispatched) รายละเอียดตาม Information Notification 2006.AUA, AUB, AUC ลงวันที่ 27 มีนาคม 2549 (ได้รับแจ้งจาก DG-RELEX เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2549)

ทางการฟินแลนด์ตรวจพบเชื้อ Salmonella Niewport ในผักชี (Coriander) นำเข้าจากไทย
การสุ่มตรวจเป็นการสุ่มตรวจ ณ ด่านนำเข้า (Border Control) ส่งผลให้ทางการฟินแลนด์ปฏิเสธการนำเข้า ตาม Information Notification 2006.AWN ลงวันที่ 4 เมษายน 2549 (ได้รับแจ้งจาก DG-RELEX เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2549)


ทางการนอร์เวย์ตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์ Salmonella Hvittingfoss ในใบสะระแหน่สด (Fresh Peppermint - Mentha Steciosa) นำเข้าจากไทย โดยการสุ่มตรวจดังกล่าวเป็นการสุ่มตรวจ ณ ท้องตลาด (Market Control) แต่เนื่องจากสินค้าได้จำหน่ายไปยังผู้บริโภคแล้ว ส่งผลให้ทางการนอร์เวย์จะจับตามองและสุ่มตรวจสินค้าประเภทดังกล่าวจากไทยมากขึ้น Notification Information 2006.BAN ลงวันที่ 21 เมษายน 2549 (ได้รับแจ้งจาก DG-RELEX เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2549)





#2 PS-Junior

PS-Junior
  • Members
  • 247 โพสต์
  • Location:Bangkok
  • Interests:Meditation

โพสต์เมื่อ 13 July 2006 - 12:03 PM

สมัยนี้พฤติกรรมการบริโภค อันตรายมากกว่าสมัยก่อนค่ะ รวมถึงสารปนเปื้อนต่างๆในอาหารด้วย เช่นยาฆ่าแมลง ฟอร์มาลีน โดยเฉพาะในผักสด จากการศึกษาของท่านอาจารย์ สมพนธ์ บุณยคุปต์ พบว่าสมัยนี้พบมะเร็งลำไส้ ในคนไทยอายุน้อยลงเรื่อยๆและพบในผู้หญิงมากขึ้นด้วย อายุแค่ 20 กว่าก็พบมะเร็งกระจายได้แล้ว และอีกโรคที่ไม่รุนแรงและไม่ค่อยเจอสาเหตุคือ อาการเวียนศีรษะ ท่าอาจารย์ เคยนำผักที่ผู้ป่วยรับประทานไปตรวจสอบพบ ยาฆ่าแมลงในระดับสูงมาก

และข่าวดังกล่าวไม่สามารถเปิดเผยออกมาได้ เพราะจะกระทบต่อเกษตรกรไทยค่ะ เลยฝากบอกเพื่อนๆให้ล้างผักให้สะอาด แช่ โซเดียมไบคาบ ก่อนนำมาบริโภค นะค่ะ เพื่อความปลอดภัย