ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ความหมายของสำนวนโวหาร


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 10 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 July 2006 - 10:29 AM

สำนวนที่เกิดจากลัทธิศาสนา ความเชื่อทางไสยศาสตร์

คนดีผีคุ้ม
เมื่อเราเป็นคนดีแล้วผีจะคุ้มจริง ๆ หรือ ?


แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
สงสัยพระควรจะเป็นผู้ชนะ คนแพ้ต้องเป็นมาร ?
เพราะใคร ๆ ก็ต้องการเป็นผู้ชนะทั้งนั้น

ขนทรายเข้าวัด
ไม่เข้าใจว่าขนทรายเข้าวัดหมายถึงอะไร

ทำบุญเอาหน้าภาวนากันตาย
ทำบุญเอาหน้าเข้าใจ แต่ว่าภาวนากันตายคืออะไร ?

แข่งเรือแข่งพายแข่งได้ แข่งวาสนาแข่งไม่ได้
อันนี้สงสัยมาก แข่งวาสนาทำไมแข่งไม่ได้ถ้าหากว่าสร้างพระธรรมกาย
หลาย ๆ องค์ และทำบุญหลาย ๆ วัด ทำมาก ๆ ทำทุกบุญวาสนาจะแซงหน้า
คู่แข่งได้หรือไม่ ?




หยุดคือตัวสำเร็จ

#2 ชาร์ป

ชาร์ป
  • Members
  • 985 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:ปทุมธานี

โพสต์เมื่อ 29 July 2006 - 10:54 AM

พึ่งสังเกต.... อืม นั้นสินะ

#3 ideal

ideal
  • Members
  • 605 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:TRANG
  • Interests:-

โพสต์เมื่อ 29 July 2006 - 11:09 AM

ขนทรายเข้าวัด หมายถึง หาประโยชน์ให้ส่วนรวม
---

แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
http://www.mahamakut...K/april-48.html

DMC The only one

ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก
ไม่หยุดไม่ถึงพระ ตัวหยุดนี้แหละเป็นตัวสำเร็จ
ผลไม้ดกนกชุม น้ำเย็นปลาชอบอาศัย


คติธรรม พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

#4 หยุดอะตอมใจ

หยุดอะตอมใจ
  • Members
  • 729 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 29 July 2006 - 12:11 PM

การขนทรายเข้าวัด นั้นเป็นเพราะว่าคนโบราณไม่มีใครอยากเป็นหนี้สงฆ์ ทำนองที่ว่า ทรายที่ติดรองเท้า กลับมาหลังจากไปวัด ก็ควรจะต้องคืนวัดให้หมด ทั้งนี้ ประเพณีคล้ายจะเป็นอุบาย คือไม่ใช่ว่าคืนทรายให้วัด แล้วจะหมดหนี้สงฆ์ทั้หมด แต่เป็นการชักชวนมาทำบุญที่วัด เพื่อชำระกาย วาจา ใจ ที่เคยไปละเมิดพระสงฆ์องค์เจ้า และบำเพ็ญทานบารมีอื่นๆ เพื่อชำระหนี้สงฆ์ในด้านอื่นๆ ด้วย

ดังนั้น ใครไปที่วัด แล้วชอบใช้ของวัดฟุ่มเฟือย หรือทิ้งๆ ขว้างๆ ก็ควรเลิกนิสัียนั้นเสีย เพราะคนโบราณนั้น แม้ทรายติดพื้นรองเท้ากลับบ้าน ก็ยังคิดถึงว่าจะเป็นวิบากติดตามตัวไปในภพชาติเบื้องหน้า ยังไม่ต้องการเอาเปรียบวัดเลย

ดังนั้น สำนวนนี้ ในความคิดเห็นอันต่ำต้อยของกระผม จึงมิได้เกี่ยวกับ ลัทธิ หรือความเชื่อทางไสยศาสตร์ อันใดเลย

ผมยังมีความคิดเห็นอีกว่าในอนาคต พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านจะเมตตาให้โอกาสเราให้ชำระหนี้สงฆ์แบบเดียวกับการขนทรายเข้าวัดบ้างครับ smile.gif เพราะค่าน้ำ ค่าไฟวัด เดือนๆ หนึ่ง อืมม์ sad.gif

แค่นี้ยังทำไม่ได้ แล้วจะไปปราบมารได้ไง


#5 นับดาว

นับดาว
  • Members
  • 422 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 July 2006 - 12:48 PM

QUOTE
คนดีผีคุ้ม
เมื่อเราเป็นคนดีแล้วผีจะคุ้มจริง ๆ หรือ ?

อืมม์..ผีก็น่าจะคุ้ม..ถ้ายอมตัวลงไปเป็นบริวารของผี (อย่างในcase study ไงคะ)

เชื่อในเรื่องผีๆ บูชาผี และยอมรับนับถือผีอย่างหมดใจ...บรื๋ออออ


QUOTE
ทำบุญเอาหน้าภาวนากันตาย
ทำบุญเอาหน้าเข้าใจ แต่ว่าภาวนากันตายคืออะไร ?

ภาวนากันตาย ..น่าจะหมายถึง .. การทำภาวนาไม่ได้มุ่งหวังมรรค ผล นิพพานจริงๆ

แต่หวังแค่ว่าจะช่วยตายช้าลง หรือถ้าจะต้องตายก็ให้ตายแล้วไปที่ดีๆ อะไรประมาณนี้มั๊งคะ


ถ้าใจใส

เรื่องดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน

#6 Tanay007

Tanay007
  • Members
  • 616 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 July 2006 - 04:00 PM

คำว่า "คนดีผีคุ้ม" เป็นสำนวนไทย ที่มาจากคำว่า "คนทำดี ผีคุ้ม" ตัดคำว่า "ทำ" ออกไปเพื่อให้ลงคณะฉันท์ชนิดหนึ่ง (ไม่แน่ใจว่าเป็นภุชงคปยาต?) ซึ่งเป็น ครุ 4 ตัวล้วน ความหมายก็ไม่ต้องตีความอะไรแล้ว มันชัดเจนในตัว
ส่วนคำว่า แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร ท่านผู้ใหญ่โบราณก็ให้สติไว้ แพ้แล้วอย่าผูกเวร ให้ปลงซะ ส่วนผู้ชนะก็อย่าได้หยิ่งผยองในชัยชนะของตน
ทำบุญเอาหน้า ภาวนากันตาย น่าจะหมายถึง สร้างความดีไม่ถูกวัตถุประสงค์ ทำบุญก็ต้องหวังผลบุญในส่วนที่ตนประกอบเหตุไว้ ภาวนาก็เพื่อปัญญาเจริญอันจะเป็นเหตุให้กำจัดอวิชชาได้ ไม่ใช่เพราะกันตายหรือกลัวตาย
ส่วนคำว่าแข่งวาสนา ในที่นี้หมายถึงเรื่องการให้ผลของกุศลกรรมที่ประกอบไว้ในอดีต ไม่ได้หมายถึงแข่งสร้างวาสนา
อื่นๆ หลายๆ ท่านก็อธิบายชัดเจนดีแล้ว

#7 นิ่งๆ นุ่มๆ

นิ่งๆ นุ่มๆ
  • Members
  • 618 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 July 2006 - 07:21 PM

QUOTE
เมื่อเราเป็นคนดีแล้วผีจะคุ้มจริง ๆ หรือ ?

จริงค่ะ ผีในที่นี้ คนโบราณหมายถึง สิ่งที่มองไม่เห็น ก็เทวดานั้นแหละค่ะ เช่นเทวดาตามบ้าน ท่านก็อยากได้บุญเหมือนกัน ท่านก็จะคุ้มครองคนมีศีล นี่ก็เป็นทางมาแห่งบุญเมื่อเราแบ่งบุญให้เขาเป็นต้นค่ะ

อย่าทำตัวเหมือนเรือ ที่เก็บขยะในมหาสมุทร ใครเขาจะพูดอะไร จะว่าอะไรเราให้ใจขุ่น ก็อย่าไปสนใจ ปากก็ของเขา ความคิดก็ของเขา อย่าเอามาแบกไว้ เพราะสุดท้ายเรือจะล่มอยู่กลางมหาสมุทร ไปไม่รอด
น้าจี้

#8 koonpatt

koonpatt
  • Members
  • 616 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 29 July 2006 - 10:20 PM

เพิ่มเติมนิดนะคะ คำว่าแพ้เป็นพระชนะเป็นมาร จริงๆแล้ว เป็นสำนวนที่ เตือนสติให้คนรู้จักอดทน อดกลั้น ค่ะ เวลามีเรื่องมีราวกันเนี่ย ไม่ต้องไปต่อสู้ฟาดฟันกันให้ตายไปข้างหนึ่ง และในสมัยก่อนเนี่ย ใครไม่สู้เค้าเรียก "ไอ้ขี้แพ้" ไงคะ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงมีไว้ปลอบใจ และให้กำลังใจ คนที่รู้จักอดทนอดกลั้นไม่โต้ตอบว่า "แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร" คือถ้าเราอดกลั้นได้ ไม่ตอบโต้กับคนที่มาหาเรื่องเราถึงจะถูกเรียกว่า "ไอ้ขี้แพ้" นั่นหมายถึง เรามีใจเป็นพระ คนชนะคือคนที่เราไม่สู้กับเค้าเนี่ย ก็ปล่อยให้เค้าหาเรื่องไป ให้เค้าชนะไป เพราะใจเค้าเป็นมารค่ะ
จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ

#9 พักผ่อน

พักผ่อน
  • Members
  • 422 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 29 July 2006 - 10:28 PM

สำนวนพวกนี้เป็นสำนวนภาษาชาวบ้านครับ แปลตรงตัวไม่ได้ ต้องดูความเข้าใจของชาวบ้านด้วย

คนดีผีคุ้ม
กายละเอียดทุกชนิด ชาวบ้านก็เรียกว่าผีทั้งหมด ในที่นี้ผีที่จะคุ้มเราได้ก็มีแต่เทวดาเท่านั้น คนที่ทำดีมาก ๆ แล้วยังนึกอุทิศส่วนกุศลบ่อย ๆ ทั้งมนุษย์และเทวดาย่อมคอยคุ้มครองรักษา บุญย่อมคุ้มครองรักษา ธรรมย่อมคุ้มครองรักษา (ดูอย่างในหลวงตอนนี้ก็มีประชาชนไทยจำนวนมากคอยคุ้มครองรักษา ถ้าเราตาดีเราอาจจะเห็นเทวดาจำนวนมากมาคอยคุ้มครองรักษาเช่นกัน)

แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร
ประโยคนี้ไม่ได้หมายถึงการแพ้ชนะทุกกรณี แต่เป็นการไม่แข่งกับคนอื่นในการทำชั่ว อย่างคนเถียงกันเอาชนะ แต่คนชนะที่แท้จริงคือคนที่ยอมแพ้ในการเถียง เอาชนะด้วยความสงบนั่นเอง ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่าเถียงแพ้ ถ้าให้ดีน่าจะใช้ว่า สงบคือพระ ไม่ลดละคือมาร น่าจะดีกว่า (แต่คนก็จะแปลว่าสงบคือต้องนิ่งบื้อไปอีก)

ขนทรายเข้าวัด
เคยได้ยินมาว่า เวลาเราไปวัด ตอนออกมาก็มีทรายติดรองเท้ามาด้วย ชาวพุทธให้ความสำคัญกับสมบัติของพระศาสนามาก ดังที่เราอาจจะเคยได้ยินมาว่า กรรมที่เกิดกับผู้ที่ไม่รักษาสมบัติพระศาสนานั้น มีผลมาก อย่างคนที่หน้าด่างเพราะเคยเอารองเท้าเปื้อนโคลนไปขูดโคลนออกตรงบันไดโบสถ์ด้วยความไม่เคารพ ยิ่งถ้าจงใจขโมยสมบัติพระศาสนายิ่งไม่ต้องพูดถึง และถึงแม้การที่ทรายติดไปกับรองเท้าจะไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่เพราะความไม่ประมาทและยังถือโอกาสทำบุญไปด้วยในตัว ก็เลยขนทรายไปบริจาคให้วัดเสียเลย แต่พอนานไปคนที่ทำตาม ๆ กัน มักไม่เข้าใจเหตุผล

ทำบุญเอาหน้าภาวนากันตาย
น่าจะหมายถึงการทำสักแต่ว่าทำ คือ ทำบุญก็ไม่ได้หวังผลจากบุญ ไม่ได้เข้าใจจุดประสงค์ที่แท้จริงของการทำบุญ เห็นคนอื่นทำก็ทำตามไป แล้วที่เจริญภาวนาก็เผื่อว่าเวลาตายจะได้มีอานิสงส์ช่วยให้ไปสู่สุคติหรือไม่ก็ช่วยให้ตายดี เป็นต้น ไม่ได้ทำเพื่อละกิเลส ละตัณหา แต่ก็ยังดีกว่าคนที่ไม่ได้ทำเลย

แข่งเรือแข่งพายแข่งได้ แข่งวาสนาแข่งไม่ได้
หมายความว่า อย่าไปคิดชิงดีชิงเด่นกับใครนั่นเอง เช่น เห็นคนรวยก็นึกอิจฉาอย่างนี้ จะทำตัวเลียนแบบเขา จะทาบรัศมีเขา ในเมื่อตัวเองไม่ได้สั่งสมบุญมาดีพอ ยิ่งไปอิจฉาเขายิ่งแล้วไปใหญ่ แทนที่จะตั้งใจสั่งสมบุญให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น มัวแต่เอาฐานะตัวเองไปเทียบกับคนอื่น เห็นเขามีหน้ามีตา เราไม่มีอย่างเขา พอไม่ได้ดั่งใจก็ท้อถอย ไม่ต้องเจริญก้าวหน้ากันพอดี

#10 koonpatt

koonpatt
  • Members
  • 616 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 29 July 2006 - 10:29 PM

ส่วนทำบุญเอาหน้า ภาวนากันตาย คือคนที่ทำอะไร เพื่อให้คนอื่นเห็นการกระทำของตน โดยที่ไม่ได้รู้สึกจริงใจในการกระทำนั้นๆ ทำเพียงเพื่อให้คนอื่นเห็นว่าเราก็ทำ

คำเหล่านี้ถ้าจะพูดกันในเรื่องของความหมายของสำนวนเนี่ย เป็นการเปรียบเทียบนะคะ บางครั้ง สิ่งที่เปรียบเทียบอาจไม่ได้หมายความถึงสิ่งที่มีอยู่ในประโยคเลยก็ได้

ยกตัวอย่างเช่น

เหยียบเรือสองแคม ไม่ได้พูดถึงคนที่ยืนอยู่บนแคมเรือสองลำนะคะ แต่หมายถึงคนที่ทำอะไรพร้อมกัน 2 อย่าง ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดผลร้ายได้ในภายหลัง

คนดี ผีคุ้ม นี่หมายความถึง คนที่เป็นคนดีเนี่ย สิ่งศักดิสิทธิ์ ทั้งหลายย่อมจะคุ้มครองค่ะ ไม่ได้หมายความถึง "ผี" อย่างที่คิดกันนะคะ เพียงแต่คนไทยโบราณเนี่ย จะเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน จะพูดจะกล่าวอะไร ต้องมีสัมผัส คล้องจองกัน ก็คือ คนดี ผีคุ้ม ดี คล้องจองกับ ผี ค่ะ
จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ

#11 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 July 2006 - 09:47 AM

โอ้โห ตอบกันได้ดีทุกคำตอบเลยครับ ความจริง เรื่อง สำนวน โวหาร นั้นคนโบราณเป็นคน
ช่างสังเกตุและเจ้าบทเจ้ากลอนดังนั้น จึงมีสำนวนโวหารขึ้นมาใช้ และใช้สืบต่อกันมาจนปัจจุบัน
จนใช้เป็นคู่มือครู รายวิชา “ภาษากับวัฒนธรรม” เก่ามากแล้ว

สำหรับสำนวนที่นำมาใช้ในกระทู้ ก็ยกมาจากชุด สำนวนที่เกิดจากลัทธิศาสนา ความเชื่อทางไสยศาสตร์
คัดมาเฉพาะ ที่ใช้กับศาสนาพุทธ ฉะนั้นสำนวนโวหารเหล่านี้จึงเกี่ยวกับศาสนาพุทธอย่างเดียว
( เพราะคัดมาแล้ว )เป็นอย่างที่คุณ หยุดอะตอมใจ กรุณาแนะนำมาแล้วครับ

จากคำตอบที่ ตอบกันมาแสดงให้เห็นภูมิความรู้ของคนโบราณเรื่องศาสนา
สำนวนสั้น ๆ แต่อธิบายความหมายได้มากมายนับถือภูมิปัญญาจริง ๆ



QUOTE
พึ่งสังเกต.... อืม นั้นสินะ

ใช่ครับ ผมเห็นก็อดไม่ได้เพราะ สำนวนเหล่านี้เขาเอามาใช้บ่อย จริง ๆ


ขอบคุณ คุณ Ideal ที่ทำลิงค์ให้
ค้นคำนี้ถึง รากศัพท์ว่ามีบาลีรองรับหรือไม่ แต่ไม่มี
มีแต่ "เธอทั้งหลายจงรบมารให้ชนะด้วยอาวุธคือปัญญา"
แต่คำว่าแพ้ชนะในที่นี้ ไม่ใช่แพ้ชนะกันแบบกีฬา ที่ใคร ๆ ก็อยากชนะ
แต่หมายถึง ชนะกันด้วยกำลัง ที่มีแต่สูญเสีย

"การเอาชนะคนต้องยอมแพ้กิเลส การเอาชนะ กิเลสต้องยอมแพ้คน แล้วจะชนะตนได้ในที่สุด"
( จากท่านเจ้าคุณสมเด็จพระวันรัต )
เพราะการเอาชนะนั้นเกิดจากการแพ้กิเลส โลภ โกรธ หลง (มาร) ในใจ แต่การทำเหมือนแพ้คือชนะกิเลส
และตนได้ในที่สุด

ขอบคุณคุณหยุดอะตอมใจ ที่อธิบายความหมายของการขนทรายเข้าวัด เข้าใจแล้วครับ เพราะทรายจากวัดติดตัว
เราไป เลยต้องหาทาง ชำระหนี้สงฆ์นั่นเอง

ขอบคุณคุณนับดาวครับ ความหมายของทำบุญเอาหน้าภาวนากันตาย น่าจะเป็นอย่างนั้น


ขอบคุณคุณ TANAY007 ครับ
ทำดีผีคุ้ม เป็นคำคล้องจองจริง ๆ
แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร แพ้แล้วอย่าผูกเวรปลงซะ ชนะแล้วอย่าหยิ่งผยอง อันนี้ความหมายต่างกันไปแล้ว
แต่บางทีผมก็เห็น เขาใช้คำพูดนี้ปลอบใจคนแพ้เหมือนกัน แต่พูดในแง่กิเลส ก็หมายถึงแพ้เป็นพระ แต่ก็
ชนะใจตัวเอง ( กิเลสมาร )
ทำบุญเอาหน้าภาวนากันตาย คือการสร้างบุญไม่ถูกวัตถุประสงค์ คือได้บุญ ส่วนภาวนากันตายคือไม่ถูกวัตถุประสงค์
คนบางคนเดี๋ยวนี้เป็นอย่างนั้นจริง ๆ
แข่งเรือแข่งพายนั้นแข่งได้แต่แข่งวาสนาแข่งไม่ได้
เมื่อบุญวาสนาให้ผลเราไม่สามารถแข่งได้จริง อ่ะ เพราะตอนนี้เราทำบุญบุญก็ยังไม่ส่งผลทันที จริง ๆ ด้วย
แต่เมื่อมาเจอหลักวิชชาที่ถูกต้อง อย่างเช่น เรื่อง เจ้าหญิงปลาทู เจ้าชายโลตัส ทำถูกหลักวิชา บุญทันตาเห็น


คุณนิ่ง ๆ นุ่ม ๆ กายละเอียดสมัยก่อนคนโบราณเขาพวกเทวดาทั้งหลาย คงเรียกว่าผีหมด เพราะเป็นกายละเอียด
ละเอียดทั้งหมด ถ้าหากว่าเราทำดีมีศีล เขาอยากได้บุญก็เลยมาคุ้มครอง ก็จริงอีก

Koonpatt แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร ( เพิ่มเติม ) ใครไม่สู้เขาจะเรียกไอ้ขี้แพ้ เลยมีคำนี้ปลอบใจ ให้รู้จักอดกลั้นไม่ตอบโต้
ถ้าหากคนอยากชนะก็ปล่อยเขาไปเพราะใจเขาเป็นมาร ก็จริงอ่ะ บางทีเราไม่สู้เพราะเราชนะกิเลสตัวเองจึงเรียกกว่าเป็นพระ

ทำบุญเอาหน้าภาวนากันตาย บางคนทำให้เห็นว่าทำเท่านั้นแต่ไม่สนใจว่าทำเพื่ออะไร คำนี้มีความหมายคล้าย ๆ กันคือไม่ถูก
จุดประสงค์ของการทำ คนทำเช่นนี้ ต้องระวังด้วยสมัยนี้มีเยอะครับ เห็น ชอบทำบุญนั่งสมาธิ ที่แท้ทำไปงั้นเองให้เห็นว่าเป็นคนดี
แต่แอบแฝง แบบลูกจ้างที่ร้านชอบแนะนำว่าบุญดีอย่างงั้นบุญดีอย่างนี้ พอเผลอว่าเป้นคนดีก็แอบจิ้กเงิน เฉยเลย

ส่วนคนดีผีคุ้มก็เหมือนกันคือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เรียกผีเพื่อให้คล้องจอง เฉย ๆ


คุณพักผ่อน
คนดีผีคุ้ม เหมือนกันคือหมายถึงกายละเอียด เช่น เทวดา

แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร
แก้เป้น สงบคือพระ ไม่ลดละคือมาร ดีกว่า หรือว่า ชนะใจตัวเองคือพระ ไม่ลดละก็แพ้มาร ไปเลย
แต่ก็อาจจะมีความไม่ตรงสำนวนโวหาร ของเก่าอีกเน๊าะ

ขนทรายเข้าวัดความหมายเหมือนกัน คืออย่าประมาทเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ขนาดทรายที่ติดรองเท้า
ออกจากวัดก็ต้อง ขนทรายกลับมาคืน เพราะกลัวบาปกรรมนี่เอง

ทำบุญเอาหน้าภาวนากันตายก็เหมือนกัน คือผิดจุดประสงค์ แต่ยังดีกว่าไม่ทำเลย

แข่งเรือแข่งพายแข่งได้ แข่งวาสนาแข่งไม่ได้
อันนี้ก็เหมือนกัน จุดประสงค์ที่พูดคือ ไม่ให้ไปอิจฉาคนอื่นที่เขามีบุญวาสนามากกว่า เลยไปทำตัว
ทาบรัศมีเข้า มัวแต่อิจฉาเลยเอาตัวไปเทียบเขาอยู่ เลยไม่ได้ทำความดีเพิ่ม


สำนวนโวหารนี้ น่าสนใจตรง แข่งเรือแข่งพายแข่งได้ แข่งวาสนาแข่งไม่ได้ ถ้าเราต้องการจะแข่งแบบไม่อิจฉา และเอาตัวไปเปรียบเทียบ แต่ตั้งใจทำบุญทุกบุญเพื่อแข่ง เมื่อทำถูกหลักวิชาก็ต้องแข่งได้ เพราะว่าเหตุที่เราเกิดมา
ไม่มีบุญวาสนา นั่นเพราะวิบากกรรมเก่า เราถ้าเราตั้งใจทำบุญทุกบุญอย่างถูกหลักวิชา ตามการบ้านคุณครูไม่ใหญ่ บุญวาสนาก็จะเชื่อมถึง
วิบากกรรมเก่าก็จะถูกเปลี่ยนแปลงจากหนักเป็นเบาจากเบาเป็นหายได้ น่าจะเป็นได้ไม๊





















หยุดคือตัวสำเร็จ