ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ทานปรมัตถบารมี หรือ ทานอุปบารมี


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 13 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 lZephirothZl

lZephirothZl
  • Members
  • 50 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 July 2006 - 07:21 PM

ผมได้อ่านหนังสือของพระพรหมโมลี เรื่อง "โลกนาถทิปนี" ซึ่งเกี่ยวกับการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งในหัวข้อ ทานอุปบารมี ท่านได้ยกตัวอย่าง เรื่อง พระเวสสันดร ซึ่งท่านให้ทาน บุตร และ ภรรยา อันเป็นที่รัก
และ หัวข้อ ทานปรมัตถบารมี ท่านยกตัวอย่าง เมื่อ ทรงเสวยพระชาติเปน สสบัณฑิต พระโพธิสัตว์ ผู้เปนกระต่ายน้อยได้ให้ชีวิตตัวเองเปนทานแก่ทักขิไณยบุคคล

ในความคิดของผมการให้บุตร และ ภรรยา อันเปนที่รัก เปนทาน มานน่าจะทำได้ยากกว่า การให้ ชีวิต ตัวเอง เปนทานนะครับ จึง น่าจะเปน ทานปรมัตถบารมี
อันนี้ก้อเลยสงสัยว่า ทานปรมัตบารมี แตกต่างจาก ทานอุปบารมี ยังไงบ้างครับ ขอรายละเอียดหน่อยครับ...

#2 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 30 July 2006 - 07:52 PM

ถ้าบริจาคทานในระดับ เลือดเนื้อ อวัยวะ ลูก เมีย จัดอยู่ใน อุปบารมีครับ
ถ้าบริจาค ด้วยชีวิตของตนเอง หรือเอาชีวิตเป็นเดิมพัน จัดเป็นปรมัตถบารมีครับ




#3 sun of peace

sun of peace
  • Members
  • 101 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 July 2006 - 07:52 PM

ชีวิตของตัวเองนั้นใครๆก็รัก เป็นการยากที่ใครจะยอมตายแทนคนอื่นได้ แต่ก็มีบางคนที่รักชีวิตคนอื่นมากกว่าชีวิตตัวเอง ขอให้คนอื่นมีความสุข ตัวเองจะเป็นอย่างไรช่างมัน เช่นรักลูกรักภรรยา เป็นต้น คำถามที่เจ้าของกระทู้ตั้งนี้ ถือว่าเป็นคำถามที่ดีครับ ผมก็สงสัยและเคยคิดที่จะตั้งกระทู้ถามเหมือนกัน ว่าบางคนนั้น ถ้าเลือกได้ การให้บุตรให้ภรรยานั้น ยากกว่าให้ชีวิตตัวเองอีก ให้บุตรให้ภรรยาในที่นี้หมายถึงให้ชีวิตแก่คนอื่นนะครับ ไม่ใช่ให้แค่ให้เขาเอาไปเลี้ยงดู อย่างเช่น พระมังคละสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ตอนที่ท่านเป็นพระบรมโพธิสัตว์ ท่านก็ให้บุตรของท่านแก่ยักษ์ตนหนึ่งที่ปลอมตัวมาเป็นพราหมณ์ แต่พอรู้ว่าเป็นยักษ์ แล้วรู้ว่ายักษ์จะจับกินลูกของท่าน ท่านก็ไม่เสียดายเลย เพราะถือว่าทานอันนั้นท่านได้ให้ไปแล้ว ผมคิดว่าถ้าท่านรู้ก่อนหน้านั้นและท่านเลือกได้ ท่านคงให้ชีวิตตัวเองแทนไปแล้ว แทนที่จะให้ชีวิตลูก เหตุเพราะชีวิตลูกของท่านนั้นให้ได้ยากกว่าชีวิตของตัวเองนั่นเอง แล้วทำไมกรณีอย่างนี้ถึงเป็นแค่ทานอุปบารมีครับ
ผู้รู้ช่วยตอบที อนุโมทนาบุญครับ

จะครองเรือนไปสักกี่ร้อยปีก็ครองไปเถิด งานเรื่องของคนอื่นเค้าทั้งนั้น เรื่องของพญามารทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องของตัว ไม่ใช่งานของตัว ไปทำงานให้พญามารเค้าทั้งวันทั้งคืน เอาเรื่องอะไรไม่ได้

#4 lZephirothZl

lZephirothZl
  • Members
  • 50 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 July 2006 - 08:35 PM

ใช่ครับ สิ่งที่ผมสงสัยคือ ตามธรรมดา ผู้เปนพ่อแม่ย่อมรักลูกมากกว่าชีวิตของตน การให้ชีวิตบุตรผู้เปนที่รักเปนทานนี้ มานน่าจะ ทำได้ยากกว่าการให้ชีวิตตัวเองเปนทานสิครับ แต่ทำไมอยู่ในบารมีขั้นที่ต่ำกว่า

#5 ~ รั ก บุ ญ ~

~ รั ก บุ ญ ~
  • Members
  • 98 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Thailand
  • Interests:^-^ กรุณา เผื่อแผ่ เหลียวแลเอื้อ ^-^<br />^-^หวังช่วยเหลือ เพื่อนยาก ลำบากขันธ์^-^<br />^-^เห็นเพื่อนทุกข์ ทุกข์ด้วย เข้าช่วยพลัน^-^<br />^-^ให้เพื่อนนั้น พ้นทุกข์ ได้สุขใจ ฯ^-^

โพสต์เมื่อ 30 July 2006 - 08:55 PM

QUOTE
ผมได้อ่านหนังสือของพระพรหมโมลี เรื่อง "โลกนาถทิปนี" ซึ่งเกี่ยวกับการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งในหัวข้อ ทานอุปบารมี ท่านได้ยกตัวอย่าง เรื่อง พระเวสสันดร ซึ่งท่านให้ทาน บุตร และ ภรรยา อันเป็นที่รัก
และ หัวข้อ ทานปรมัตถบารมี ท่านยกตัวอย่าง เมื่อ ทรงเสวยพระชาติเปน สสบัณฑิต พระโพธิสัตว์ ผู้เปนกระต่ายน้อยได้ให้ชีวิตตัวเองเปนทานแก่ทักขิไณยบุคคล
ในความคิดของผมการให้บุตร และ ภรรยา อันเปนที่รัก เปนทาน มานน่าจะทำได้ยากกว่า การให้ ชีวิต ตัวเอง เปนทานนะครับ จึง น่าจะเปน ทานปรมัตถบารมี
อันนี้ก้อเลยสงสัยว่า ทานปรมัตบารมี แตกต่างจาก ทานอุปบารมี ยังไงบ้างครับ ขอรายละเอียดหน่อยครับ...

ตอบ ทานแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ได้แก่
๑ ทานบารมี จัดเป็นบารมีขั้นต้น เช่น การเสียสละสมบัติภายนอกตัวเรา
๒ ทานอุปบารมี จัดเป็นบารมีขั้นกลาง เช่นการเสียสละอวัยวะของเรา
๓ ทานปรมัตถบารมี จัดเป็นบารมีขั้นสูง เช่น การเสียสละชีวิตเราเพื่อประโยชน์ผู้อื่น
****************************************************
เหตุใดการให้บุตร ภรรยา ของตน จึงจัดเป็นเพียงทานอุปบารมี แต่ การให้ชีวิตของตนเพื่อคนอื่นจึงจัดเป็นทานปรมัตถบารมี?
อุปมาดังผลไม้ที่เราจะนำมาให้ทานแก่ผู้อื่นนั้น ได้มาจากสวนผลไม้สองที่ ที่แรกคือสวนของญาติเรา แต่อีกที่ เราได้มากจากสวนผลไม้ของเราเอง ผลไม้นี้ดูน่ากินและมีรสอร่อยพอๆกัน แล้วเราจะเลือกผลไม้จากที่ ๒ ที่ ที่เราได้มา มาทำทาน
ใคร่ขอถามว่า ถ้าหากเราเอาผลไม้ที่เราได้มาจากน้ำพักน้ำแรงของญาติเรา ที่เขาอุตสาหะเพาะปลูก เลี้ยงดูมาอย่างดี มาทำทาน กับการที่เราเอาผลไม้ที่เราเพราะปลูกเองมาอย่างดีด้วยความวิริยะอุตสาหะ เอามาทำบุญ เราเอาผลไม้สองอย่างนี้มาให้ทานเราจะได้บุญอย่างไหนมากกว่ากันครับ?
*************************************
การให้ชีวิตคนที่เรารักนั้น สำหรับบางคน ถึงจะเป็นการให้ได้ยากพอๆกับการให้ชีวิตตนเอง แต่การเสียสละของที่ไม่ใช่ตัวเรา ก็ยังเป็นการเห็นแก่ตัวอยู่ เพราะ ของนอกตัวเราถึงจะเสียสละ ให้เป็นทานไปแล้ว เราก็ยังหามาใหม่ได้ แล้วบุตรภรรยาที่เราได้บริจาคเป็นทานไป ก็ยังจะต้องทุกข์เพราะเราบริจาคพวกเขาให้แก่คนอื่นไป ทานที่ให้ไปนั้นเราไม่ได้ทุกข์คนเดียว แต่คนที่เราได้ให้เป็นวัตถุทานคือบุตรและภรรยานั้นได้ทุกข์กับเราด้วย(เหมือนดังกรณีของพระกัณหา) การให้แบบนี้จึงเป็นการให้ที่ยังทำให้คนอื่นมีทุกข์อยู่ อีกอย่างพวกเขาอุตส่ารักษาเนื้อรักษาตัว ของพวกเขามาจนเติบโต แล้วอยู่มาวันนึง เรากลับเอาชีวิตพวกเขาไปบริจาคให้กับผู้อื่น อย่างนี้จึงยังไม่ดีเท่าการบริจาคชีวิตตัวเราเองเป็นทาน
ส่วนการสละชีวิตของเราเองเป็นทานนั้น ที่จัดเป็นปรมัตถบารมีเพราะการให้อย่างนี้เป็นการให้ที่ทำได้ยาก เป็นการให้เพื่อประโยชน์ของคนอื่นโดยแท้จริง เป็นการให้ที่ไม่ห่วงตัวเองเลย เพียงเพื่อให้คนอื่นมีความสุขก็เป็นพอ ให้แล้วหามาใหม่ไม่ได้ และชีวิตที่เราให้เป็นทานนั้น เราพยายามได้รักษาชีวิตของเราจนเติบใหญ่ การให้เช่นนี้ไม่ได้ทำความทุกข์ทรมานทางร่างกายให้แก่ผู้อื่นด้วย มีแต่จะยังประโยชน์สุขให้แก่ผู้ได้รับทานนั้น เหตุดังนี้การให้บุตรภรรยาเป็นทานจึงเป็นอุปบารมีในขั้นกลางเพราะว่ายังทำให้คนอื่นต้องเดือดร้อนเพราะเราอยู่ ยังเป็นการเอาคนอื่นไปเป็นสะพานเพื่อยังพระโพธิญาณของเราให้สำเร็จอยู่ แต่การให้ชีวิตเราเองเป็นทานนั้นจัดเป็นปรมัตถบารมีในขั้นสูง เพราะการให้ชีวิตตัวเองเป็นทานนั้นมีแต่ทำให้คนอื่นพ้นจากความทุกข์ที่กำลังมีอยู่ ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน เป็นการเอาตัวเองเป็นสะพานเพื่อก้าวเดินไปให้สำเร็จถึงพระโพธิญาณตามที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้_/|\_
********************************************
ใ ค ร ช อ บ. . .ใ ค ร ชั ง. . .ช่ า ง เ ถิ ด
ใ ค ร เ ชิ ด. . .ใ ค ร ชู. . .ช่ า ง เ ข า
ใ ค ร เ บื่ อ. . .ใ ค ร บ่ น. . .ท น เ อ า
ใ จ เ ร า. . .ร่ ม เ ย็ น. . .เ ป็ น พ อ
. . .|2@|<_|3( )( )|\| @ |-|()T/\/\@I|_.C()/\/\. . .


#6 옴 นักรบกองทับธรรม

옴 นักรบกองทับธรรม
  • Members
  • 53 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 July 2006 - 08:58 PM

ก็ใช่ครับ ถ้าท่านทราบว่าคนที่ท่านให้ลูกไปนั้นจะกินลูกท่าน ท่านก็ต้องเอาชีวิตตนแลกอยู่แล้ว ก็แสดงว่าท่านก็ได้ทำทานขั้นปรมัตถบารมีไงครับ
หมายความว่า การรักลูกก็ถือเป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ การสละตัวเองเพื่อลูก ซึ่งเป็นการทำเพื่อสิ่งที่ตนรักจึงเป็นทานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดยังไงหล่ะครับ


#7 ท่านต้นผู้ยิ่งใหญ่

ท่านต้นผู้ยิ่งใหญ่
  • Members
  • 265 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 July 2006 - 12:19 AM

ขอแสดงความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับคุณอัตตานิดนึงนะครับ

ผมคิดว่าการที่ท่านมอบบุตรของท่านให้ยักษ์กิน ถ้ามองในอีกมุมหนึ่งนั้น

มันเป็นบุญปนบาป

เพราะเป็นการสนับสนุนให้ยักษ์ตนนั้นสร้างเวรกรรมกับบุตรของตน

แล้วถ้าบุตรของท่านผูกอาฆาตกับยักษ์ตนนั้นก็จะกลายเป็นกงกรรมกงเกวียนที่ต้องมาแก้กันอีก

เพราะฉะนั้น

ผมจึงคิดว่าเราควรจะเอาชีวิตตนเข้าแลกมากกว่า

เพราะเราสามารถบังคับตนเองไม่ให้ผูกอาฆาตกับยักษ์ที่จะกินเราได้

อีกทั้งยังไม่ได้เป็นการสนับสนุนให้ยักษ์ทำบาปด้วย (กรณีนี้มันคล้ายกับว่าเรามอบบุตรให้ยักษ์ ซึ่งคล้ายกับว่าเราเป็นผู้ที่ฆ่าบุตรของเราเอง และเราจะได้รับผลกรรมตรงจุดนี้ด้วย)

เพราะเราไม่ได้ยกชีวิตคนของคนอื่นให้ยักษ์กิน

#8 lZephirothZl

lZephirothZl
  • Members
  • 50 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 July 2006 - 02:02 AM

happy.gif ผมขอแสดงความคิดเหนกับที่คุณ ท่านต้น ได้เขียนมาครับ

ที่ว่าให้ชีวิตบุตรเปนทานกับยักษ์เปนบุญปนบาป อันนี้ผมก้อเคยคิดเหมือนกันมาก่อน แต่ๆ ผมได้ฟังคำของหลวงพ่อ ท่านบอกว่าบุตรของพระโพธิสัตว์เองก้อเปนผู้มีบุญมาเกิด โดยยินยอมที่จะให้พระโพธิสัตว์ใช้ตัวเองเปนทาน เปรียบประดุจนาวาแก้ว เพื่อสั่งสมบารมี การให้ครั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่ง บารมี 30 ทัต เพื่อจะตรัสรู้ธรรม และนำพาสรรพสัตว์

อีกอย่างนึงคือ ด้วยอัธยาศัยพระโพธิสัตว์คงไม่เอาลูกตัวเองไปให้ยักษ์กินทั้งๆที่ไม่ยอมอยู่แล้ว ผมว่าการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์เราเป็นเรื่องสูงส่งแต่บางครั้งก้อยากที่จะเข้าใจ

อย่างเช่น มีอยู่นึงชาติ (พุทธประวัติตอนที่ 6) ที่ทรงสละชีวิตตัวเองให้กับแม่เสือที่กำลังจากินลูกตัวเอง ถ้ามองว่าแบบที่ทั่วๆไปมองคือนับเปนการสร้างบารมีที่ยิ่งใหญ่มากๆ แต่ผมก้ออดคิดไม่ได้ว่าท่านเปนดาบส ออกบวชมีศิษย์ถึง 500 บำเพ็ญเพียรไปตลอดชาติน่าจาได้บารมีมากกว่าเอาชีวิตตัวเองไปช่วยลูกเสือที่กำลังจะโดนกิน

แต่อย่างไรแล้วพระพุทธเจ้าของเราก้อเปนพระปัญญาธิกกะ คือ ใช้ปัญญาสร้างบารมี และใช้เวลาสร้างบารมีที่สั้นที่สุดแล้ว คิดเช่นนี้เลยไม่อยากสงสัยอะไรต่อไป . . . ฝากความคิดเหนนี้ด้วยครับ . . .


#9 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 31 July 2006 - 12:45 PM

ขอเสริมข้อมูลเรื่องพระพุทธเจ้า มังคละ นิดนึงนะครับ ที่ว่า พระองค์สมัยเป็นพระโพธิสัตว์ บริจาคลูกเป็นทานให้นยักษ์กิน แล้วเป็นบุญปนบาปนั้น ไม่ใช่นะครับ เหตุผล เพราะว่า ตอนนั้น ยักษ์ปลอมตัวมาเป็นพราหมณ์ครับ ถ้าเป็นยักษ์มาขอไปกิน พระโพธิสัตว์ไม่ให้แน่นอน แต่เป็นเพราะยักษ์ปลอมตัวมาเป็นพราหมณ์ครับ และขอไปเลี้ยงครับ (แกล้งหลอก) ดังนั้น วินาทีที่พระโพธิสัตว์ ตัดสินใจให้ลูกแก่ พราหมณ์(ปลอม) ไป จึงเป็นบุญล้วนๆ ไม่เป็นบาปเลย

ทีนี้พอยักษ์ได้ไปแล้ว ก็กลับร่างเป็นยักษ์แล้วกินลูกต่อหน้าเลย แต่พระโพธิสัตว์ได้ให้ออกไปแล้ว ดังนั้นจึงมีจิตยินดีในทานนั้น ไม่มีจิตคิดโกรธเลย จึงยิ่งเป็นบุญมหาศาล ส่งผลให้ชาติสุดท้าย ท่านได้เป็นพระพุทธเจ้า ที่มีรัศมีกายสว่างไสวที่สุด ในยุคท่านโลกไม่รู้จักกลางคืน เพราะสว่างไสวด้วยรัศมีของท่าน จะรู้ว่ากลางวันกลางคืน ก็ดูดอกไม้หุบบาน

ขณะพระพุทธเจ้าของเรา มีรัศมีกายเพียงแค่ ข้างละวา เพราะในชาติที่ชูชกมาขอ กัณหาชาลี นั้น เมื่อพระโพธิสัตว์ยกให้แล้ว ชูชกก็เฆี่ยนตีให้ดูเดี๋ยวนั้นเลย พระโพธิสัตว์เห็นแล้วก็ขัดใจ ชักพระขรรค์(ดาบ) หมายฆ่าชูชกทีเดียว แต่แล้วก็กลับใจนึกได้ว่า ได้ให้ทานไปแล้ว ดังนั้น ชาตินี้มาเป็นพระพุทธเจ้ารัศมีจึงแค่ข้างละวา เพราะ ปีติ ไม่เท่าน่ะครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#10 light mint

light mint

    ขออนุโมทนาบุญค่ะ

  • Members
  • 1423 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:THAILAND
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 31 July 2006 - 03:31 PM

ดังนั้น เวลาเราสร้างทานบารมี ก็ควรรักษาใจให้ใสๆ อย่าได้ขุ่นมัวเลยแม้แต่นิดเดียวนะคะ
เพราะการที่เราหงุดหงิด โกรธหรือใจเศร้าหมอง ขณะกำลังสร้างบุญนั้น
บุญที่ได้ก็จะตกหล่นไปอย่างน่าเสียดายค่ะ แทนที่จะได้เต็มๆ

โดยเฉพาะในวันงานบุญใหญ่ ควรต้องรักษาใจให้ใสๆ ทั้งวัน
หากมีอุบัติเหตุใดๆ ที่ทำให้ไม่สบายใจ ก็ต้องยิ้มไว้ก่อน แล้วให้อภัย
ให้ใจเราคิดว่า บุญเป็นหลัก เรื่องอื่นเป็นเรื่องรอง

ขออนุโมทนาบุญนะคะ สาธุ


#11 Tanay007

Tanay007
  • Members
  • 616 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 July 2006 - 03:51 PM

คุณเซฟิรอส คัมภีร์ชาดกจะมีอยู่ 2 ประเภทครับ คือ 1.ทูเรนิทาน (เรื่องพระชาติไกลโพ้น) 2. อทูเรนิทาน (ถ้าชื่อบาลีผิดก็ขออภัย) ก็คือ แบ่งเป็น นิทานใกล้ กับ นิทานไกลครับ ประมาณ 500 กว่าเรื่องจะเป็นนิทานใกล้ (พระอรรถกถาจารย์ท่านว่าในกัปนี้) ส่วนประมาณ 4-5 เรื่องเป็นนิทานไกล
และในส่วนที่ยกมานั้นถ้าจำไม่ผิดน่าจะมาจากคัมภีร์สัมภารวิบาก ซึ่งเป็นพระชาติก่อนที่จะได้รับพุทธพยากรณ์ครับ
ส่วนการบริจาคลูก ภรรยาเป็นทาน เป็นขั้นตอนการบำเพ็ญทานบารมีสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ที่เรียกว่า "ปัญจมหาบริจาค" ลูกและภรรยานั้นจะต้องสร้างบารมีมาร่วมกันและที่สำคัญคือ ทั้งลูกและภรรยานั้นยินยอมและเข้าใจพระโพธิสัตว์ครับ
ระดับพระสาวกบำเพ็ญบารมีได้เต็มที่ก็ปรมัตถบารมี และการบำเพ็ญปรมัตถบารมีไม่ได้หมายถึงว่า เอาชีวิตไปให้เท่านั้น แต่หมายถึงเอาชีวิตเป็นเดิมพันครับ

#12 lZephirothZl

lZephirothZl
  • Members
  • 50 โพสต์

โพสต์เมื่อ 31 July 2006 - 09:54 PM

ตอบคุณ Tanay007 ครับ
ที่ผมยกมาถามนี้ได้กล่าวเรียนไปในข้างต้นแล้วว่า มาจากหนังสือเรื่อง โลกนาถทิปนี ของ พระพรหมโมลี ครับซึ่ง บารมีที่พระโพธิสัตว์สั่งสม
มี 10 ประการ และ 3 ขั้น อย่างเช่น ทานบารมี ทานอุปบารมี ทานปรมัตถบารมี รวมทั้งหมด 30 อย่าง เรียกว่า บารมี 30 ทัต ครับและข้อสงสัยที่ได้กล่าวมานั้น มาจาก ทานอุปบารมี(ขั้นกลาง) และ ทานปรมัตถบารมี(ขั้นสูง) ครับ

#13 force

force
  • Members
  • 9 โพสต์

โพสต์เมื่อ 02 August 2006 - 10:40 PM

ขออนุญาต แสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ เพราะ เพิ่งได้มีโอกาสเข้ามาอ่าน
ผมคิดว่าพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัต แต่ละพระองค์นั้น แฝงไว้ด้วย อุเบกขาบารมีอย่างยิ่งยวด ไม่ใช่แค่ทานบารมีเพียงอย่างเดียว เพราะอุเบกขานั้น ถ้าไม่มีความรักในสิ่งที่จะให้อย่างสุดๆแล้ว ไม่น่าจะเป็นอุเบกขาได้ เปรียบดังเช่น เรารู้เรื่องคนตายเป็นประจำ แต่ไม่รู้สึกอะไร ครั้นพอญาติเราตายไปคนนึงกลับเสียใจมาก ดังนั้น เหตุที่พระมังคละพุทธเจ้าท่านมีรัศมีกายสว่างไสวนั้น ย่อมชอบด้วยเหตุทั้งปวงอยู่แล้ว
ขอท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยแก้ไขให้ด้วยนะครับ

#14 SmilingCat

SmilingCat
  • Members
  • 1209 โพสต์

โพสต์เมื่อ 03 August 2006 - 02:00 PM

มาอ่านดูแต่ละท่านมีความรู้ไม่ใช่ย่อยเลย เพราะเรื่องที่ยกมาเป็นประเด็นนั้น ข้อมูลต่าง ๆ
ค่อนข้างจะมีครบอยู่แล้ว มีเพียงประเด็นคือพ่อแม่น่าจะรักลูกยิ่งกว่าชีวิต การสละลูกเมียนั้น
น่าจะเป็นปรมัตถบารมี

แต่ผมว่าการสละชีวิตตัวเองนั้นเป็นบารมีขั้นสูงกว่า โดยต้องลองสมมุติเหตุการณ์เปรียบเทียบให้สามารถเลือกได้ด้วย

ถ้าหากว่ามีโจรมาจับ เราทั้งครอบครอบและคนอื่นเป็นตัวประกันหมด ( ให้น้ำหนักชีวิตเราและลูกเมียเท่ากัน ) แต่บอกว่า
ต้องการชีวิตเพียงชีวิตเดียว เพื่อเป็นตัวประกันไปกับโจร ( ในกรณีนี้ต้องให้ทุกคนยอมสละชีวิตเท่ากันหมดคือแย่งกันไป
ด้วยความเต็มใจหมดไม่มีบังคับ ) คราวนี้คงจะเรียงได้ ถ้ายอมไปเองก็ปรมัตถบารมี ถ้าหากยอมให้เมีย หรือลูกไป เพราะ
คุณยังมีความสำคัญอยู่กับลูกหรือเมีย ก็คงเรียกว่าอุปบารมี ในขณะที่คนอื่น ๆ ก็พร้อมเต็มใจจะไปเป็นตัวประกันให้โจรหมด

ถ้าคุณเลือกไป (โดยเหตุเพราะต้องการสละชีวิตสร้างบารมีก็เป็นปรมัตถบารมี) ทุกคนยอมให้ไปอยู่แล้ว
ถ้าคุณยอมสละลูกหรือเมียตัวเอง ( เพื่อสร้างบารมีก็เป็นอุปบารมี )

อย่างนี้น่าจะเห็นภาพมากกว่า

เพราะในการสร้างบารมีบางครั้งขึ้นอยู่กับโอกาศ ว่าจะสละชีวิตของตนเองหรือ สละลูกเมีย
อย่างชาติที่เป็นพระเวสสันดรหรือพระมังคละพุทธเจ้า ก็คือต้องสละลูกไม่มีตัวเลือกอื่น





หยุดคือตัวสำเร็จ