ลมหายใจ...สำคัญกับการนั่งสมาธิหรือปล่าว
#1
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 11:10 AM
#2
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 12:15 PM
#3
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 12:55 PM
พอใจเริ่มนิ่งบางที่จะรู้สึกว่าลมหายใจสั้น หรือบางทีก็ไม่หายใจ แต่จริงๆแล้ว เรายังหายใจตามปกติค่ะ เพราะถ้าไม่หายใจเราก็ตาย เพียงแต่ใจกำลังเข้าสู่ความละเอียดภายใน
เท่าที่ฟังหลวงพ่อมาก็ให้ปรับร่างกายก่อนการนั่งให้สบายค่ะ รวมทั้งลมหายใจด้วย ถ้ากล่าวผิดพลาดประการใดก็ขอขมานะคะ
#4
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 01:13 PM
#5
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 01:43 PM
เพราะฉนั้น วิธีการใดก็แล้วแต่ ที่จะเป็นอุบาย เป็นเครื่องช่วยให้ใจเราหยุดเป็นสมาธิ ย่อมนำมาใช้ได้ทั้งหมดครับ แต่เมื่อหยุดแล้วต้องมาหยุดที่ฐานที่7ครับ แล้วจึงหยุดในหยุดต่อไป
กรรมฐาน40กอง เอามาใช้ได้ทั้งหมดครับ แต่ที่ท่านสอนให้ กำหนดดวงแก้วกลางท้องเลย เป็นการสอนโดยรวมทั้งผู้ฝึกเก่าและใหม่ แต่ใครที่เป็นคนเก่า หรือฝึกแนวทางอื่นมาบ้างแล้ว และก็ยังถนัดแบบนั้นอยู่ เมื่อเป็นแบบนี้ หากได้ศึกษากับหลวงพ่อ หรือพระอาจารย์ ท่านจะแนะนำว่าให้ใช้วิธีใดก็ได้ ที่เราถนัด แล้วท่านยังสอนอีกว่า ต้องให้เราทำยังไงก็ได้ด้วยความสบาย เพื่อให้ใจหยุด ไม่ได้กำหนดตายตัวครับ
#6
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 01:47 PM
แต่ที่ให้ถูกต้อง สัมมา อรหังไว้ที่กลางท้องนะคร้าบ
หรือใครมีคำแนะนำที่ดีกว่านี้ช่วยหน่อยแหละกันนะจ๊ะ
อนุโมทนา...คร้าบผม
#7
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 01:48 PM
#8
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 02:01 PM
ใช่แล้วครับ ปรุงแต่ง อาจจะมีเทคนิคของแตละท่านก็ได้ อย่างเมื่อก่อน ผมใช้ ท่อง หายใจเข้าสัมมา หายใจออก อรหัง แล้วนับ1 ไปจนถึง100 แล้วก็นับถอยหลัง100-99-98-97...เวียนไปเวียนมา เพลินดี จนถึงจุดที่หมดอารมจะภาวนาไปเอง แต่เดี๋ยวนี้พอนั่งก็จะไม่ภาวนาแล้ว ทำใจสบายๆสลัดความคิดทั้งปวงออกไปเลย
#9
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 02:15 PM
#10
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 03:47 PM
#11
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 03:48 PM
บางคนนั่งเพื่อให้สมองปลอดโปร่ง จะได้ทำงานดีขึ้น บางคนนั่งเพื่อสุขภาพ บางคนเพื่อไสยศาสตร์มืดก็มี สาระพัดมากมาย ฯลฯ
แต่การทำสมาธิที่จัดเป็น สัมมาสมาธิ ตรงตามมรรค8คือ การทำสมาธิเพื่อกำจัดอาสวะกิเลสครับ ซึ่งตรงนี้เองเป็นจุดประสงใหญ่ของผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายที่มีความปราถนานิพพานกันทุกคน
เมื่อทุกคนมีความปราถนาเหมือนกันหมดแล้ว จึงไม่แปลกอะไรที่จะมีการอทิษฐานก่อนนั่งครับ แต่ว่า..ระหว่างเวลานั่งแล้ว ความจะปล่อยวางความปราถนานั้นออกไปจากใจไห้หมดสิ้น เพราความปราถนา เข้าข่ายกับความ อยาก ลึกๆครับ พระเดชพระคุณครูไม่ใหญ่เคยสอนว่า ให้ปล่อยวางความคิดทั้งหลายออกไปให้หมด แม้เรื่องนั้นจะเป็นเรื่องที่ดีก็ตาม...
#12
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 03:54 PM
....................................................
ขออีกข้อค่ะ....การทำสมาธิควรยึดติดกับสถานที่ใช่หรือไม่...หรือว่าที่ไหนก็ได้ ขึ้นอยู่ที่จิตของเรามากกว่าใช่หรือปล่าวค่ะ?
#13
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 05:46 PM
สถานที่ จัดอยู่ในสัปปายะ4 มีผลแน่นอน อย่างมากด้วยครับ
แต่ว่าถ้าใครทำชำนาญเป็นวสีแล้ว ทำได้ทุกที่ครับ บนรถเรือ หรือทุกอริยาบท
โบราณจารย์ท่านกล่าวว่า ใครที่ได้สมาธิ(ทำใจหยุด)ในท่าเดินจงกรมได้ ฌาณจะไม่เสื่อม ก็หมายถึงว่า ท่านนั้นทำชำนาญมากๆๆแม้กระทั่ง อริยาบทเดินก็ยังทำใจให้หยุดได้ นับประสาอะไรกับ ที่อื่นๆ
#14
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 06:17 PM
#15
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 07:47 PM
#16
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 07:51 PM
แต่หลังๆได้รับคำตอบจากพระอาจารย์ท่านก็บอก
ปล่อยมันไปเถอะไม่ต้องไปคิดอะไร
เพราะหายลมหายใจจะขาดเพราะเรานั่งสมาธิแล้ว
คิดดูซิเราจะไปไหน หลังๆนี้ไม่สนใจละจะลมหายใจสั่นหรือยาว
อ้อ ลืมตอบอีกกระท฿ที่บอกว่าเกี่ยวกับสถานที่ไหม
ถ้าเราสามารถหยุดใจในที่ๆนั่งอยู่ได้ที่ไหนก็นั่งได้ค่ะ
หากคนที่ยังฝึกใหม่ๆน่าจะลองหาที่สงบๆดูน่าจะได้ผลดีค่ะ
#17
โพสต์เมื่อ 16 August 2006 - 09:04 PM
ไม่ยึดติดกับลมหายใจ
พอใจละเอียด ลมหายใจจะช้าลง เบาสบาย นะครับ
#18
โพสต์เมื่อ 17 August 2006 - 08:10 AM
#19
โพสต์เมื่อ 17 August 2006 - 08:10 AM
ความกังวลเรื่องลมหายใจ
ลักษณะกังวลเรื่องลมหายใจ
ในการปฏิบัติสมาธิ บางท่านเคยฝึกสมาธิมาหลายรูปแบบ เช่น เคยฝึกแบบกำหนดลมหายใจมาก่อน พอเวลามานั่งสมาธิแบบนึกถึงดวงแก้ว หรือองค์พระ วางใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย เลยทำให้นักปฏิบัติสมาธิบางท่าน เวลาบริกรรมภาวนาไปแล้วรู้สึกว่าคำภาวนาไปพ้องกับลมหายใจเข้าออก ซึ่งทำให้กลัวว่าทำไม่ถูกวิธี และเกิดการต่อสู้อย่างลึก ๆ โดยที่ไม่รู้ตัว ทำให้บางครั้งลมหายใจก็เลยหยาบขึ้นมา
บางท่านรู้สึกอึดอัด เพราะลมหายใจจากที่เคยหายใจ เข้าสั้น ออกยาว เข้ายาว ออกสั้น แล้วรู้สึกเหมือนลมหายใจจะหยุด จึงคิดกลัวตายขึ้นมา
ความสัมพันธ์ของลมหายใจกับใจ
จากการศึกษาพบว่า เวลาที่คนเราหายใจ ลมหายใจเข้าออกไม่ได้ไปสุดที่ปอด แต่จะไปสุดที่กลางท้อง โดยลมหายใจจากปากช่องจมูกผ่านทางฐานต่าง ๆ (ฐานทั้ง 6 ฐาน) ในร่างกายและจะไปสุดที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อันเป็นตำแหน่งที่เป็นฐานที่ตั้งใจ ลมที่หายเข้าไปที่ใจนี้ จึงเรียกชื่อว่า ลมหายใจ
ลมหายใจนี้แม้จะเป็นของหยาบ แต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสภาพของใจ คือ ถ้าใจละเอียด แม้ลมที่ผ่านเข้าไปจะเป็นลมหยาบ แต่ใจที่ละเอียดก็จะกรองลมนั้น ผ่านออกมาจากตัวของเราให้เป็นลมที่ละเอียดอ่านได้ ถ้าลมหายใจที่ผ่านเข้าไปสู่ใจที่ร้อน ๆ ลมหายใจที่ผ่านออกมาก็ร้อนเหมือนกัน และเมื่อใจละเอียดเป็นสมาธิ ลมหายใจนี้ก็จะละเอียดจนบางครั้งมีลักษณะเหมือนลมหยุด
วิธีแก้ไข
1. ถ้าหากเราไม่สนใจ ลมหายใจที่รู้สึกว่าหยาบก็จะหายไป บางครั้งลมหายใจมาพ้องกันบ้างก็ไม่เป็นไร ทำใจเฉย ๆ สบาย ๆ ลมก็จะค่อย ๆ ละเอียดไปเอง แล้วในที่สุดเราก็จะลืมเรื่องการหายใจ
2. กำหนดจิตไว้ ณ ที่สุดของลมหายใจ ซึ่งก็คือศูนย์กลางกาย ไม่ไปตามลมหายใจที่เข้าออก
3. ถ้าหากลมจะหยุด ไม่ต้องกลัวตาย เพราะนั่นเป็นอาการที่แสดงว่าใจกำลังจะหยุด ลมหยุด เพราะใจหยุด ดวงธรรมกำลังจะเกิดขึ้น
ที่มา : ส่วนหนึ่งใน บทที่ 7 อุปสรรค์ต่าง ๆ และวิธีแก้ไข วิชา MD203 สมาธิ 3
#20
โพสต์เมื่อ 17 August 2006 - 08:16 AM
#21
โพสต์เมื่อ 17 August 2006 - 12:05 PM
#22
โพสต์เมื่อ 17 August 2006 - 10:14 PM
#23
โพสต์เมื่อ 22 August 2006 - 11:17 AM
สาธุ สำหรับการตอบนะคะ
ไม่มีลุ้นเร่งจองมองที่หมาย
ก็จะพบผู้รู้อยู่กลางกาย
ธาตุอ่อนแก่มากมายถึงปลายทาง