ความทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไรค่ะ
ทำอย่างจึงจะสามารถลดหรือบรรเทาทุกข์ละค่ะ
ความทุกข์ขึ้นได้อย่างไรบ้างค่ะ
เริ่มโดย ลูกน้ำ..., Sep 14 2006 05:11 PM
มี 9 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 14 September 2006 - 05:11 PM
ความสงบใจ เป็นสมบัติอันลำค่า
ยิ่งกว่าสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ
เมื่อไรมากระทบ อย่าให้สะเทือนถึงใจ
ตะวันธรรม
ยิ่งกว่าสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ
เมื่อไรมากระทบ อย่าให้สะเทือนถึงใจ
ตะวันธรรม
#2
โพสต์เมื่อ 14 September 2006 - 06:11 PM
ความทุกข์ก็เกิดจาก อุปทานความยึดมั่นถือมั่นน่ะครับ
#3
โพสต์เมื่อ 14 September 2006 - 07:13 PM
ความเอ๋ย ความสุข
ใครใครทุกข์ คนชอบเจ้าเฝ้าวิ่งหา
แกก็สุข ฉันก็สุข ทุกข์เวลา
แต่ดูหน้าตาแห้ง ยังแคลงใจ
ถ้าเราเผา ตัณหา น่าจะสุข
ถ้ามันเผา เราก็สุก หรือเกรียมได้
คำว่า สุข สุขเน้อ อย่าเห่อไป
มันสุขเย็น หรือสุกไหม้ ให้แน่เอย^^
------------------
ใครใครทุกข์ คนชอบเจ้าเฝ้าวิ่งหา
แกก็สุข ฉันก็สุข ทุกข์เวลา
แต่ดูหน้าตาแห้ง ยังแคลงใจ
ถ้าเราเผา ตัณหา น่าจะสุข
ถ้ามันเผา เราก็สุก หรือเกรียมได้
คำว่า สุข สุขเน้อ อย่าเห่อไป
มันสุขเย็น หรือสุกไหม้ ให้แน่เอย^^
------------------
เพียง. . .เพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้มีคุณค่า
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.
เพียงพอ
#4
โพสต์เมื่อ 14 September 2006 - 07:58 PM
ความทุกข์เกิดจากไม่สมหวังในสิ่งที่หวัง
ความทุกข์เกิดจากยังไม่พบความสุขที่แท้จริง
ความทุกข์เกิดจากยังไม่พบความสุขที่แท้จริง
#5
โพสต์เมื่อ 14 September 2006 - 10:56 PM
ยังมีกิเลสก็ทุกข์ ยังอยู่ในสังสารวัฎก็มีเรื่องทุกข์ได้นานาชนิด
ทุกข์เกิดขึ้น ก็ต้องหาทางดับทุกข์กันล่ะนะ
ทำใจใสๆ มานั่งสมาธิกันดีกว่า...
ทุกข์เกิดขึ้น ก็ต้องหาทางดับทุกข์กันล่ะนะ
ทำใจใสๆ มานั่งสมาธิกันดีกว่า...
ขออนุโมทนาบุญนะคะ สาธุ
#6
โพสต์เมื่อ 15 September 2006 - 11:58 AM
ความทุกข์เกิดจาก กิเลสในใจ (ที่โพส 5 บอกมา) ตระกูลใหญ่ ก็คือ โลภ โกรธ หลง ที่เผาลนจิตใจน่ะครับ ซึ่ง กิเลสตระกูลใหญ่ก็แบ่งเป็นตระกูลย่อยๆ มีมากหลาย
ความโลภ คือ ได้ในสิ่งที่หวัง แล้วก็หวังจะได้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ตัณหา ราคะ ที่โพส 3 บอกมา ก็เป็นกิเลสตระกูลย่อย ของ โลภะ จึงเป็นหนึ่งในเหตุของความทุกข์
ความโกรธ คือ ไม่สมหวังในสิ่งที่หวัง (ที่โพส 4 บอกมา)
ความหลง คือ ไม่รู้จริง ไม่รู้จักความสุขที่แท้จริง (ที่โพส 4 บอกมา) จึงเกิดอุปาทานยึดมั่นถือมั่น (ที่โพส 2 บอกมา) ซึ่งเป็นหนึ่งในกิเลสตระกูลย่อยของ โมหะ หรือความหลง
วิธีบรรเทาทุกข์ โดยการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ทาน ศีล ภาวนา
ทาน ลดความตระหนี่ หวงแหนในใจ ใช้กำจัดกิเลส ตระกูล โลภะ (โลภ)
ศีล ลดความคิดเบี่ยดเบียนผู้อื่นลงไป ใช้กำจัดกิเลส ตระกูล โทสะ (โกรธ)
ภาวนา เพิ่มความรู้จริง ลดความไม่รู้จริง ใช้กำจัดกิเลส ตระกูล โมหะ (หลง) น่ะครับ
ความโลภ คือ ได้ในสิ่งที่หวัง แล้วก็หวังจะได้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ตัณหา ราคะ ที่โพส 3 บอกมา ก็เป็นกิเลสตระกูลย่อย ของ โลภะ จึงเป็นหนึ่งในเหตุของความทุกข์
ความโกรธ คือ ไม่สมหวังในสิ่งที่หวัง (ที่โพส 4 บอกมา)
ความหลง คือ ไม่รู้จริง ไม่รู้จักความสุขที่แท้จริง (ที่โพส 4 บอกมา) จึงเกิดอุปาทานยึดมั่นถือมั่น (ที่โพส 2 บอกมา) ซึ่งเป็นหนึ่งในกิเลสตระกูลย่อยของ โมหะ หรือความหลง
วิธีบรรเทาทุกข์ โดยการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ทาน ศีล ภาวนา
ทาน ลดความตระหนี่ หวงแหนในใจ ใช้กำจัดกิเลส ตระกูล โลภะ (โลภ)
ศีล ลดความคิดเบี่ยดเบียนผู้อื่นลงไป ใช้กำจัดกิเลส ตระกูล โทสะ (โกรธ)
ภาวนา เพิ่มความรู้จริง ลดความไม่รู้จริง ใช้กำจัดกิเลส ตระกูล โมหะ (หลง) น่ะครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร
#7
โพสต์เมื่อ 15 September 2006 - 04:26 PM
ขอบคุณค่ะจากคำตอบที่ให้แล้ววิธีดับทุกข์มีอะไรอย่างไรบ้างค่ะ
ความสงบใจ เป็นสมบัติอันลำค่า
ยิ่งกว่าสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ
เมื่อไรมากระทบ อย่าให้สะเทือนถึงใจ
ตะวันธรรม
ยิ่งกว่าสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ
เมื่อไรมากระทบ อย่าให้สะเทือนถึงใจ
ตะวันธรรม
#8
โพสต์เมื่อ 15 September 2006 - 09:19 PM
ถูกครับถูกต้องเลย
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ
เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี
#9
โพสต์เมื่อ 15 September 2006 - 10:59 PM
ขอยืนยันว่าคำตอบของพี่หัดฝัน ถูกต้องแล้วคร้าบ
ความโลภ คือ ได้ในสิ่งที่หวัง แล้วก็หวังจะได้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ตัณหา ราคะ ที่โพส 3 บอกมา ก็เป็นกิเลสตระกูลย่อย ของ โลภะ จึงเป็นหนึ่งในเหตุของความทุกข์
ความโกรธ คือ ไม่สมหวังในสิ่งที่หวัง (ที่โพส 4 บอกมา)
ความหลง คือ ไม่รู้จริง ไม่รู้จักความสุขที่แท้จริง (ที่โพส 4 บอกมา) จึงเกิดอุปาทานยึดมั่นถือมั่น (ที่โพส 2 บอกมา) ซึ่งเป็นหนึ่งในกิเลสตระกูลย่อยของ โมหะ หรือความหลง
วิธีบรรเทาทุกข์ โดยการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ทาน ศีล ภาวนา
ทาน ลดความตระหนี่ หวงแหนในใจ ใช้กำจัดกิเลส ตระกูล โลภะ (โลภ)
ศีล ลดความคิดเบี่ยดเบียนผู้อื่นลงไป ใช้กำจัดกิเลส ตระกูล โทสะ (โกรธ)
ภาวนา เพิ่มความรู้จริง ลดความไม่รู้จริง ใช้กำจัดกิเลส ตระกูล โมหะ (หลง) น่ะครับ
QUOTE
ความโลภ คือ ได้ในสิ่งที่หวัง แล้วก็หวังจะได้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ตัณหา ราคะ ที่โพส 3 บอกมา ก็เป็นกิเลสตระกูลย่อย ของ โลภะ จึงเป็นหนึ่งในเหตุของความทุกข์
ความโกรธ คือ ไม่สมหวังในสิ่งที่หวัง (ที่โพส 4 บอกมา)
ความหลง คือ ไม่รู้จริง ไม่รู้จักความสุขที่แท้จริง (ที่โพส 4 บอกมา) จึงเกิดอุปาทานยึดมั่นถือมั่น (ที่โพส 2 บอกมา) ซึ่งเป็นหนึ่งในกิเลสตระกูลย่อยของ โมหะ หรือความหลง
วิธีบรรเทาทุกข์ โดยการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ทาน ศีล ภาวนา
ทาน ลดความตระหนี่ หวงแหนในใจ ใช้กำจัดกิเลส ตระกูล โลภะ (โลภ)
ศีล ลดความคิดเบี่ยดเบียนผู้อื่นลงไป ใช้กำจัดกิเลส ตระกูล โทสะ (โกรธ)
ภาวนา เพิ่มความรู้จริง ลดความไม่รู้จริง ใช้กำจัดกิเลส ตระกูล โมหะ (หลง) น่ะครับ
The Strongest is The Gentlest!
ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งที่สุด ย่อมเป็นผู้ที่สุภาพนุ่มนวลที่สุด
ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งที่สุด ย่อมเป็นผู้ที่สุภาพนุ่มนวลที่สุด
#10
โพสต์เมื่อ 17 September 2006 - 12:17 AM
นับแต่คนเกิดมาเรียกว่า ชาติ คือการเกิดของขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดังเขียนไว้แล้ว เมื่อมีชาติที่แน่นอนเที่ยงแท้ คือ มีชราและมรณะตามภาษาชาวบ้านว่า เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ทั้งหมดนี้เป็นทุกข์ทั้งสิ้น ที่ต้องเกิดแก่ทุกคนโดยไม่มีข้อหลีกเลี่ยง ได้แก่การเสื่อมโทรมของขันธ์ 5 จนถึงแตกดับสิ้นสุดไปชาติภพหนึ่งแล้วเริ่มต้นใหม่ไม่รู้จบ ตามที่ท่านอธิบายละเอียดไว้แล้วว่า
เกิด เป็นทุกข์
แก่ เป็นทุกข์
ตาย เป็นทุกข์
ไม่สบาย คับแค้นกายใจ เป็นทุกข์
พลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์
ความไม่สมหวัง เป็นทุกข์
สัจธรรมที่พระพุทธองค์ได้สอนไว้ที่สำคัญก็คือไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งหมายความว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง ทุกสิ่งเป็นทุกข์ และทุกสิ่งไม่เป็นตัวตน ไม่เป็นของใคร ก็จะเห็นได้ว่าทุกข์เป็นองค์สำคัญในสัจธรรมนี้ ซึ่งเป็นความจริงตลอดกาล
เพื่อให้เข้าใจถึงเรื่องทุกข์มากขึ้นขอนำคำถามของพราหมณ์และคำตอบของพระพุทธองค์ดังนี้
พราหมณ์ : ทุกข์เราเป็นคนทำเองหรือพระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ : อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย
พราหมณ์ : ทุกข์เกิดเพราะเราร่วมกับคนอื่นช่วยกันทำหรือพระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ : อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย
พราหมณ์ : ถ้าเช่นนั้นทุกข์เกิดขึ้นไม่ใช่จากเราและคนอื่นช่วยกันทำหรือพระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ : อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย
พราหมณ์ : ถ้าเช่นนั้นทุกข์เกิดขึ้นเพราะอะไรพระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ : ทุกข์เกิดขึ้นเพราะความมีอวิชชาหลงยึดตัวตนของตนว่ามีอยู่
ซึ่งคำตอบนี้คงชัดเจนพอที่เราจะเข้าใจได้ว่า เป็นเพราะเราไปยึดว่าเราเป็นเรา ซึ่งเป็นของยากที่เราจะเลิกยึดสิ่งนี้ได้ นอกจากจะเข้าใจสัจธรรมของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และพยายามปฏิบัติต่อเนื่องจนกว่าสามารถหลุดพ้นได้ ตามความมุ่งหมายของพระพุทธองค์ที่พยายามชี้ทางให้เรา
ขอให้สังเกตว่าวิทยาศาสตร์ได้นำหลักของอริยสัจ 4 นี้มาใช้เพื่อหาคำตอบอย่างใดอย่างหนึ่งทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ใดๆก็ตาม คือ ต้องหาว่าอะไรเป็นเหตุ แก้ไขได้อย่างไร และวิธีแก้ไขทำอย่างไร เห็นได้ว่าหลักธรรมของพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์
ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงได้ทรงสอนเรื่อง อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) นิโรธ (ความดับทุกข์) และมรรค (คือทางที่จะพ้นทุกข์)
อริยสัจสี่สำคัญอย่างไร
อริยสัจสี่ เป็นแก่นของศาสนาพุทธที่ทำให้แตกต่างจากศาสนาอื่น ถ้ากล่าวโดยย่อมีเพียง 4 คำคือ
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ซึ่งเป็นสี่คำที่ลึกซื้งครอบคลุมคำสอนของพระพุทธองค์เกือบทั้งหมดที่เกี่ยวกับชีวิตเป็นข้อสรุปมาจาก ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเข้าใจยาก พระพุทธองค์มีวิธีสอนธรรมะได้หลายแบบ จึงได้สรุปง่ายๆเพียง 4 คำ แต่ละคำมีความขยายออกไปอีกมากและบางครั้งพระองค์ท่านก็สอนเรื่องไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งก็เป็นหลักสำคัญของชีวิต ที่มีตัวทุกข์เป็นตัวร่วม
ทุกข์ ได้อธิบายไว้แล้วว่าเป็นองค์ประธานของศาสนาพุทธ ซึ่งบรรยายถึงชีวิตของมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยขันธ์ห้า (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ซึ่งขันธ์ห้านี้เต็มไปด้วยความทุกข์ เกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ เจ็บป่วยเป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์ ไม่สบายใจ โศกเศร้าเป็นทุกข์ พบสิ่งที่ไม่พอใจเป็นทุกข์ พลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ไม่สมหวังเป็นทุกข์ จึงเห็นได้ว่าทุกข์เป็นองค์ประธานของขันธ์ห้า หรือชีวิตมนุษย์
คำต่อมาคือ ทุกขสมุทัย หรือเหตุแห่งทุกข์ ซึ่งตัวสำคัญได้แก่ตัณหา ที่มีกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดังได้เขียนไว้แล้ว แต่นอกจากนี้ยังมีข้อที่เป็นเหตุแห่งทุกข์อีกมากมายได้แก่
อกุศลมูล
อกุศลกรรมบท 10
นิวรณ์ 5
มลทิน 9
อุปกิเลส 10
ทุจริต 3
ทั้งสิ้นนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งสิ้น
นิโรธ หมายถึง ความพ้นทุกข์คือการต้องตัดตัณหา อุปาทาน อวิชชา เปรียบเหมือนเชื้อไฟเมื่อไม่มีเชื้อก็หมดไฟ
มรรค คือ วิถีทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์ หมายถึง ไม่กลับเวียนว่ายตายเกิดอีก คือนิพพาน ซึ่งมีอยู่ทางเดียวคือ มรรคมีองค์แปด ไม่มีทางอื่นมากกว่านี้ได้แก่
1. ความเห็นชอบ (สัมมาทิฎฐิ) มีปัญญาเห็นชอบในสิ่งที่ถูกทั้งทางโลกและธรรมะ เช่น เห็นอริยสัจสี่ เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เห็นความไม่เที่ยงของสังขาร เป็นต้น
2. ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) ไม่คิดโกรธ เบียดเบียน รักใคร่ ยึดธรรมะ คิดให้หลุดพ้นจากกามจากโลภ
3. วาจาชอบ (สัมมาวาจา) ไม่พูดปด พูดส่อเสียด พูดหยาบ พูดเพ้อเจ้อ พูดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
4. ปฏิบัติชอบ (สัมมากัมมันตะ) ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ขโมย ไม่ประพฤติผิดในกาม
5. เลี้ยงชีวิตชอบ (สัมมาอาชีวะ) ไม่โกง ไม่หลอกลวง ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย ยาเสพติด เป็นต้น
6. เพียรชอบ (สัมมาวายามะ) ทำความเพียรทั้งทางโลกและทางธรรม
7. ระลึกชอบ (สัมมาสติ) มีความระลึกชอบ รู้ถูกรู้ผิดทางธรรมโดยมุ่งตัดกิเลสทั้งปวง
8. ตั้งมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ ) จิตอยู่ในสมาธิที่ถูกต้องได้เสมอ
อ่านดูคิดว่าง่ายและน่าจะทำได้ใน 8 ข้อนี้ เพราะย่อลงได้เพียง 3 คำคือ ศีล (ข้อ 3-5) สมาธิ (ข้อ 6-8) ปัญญา (ข้อ 1-2) แต่ความเป็นจริงยากเย็นมากที่จะปฏิบัติทุกข้ออย่างสม่ำเสมอจนสามารถพ้นทุกข์ได้ ท่านเอาความเห็นชอบ ดำริชอบซึ่งตรงกับปัญญาไว้ต้น เพราะเป็นความสำคัญที่สุดที่จะทำให้คนมุ่งจะปฏิบัติตามมรรคอื่นๆเพื่อให้ทุกข์ จะต้องมี 2 ข้อนี้ก่อน ความจริงทั้ง 8 ข้อ มีความต่อเนื่องกันเป็นวงกลมไม่เป็นเส้นตรงคือ
ต้องมีปัญญาทางโลกก่อนจึงจะคิดถือศีล หรือปฏิบัติสมาธิ และเมื่อปฏิบัติแล้วถึงขั้น ตัวปัญญาจึงจะเกิดเป็นปัญญาทางธรรม
ไปอ่านเจอมาค่ะ ขอมีส่วนร่วมด้วยคนนะคะ
เกิด เป็นทุกข์
แก่ เป็นทุกข์
ตาย เป็นทุกข์
ไม่สบาย คับแค้นกายใจ เป็นทุกข์
พลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์
ความไม่สมหวัง เป็นทุกข์
สัจธรรมที่พระพุทธองค์ได้สอนไว้ที่สำคัญก็คือไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งหมายความว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง ทุกสิ่งเป็นทุกข์ และทุกสิ่งไม่เป็นตัวตน ไม่เป็นของใคร ก็จะเห็นได้ว่าทุกข์เป็นองค์สำคัญในสัจธรรมนี้ ซึ่งเป็นความจริงตลอดกาล
เพื่อให้เข้าใจถึงเรื่องทุกข์มากขึ้นขอนำคำถามของพราหมณ์และคำตอบของพระพุทธองค์ดังนี้
พราหมณ์ : ทุกข์เราเป็นคนทำเองหรือพระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ : อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย
พราหมณ์ : ทุกข์เกิดเพราะเราร่วมกับคนอื่นช่วยกันทำหรือพระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ : อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย
พราหมณ์ : ถ้าเช่นนั้นทุกข์เกิดขึ้นไม่ใช่จากเราและคนอื่นช่วยกันทำหรือพระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ : อย่ากล่าวอย่างนั้นเลย
พราหมณ์ : ถ้าเช่นนั้นทุกข์เกิดขึ้นเพราะอะไรพระเจ้าข้า
พระพุทธองค์ : ทุกข์เกิดขึ้นเพราะความมีอวิชชาหลงยึดตัวตนของตนว่ามีอยู่
ซึ่งคำตอบนี้คงชัดเจนพอที่เราจะเข้าใจได้ว่า เป็นเพราะเราไปยึดว่าเราเป็นเรา ซึ่งเป็นของยากที่เราจะเลิกยึดสิ่งนี้ได้ นอกจากจะเข้าใจสัจธรรมของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และพยายามปฏิบัติต่อเนื่องจนกว่าสามารถหลุดพ้นได้ ตามความมุ่งหมายของพระพุทธองค์ที่พยายามชี้ทางให้เรา
ขอให้สังเกตว่าวิทยาศาสตร์ได้นำหลักของอริยสัจ 4 นี้มาใช้เพื่อหาคำตอบอย่างใดอย่างหนึ่งทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ใดๆก็ตาม คือ ต้องหาว่าอะไรเป็นเหตุ แก้ไขได้อย่างไร และวิธีแก้ไขทำอย่างไร เห็นได้ว่าหลักธรรมของพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์
ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงได้ทรงสอนเรื่อง อริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) นิโรธ (ความดับทุกข์) และมรรค (คือทางที่จะพ้นทุกข์)
อริยสัจสี่สำคัญอย่างไร
อริยสัจสี่ เป็นแก่นของศาสนาพุทธที่ทำให้แตกต่างจากศาสนาอื่น ถ้ากล่าวโดยย่อมีเพียง 4 คำคือ
ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ซึ่งเป็นสี่คำที่ลึกซื้งครอบคลุมคำสอนของพระพุทธองค์เกือบทั้งหมดที่เกี่ยวกับชีวิตเป็นข้อสรุปมาจาก ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเข้าใจยาก พระพุทธองค์มีวิธีสอนธรรมะได้หลายแบบ จึงได้สรุปง่ายๆเพียง 4 คำ แต่ละคำมีความขยายออกไปอีกมากและบางครั้งพระองค์ท่านก็สอนเรื่องไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งก็เป็นหลักสำคัญของชีวิต ที่มีตัวทุกข์เป็นตัวร่วม
ทุกข์ ได้อธิบายไว้แล้วว่าเป็นองค์ประธานของศาสนาพุทธ ซึ่งบรรยายถึงชีวิตของมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยขันธ์ห้า (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ซึ่งขันธ์ห้านี้เต็มไปด้วยความทุกข์ เกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ เจ็บป่วยเป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์ ไม่สบายใจ โศกเศร้าเป็นทุกข์ พบสิ่งที่ไม่พอใจเป็นทุกข์ พลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ไม่สมหวังเป็นทุกข์ จึงเห็นได้ว่าทุกข์เป็นองค์ประธานของขันธ์ห้า หรือชีวิตมนุษย์
คำต่อมาคือ ทุกขสมุทัย หรือเหตุแห่งทุกข์ ซึ่งตัวสำคัญได้แก่ตัณหา ที่มีกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดังได้เขียนไว้แล้ว แต่นอกจากนี้ยังมีข้อที่เป็นเหตุแห่งทุกข์อีกมากมายได้แก่
อกุศลมูล
อกุศลกรรมบท 10
นิวรณ์ 5
มลทิน 9
อุปกิเลส 10
ทุจริต 3
ทั้งสิ้นนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งสิ้น
นิโรธ หมายถึง ความพ้นทุกข์คือการต้องตัดตัณหา อุปาทาน อวิชชา เปรียบเหมือนเชื้อไฟเมื่อไม่มีเชื้อก็หมดไฟ
มรรค คือ วิถีทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์ หมายถึง ไม่กลับเวียนว่ายตายเกิดอีก คือนิพพาน ซึ่งมีอยู่ทางเดียวคือ มรรคมีองค์แปด ไม่มีทางอื่นมากกว่านี้ได้แก่
1. ความเห็นชอบ (สัมมาทิฎฐิ) มีปัญญาเห็นชอบในสิ่งที่ถูกทั้งทางโลกและธรรมะ เช่น เห็นอริยสัจสี่ เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เห็นความไม่เที่ยงของสังขาร เป็นต้น
2. ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) ไม่คิดโกรธ เบียดเบียน รักใคร่ ยึดธรรมะ คิดให้หลุดพ้นจากกามจากโลภ
3. วาจาชอบ (สัมมาวาจา) ไม่พูดปด พูดส่อเสียด พูดหยาบ พูดเพ้อเจ้อ พูดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
4. ปฏิบัติชอบ (สัมมากัมมันตะ) ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ขโมย ไม่ประพฤติผิดในกาม
5. เลี้ยงชีวิตชอบ (สัมมาอาชีวะ) ไม่โกง ไม่หลอกลวง ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย ยาเสพติด เป็นต้น
6. เพียรชอบ (สัมมาวายามะ) ทำความเพียรทั้งทางโลกและทางธรรม
7. ระลึกชอบ (สัมมาสติ) มีความระลึกชอบ รู้ถูกรู้ผิดทางธรรมโดยมุ่งตัดกิเลสทั้งปวง
8. ตั้งมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ ) จิตอยู่ในสมาธิที่ถูกต้องได้เสมอ
อ่านดูคิดว่าง่ายและน่าจะทำได้ใน 8 ข้อนี้ เพราะย่อลงได้เพียง 3 คำคือ ศีล (ข้อ 3-5) สมาธิ (ข้อ 6-8) ปัญญา (ข้อ 1-2) แต่ความเป็นจริงยากเย็นมากที่จะปฏิบัติทุกข้ออย่างสม่ำเสมอจนสามารถพ้นทุกข์ได้ ท่านเอาความเห็นชอบ ดำริชอบซึ่งตรงกับปัญญาไว้ต้น เพราะเป็นความสำคัญที่สุดที่จะทำให้คนมุ่งจะปฏิบัติตามมรรคอื่นๆเพื่อให้ทุกข์ จะต้องมี 2 ข้อนี้ก่อน ความจริงทั้ง 8 ข้อ มีความต่อเนื่องกันเป็นวงกลมไม่เป็นเส้นตรงคือ
ต้องมีปัญญาทางโลกก่อนจึงจะคิดถือศีล หรือปฏิบัติสมาธิ และเมื่อปฏิบัติแล้วถึงขั้น ตัวปัญญาจึงจะเกิดเป็นปัญญาทางธรรม
ไปอ่านเจอมาค่ะ ขอมีส่วนร่วมด้วยคนนะคะ
จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ