ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

คิดอย่างไรเมื่อผู้หญิงต้องการบวชเป็นภิกษุณี


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 21 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 บุญเท่านั้น

บุญเท่านั้น
  • Members
  • 55 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 09:54 AM

คิดอย่างไรเมื่อผู้หญิงต้องการบวชเป็นภิกษุณี


คิดอย่างไรเมื่อผู้หญิงอยากบวชเป็นภิกษุณี มากกว่าการบวชเป็นแม่ชี ซึ่งจากความคิดของหนูคิดว่าน่าจะ
บวชได้ เพราะหญิงชาย ล้วนแต่สมมุติทังสิ้นความเป็นจริงตามธรรมชาติ หาได้แยกหญิงแยกชายไม่ เพียงแต่ 2 เพศนี้ทำหน้าที่ต่างกัน เพื่อดำรงค์เผ่าพันธ์ตามธรรมชาติ แต่จิตเดิมแท้นั้นไม่ได้แยกว่าหญิงหรือชาย ที่เป็นหญิงหรือชายเพราะจิตหลงยึดในอัตตาที่ตนเองสร้างขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลงที่ผู้หญิงจะบวช คะ

ไฟล์แนบ



#2 จงมีสมบัตตักไม่พร่อง

จงมีสมบัตตักไม่พร่อง
  • Members
  • 57 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 09:58 AM

ความเป็นมาของภิกษุณีในพระไตรปิฎก
ถึงตอนนี้ขอตัดตอนเนื้อความบางส่วนจากพระไตรปิฎก เพื่อผู้ใคร่ในการศึกษาจักได้พิจารณา

พระวินัยปิฎก เล่ม ๗ จุลวรรคภาค ๒
ภิกขุนีขันธกะ เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี
[๕๑๓] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ ในสักกะชนบท ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอประทานวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอสตรีพึงได้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต ประกาศแล้ว
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย โคตมี เธออย่าชอบใจ การที่สตรี ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย
แม้ครั้งที่สอง ... แม้ครั้งที่สาม ...
ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมี ทรงน้อยพระทัยว่า พระผู้มีพระภาค ไม่ทรงอนุญาต ให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต ประกาศแล้ว มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสง พลางถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประ##### เสด็จกลับไป ฯ
[๕๑๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกรุงกบิลพัสดุ์ ตาม พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จหลีกจาริกทางพระนครเวสาลี เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงพระนครเวสาลี ข่าวว่า พระองค์ประทับอยู่ที่กูฏาคารสาลาป่ามหาวัน เขต พระนครเวสาลีนั้น
ครั้งนั้น พระนางมหาปชาบดีโคตมีให้ปลงพระเกสา ทรงพระภูษาย้อมฝาด พร้อมด้วยนางสากิยานีมากด้วยกัน เสด็จหลีกไปทางพระนครเวสาลี เสด็จถึงเมืองเวสาลี กูฏาคารสาลาป่ามหาวัน โดยลำดับ เวลานั้นพระนางมีพระบาททั้งสองพอง มีพระวรกายเกลือกกลั้วด้วยธุลี มีทุกข์ เสียพระทัย มีพระพักตร์นองด้วยน้ำพระเนตร ได้ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก ท่านพระอานนท์ได้เห็นพระนางมหาปชาบดีโคตมี ...ได้ถามว่า ดูกร โคตมี เพราะเหตุไร พระนางจึงมีพระบาททั้งสองพอง ...ประทับยืนกันแสง อยู่ที่ซุ้มพระทวารภายนอก
พระนางตอบว่า พระอานนท์เจ้าข้า เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาต ให้สตรีออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศ แล้ว ฯ
พระอานนท์กล่าวว่า ดูกรโคตมี ถ้าเช่นนั้น พระนางจงรออยู่ที่นี่แหละ สักครู่หนึ่ง จนกว่าอาตมาจะทูลขอพระผู้มีพระภาคให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ฯ
[๕๑๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดี โคตมีนั้น มีพระบาททั้ง ๒ พอง ...ประทับยืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มพระทวาร ภายนอก ด้วยน้อยพระทัยว่า พระผู้มีพระภาคไม่ทรงอนุญาตให้สตรีออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ขอประทานวโรกาส ขอสตรีพึงได้การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจ การที่ สตรีออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย
แม้ครั้งที่สอง ... แม้ครั้งที่สาม...
พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย อานนท์ เธออย่าชอบใจ การที่สตรี ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้วเลย
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า ...ไฉนหนอ เราพึงทูลขอพระผู้มีพระภาค ให้สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว โดยปริยายสักอย่างหนึ่ง จึงทูลถามว่า พระ พุทธเจ้าข้า สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคต ประกาศแล้ว ควรหรือไม่เพื่อทำให้แจ้งแม้ซึ่งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล
พ. ดูกรอานนท์ สตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ ตถาคตประกาศแล้ว ควรเพื่อทำให้แจ้งแม้ซึ่งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตตผล
อ. พระพุทธเจ้าข้า ถ้าสตรีออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ควรเพื่อทำให้แจ้งแม้ซึ่งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผลได้ พระพุทธเจ้าข้า พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระมาตุจฉาของพระผู้มีพระภาค ทรงมีอุปการะมาก ทรงประคับประคอง เลี้ยงดู ทรงถวายขีรธารา เมื่อพระชนนีสวรรคต ได้ให้พระผู้มีพระภาค เสวยขีรธารา ขอประทานวโรกาส ขอสตรีพึงได้การออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ในพระธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

ครุธรรม ๘ ประการ
[๕๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดี โคตมี ยอมรับ ครุธรรม ๘ ประการ ข้อนั้นแหละ จงเป็นอุปสัมปทาของพระนาง คือ:
๑. ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
๒. ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
๓. ภิกษุณีต้องหวังธรรม ๒ ประการ คือ ถามวันอุโบสถ ๑ เข้าไปฟัง คำสั่งสอน ๑ จากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย โดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน หรือโดยรังเกียจ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
๕. ภิกษุณีต้องธรรมที่หนักแล้ว ต้องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้มีสิกขา อันศึกษาแล้ว ในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่ง ธรรม แม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
๘. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุ เปิดทาง ให้ภิกษุทั้งหลายสอนภิกษุณี ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต
ดูกรอานนท์ ก็ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการนี้ ข้อนั้นแหละ จงเป็นอุปสัมปทาของพระนาง ฯ
[๕๑๗] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เรียนครุธรรม ๘ ประการ ในสำนัก พระผู้มีพระภาค แล้วเข้าไปหาพระนางมหาปชาบดีโคตมี ชี้แจงว่า พระนางโคตมี ถ้าพระนางยอมรับครุธรรม ๘ ประการ ข้อนั้นแหละจักเป็นอุปสัมปทาของพระนาง
...
พระนางมหาปชาบดีโคตมีกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ดิฉันยอมรับ ครุธรรม ๘ ประการนี้ ไม่ละเมิดตลอดชีวิต เปรียบเหมือนหญิงสาว หรือชายหนุ่ม ที่ชอบแต่งกาย อาบน้ำสระเกล้าแล้ว ได้พวงอุบล พวงมะลิ หรือพวงลำดวนแล้ว พึงประคองรับด้วยมือทั้งสอง ตั้งไว้เหนือเศียรเกล้าฉะนั้น ฯ

พรหมจรรย์ไม่ตั้งอยู่นาน
หลังจากที่พระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม๘ ประการแล้ว ก็ถือว่าอุปสมบทแล้ว พระพุทธเจ้าทรงตรัสเพิ่มเติมว่าหากมีบรรพชิตหญิงแล้วจักทำให้ศาสนาตั้งอยู่ไม่ได้นาน โดยทรงอุปมาไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
"...ดูกรอานนท์ สตรีได้ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตในธรรมวินัยใด ธรรมวินัยนั้นเป็นพรหมจรรย์ไม่ตั้งอยู่ได้นาน เปรียบเหมือนตระกูลเหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีหญิงมาก มีชายน้อย ตระกูลเหล่านั้นถูกพวก โจรผู้ลักทรัพย์กำจัดได้ง่าย อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนหนอนขยอกที่ลงใน นาข้าวสาลีที่สมบูรณ์ นาข้าวสาลีนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือน เพลี้ยที่ลงในไร่อ้อยที่สมบูรณ์ ไร่อ้อยนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน ดูกรอานนท์ บุรุษกั้น ทำนบแห่งสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้น้ำไหลไป แม้ฉันใด เราบัญญัติครุธรรม ๘ ประการแก่ภิกษุณี เพื่อไม่ให้ภิกษุณีละเมิดตลอดชีวิต ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ"

สิ่งที่ได้มายาก ย่อมเห็นค่าและตั้งใจรักษาไม่นอกลู่
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่ ทรงพิจารณาเห็นถึงเหตุปัจจัยแห่งความถึงพร้อมของพระนางปชาบดีโคตมี กับบริวาร ที่จะสามารถบรรลุคุณธรรมเป็นพระอรหันต์ได้ต่อไป จึงทรงมีพุทธานุญาต ก็ถ้ามุ่งที่การบรรลุธรรมเช่นนั้น ก็อาจมีคำถามว่า เพราะเหตุใด พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตโดยง่าย ทรงตรัสห้ามในตอนแรกถึง 3 ครั้ง และตรัสห้ามกับพระอานนท์อีก 4 ครั้ง ตามหลักฐานในคัมภีร์ อธิบายว่าเพราะพระพุทธองค์ ทรงประสงค์ให้เป็นของยากลำบาก ทรงกระทำให้เห็นว่าการอุปสมบทเป็นภิกษุณีเป็นของสำคัญ ด้วยเหตุผลว่า "สตรีทั้งหลายจักคิดว่าบรรพชานี้ เราได้ยาก ดังนี้แล้วจักบริบาลไว้โดยชอบ ซึ่งบรรพชา อันเราถูกวิงวอนแล้วมากครั้งจึงอนุญาต ดังนี้จึงทรงห้ามเสีย" (ภิกขุนิกขันธก วรรณนา พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 498)


#3 วัดในดวงใจ

วัดในดวงใจ
  • Members
  • 1199 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 10:05 AM

อย่าเสียเวลากับเรื่องไม่สำคัญ เลยครับ เพราะคนเราสามารถทำดี สร้างบุญ และทำประโยชน์ให้พุทธศาสนาและสังคมได้ โดยไม่ต้องเป็นอะไรที่สมมติขึ้น เป็นตัวเอง พัฒนาตนเองทั้งกายและใจ มีเมตตา กรุณา มีศีลธรรม ก็สามารถทำสิ่งดี ทำสมาธิ ถึงธรรมะได้เช่นกัน เป็นภิกษุณีหรือไม่ ไม่สำคัญ ใครๆที่เรียกร้องอยากเป็นภิกษุณีก็แสดงว่่า ยังไม่ถึงธรรมะพระพุทธเจ้า ดวงตายังไม่เห็นธรรม
พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์

#4 เคยเข้าวัด

เคยเข้าวัด
  • Members
  • 1296 โพสต์
  • Interests:สร้างบุญบารมีอย่างยวดยิ่ง ตราบเท่าชีวีหมดอายุขัย

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 10:18 AM

ในความคิดด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมนะครับ ผมเห็นดังนี้ หากเป็นในสมัยพุทธกาล ที่พระภิกษุส่วนใหญ่จักเป็นอรหัตน์เกือบทุกรูป รวมถึงผู้ที่บวชเป็นภิกษุณีด้วยเช่นกัน ส่วนใหญ่ก็เป็นอรหัตน์กันหมด ดังนั้นการดำรงค์อยู่ด้วยภิกษุและภิกษุณีในสมัยนั้นจึงไม่มีปัญหาใดมาก
แต่ด้วยยุคปัจจุบันที่สังคมและจิตใจคนเริ่มเสื่อมทรามจนเกือบถึงสุด พระภิกษุมิได้เป็นอรหัตน์ แถมยังมีกลุ่มพวกไม่หวังดี อาศัยจีวรพระซึ่งเป็นธงชัยแห่งพระอรหัตน์หาประโยชน์ใส่ตัวดังที่เป็นข่าวอยู่ทุกวันนี้ ผมว่าการจะให้ภิกษุณีมีขึ้นอีกในยุคที่จิตใจคนส่วนใหญ่เสื่อมทรามเช่นนี้ ไม่เป็นผลดีแก่พุทธศาสนาแน่ครับ
นี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผมนะครับ เมื่อคิดเทียบกับปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
1) พระปัญญาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 20 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 4 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน คือ พระสมณโคมสัมมาสัมพุทธเจ้า (อย่างน้อยที่สุด)
2) พระศรัทธาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 40 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 8 อสงไขย กับ แสนมหากัป) (อย่างน้อย)
3) พระวิริยาธิกพุทธเจ้า สร้างบารมีรวม 80 อสงไขย กับอีก แสนมหากัป (รวมระยะเวลาสร้างบารมีหลังรับพุทธพยากรณ์ คือ 16 อสงไขย กับ แสนมหากัป) เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ต่อไป คือ พระศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า (เป้าหมาย

#5 เฉย เฉย

เฉย เฉย
  • Members
  • 618 โพสต์
  • Gender:Female
  • Interests:เรื่องกฎแห่งกรรม การกระทำ สมาธิ

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 10:22 AM

หากบวชไปแล้วแต่ยังปฏิบัติตัวเหมือนฆารวาสอยู่การบวชนั้นก็จะไม่มีประโยชน์อันใดต่างจากผู้ที่ไม้ได้บวชแต่ทำบุญรักษาศีลก็ไม่ต่างอะไรกับผู้ที่บวช
แม้มืดตื้อ..มืดมิด..ก็มีสิทธิ์เข้าถึงธรรม

#6 วัดในดวงใจ

วัดในดวงใจ
  • Members
  • 1199 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 10:22 AM

กลั่นกรองอย่างเข้มงวดรัดกุม: พุทธประสงค์ที่ชัดเจน
แม้พระองค์จะประทานครุธรรมและพระวินัยบัญญัติ ดุจเครื่องป้องกันความเสื่อมทรามแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยนี้แล้ว พระองค์ก็ยังทรงเป็นห่วงในอนาคตเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ว่าจะไม่มีใครมีพระปัญญาญาณอันยิ่งที่จะคอยประทานบัญญัติใด ๆ มาแก้ไขปัญหาในอนาคตอีก จึงทรงวางบัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด รัดกุม เพื่อให้เกิดมีกระบวนการกลั่นกรองภิกษุณีอย่างละเอียด และเข้มงวดมาก ๆ ซึ่งก็ทำให้ได้ภิกษุณีที่มีคุณภาพสูงมาก เป็นแบบอย่างแห่งการปฏิบัติ และเป็นที่พึ่งอันประเสริฐแก่ชาวโลกได้แท้จริง
ทรงบัญญัติให้ภิกษุณีที่จะสามารถเป็นอุปัชฌาย์ หรือที่เรียกว่า ปวัตตินี ต้องมีอายุพรรษา 12 ก่อน และกำหนดให้บวชภิกษุณีได้ปีเว้นปี ทีละ 1 รูป (ขณะที่กำหนดให้ภิกษุมีอายุพรรษา 10 ก็เป็นอุปัชฌาย์ได้ และบวชได้ไม่จำกัด) นอกจากนั้นยังทรงบัญญัติการปรับอาบัติถึงขั้นปาราชิกไว้ถึง 8 สิกขาบท (ขณะที่ภิกษุมี 4 สิกขาบท) และเมื่อภิกษุณีลาสิกขาแล้วจะกลับมาบวชอีกไม่ได้ ก่อนได้รับการอุปสมบทเป็นภิกษุณี ต้องถือศีล ๑๐ แบบสามเณร ตลอด 2 ปีก่อน เรียกว่าเป็น สิกขมานา โดยที่ศีล 6 ข้อแรกต้องรักษาโดยเคร่งครัดมาก หากประพฤติล่วง ต้องเริ่มนับหนึ่งไม่ ซึ่งมีความเข้มงวด รัดกุมมาก ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันปุถุชนผู้ปรารถนาการบวชด้วยเหตุแห่งตัณหา มานะ และทิฏฐิ หรือมีจุดประสงค์แอบแฝงอื่น ๆ อันจะเป็นอันตรายต่อเพื่อนสหธรรมิก พุทธบริษัท และพระศาสนาในอนาคตได้

พระอริยเถรี : แบบอย่างแห่งการประพฤติปฏิบัติฝึกตนอย่างสูงสุด
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้จำนวนภิกษุณีเถรวาทมีไม่มากนัก และแต่ละบุคคลที่เข้ามาบวชแล้ว จะต้องมุ่งตรงสู่การขัดเกลากิเลสเป็นอย่างยิ่ง เมื่อกาลเวลาผ่านไป ผู้หญิงปุถุชนที่จะมุ่งตรงสู่การบรรลุธรรมมีน้อยลง และบุคคลที่จะยินดีต่อการฝึกตนอย่างเข้มงวด ถูกตรงตามพุทธบัญญัติ ก็มีน้อยลง และเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ต่อพระพุทธศาสนา ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์ จึงทำให้ภิกษุณีเถรวาท ที่มุ่งฝึกตนเคร่งครัดตามธรรมวินัยดังกล่าวมานี้ หมดไปในที่สุด ด้วยเหตุนี้ พระอริยเถรีในพุทธเถรวาททั้งหลาย จึงเป็นผู้ที่ประเสริฐ บริสุทธิ์ น่าเคารพ บูชา เป็นแบบอย่างแห่งการประพฤติปฏิบัติฝึกตน อย่างสูงสุด อันใคร ๆ จะไม่อาจทำให้ภาพของท่านเหล่านั้นต้องมัวหมองลงได้อีก

… นับเป็นการดำเนินไปของเหตุปัจจัยที่ พระพุทธองค์ได้ทรงมองเห็นการณ์ไกลไว้แต่แรกแล้วทีเดียว .. นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ และพระปัญญาคุณอันยิ่งที่มีต่อ สรรพสัตว์โดยรวมที่จะไม่หมดโอกาสที่จะได้รับประโยชน์จากพระธรรมวินัยของพระองค์ ที่อาจจะหมดไปโดยเร็วด้วยเหตุแห่งอวิชชา ตัณหา มานะ และทิฏฐิของมนุษย์

พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์

#7 จงมีสมบัตตักไม่พร่อง

จงมีสมบัตตักไม่พร่อง
  • Members
  • 57 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 10:33 AM

ผู้หญิงโสดาบันจำนวนมากยินดีต่อการครองเรือน
เนื่องด้วยมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีมานะโดยธรรมชาติ จึงมีความแบ่งพรรคแบ่งพวก มีอคติ มีความรังเกียจเดียดฉันท์กันมาก โดยโคตร ตระกูล เชื้อชาติ ผิวพรรณ ภาษา ฐานะ ศาสนา เพศ ฯลฯ ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการพัฒนาตนของมนุษย์ พระพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดสัตว์โลกจนกระทั่ง มีปัญจวัคคีย์เป็นผู้บรรลุธรรมเป็นอริยสงฆ์เกิดขึ้นเป็นกลุ่มแรกของโลก จึงเกิดมีภิกษุสงฆ์เกิดขึ้น ภิกษุมีกิจวัตรที่ต้องบำเพ็ญสมณธรรมและจาริกไปตามป่า ต้องกินน้อยใช้น้อย มีบริขารที่จำเป็นน้อยชิ้น ซึ่งเหมาะสมกับสรีระและการดำเนินชีวิตของผู้ชายมากกว่า ชีวิตพระจึงเหมาะสมกับผู้ชายมากกว่า และถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของสังคม สังคมให้การยอมรับ ในช่วงแรกแม้แต่มีผู้หญิงบรรลุคุณธรรมระดับพระโสดาบัน ก็ไม่มีหลักฐานว่ามีใครออกบวช เพราะอริยบุคคลระดับนี้ยังคงครองเรือนต่อไปได้ แสดงว่าอริยอุบาสิกาเหล่านั้นพิจารณาเห็นความเหมาะสมของผู้หญิงในการปฏิบัติธรรม ในขณะที่ครองเรือน มากกว่าการกราบทูลขอออกบวชแบบผู้ชาย

ไม่ได้รับอนุญาต ก็จะห่มผ้าโกนหัวเอง
กาลต่อมา พระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านางของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระศาสนา หากแต่ยังเป็นผู้ใหม่ในพระศาสนา และยังความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามธรรมวินัยน้อย กราบทูลขอประทานอนุญาตแก่ตนเพื่อบวช แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตการออกจากเรือน เพื่อบวช แก่ผู้หญิงถึง 3 ครั้ง ในขณะนั้นเธอยังเป็นผู้ที่มีอารมณ์อ่อนไหวมาก อาศัยเพียงศรัทธาอันแรงกล้าเท่านั้น มีความน้อยใจในพระพุทธเจ้า แต่ยังตั้งใจมุ่งมั่นที่จะทำให้ได้ ถึงขนาด ปลงผม ห่มผ้ากาสาวพัสตร์โดยพลการเอง แล้วแสดงความมุ่งมั่นตั้งใจด้วยการลงทุนเดินเท้ามาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อขอบวชให้ได้

ผู้หญิงเหมือนกัน ทำไมไม่เหมือนกัน
มาถึงตอนนี้เราจะเห็นว่า ผู้หญิงที่เป็นผู้พัฒนาตนจนเป็นอริยบุคคลขั้นต้น มีตัณหา มานะ ทิฏฐิเบาบางแล้ว แต่ยังมีสภาวธรรมที่ครองเรือนอยู่ต่อไปได้ จำนวนมากในช่วงต้นพุทธกาลนั้น ไม่ยินดีในการออกจากเรือนขอบวช เป็นแบบภิกษุ แต่ผู้หญิงที่มีศรัทธาแน่วแน่ แต่ยังมีมีอารมณ์อ่อนไหว อย่างพระนางมหาปชาบดีโคตมีในขณะนั้น กลับมุ่งมั่นอยากเป็นแบบภิกษุ แม้เพียงการนุ่งห่มโกนผม ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมือนกันแต่เพียงภายนอก ก็กระทำโดยพลการเองก่อน โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากพระพุทธเจ้า
สาธุชนที่ได้พิจารณามาถึงตอนนี้แล้วจะเห็นว่าธรรมชาติที่แตกต่างกันของมนุษย์ แม้แต่เพียงเพศหญิงด้วยกัน ก็เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามความแตกต่างของ จริต นิสัย และกิเลสาสวะที่สะสมไว้ของแต่ละบุคคล ซึ่งต้องมองให้เห็นตามความเป็นจริง

แพทย์ผู้ฉลาด จักจ่ายยาอย่างไร
พระนางมหาปชาบดีในขณะนั้น อาจถือเป็นภาพสะท้อนของผู้หญิงที่มีศรัทธามาก มีความมุ่งมั่นถือมั่น มีมานะ เมื่อต้องการอะไรก็จะต้องทำให้ได้ มีอารมณ์อันอ่อนไหว เมื่ออยากจะมีรูปแบบเป็นแบบภิกษุ แม้พระพุทธเจ้าไม่ทรงมีพระพุทธานุญาต ก็จะบวชเองก่อน ผู้ที่สนใจธรรมที่อยู่เบื้องหลังเรื่องที่เล่านี้ คงจะใคร่รู้ต่อไปว่า พระพุทธเจ้าเองจะทรงจัดการสมมติ และบัญญัติ อะไรออกมาให้เหมาะต่อจริตนิสัยของ มหาปชาบดีโคตมีนี้เพื่อเกื้อกูลต่อการขัดเกลากิเลสและการบรรลุธรรมของเธอ อุปมาเหมือนนายแพทย์ผู้ฉลาด จักจ่ายยาอย่างไรให้เหมาะสมกับคนไข้ฉะนั้น


#8 คนรักวัด

คนรักวัด
  • Members
  • 626 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 11:21 AM

ไม่เห็นด้วยกับการบวชภิกษุณีและไม่ได้ใจแคบอะไรแต่เป็นรักษาพระพุทธศาสนาให้ดีงามต่อไปเพราะ

ตามหลักฐานที่มีมาเป็นร้อยเป็นพันปีว่าภิกษุณีได้ขาดหายไปจากประเทศแล้วถึงแม้จะมีอยู่พระไตยปิฏกก็ตาม

และความต้องการของทั้งหญิงหรือชายในการปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงมรรคผลนั้นเพื่ออะไรหากเพื่อพระนิพานแล้วไม่เห็นต้องบวชก็สามารถไปได้เพราะปฏิบัตดีปฎิบัติชอบ

ทุกวันนี้ศาสนาพุทธวุ่นวายมันเกิดจากคนทั้งหญิงและชายไม่ว่าจะอยู่ในผ้าหรือหรือผ้าขาวหากจิตใจยังโสมมหรือโลภโมโทสันแม้แต่การนับถือพระพุทธศาสนาแต่เพียงปากมันก็ไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อพระพุทธศาสนาใดๆ
อีกประการหนึ่งแค่แม่ชีนี่ก็นับว่าดียิ่งนักใสสะอาดและน่านับถือก็มีอยู่ถมไป
แล้วจะต้องรื้อฟื้นภิกษุณีขึ้นมาอีกเพื่ออะไร...

หากมีความรู้มีเงินพร้อมแล้วก็ไปหาสถานที่สงบสวยงามนั่งปฏิบัติธรรมทั้งใจและกายไม่เห็นจำเป็นต้องมีญาติโยมไปกราบไหว้คอยปรนนิบัติก็เข้าถึงพระนิพพานได้นะ ครับ
อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน
นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ . . . ฯ ๑๖๐ ฯ

เราต้องพึ่งตัวเราเอง
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
บุคคลผู้ฝึกตนดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้แสนยาก

Oneself indeed is master of oneself,
Who else could other master be?
With oneself perfectly trained,
One obtains a refuge hard to gain

#9 Peacefulness ™

Peacefulness ™
  • Members
  • 1145 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:On the planet Earth.
  • Interests:Almost everything that helps me to become better and better; especially, the Grestest Dharma of the Lord Buddha

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 11:33 AM

QUOTE
คิดอย่างไรเมื่อผู้หญิงต้องการบวชเป็นภิกษุณี
สำหรับตัวข้าพเจ้าเองแล้วคงมีจิตคิดชื่นชมอย่างมากในความเด็ดเดียวต่อการทำหน้าที่ (ที่แท้จริง อย่างแท้จริง) ของมนุษย์ เพราะการบวชอย่างแท้จริงต้องอาศัยความเด็ดเดียว และบุญกุศล ที่มากอยู่ที่เดียว

QUOTE
คิดอย่างไรเมื่อผู้หญิงอยากบวชเป็นภิกษุณี มากกว่าการบวชเป็นแม่ชี ซึ่งจากความคิดของหนูคิดว่าน่าจะ
บวชได้ เพราะหญิงชาย ล้วน...
ส่วนเรื่องที่ว่าได้หรือไม่ได้อย่างไร คงต้องรอท่านผู้รู้มาตอบให้ชัดเจนว่า ปัจจุบัน ยังสามารถบวชได้หรือป่าว ในความเห็นส่วนตัวแล้ว การบวชภายนอกก็ถือว่าเป็นอะไรที่ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างอยู่ แต่การบวชภายในจักอาศัยปัจจัยเรื่องของใจเพียงอย่างเดียว (นั้นคือข้อวัดและศีลที่ถือปฎิบัติ) ซึ่งจริงแท้แน่นอนที่เดียวว่า ถ้าสามารถพึ่งกระทำให้ทั้งสองอย่างยอมสมบรูณ์อย่างแน่แท้

ขออนุโมทนาบุญสำหรับจิตอันเป็นบุญกุศล แก่ท่านหญิงหรือท่านชายทั้งหลายก็ดี ผู้ซึ่งมีความคิดปราถนาจะออกบวชเรียน และปฎิบัติตามคำสั่งสอนของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฯ ทั้งในระยะสั้นก็ดี ยาวก็ดี
ขอให้สมประสงค์สำหรับความปราถนาอันดีงามเหล่านั้นด้วยเทอญ
สาธุ... สาธุ... สาธุ... ครับ happy.gif happy.gif happy.gif

ขอเชิญร่วม อนุโมทนาบุญ งานบุญกฐินพระราชทาน ที่ วัดปากน้ำภาษีเจริญ คลิ๊กที่นี้
ขอเชิญร่วม อนุโมทนาบุญ งานบุญกฐินพระราชทาน ที่ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก คลิ๊กที่นี้
.

Who am I?__>>> CLick Here <<< to see my answer Post # 7

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

For any inquiries please

.

รวมภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า:
คลิ๊กที่นี้
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ ได้รับ ภาพทั้งหมดของ คำสอนคุณยาย ฉบับรวมเล่ม และภาพ (ฉบับสมบรูณ์)
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 157 files, 557.61 MB, ธรรมมะเทศนา มงคล 38 โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว)
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 58 files, 120.99 MB, for easy listening dharmas.
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 121 really-good-to-read e-books, 295.67 MB.
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ Download โปรแกรม Free Download Manager ช่วย Download ไฟล์ใหญ่ๆ ต่างๆ ฟรีครับฟรี
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ Download โปรแกรม Acrobat Reader V.5
.
ที่มา: คลิ๊กที่นี้ ปล. สืบเนื้องมาจาก กระทู้นี้ โพสต์โดย ท่าน ฟ้าร้าง
.
เรื่อง การสร้างบารมีของพระโพติสัตว์ เข้าใจได้ไม่ยาก โปรดลอง คลิ๊กที่นี้
.
สนใจอ่าน

The basic knowledge of Buddhism to become a better buddhist Edition 2 คลิ๊กที่นี้

(With some english explanation)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

"Do not confuse having a career with having a life"
-= Hillary Clinton =-.... >>>>>>>
CLicK HeRe <<<<<< To Be wisher, To Be smarter, and To Know Better !!!
Lastest Revised: 16/12/2006 | 08:43 PM

#10 วัดในดวงใจ

วัดในดวงใจ
  • Members
  • 1199 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 12:27 PM

เนื่องจากการบวช มีองค์ประกอบ ที่ระบุไว้อย่างชัดเจน ตามคำสอนพระพุทธเจ้า

ไม่ใช่ปัญหาอะไร ถ้าสตรีจะถือศีลมากกว่า พระภิกษุ
ไม่ใช่ปัญหาอะไร ถ้าสตรีจะถือศักดิ์ศรีเทียบเท่า ผู้ชาย


แต่ปัญหาของการบวชเป็นภิกษุณี ทำไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องการกีดกันสิทธิสตรี แต่เป็นเพราะไม่มีใครบวชให้

แต่ถ้าจะเปลี่ยนแปลงคำสอนพระพุทธเจ้า เป็นเรื่องที่ นิกายหินยาน ไม่ทำกัน


พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์

#11 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 12:35 PM

สำคัญที่สุดอยู่ที่การบวชใจครับ ครั้งหนึ่ง หลวงปู่วัดปากน้ำท่านบอกว่า ท่านต้องการทำบุญกับ พระเป็น เหล่าบรรดาลูกศิษย์ จึงไปนำมหาเปรียญหนุ่มมาจบมาหมาดๆ มาพบหลวงปู่ หลวงปู่บอกว่า อย่างนี้ยังไม่เรืยกว่า พระเป็น แต่เรืยกว่า เป็นพระ

พระเป็นในความหมายของหลวงปู่ คือ ผู้บวชใจนั่นเอง เช่น พระภิกษุที่เข้าถึงธรรมกายภายในแม้ไม่ได้จบเปรียญธรรมที่ไหน หรือแม้แต่แม่ชีอุบาสิกาที่เข้าถึงธรรมกายภายใน นั่นแหละครับ เรียกว่า พระเป็น
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#12 koonpatt

koonpatt
  • Members
  • 616 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 12:54 PM

บวชภิกษุณี ความเห็นที่แตกต่าง

เรื่อง ไตรเทพ สุทธิคุณ, ภาพ นัยนา ธนวัฑโฒ
จาก หนังสือพิมพ์ "คม ชัด ลึก" วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๔๖ หน้า ๓๘

หลังจากที่ ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ บวชเป็นภิกษุณีแล้ว

การบวชสามเณรีและภิกษุณี ในประเทศไทย มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบวชของ รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ มีทั้งเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และก็ไม่มีความคิดเห็น โดยแต่ละฝ่าย ล้วนยกเอาพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ขึ้นมาเป็นข้ออ้างทั้งสิ้น

ทางศูนย์ประชามติ สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.รามคำแหง สำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพ ฯ ๑,๒๘๕ คน เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ที่ผ่านมา ในหัวข้อ "การบวชภิกษุณีในประเทศไทย : ทัศนะของฆราวาส" มีข้อมูลที่น่าสนใจ คือ ด้านดีของการบวชภิกษุณีในประเทศไทย ๗๗% เห็นว่าวัดที่มีแต่ภิกษุณีและแม่ชี ไม่มีภิกษุ จะมีความปลอดภัยต่อผู้หญิงที่บวชมากกว่าภิกษุ และป้องกันเรื่องเสื่อมเสียทางเพศได้ดีกว่า ๗๔.๙% เห็นว่าเป็นการส่งเสริมให้ผู้หญิง มีโอกาสฝึกปฏิบัติธรรมในขั้นสูงมากขึ้น

๗๐.๒% เห็นว่าผู้หญิงไทยควรมีสิทธิในการบวชภิกษุณี ๖๕.๓% เห็นว่าภิกษุณีเหมาะสมในการสั่งสอนธรรมะและสอนวิธีปฏิบัติให้ผู้หญิงได้มากกว่าภิกษุ ๖๔.๕% เห็นว่าเป็นการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย ขณะที่ ๖๖.๙% เห็นว่าไม่จำเป็นต้องบวชภิกษุณีในไทย เพราะผู้หญิงสามารถปฏิบัติธรรมได้โดยไม่ต้องบวช ร้อยละ ๖๒.๔% เห็นว่าบวชชีก็ดีอยู่แล้ว แต่ถ้าจะไม่ให้บวชภิกษุณีในไทยโดยให้เหตุผลว่า เพราะพระสงฆ์ไทยไม่ยอมรับ ทำให้ผู้ชายต้องกราบไหว้ผู้หญิง หรือเพราะขัด พ.ร.บ.สงฆ์ กลุ่มตัวอย่างต่างไม่เห็นด้วย

พระมหาต่วน สิริธมฺโม (พิมพ์อักษร) อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า การบวชเป็นภิกษุณีให้ถูกต้องตามหลักการแล้ว จะต้องบวชจากภิกษุณีที่เป็นอุปัชฌาย์ และบวชอีกครั้งกับพระอุปัชฌาย์ที่เป็นพระสงฆ์ แต่ทั้งนี้ปัญหาการบวชเป็นภิกษุณีของผู้หญิงไทย ในการปกครองจะไม่มีปัญหาหากทางคณะสงฆ์ไทยในการปกครองให้การยอมรับ ด้วยการเปิดทางให้ภิกษุณีได้ร่วมกิจกรรมของสงฆ์

"หากกฎหมายไทยยังไม่มีการยอมรับการเป็นภิกษุณี ก็สามารถยึดหลักการของฝ่ายมหายานได้ เหมือนอย่างในประเทศใต้หวัน จีน จริง ๆ แล้วไม่อยากให้มีการแบ่งแยกความเป็นหญิงหรือชายของการปฏิบัติธรรม เนื่องจากผู้หญิงเมื่อเข้ามาเป็นนักบวช ปฏิบัติธรรมก็มีศักยภาพที่จะเข้าถึงหัวใจพระพุทธศาสนา และบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกับพระสงฆ์"

ทางด้านพระพยอม กัลยาโณ พระนักเทศน์ชื่อดัง และเจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว ให้ความเห็นเรื่องการบวชภิกษุณีว่า การออกบวชเป็นการหาความสุขในทางธรรมนั้นทุกคนสามารถทำได้ แต่ถ้ามาบวชเพื่อแสวงหาผลประโยชน์เหมือนพระบางรูปก็ไม่สนับสนุน ในกรณีของ รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ ท่านถึงพร้อมด้วยความรู้ทางโลก ซึ่งเป็นที่ยอมรับของลูกศิษย์ ขณะเดียวกันก็ถึงพร้อมด้วยความรู้ทางธรรมด้วย ถือว่าเป็นเรื่องดีที่จะช่วยกันทำงานเผยแพร่ธรรมะของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะเผยแพร่ธรรมะให้กับผู้หญิงด้วยกัน

"ก่อนหน้านี้ พระผูกขาดเรื่องทำบุญเพราะไม่มีใครเป็นคู่แข่ง จะทำตัวอย่างไรคนก็ยังทำบุญอยู่ดี แต่เมื่อมีพระผู้หญิง หากพระผู้ชายที่ปฏิบัติไม่ดี ไม่สมกับสมณเพศ ญาติโยมก็จะไม่ทำบุญด้วย ญาติโยมก็จะหันไปทำบุญกับพระผู้หญิงมากขึ้น ซึ่งเป็นการดัดนิสัยพระผู้ชายที่ไม่ดีได้อีกทางหนึ่ง"

ขณะเดียวกัน พระราชกวี เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นในเรื่องเดียวกันว่า การบวชเป็นภิกษุณี สตรีทุกคนมีสิทธิบวชได้เพราะไม่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกันก็ไม่เกี่ยวข้อง กับคณะพระสงฆ์ในปัจจุบันด้วย เนื่องจากมีประกาศของสมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ พ.ศ. ๒๔๗๑ ห้ามภิกษุสงฆ์ บวชสตรีเป็นภิกษุณี หากมีพระภิกษุสงฆ์รูปใดบวชให้ภิกษุณีถือว่าเป็นพระนอกรีต

อย่างไรก็ดีปัจจุบันนี้การยอมรับภิกษุณีมีอยู่ในระดับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งมีความพยายามของสมาชิกวุฒิสภาท่านหนึ่งที่จะให้เกิดการยอมรับในหมู่กว้าง สิ่งหนึ่งที่อยากชี้แนะคือ ถ้าบวชด้วยความศรัทธาเลื่อมใส ก็ถือว่าเป็นเรื่องดีเพราะได้ช่วยกันเผยแพร่พระพุทธศาสนา ขณะเดียวกันต้องพิจารณาเรื่องผลเสียด้วย โดยเฉพาะประเด็นในส่วนของการแอบแฝงมาทำลายพระพุทธศาสนา

นางระเบียบ พงษ์พานิช ส.ว.ขอนแก่น และประธานคณะอนุกรรมาธิการ ด้านสตรี ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันมีหญิงไทยจำนวนมากประสงค์จะบวชเป็นภิกษุณีในสังคมไทย และประสงค์จะสนับสนุนภิกษุณี แต่ได้รับการปฏิเสธและขัดขวางการเข้าสู่ร่มเงาพระพุทธศาสนา โดยอ้างคำประกาศ พ.ศ. ๒๔๗๑ ของกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๓๘ บัญญัติไว้ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่พลเมือง และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

"ดิฉันคิดว่า ปัญหาของสตรีจะได้รับการแก้ไขเพราะรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้แล้ว แต่มีพระบัญชาของพระสังฆราชเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑ ห้ามพระเณรบวชให้ผู้หญิง ใครฝ่าฝืนเป็นเสี้ยนหนามแก่พระศาสนา ระเบียบข้อบังคับ พ.ร.บ.สงฆ์ทุกฉบับให้ใช้ประกาศข้อบังคับเดิม ดังนั้นเพื่อมิให้เป็นการขัดพระธรรมวินัย จึงสมควรยกเลิกประกาศดังกล่าว ซึ่งคงไม่ต้องกลัวว่าผู้หญิงมาเป็นเจ้าอาวาส เพียงแต่ผู้หญิงต้องการเข้ามาเพื่อเป็นโอกาสบรรลุธรรมเท่าเทียมกัน เหมือนที่พระพุทธองค์มองว่าผู้หญิงผู้ชายมีโอกาสบรรลุธรรมเท่าเทียมกัน"

นายสุทธิวงศ์ ตันตยาพิสุทธิ์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นพุทธฝ่ายเถรวาท ไม่ใช่มหายาน ขณะที่เถรวาทมีพระธรรมวินัยให้ปฏิบัติกันมาเป็นพันปีแล้ว จึงไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากเหมือนกันที่จะให้พระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทยอมรับในความเป็นภิกษุณีไทย

ดร.อำนาจ บัวศิริ ผู้อำนวยการสำนักพุทธมณฑล กล่าวว่า ในเรื่องของสามเณรีบวชเป็นภิกษุณี ถือเป็นเรื่องของสิทธิเสรีภาพของบุคคล เมื่อบวชแล้วไม่ได้ออกมาเรียกร้องสร้างความวุ่นวาย ไม่ได้บวชเพื่อแสวงหาลาภยศ โดยมีการปฏิบัติธรรมตามคำสอนของพระพุทธศาสนา การบวชเป็นภิกษุณีจึงไม่เป็นปัญหาอะไร แต่เชื่อว่าคงจะมีปัญหามากที่สุดก็คือการปกครอง

"ปัญหาการปกครองเคยมีมาแล้ว เมื่อคณะสงฆ์ยังไม่ยอมรับการเป็นแม่ชีของไทย เพื่อไม่ให้เกิดเป็นปัญหาเหมือนในอดีต คงต้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันออกกฎหมายรองรับในการปกครองสามเณรี หรือภิกษุณี เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในสังคม และหากมีกฎหมายก็จะทำให้การปฏิบัติอยู่ในขอบเขต ไม่ได้เป็นองค์กรอิสระจนเกินไป"

นางมาลีรัตน์ แก้วก่า สมาชิกวุฒิสภา จ.สกลนคร และประธานคณะกรรมาธิการสตรี เยาวชน และผู้สูงอายุ กล่าวเห็นด้วยกับการที่ประเทศไทยจะมีภิกษุณีเกิดขึ้น แม้ว่าศาสนาพุทธฝ่ายเถรวาทจะอ้างว่า ภิกษุณีได้สูญหายไปแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่ทางที่ดีเพื่อให้ครบการเป็นพุทธบริษัท ๔ การมีภิกษุณีเกิดขึ้นในประเทศไทยจึงเป็นเรื่องน่ายินดีมากกว่าการออกมาต่อต้านกัน

"ความเห็นส่วนตัวพี่สนับสนุนให้มีสามเณรีหรือภิกษุณีในประเทศไทย เพราะผู้หญิงก่อนที่จะเข้ามาบวช ต้องมีการตัดสินใจที่เด็ดขาดแล้ว ระเบียบและข้อปฏิบัติจึงไม่ควรจำกัดสิทธิหรือข้อห้ามไม่ให้ผู้หญิงบวชเป็นภิกษุณี ทางกรรมาธิการฯ ก็ได้มอบให้ ส.ว.ระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช เป็นผู้ศึกษาเจาะลึกลงไปของการเป็นภิกษุณีแล้ว"

ดร.วิลาสินี พิพิธกุล อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานเครือข่ายสื่อสตรี กล่าวสนับสนุนด้วยว่า เนื่องจากการบวชเป็นภิกษุณีได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของธรรมวินัย โดยเมื่อบวชเป็นสามเณรีครบ ๒ ปี แล้วก็สามารถบวชเป็นภิกษุณีได้ ซึ่งถือได้ว่าการเป็นภิกษุณีอย่างสมบูรณ์ ทำให้มีบทบาทชัดเจนมากขึ้นต่อการเผยแพร่พระธรรมให้กับชาวพุทธ ส่วนเรื่องข้อกฎหมายในทางปกครอง ระหว่างนี้ยังอยู่ในการพิจารณาออกข้อกฎหมายจากทางสมาชิกวุฒิสภาอยู่ เพราะเรื่องกฎหมายคงต้องมีการศึกษาให้รอบด้าน ก่อนที่จะมีกฎหมายออกมาบังคับใช้กับภิกษุณีคงต้องให้เวลาเขาด้วย ..

ไฟล์แนบ


จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ

#13 arraya

arraya
  • Members
  • 298 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 12:59 PM

ผู้หญิงยังไงก็ยังรับวิบากกรรมผิดศีลข้อกาเมอยู่ การที่ได้รับขันธ์ในรูปกายหญิงทำให้มีความคิด เหตุผลแบบหญิง ซึ่งลำบากในการดำรงสมณเพศ
พระพุทธองค์จึงต้องออกข้อบังคับมากมาย เพื่อประโยชน์แห่งภิกษุณี
ครั้นกาลเวลาผ่านไป ภิกษุณีในสายเถรวาทก็หมดไปด้วย ตามสภาพความหนาทึบของกิเลสโลก (แต่ยังมีในมหายาน)
ความเห็นส่วนตัวนะคะ ในปัจจุบันคงไม่เหมาะที่จะมีภิกษุณี แต่เรามีอุบาสิกาที่เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในได้นี่คะ

#14 koonpatt

koonpatt
  • Members
  • 616 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 01:06 PM

โครงการอบรมพุทธสาวิกา

เป็นโครงการอบรมระยะสั้น ๓ วัน ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์และวันนักขัตฤกษ์ ได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของนักบวช ได้เรียนธรรมะประยุกต์ที่สนุกสนาน จดจำไปใช้ได้ในชีวิตจริง ได้พบตัวตนในมุมมองใหม่ เพื่อพัฒนาตน มีความสุขจนน้ำตาไหล...ได้เดินตามหลวงแม่และหลวงพี่ไปบิณฑบาต..ได้รู้จักพี่น้องในทางธรรม ได้แนวทางชีวิต..ที่ค้นหา
ปีนี้ จัด ๔ ครั้ง สมัครเข้ามาได้
พุทธสาวิกาครั้งที่ ๔๕ วันที่ ๑๒-๑๔ พ.ค.
๔๖ วันที่ ๘-๑๑ ก.ค.
๔๗ วันที่ ๑๒-๑๔ ส.ค วันแม่
๔๘ วันที่ ๙-๑๑ ธ.ค. วันพ่อ

ติดต่อขอใบสมัครได้ที่ ประชาสัมพันธ์ วัตรทรงธรรมกัลยาณี ๑๙๕ ถนนเพชรเกษม ต.พระประโทน อ.เมือง
จ.นครปฐม ๗๓๐๐๐ โทร.๐ ๓๔๒๕ ๘๒๗๐
www.thaibhikkhunis.org

โครงการอบรมเพิ่มพลัง
ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ที่สองของเดือนคี่ ๒๕๔๙

ในโลกปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางองค์ความรู้ ข่าวสารข้อมูลมีมากมายมหาศาล แต่บางครั้งเราพบว่าเรา ยังขาดการสังเกต ขาดไหวพริบ ขาดความสามารถในการฟังให้เข้าใจประเด็น เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว มูลนิธิฯ จึงได้อาราธนาหลวงแม่ให้ช่วยถ่ายทอดเทคนิคต่างๆ จากประสบการณ์อันกว้างขวางของท่านเพื่อให้พวกเราได้พัฒนาโดยองค์รวม มีความ สามารถในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างมีคุณภาพขึ้น
เทคนิควิธีการสอนจึงเน้นภาคปฏิบัติ เป็นหลัก ทั้งการทำงานในกลุ่ม และทำตามลำพัง
โครงการอบรมนี้ จะจัดทุกวันเสาร์อาทิตย์ที่สองของเดือนคี่ ทั้งปีจะมี ๖ ครั้ง ครั้งละ ๒ วัน โดยมีรายละเอียดหัวข้อการอบรมด้านล่าง ท่านที่สนใจ สมัครได้ตลอดโครงการเพียง ๑ พันบาท
ประสบการณ์ที่จะได้รับนอกเหนือจากการอบรม คือ โอกาสที่จะได้ตามพระภิกษุณีไปรับบาตรในหมู่บ้านรอบบริเวณวัตรในเช้าวันอาทิตย์ เป็นประสบ การณ์ที่ทุกคนได้สัมผัสแล้วกลับบ้านด้วยความปลื้มปีติ
การปฏิบัติธรรม ในช่วงเช้าเย็นจะอยู่ในบรรยา กาศของวัตร ที่มีการสวดมนต์ ทำสมาธิและฟังธรรมทั้งเช้าและเย็น ถ้าบังเอิญเป็นวันเสาร์ที่ตรงกับวันพระก็จะได้ไปสวดมนต์พระไภษัชฯ ๑๐๘ จบเป็นของแถมอีกด้วย

ม.ค.๗-๘ เชาว์ ไว ไหว พริบ
มี.ค.๑๑-๑๒ การตรึกนึกเห็น
พ.ค.๑๓-๑๔ จับประเด็น
ก.ค. ๘-๙ ศิลปะการพูด
ก.ย. ๙-๑๐ ปิดรอยกรรม
พ.ย. ๑๑-๑๒ Deconstruction มายาคติในพุทธศาสนา

กรอกใบสมัคร และชำระค่าอบรมล่วงหน้าได้ที่ สามเณรีธัมมวัณณา ๐ ๓๔๒๕ ๘๒๗๐ มูลนิธิพุทธสาวิกา ๑๙๕ วัตรทรงธรรมกัลยาณี ถนนเพชรเกษม ต.พระประโทน อ.เมือง จ.นครปฐม ๗๓๐๐๐


ข้างบนนี่ copy มาให้ดูกันเฉยๆนะคะ ว่าเค้ามีแบบนี้ด้วย ไม่ได้โฆษณาประชาสัมพันธ์ นะคะ ไปเห็นมาค่ะ เลยเอามาให้ดู ถือว่าเป็นความรู้รอบตัวนะคะ
จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ

#15 นับดาว

นับดาว
  • Members
  • 422 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 02:00 PM


จะว่าไปเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนเหมือนกันนะคะ

หลายปีก่อนเคยมีการตั้งกระทู้แบบนี้แหละในเว็บๆหนึ่ง

ปรากฏว่ามีความคิดเห็นมากมาย.. เว็บแทบแตก..

แต่โดยหลักๆ ผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็มองว่า เป็นเรื่องของพระธรรมวินัย ตามที่ Koonpatt ยกมาให้อ่าน

โดยส่วนตัวคิดว่า..ถ้าจะไม่เห็นด้วย (แต่ก็ชื่นชมนะคะว่า สตรีที่คิดออกบวชนี่ช่างใจเด็ดเดี่ยวจริงๆ)

ไม่ใช่เพราะการกีดกันด้านสิทธิสตรี หรือมองว่าหญิงด้อยกว่าชาย

แต่คิดว่า พระพุทธองค์ท่านคงจะเห็นอะไรมากมาย จึงมีพุทธบัญญัติเช่นนั้น

อย่างไรก็ดี..เห็นด้วยกับคุณหัดฝันที่ยกคำหลวงปู่ในเรื่อง "พระเป็น" มาให้อ่านกัน

เพราะนั่นคือการบวชภายใน.. เป็นการบวชที่แท้จริงในความเห็นของดิฉันค่ะ










ถ้าใจใส

เรื่องดีๆเกิดขึ้นได้ทุกวัน

#16 light mint

light mint

    ขออนุโมทนาบุญค่ะ

  • Members
  • 1423 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:THAILAND
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 04:12 PM

ถือศีล8ไปก่อนนะ
ชาตินี้ก็ไปเป็นอุบาสิกา

อธิษฐานให้ชาติหน้าได้เกิดเป็นชาย ได้บวชพระ
ขออนุโมทนาบุญนะคะ สาธุ


#17 panu

panu
  • Members
  • 530 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 04:18 PM

ยุคนี้ ภิกษุณีคงจะไม่มีแล้วครับ

#18 วัดในดวงใจ

วัดในดวงใจ
  • Members
  • 1199 โพสต์

โพสต์เมื่อ 29 September 2006 - 04:20 PM

อนุโมทนาครับคุณ Light mint
พระพุทธเจ้ารู้
และท่านก็ตรัสสรุป
ว่าทางเดียวที่จะรู้ตามท่าน
ตลอดจนหยุดตามท่าน
คือการมองเข้าข้างใน
และการหยั่งรู้สรรพสิ่งออกมาจากภายใน
คือสัญลักษณ์สำคัญของพุทธแท้
พุทธแท้จะรู้ว่าการพยายามมองออกข้างนอก
เป็นวิธีที่ไม่ทำให้รู้จักประโยชน์สูงสุด
อันพึงมีพึงได้จากความเป็นมนุษย์

#19 สัมมาอะระหัง

สัมมาอะระหัง
  • Members
  • 235 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:computer,dhamma

โพสต์เมื่อ 30 September 2006 - 03:09 AM

ถ้าหากเราเป็นพุทธศาสนิกชน และมีความเชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ของพระบรมศาสดา เราคงทำความเข้าใจและยอมรับได้ไม่ยากถึงเหตุผลที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ต้องการให้มีภิกษุณีขึ้นในพระธรรมวินัยของพระองค์ หรือแม้นเมื่อมีขึ้นแล้วก็จะให้ดำรงอยู่เพียงชั่วเวลาหนึ่ง ดังปรากฏในประวัติศาสตร์ว่า ภิกษุณีสงฆ์ได้ขาดตอนไปแล้วในศาสนาจักรของเถรวาท
ทั้งนี้อยากให้ย้อนไปดูดำริของพระองค์อีกทีในแง่เหตุผลว่า เหตุใดพระองค์จึงไม่สนับสนุนให้มีภิกษุณีสงฆ์ มีเหตุอยู่หลายประการ แต่จะขอยกตัวอย่างเพียง 2 ข้อคือ

1. สรีระของสตรีเพศ มีความแข็งแรงทนทานน้อยกว่าบุรุษมาก ต้องยอมรับว่าการบวชเป็นภาระหนัก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียก ภิกษุ ในอีกชื่อหนึ่งว่า ทะหะรัง (soldier) ทั้งนี้เรายังไม่ได้พูดถึงในเรื่องความมั่นคงทางจิตใจของสตรีนะครับ และก็ยังไม่พูดถึงเวลาของ menstrual ในทุกๆเดือน และหากเกิดอุบัติเหตุถูกทำร้ายร่างกายขึ้นมา แล้วเกิดการตั้งครรภ์ แล้วพุทธศาสนาสอนไม่ให้ทำปานาติปาต แล้วภิกษุณีนั้นจะจัดการกับทารกอย่างไร แล้ว... จะเห็นว่า มีสิ่งต่างๆที่จะตามมาอีกเป็นขบวนมากมาย ด้วยเหตุนี้จะเข้าใจว่า ทำไมพระองค์ถึงบัญญัติสิกขาบทสำหรับภิกษุณีมากกว่าภิกษุมากมายนัก

2. ในแง่ของการบริหารปกครองพระพุทธศาสนาในระยะยาว พระองค์เคยตรัสว่า หากมีภิกษุณีสงฆ์ขึ้น อายุพระศาสนาของเรานี้จักหายไปกึ่งหนึี่ง ทั้งนี้อยากให้เรามองกันตามความเป็นจริงว่้า อนุชนผู้รับนับถือพุทธศาสนาในรุ่นหลังอย่างพวกเรา ที่ยังไม่รู้แจ้งในธรรมของพระองค์ ย่อมเกิดการตีความพระธรรมวินัยไม่ลงกันอย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน แล้วลองนึกดูว่า ถ้าหากเกิดสำนักภิกษุณีสงฆ์สอนแตกต่างออกไปจากพระสัทธรรมแล้วละก็ การแนะนำตักเตือนกันในสมัยนี้คงไม่ง่ายเหมือนในสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ คงจะมีการหยิบยกประเด็นเรื่องสิทธิสตรีอะไรต่อมิอะไรต่างๆเข้ามาไม่จบสิ้น

ในกรณี ถ้าบวชในฝ่ายมหายานแล้วจะปฏิบัติตัวตามแบบเถรวาท จะไม่เข้าข่ายเกลียดตัวกินไข่หรือ ในมุมมองของพระอุปัชฌาที่เป็นทั้งพระภิกษุและภิกษุณี ก็คงอยากให้ถือวัตรปฏิบัติแบบ มหายาน ถือศีลโพธิสัตว์ด้วย (ซึ่งนอกเหนือจากวัตรปฏิบัติแบบเถรวาท) จริงหรือไม่

ดังนั้นถ้าคิดว่า รักพระศาสนา อยากให้พุทธศาสนามีอายุยืนยาว และ เคารพในพระปัญญาธิคุณของพระบรมศาสดา ก็คงทำความเข้าใจได้ว่า ถ้ามองว่าหญิงหรือชายเป็นเพียงมายาภายนอก ก็ย่อมปลงได้ไม่ยากว่าเพศภาวะของความเป็นพระหรือไม่ใช่พระ ก็เป็นแต่เพียงมายาเช่นกัน ถ้าใจเราซื่อตรงต่อหนทางพระนิพพานแล้ว ย่อมได้เข้าถึงรสแห่งความหลุดพ้นเช่นกัน
อยากฝากข้อคิดสักเล็กน้อยว่า แม้นเกิดเป็นหญิง แต่ถ้าจริงในอุดมการณ์และเป้าหมายแห่งการหลุดพ้นแล้ว เพศภาวะแห่งการเป็นภิกษุณีหรืออุบาสิกาก็เป็นเพียงมายาเท่านั้น แก่นสารอยู่ที่จิตใจต่างหากที่เราจักเพียรขัดเกลาให้หมดจดจากกิเลสยิ่งๆขึ้นไป
ถ้ามองด้วยความเข้าใจจากจุดนี้แล้ว ก็จะเห็นว่า ไม่ได้เป็นเรื่องของการกีดกันทางเพศแต่อย่างใดเลย เป็นเพียงการดำรงตนของเราให้เหมาะ และเป็นประโยชน์เกี้อกูลต่อทั้งตนเองและส่วนรวมได้มากกว่า ถ้าเป็นอุบาสิกา

[attachmentid=8159]

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  mother.jpg   34.1K   18 ดาวน์โหลด

ศีล..เป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย และเป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง บุคคลใดชำระศีลให้บริสุทธิ์แล้ว จะเป็นเหตุให้เว้นจากความทุจริต จิตจะร่าเริงแจ่มใส และเป็นท่า หยั่งลงมหาสมุทร คือ นิพพาน

#20 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 30 September 2006 - 02:43 PM

QUOTE
ยุคนี้ ภิกษุณีคงจะไม่มีแล้วครับ



เห็นด้วยนะครับเท่าที่อ่านเจอเขาบอกว่าภิกษุณีได้หมดไปนานแล้ว
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี

#21 เด็กน้อยคอย(หา)บุญ ^^

เด็กน้อยคอย(หา)บุญ ^^
  • Members
  • 92 โพสต์

โพสต์เมื่อ 30 September 2006 - 07:06 PM

อ่านแล้วกระจ่างเลย คะ โอ ขอบคุณมากๆ เลยคะ

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  p8.jpg   9.43K   17 ดาวน์โหลด

อาภรณ์ ชุดสุดท้าย        กาสายะ<br />  ชีพสุดท้ายคือพระ         ผ่องแผ้ว<br /> วิชชาสุดคือธรรมะ        พุทธเจ้า<br />จารจดไว้ลูกแก้ว          จักแคล้วบ่วงมาร<!--sizec--></span><!--/sizec--><!--colorc--></span><!--/colorc-->

#22 *ผู้มาเยือน*

*ผู้มาเยือน*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 24 September 2011 - 09:05 PM

ยังไงก็อนุโมทนากับกุศลจิตของผู้คิดบวชเป็นภิกษุณีด้วย แต่ก็คงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีภิกษุณีในเถรวาทในปัจจุบัน
เพราะภิกษุณีเถรวาทนั้นได้สูญวงศ์ไปแล้ว....ควมเป็นจริงสิทธิ์ที่จะบวชนั้นมี แต่สิทธิ์ของคนท่จะบวชให้นั้นไม่มี...
หากมีก็เป็นทางมหายานไม่ใช่ เถรวาท ทางเลือกคือถือศีล ๘ ตลอดชีวิต หากชาตนี่้ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน
ชาติต่อไปก็จะได้เกิดเป็นชายและได้บวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนาอย่างแน่นอน