ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

อะไรคือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาครับ


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 19 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 เพียงพอ

เพียงพอ

    I |\|EE|) S()|\/|E |3()DY |_()\/E.

  • Members
  • 724 โพสต์
  • Location:ไม่มีข้อมูล
  • Interests:ไม่มีข้อมูล

โพสต์เมื่อ 08 October 2006 - 07:16 PM

อะไรคือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาครับ

เปลือกไม่เอานะครับ ขอแก่น^^
เพียง. . .เพื่อดำรงชีวิตอยู่ให้มีคุณค่า
พอ. . .แล้วกับความรู้สึกที่ว่าอยากมีอยากเป็น
One word will suffice.

เพียงพอ


#2 Nu

Nu
  • Members
  • 224 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 October 2006 - 08:03 PM

ทำความดี
ละเว้นความชั่ว
ทำจิตใจให้ผ่องใส

ใช่ป่าวเอ่ย

#3 นักรบทิศตะวันตก

นักรบทิศตะวันตก
  • Members
  • 354 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:Bangkok Thailand
  • Interests:...หยุด...

โพสต์เมื่อ 08 October 2006 - 08:44 PM

เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์

ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่

เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์ย่อมสิ้นไป

เพราะมารู้แจ้งธรรมพร้อมทั้งเหตุ

(พุทธอุทาคาถา วินัย มหาวรรค มหาขันธกะ ๔/๑/๒)




แก่นคืออะไรเปลือกคืออะไรล่ะ พุทธโอวาสทุกถ้อยคำล้วนคือแก่น คือกฎธรรมชาติ ที่องค์พระศาสดาท่านไปรู้เห็นมา
ผู้มีความกล้า....ย่อมมีความหวัง...

.
ฟังเรื่องราวดีๆได้ที่นี่ครับ

#4 ลูกพระธัมฯ Merry Ma

ลูกพระธัมฯ Merry Ma

    The STRONGEST is the GENTLEST!!!

  • Members
  • 891 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:Bangkok, Thailand

โพสต์เมื่อ 08 October 2006 - 09:32 PM

แก่นๆเลยนะคะ ได้เลยพี่แมรี่จัดให้น้องบูม

QUOTE
ทำแต่กุศลกรรม
ละอกุศลกรรม
ทำจิตใจให้ผ่องใสอยู่เป็นนิจ

นี่คือคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์

The Strongest is The Gentlest!

ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งที่สุด ย่อมเป็นผู้ที่สุภาพนุ่มนวลที่สุด

#5 koonpatt

koonpatt
  • Members
  • 616 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 08 October 2006 - 09:59 PM

พระไตรปิฎก ภาค ๓ ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก อะไรเป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา


สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม ใกล้กรุงสาวัตถีมีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ ปิงคลโกจฉะเข้าไปเฝ้า เมื่อได้กล่าวทักทายปราศรัยพอสมควรแล้ว พราหมณ์นั้นจึงกราบทูลว่า

“พระโคดมผู้เจริญ ! สมณพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่คณะเป็นคณาจารย์มีคนรู้จักมาก มีเกียรติยศ เป็นเจ้าลัทธิ อันชนหมู่มากเข้าใจกันว่าเป็นคนดี เช่นปูรณะ กัสสป, มักขลิ โคสาล, อชิตะ เกสกัมพล, ปกุธะ กัจจายนะ, สัญชัย เวลัฏฐบุตร, และนิครนถนาฏบุตร. สมณพราหมณ์ ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลย หรือบางพวกรู้ บางพวกไม่รู้”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่าเลย พราหมณ์ ! ข้อที่สมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น รู้แจ้งเห็นจริงตามปฏิญญาของตน หรือไม่รู้แจ้งเห็นจริงเลยเป็นต้นนั้น จงยกไว้ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังให้ดีเถิด”

เมื่อพราหมณ์ทูลรับคำแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า “ดูก่อนพราหมณ์ ! มีข้ออุปมาว่า บุรุษต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อมีต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ ละเลยแก่น, กะพี้, เปลือก, สะเก็ด,กิ่งและใบไม้ เมื่อต้องการแก่นไม้ จึงละเลยแก่นเป็นต้นตัดเอากิ่งและใบไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น ทั้งจะไม่ได้รับประโยชน์จากกิ่งและใบไม้นั้นด้วย”

“มีอุปมาอื่นอีก บุรุษต้องการแก่นไม้ แต่ถากสะเก็ดไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น หรือถากเปลือกไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น หรือถากกะพี้ไม้ไปด้วยสำคัญว่าเป็นแก่น ก็จะพึงถูกหาว่าไม่รู้จักแก่นไม้เป็นต้น และไม่ได้รับประโยชน์จากสิ่งที่ถากไปนั้นเช่นเดียวกัน”

“อีกอุปมาหนึ่ง บุรุษต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไปด้วยรู้จักแก่นไม้ คนที่รู้เรื่องดีเห็นเข้าก็จะพึงกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญนี้ รู้จักแก่น กะพี้เปลือก สะเก็ด กิ่งและใบไม้ ต้องการแก่นไม้ก็ตัดเอาแต่แก่นไปด้วยรู้จักแก่นไม้ทั้งจะได้รับประโยชน์จากแก่นไม้นั้นด้วย”

“ดูก่อนพราหมณ์ ! ข้ออุปไมยก็ฉันเดียวกันนั่นแหละ คือ กุลบุตรบางคนในศาสนานี้ มีศรัทธาออกบวชไม่ครองเรือน ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความคร่ำครวญ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ และความคับแค้นใจ เข้าถึงตัวแล้ว อันความทุกข์เข้าถึงตัวแล้วมีความทุกข์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ไฉนหนอการทำที่สุดแห่งทุกข์ ทั้งหมดนี้จะปรากฏ ผู้นั้นออกบวชแล้ว ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็อิ่มใจ เต็มความปรารถนาด้วยลาภสักการะและชื่อเสียงนั้น ยกตนเองข่มผู้อื่นเพราะลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ว่าเราเป็นผู้มีลาภ สักการะ และชื่อเสียง ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม”

“ดูก่อนพราหมณ์ ! เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือน ผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่น, กะพี้, เปลือก, และสะเก็ดเสีย ตัดเอากิ่งและใบไม้ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น”

“อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น แต่ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะสิ่งนั้น ทั้งยังปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวมผู้นั้นได้ความสมบูรณ์ด้วยศีล ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วย สีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะสีลสัมปทานั้นว่า เราเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันเลว คุณธรรมอื่นๆที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสีลสัมปทา ก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม

ดูก่อนพราหมณ์ ! เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นกะพี้ และเปลือกเสีย ถากเอาสะเก็ดไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น”

“อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ประพฤติสมบูรณ์ด้วยศีลก็อิ่มใจ แต่ยังไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้นไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเป็นต้น เพราะสีลสัมปทานั้น คุณธรรมอื่นๆ ที่ยิ่งกว่าประณีตกว่าสีลสัมปทานั้น ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ผู้นั้นได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ (ความตั้งมั่นหรือความสงบแห่งจิต) ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยสมาธิสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ) นั้น ยกตนเองข่มผู้อื่นเพราะสมาธิสัมปทานั้นว่า เราเป็นผู้ตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ส่วนภิกษุอื่นๆ เหล่านี้ เป็นผู้ไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว คุณธรรมอื่นๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่า สมาธิสัมปทานั้นก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ เป็นผู้มีความประพฤติหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์ ! เรากล่าวบุคคลนี้ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นและกะพี้เสีย ถากเอาเปลือกไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น”

“อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น แต่ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีลก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้นได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสมาธินั้น ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นเพราะสมาธิสัมปทานั้น คุณธรรมอื่นๆที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าสมาธิสัมปทานั้น ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ ไม่เป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม ผู้นั้นได้ญาณทัสสนะ (ความเห็นด้วยญาณหรือปัญญา) ก็อิ่มใจ เต็มปรารถนาด้วยญาณทัสสนะ หรือปัญญานั้นยกตนเอง ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสนะนั้น ว่าเราอยู่อย่างรู้เห็น ส่วนภิกษุอื่นๆเหล่านี้ อยู่อย่างไม่รู้ไม่เห็น คุณธรรมอื่นๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะก็ไม่ปลูกความพอใจ ไม่พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ เป็นผู้มีความประพฤติหย่อนหละหลวม ดูก่อนพราหมณ์! เรากล่าวบุคคลนี้ ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นเสีย ถากเอากะพี้ไป ด้วยสำคัญว่าเป็นแก่นฉะนั้น”

“อนึ่ง บุคคลบางคนออกบวช มีลาภสักการะชื่อเสียงเกิดขึ้น ก็ไม่อิ่มใจ ไม่เต็มปรารถนาด้วยลาภสักการะชื่อเสียงนั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยศีลก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วยสีลสัมปทา (ความสมบูรณ์ด้วยศีล) นั้น ได้ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วย สมาธิสัมปทา(ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ) นั้น ได้ญาณทัสสนะ (หรือปัญญา) ก็อิ่มใจ แต่ไม่เต็มปรารถนาด้วย ญาณทัสสนะนั้น ไม่ยกตน ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสนะนั้น คุณธรรมอื่นๆ ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ก็ปลูกความพอใจ พยายามเพื่อทำให้แจ้งซึ่งคุณธรรมนั้นๆ ไม่มีความประพฤติย่อหย่อนหละหลวม

ดูก่อนพราหมณ์!ธรรมอะไรบ้าง ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ดูก่อนพราหมณ์! ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าปฐมฌาน(ในการแปลตอนนี้ ได้แปลลัดแต่ใจความของเรื่องว่าเข้าฌานที่ ๑ ที่ ๒ เป็นต้น เพราะรายละเอียด ของแต่ละฌานมีแล้วในที่อื่น)
(ฌานที่ ๑) เข้าทุติยฌาน
(ฌานที่ ๒) เข้าตติยฌาน
(ฌานที่ ๓) เข้าจตุตถฌาน
(ฌานที่ ๔) เข้าอากาสานัญจายตนะ (อรูปฌานกำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
เข้าวิญญาณัญจายตนะ (อรูปฌานกำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
เข้าอากิญจัญญายตนะ (อรูปฌานกำหนดว่าไม่มีอะไรแม้แต่นิดหน่อย)
เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ (อรูปฌานที่มีสัญญาความจำได้หมายรู้ ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่)
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ(สมาบัติชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อเข้าแล้วทำให้ดับสัญญาความจำได้หมายรู้และเวทนาความเสวยอารมณ์สุขทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุขได้)

อาสวะของภิกษุนั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา คุณธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่า ญาณทัสสนะ ดูก่อนพราหมณ์! เรากล่าวบุคคลนี้ว่าเปรียบเหมือนผู้ต้องการแก่นไม้ ก็ตัดเอาแต่แก่นไม้ไปฉะนั้น”

“ด้วยประการฉะนี้แหละพราหมณ์! พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะชื่อเสียงเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความสมบูรณ์ด้วยสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญานทัสสนะเป็นอานิสงส์ แต่ความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบอันใด พรหมจรรย์นี้ มีความหลุดพ้นแห่งใจอันไม่กลับกำเริบนั้นแหละเป็นที่ต้องการ นั้นเป็นแก่นสาร นั้นเป็นที่สุดโดยรอบ”

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ปิงคลโกจฉะพราหมณ์กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต
จูฬสาโรปมสูตร ๑๒/๓๗๔

แบบสรุปย่อค่ะ

สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยแก่นไม้ สูตรใหญ่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแสดงธรรม ถึงการที่ผู้ออกบวชได้ผลดีบางอย่าง หรือทำความดีบางอย่างให้เกิด แล้วมัวเมาประมาท ยกตนข่มผู้อื่น เพราะเหตุแห่งผลดีหรือความดีนั้น ๆ เทียบด้วยผู้ถือเอาสิ่งที่มิใช่แก่นไม้ว่าเป็นแก่นไม้ ในที่สุดได้ทรงแสดงความหลุดพ้นแห่งใจที่ไม่กำเริบว่าเป็นเหมือนแก่นไม้ . ต่อไปนี้เป็นข้อเปรียบเทียบที่ทรงแสดง.
๑. ลาภสักการะชื่อเสียง เปรียบเหมือนกิ่งและใบไม้
๒. ความสมบูรณ์ด้วยศีล เปรียบเหมือนสะเก็ดไม้
๓. ความสมบูรณ์ด้วยสมาธิ เปรียบเหมือนเปลือกไม้
๔. ญาณทัสสะ หรือ ปัญญา เปรียบเหมือนกะพี้ไม้.
๕. อกุปปา เจโตวิมุติ ( ความหลุดพ้นแห่งใจที่ไม่กลับกำเริบ ) เปรียบเหมือนแก่นไม้.

จากพระไตรปิฎกฉบับประชาชน เรียบเรียงโดยอาจารย์ สุชีพ ปุญญานุภาพ ซึ่งย่อความจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี 45 เล่ม
จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ

#6 MiraclE...DrEaM

MiraclE...DrEaM
  • Members
  • 1368 โพสต์

โพสต์เมื่อ 08 October 2006 - 10:25 PM

ต้องไปดูคำตอบที่ โอวาทปาติโมกข์ ที่ทรงประทานไว้ในวันมาฆบูชา ครับ
สิ่งอัศจรรย์ ปรากฏ บนผืนหล้า
มหาวิหาร จรัสฟ้า ค่ายิ่งใหญ่
รูปทอง ผ่องผุด ดุจยองใย
สะท้อนถึง ห้วงดวงใจ สุดบูชา

*********************

รักษ์ร่างพอสร่างร้าย ..... รอดตน
ยอดเยี่ยม "ธรรมกาย" ผล ..... ผ่องแผ้ว

เลอเลิศล่วงกุศล ..... ใดอื่น
เชิญท่านถือเอาแก้ว ..... ก่องหล้าเรืองสกล


คำสอนของเดชพระคุณหลวงพ่อ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย

#7 koonpatt

koonpatt
  • Members
  • 616 โพสต์
  • Gender:Female

โพสต์เมื่อ 08 October 2006 - 10:33 PM

QUOTE
ดูก่อนพราหมณ์!ธรรมอะไรบ้าง ที่ยิ่งกว่า ประณีตกว่าญาณทัสสนะ ดูก่อนพราหมณ์! ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เข้าปฐมฌาน(ในการแปลตอนนี้ ได้แปลลัดแต่ใจความของเรื่องว่าเข้าฌานที่ ๑ ที่ ๒ เป็นต้น เพราะรายละเอียด ของแต่ละฌานมีแล้วในที่อื่น)
(ฌานที่ ๑) เข้าทุติยฌาน
(ฌานที่ ๒) เข้าตติยฌาน
(ฌานที่ ๓) เข้าจตุตถฌาน
(ฌานที่ ๔) เข้าอากาสานัญจายตนะ (อรูปฌานกำหนดอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
เข้าวิญญาณัญจายตนะ (อรูปฌานกำหนดวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์)
เข้าอากิญจัญญายตนะ (อรูปฌานกำหนดว่าไม่มีอะไรแม้แต่นิดหน่อย)
เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ (อรูปฌานที่มีสัญญาความจำได้หมายรู้ ก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่)
เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ(สมาบัติชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อเข้าแล้วทำให้ดับสัญญาความจำได้หมายรู้และเวทนาความเสวยอารมณ์สุขทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุขได้)


เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต,
การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิเช่น สมาบัติ ๘
เป็นเจโตวิมุตติ อันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ))
"สมาบัติ ภาวะสงบประณีตซึ่งพึงเข้าถึง;
สมาบัติมีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ อนุปุพพวิหารสมาบัติ เป็นต้น
สมาบัติที่กล่าวถึงบ่อยคือ ฌานสมาบัติกล่าวคือ

สมาบัติ ๘ อันได้แก่ รูปฌาน๔ และอรูปฌาน ๔
ถ้าเพิ่มนิโรธสมาบัติ ต่อท้ายสมาบัติ ๘ นี้ รวมเรียกว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙"

"รูปฌาน ฌานรูปธรรมเป็นอารมณ์มี ๔ คือ

๑) ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก (ตรึก) วิจาร (ตรอง) ปีติ(อิ่มใจ) สุข (สบายใจ) เอกัคคตา (จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)
๒) ทุติยฌาน ฌานที่๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ, สุข, เอกัคคตา
๓) ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
๔) จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒คือ อุเบกขา, เอกัคคตา"

"อรูป ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ได้แก่ อรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม มี ๔ คือ

๑.อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์)
๒.วิญญาณัญจายตนะ(กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์)
๓.อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์)
๔.เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)"

ทีนี้ ต้องรบกวนท่านผู้ รู้รอบ และ รอบรู้ ช่วยขยายต่อด้วยนะคะ ขอบพระคุณค่ะ
จึงยังคง เชื่อมั่นและศรัทธาใน "รัก" เหมือนอย่างที่เคย...เสมอมา...และจะตลอดไป
แด่
เธอ...ผู้นำแสงสว่างสู่...กลางใจ

#8 บุญเย็น

บุญเย็น
  • Members
  • 812 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:thailand

โพสต์เมื่อ 08 October 2006 - 10:55 PM

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา คือ การหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด หมายเอาพระนิพพาน
ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ใส ใสสุดๆ จนหลุดพ้น เข้าสู่พระนิพพาน อันเป็นอมตะ ไม่ผันแปร เที่ยงแท้ เป็นบรมสุข นิรันดร พระนิพพานนี้มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้นครับ ซึ้งเป็นแก่นแท้แน่นอน
นำมอ ตี่ จ่าง อ้วง ผู่ สัก

#9 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 09 October 2006 - 09:09 AM

แก่นของวิชาธรรมกายคือ การนั่งสมาธิอ่ะ สั้นๆๆนะเข้าใจเลย
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี

#10 sun of peace

sun of peace
  • Members
  • 101 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 October 2006 - 09:48 AM

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาก็คือ ทำพระนิพพานให้แจ้ง สลัดตนให้พ้นจากกองทุกข์ เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้วก็เสร็จกิจในพระพุทธศาสนา nerd_smile.gif
จะครองเรือนไปสักกี่ร้อยปีก็ครองไปเถิด งานเรื่องของคนอื่นเค้าทั้งนั้น เรื่องของพญามารทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องของตัว ไม่ใช่งานของตัว ไปทำงานให้พญามารเค้าทั้งวันทั้งคืน เอาเรื่องอะไรไม่ได้

#11 glouy.

glouy.
  • Members
  • 605 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 October 2006 - 11:51 AM

QUOTE
อะไรคือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาครับ

เปลือกไม่เอานะครับ ขอแก่น^^


ผมว่า วิมุติญาณ ความว่างเป่ลา

ลูกพระธรรม

#12 cheterk

cheterk
  • Members
  • 314 โพสต์
  • Interests:พระนิพพาน

โพสต์เมื่อ 09 October 2006 - 12:52 PM

ศีล สมาธิ ปัญญา

#13 บุญโต

บุญโต
  • Members
  • 2192 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • Interests:ปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 09 October 2006 - 01:05 PM

๑. การละความชั่ว....การไม่กระทำความชั่ว คือ บาปทั้งปวง
๒. การทำความดี.... การกระทำแต่กุศล คือความดีให้เต็มเปี่ยม
๓. การชำระใจให้บริสุทธิ์....การชำระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้ว


#14 บุญเย็น

บุญเย็น
  • Members
  • 812 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:thailand

โพสต์เมื่อ 09 October 2006 - 02:04 PM

หยุด ใน หยุด กลาง ของ หยุด กลาง ของ กลาง เรื่อย ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เดี๋ยวก็ถึงแก่น
เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพาน ก็ได้
นำมอ ตี่ จ่าง อ้วง ผู่ สัก

#15 niwat

niwat
  • Members
  • 1420 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 09 October 2006 - 03:39 PM

ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส smile.gif

#16 ลูกพระธัมฯครับ

ลูกพระธัมฯครับ
  • Members
  • 16 โพสต์

โพสต์เมื่อ 09 October 2006 - 03:50 PM

หยุด มั้งครับ

#17 สิริปโภ

สิริปโภ
  • Members
  • 1766 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:เรื่องลึกลับ

โพสต์เมื่อ 09 October 2006 - 06:39 PM

นิพพาน




#18 บารมีธรรม

บารมีธรรม
  • Members
  • 212 โพสต์
  • Gender:Male

โพสต์เมื่อ 10 October 2006 - 01:02 AM

QUOTE
อะไรคือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาครับ

เปลือกไม่เอานะครับ ขอแก่น


ขอตอบตามสมควรดังนี้ครับ



เส้นทางแห่งธรรมะ( อริโย อัฏฐังคิโก มัค โค) หรือ อริยมรรค

ใครก็ตามที่เดินไปบนเส้นทางนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในนิกายไหน หรือชุมชนไหน ผิวสีไหน อยู่ในประเทศไหน ล้วนไม่แตกต่างอะไรกัน

ใครก็ตามที่ก้าวเดินไปบนเส้นทางสายนี้ สามารถที่จะเป็นอริยบุคคลได้ สามารถเป็นอรหันต์ได้ สามารถที่จะเป็นผู้หลุดพ้นได้

ทางสายนี้เรียกว่าอริยมรรคมีองค์แปดซึ่งแบ่งเป็น 3 หมวดด้วยกันคือ
หมวดศีล หมายถึง การมีชีวิตอยู่ในศีลธรรมโดยเว้นจากการกระทำที่เป็นภัยต่อผู้อื่น (สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ)
หมวดสมาธิ หมายถึง การกระทำความดีด้วยการรู้จักควบคุมจิตใจของตนเอง (สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ)
หมวดปัญญา หมายถึง ความรู้แจ้ง คือการขจัดกิเลสที่ทับถมกันอยู่ภายในด้วยปัญญาของตนเอง (สัมมาสังกัปปะ, สัมมาทิฏฐิ)

มรรคข้อที่ 1 สัมมาวาจา หมายถึง การพูดในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นคำพูดที่บริสุทธิ์

มรรคข้อที่ 2 สัมมากัมมันตะ หมายถึง ความบริสุทธิ์ทางกายกรรมทั้งหมด

มรรคข้อที่ 3 สัมมาอาชีวะ หมายถึง การเลี้ยงชีพชอบ

มรรคข้อที่ 4 สัมมาวายามะ หมายถึงความเพียรชอบ

มรรคข้อที่ 5 สัมมาสติ หมายถึงความระลึกชอบ

มรรคข้อที่ 6 สัมมาสมาธิ หมายถึง การที่จิตตั่งมั่นในทางที่ถูกต้อง

มรรคข้อที่ 7 สัมมาสังกัปปะ หมายถึง ดำริชอบหรือความคิดชอบ ในทิศทางที่ถูกต้อง ไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสทั้งหลาย (ความคิดนั้นยังมีอยู่ เราไม่ใช่จะต้องขจัดความคิดให้หมดไปจึงจะเกิดปัญญา แต่รูปแบบความคิดจะต้องเปลี่ยนไป พระพุทธองค์ทรงใช้คำพูดอยู่สองคำคือ โยนิโสมนสิการ และ อโยนิโสมนสิการ คำหลังหมายความว่าความคิดที่จะเป็นพิษเป็นภัยต่อท่าน เป็นอันตรายต่อตัวท่าน เพราะว่า มันถูกปรุงแต่ง ถูกครอบงำไปในทางไม่ดี ถูกครอบงำด้วยความทะยานอยาก ถูกครอบงำด้วยความรังเกียจ ถูกครอบงำด้วยความมุ่งร้าย ด้วยความงมงาย ด้วยความหลอกลวง ด้วยความหลงละเมอเพ้อพก ด้วยความสับสน นั่นคืออโยนิโสมนสิการ ซึ่งทำให้ท่านไม่สามารถแม้แต่จะคิดอ่านให้ถูกต้อง ความคิดทั้งหมดของท่าน ความดำริทั้งหมดของท่านจึงผิด มันพาท่านไปสู่ความทุกข์ ไม่มีอะไรอื่น นอกจากความทุกข์ ซึ่งตรงกันข้ามกับการมีโยนิโสมนสิการ)


มรรคข้อที่ 8 สัมมาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นชอบ หมายถึงความเข้าใจในความจริงอย่างที่มันเป็นอยู่ โดยไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสหรือสัญญาใดๆ ( ไม่ใช่อย่างที่มันปรากฏให้เห็น ไม่ใช่อย่างที่มันควรจะป็น เรามักจะไม่เห็นตามความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะอวิชชา คือความงมงายจะครอบงำความเห็นของเรา เมื่อสามารถขจัดอวิชชาออกได้ ความเห็นที่เหลืออยู่นั่นแหละคือความจริงตามเนื้อแท้ของมัน นี่คือปัญญา หรือความรู้แจ้งของท่าน การเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นอยู่ ตามธรรมชาติที่แท้จริงของมัน ในลักษณะที่แท้จริงของมัน)

ปัญญามี 3 ระดับด้วยกัน

ระดับแรกเรียกว่า สุตมยปัญญา หมายถึงความรู้ที่ท่านได้รับจากการฟังธรรมบรรยายต่างๆ จากการอ่านหนังสือ สิ่งนี้ล้วนมิใช่ปัญญาของท่านแต่เป็นปัญญาของผู้อื่น ท่านได้ยินมา ได้ฟังมา ท่านอ่านพบและท่านยอมรับ ถือเป็นสุตมยปัญญา และเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์มาก เพราะจะเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เรา ให้แนวทางให้เราไปสู่ขั้นที่สอง

ระดับที่สองเรียกว่า จินตามยปัญญา หมายถึง การใช้ความคิดพิจารณา ให้เกิดความเข้าใจในระดับเหตุผล ท่านจะพยายามหาคำตอบด้วยเหตุผล ไม่ว่าท่านได้ยินได้ฟังอะไร แยกแยะว่าเป็นเรื่องปฏิบัติได้ไหม มีเหตุผลไหม สมเหตุสมผลไหม หากมีเหตุผลท่านจึงจะยอมรับ นี่คือจินตามยปัญญา

ระดับที่สามเรียกว่า ภาวนามยปัญญา หมายถึง การทำให้ปัญญามีขึ้นเป็นขึ้นด้วยประสบการณ์ของเราเอง ด้วยประสบการณ์นี้ เราจะรู้ว่าอะไรคือปัญญา มิฉะนั้นแล้วมันก็จะเป็นแค่ความรู้เท่านั้น ความรู้ในระดับของเหตุผลต่างจากความรู้ในระดับปัญญามาก ความรู้ในระดับปัญญาที่มาจากประสบการณ์หรือภาวนามยปัญญา ซึ่งภาวนามยปัญญานี้เอง ที่จะปลดปล่อยเราให้หลุดพ้นจากพันธนาการทั้งหลาย พันธนาการของกิเลส ความไม่บริสุทธิ์ทั้งมวล

โดยสรุปในส่วนของปัญญา

ปัญญาขั้นแรกนั้นมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อมันนำท่านไปสู่ปัญญาขั้นที่สอง
ปัญญาขั้นสองนั้นมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อมันนำท่านไปสู่ปัญญาขั้นที่สาม

1) การมีศรัทราอย่างมืดบอด หรือมีความภักดีอย่างไม่ลืมหูลืมตาโดยอ้างธรรมะนั้น แท้จริงแล้วกลับเป็นดังบ่วงร้อยรัดที่ทำให้ท่านไม่อาจจะหลุดพ้นได้

2) เช่นเดียวกับการเล่นเกมของเหตุผลก็เป็นดังพันธนาการที่ทำให้ท่านไม่สามารถจะหลุดพ้นได้เช่นกัน

3) ท่านจะหลุดพ้นได้ก็ต่อเมื่อท่านเกิดปัญญาโดยตรง เป็นปัญญาที่เกิดจากประการณ์ของท่านเอง ปัญญาของผู้อื่นไม่อาจจะปลดปล่อยท่านให้หลุดพ้นได้ ปัญญาของคนอื่นเป็นแต่เพียงแนวทางหรือให้ความบันดาลใจแก่ท่านเท่านั้น ท่านจะต้องพัฒนาปัญญาของท่านเอง

ปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงของเจ้าชายสิทธัตถะโคตมะ ก็ทำให้พระองค์หลุดพ้นได้เพียงพระองค์เดียว ไม่สามารถปลดปล่อยผู้อื่นได้ ผู้อื่นจะได้ก็แต่เพียงความบันดาลใจ และการชี้แนะของพระองค์

ขอให้พวกเราจงเดินไปตามทางที่พระองค์ทรงเดิน โดยแต่ละคนจะต้องพัฒนาปัญญาของตนเพื่อให้ตนเองหลุดพ้น เราจะต้องมีประสบการณ์กับสัจธรรม คือความจริงภายในตัวเราเอง


ส่วนองค์คุณแห่งธรรมะจะสมบูรณ์ได้ต้องประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ไม่ทำความชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตให้บริสุทธิ์


#19 DojoeChico

DojoeChico
  • Members
  • 8 โพสต์
  • Location:Chico, CA, USA

โพสต์เมื่อ 10 October 2006 - 01:39 PM

แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา คือ พระธรรมกายที่อยู่ในตัวเรานี่แหละ ซึ่งเป็นที่รวมประชุมของธรรมทั้งหลาย เพราะทั้งญาณทัศนะและความรูู้้ทั้งหมดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า์ที่ทรงนำมาสั่งสอน ก็มาจากพระธรรมกายอรหันตสัมมาสัมพุืืทธเจ้าในตัวของพระองค์ท่านเอง
และเพราะเหตุนี้เองคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์จึงเหมือนกันหมด เพราะความรู้นั้นถูกเชื่อมมาจากแหล่งเดียวกัน

#20 บุญเท่านั้น

บุญเท่านั้น
  • Members
  • 55 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 October 2006 - 05:26 PM

ปราบมารประหารกิเลสให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ