ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

น้ำปานะ ทำไมสับสนจัง


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 nienete

nienete
  • Members
  • 7 โพสต์

โพสต์เมื่อ 25 October 2006 - 03:28 AM

เคยอ่านในพระไตรปิฏกว่ามีน้ำปานะ มี 8 ชนิด คั้นจากผลไม้สดที่ห้ามหุงด้วยไฟหรือความร้อนอะไรทำนองนี้ ทำไมวัดให้กินกาแฟ โคก หรือน้ำนม ต่างๆมากมาย เวลาถือศีล 8 แล้วจะไม่ผิดศีลหรือ (หรือว่าเราไม่รู้เรื่องละเอียดพอปะเภทฟังไม่ได้ศัพท์จับมากระเดียดหรือเปล่า) วานผู้รู้ช่วยบอกที มีข้อยกเว้นอะไรไว้หรือไม่ เราพยายามค้นหาในพระไตรปิฏกฉบับประชาชนแล้วก็ยังไม่กระจ่างเพราะคิดว่าวัดไม่น่าจะทำอะไรที่มันผิด

#2 Omena

Omena
  • Members
  • 1409 โพสต์
  • Location:44/5 หมู่ 10 ตำบลหนองอ้อ ถนนเพชรเกษม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 70110

โพสต์เมื่อ 25 October 2006 - 06:39 AM

http://www.dmc.tv/fo...pic=398&hl=ปานะ
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที

สุนทรพ่อ




muralath2@hotmail

#3 น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

    เราคือ นักรบกล้าอาสาสมัคร กองทัพธรรม

  • Members
  • 1961 โพสต์
  • Gender:Female
  • Interests:ช่วยงานบุญที่วัด ให้ถึงที่สุดกำลัง ตราบวันที่ชีวิตจะสิ้นลมหายใจ

โพสต์เมื่อ 25 October 2006 - 04:51 PM

สาธุค่ะพี่วิว
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"

น้ำฝนลูกพระธัมฯ

#4 นักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว
  • Members
  • 2378 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:รู้สึกว่าจะไม่ค่อยได้อยู่กะที่อ่ะ มาดูอารายกานอ่ะ
  • Interests:มาสร้างบารมีตามติดหมู่คณะดีกว่า

โพสต์เมื่อ 25 October 2006 - 07:25 PM

ผมกอปปี้มาให้ครับ จากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ในเว็บลานธรรมนี่แหละครับ ปานะ แปลว่าเครื่องดื่ม,น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก ท่านแสดงไว้๘ ชนิด คือ ๑. อมฺพปานํ น้ำ
มะม่วง ๒. ชมฺพุหานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า ๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด ๔. โมจปานํน้ำกล้วยไม่มีเม็ด ๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง
(ต้องเจือน้ำจึงจะควร) ๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น ๗. สาลุกปานํน้ำเหง้าอุบล ๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)
วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุด เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า
เติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร)แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลง
ไปพอให้ได้รสดีข้อจำกัดที่พึงทราบคือ ๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ(ข้อนี้พระมิตสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรฐาณวโรรสว่าแม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ) ๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำจึงควรฉันในเวลาวิกาล (ถ้าภิกษุทำถือ
เป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล) ๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้
มาใช้ (แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)
กาลิก เนื่องด้วยกาล,ขึ้นกับกาล, ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไปซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้
ภายในเวลาที่กำหนด จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้นเช่น
ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่าง ๆ ๒. ยามกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่งคือก่อนอรุณของวัน
ใหม่ ได้แก่ ปานะ คือ น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต ๓. สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้และฉันได้ภายในเวลา๗ วัน ได้แก่
เภสัชทั้งห้า ๔. ยาวชีวิก รับประเคนแล้ว ฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลาได้แก่ของที่ใช้ปรุงเป็นยา นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น
(ความจริงยาวชีวิก ไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าด้วยโดยปริยาย เพราะเป็นของเกี่ยวเนื่องกัน)
ปานะ แปลว่า เครื่องดื่ม,น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก ท่านแสดงไว้๘ ชนิด คือ ๑. อมฺพปานํ น้ำ
มะม่วง ๒. ชมฺพุหานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า ๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด ๔. โมจปานํน้ำกล้วยไม่มีเม็ด ๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง
(ต้องเจือน้ำจึงจะควร) ๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น ๗. สาลุกปานํน้ำเหง้าอุบล ๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)
วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุด เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า
เติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร)แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลง
ไปพอให้ได้รสดีข้อจำกัดที่พึงทราบคือ ๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ(ข้อนี้พระมิตสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรฐาณวโรรสว่าแม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ) ๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำจึงควรฉันในเวลาวิกาล (ถ้าภิกษุทำถือ
เป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล) ๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้
มาใช้ (แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)
มธุกะ มะทราง,น้ำคั้นมะทรางเจือน้ำแล้ว เรียกมธุกปานะ เป็นสัตตาหกาลิกอย่างหนึ่ง ดู ปานะ
อัฏฐบาน ปานะทั้ง๘, น้ำปานะคือน้ำคั้นผลไม้ ๘ อย่าง ดู ปานะ
ส่วนชาเขียวที่นิยมกันก็ไม่ถือว่าผิดครับ "อนุโลมเข้ากันได้" ถ้าผมกอปปี้มาไม่ดีก็ต้องขออภัยนะครับ
กายธรรมควรเทิดไว้ ในใจ
เป็นสรณะภายใน เทียงแท้
กว่านี้ บ่ มีใด เทียบได้
น้อบนบท่านไว้แล ค่ำเช้าสุขเสมอ


เอาบุญมาฝากจ้า นั่งสมาธิเยี่ยมไปเลย แถมไปติดจานมาอีกด้วย เด็กชาวเขานี้น่ารักนะแม้คุยไม่รู้เรื่องก็ตามล่ะ สนุกดี

#5 nienete

nienete
  • Members
  • 7 โพสต์

โพสต์เมื่อ 26 October 2006 - 02:37 AM

ช่วยตอบให้กระจ่างด้วยว่า กาแฟ โคก น้ำผลไม้ต่างๆเป็นปานะหรือไม่ (ที่นอกเหนือจากน้ำปานะ8 ชนิด )ดื่มแล้วผิดศีล8หรือไม่ และถ้าไม่ใช่ทำไมเห็นพระฉันกันบ่อยๆ ขอชัวร์ๆ เพราะว่าไม่อยากผิดศีล และชาเขียวเป็นปานะหรือ ใครเป็นผู้อนุโลมให้เข้ากันได้ว่าเป็นปานะ งง

#6 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 27 October 2006 - 12:30 PM

กาลเวลาเปลี่ยนไป ยุคสมัยใหม่ก็เกิดน้ำขึ้นมามากมาย เช่น น้ำชา น้ำอัดลม มันไม่มีในสมัยพุทธกาล ก็ต้องปรับให้เข้ากับยุคสมัยครับ จะไปหาพระไตรปิฎกกี่ฉบับมายืนยันว่า ดื่มน้ำอัดลมได้หรือไม่ เปิดไปเถอะครับ ไม่เจอ

และถ้าคุณคิดจะถือศีลแปดให้บริสุทธิ์จริงๆ ล่ะก็ คุณต้องอยู่ป่าแล้วล่ะครับ เพราะคุณลองดูข้อที่ 8

อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากนั่ง นอน เหนือเตียง ตั่ง มีเท้าสูงเกินประมาณ และที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในใส่นุ่นและสำลี อาสนะอันวิจิตรไปด้วยลดลายงามด้วยเงินทองต่าง ๆ)

ห้ามนั่งหรือนอน บนที่นั่งที่นอนที่สูงใหญ่ ภายในยัดด้วยนุ่นหรือ สาลี คุณดูให้ดีนะครับ เรื่องนอนไม่มีปัญหา เรานอนพื้นได้ แต่เรื่องนั่งนี่สิ คุณจะทำยังไงครับ เวลาถ้าคุณเดินทางไปไหน รถเก่ง รถเมล์ เบาะนั่งเขาก็ยัดนุ่น สาลี หรือวัสดุอ่อนนุ่มอื่นๆ ทั้งนั้น แล้วมันจะรักษาศีลได้บริสุทธิ์ได้อย่างไร จะเดินทางไปทำงานทำยังไง ต้องเดินไปหรือ

แล้วจะให้พระท่านทำยังไง ห้ามนั่งรถเก่ง รถตู้ รถเมล์ หรือเปล่า หรือต้องให้ บริษัทรถยนต์ ออกแบบ รถยนต์ที่มีแต่เก้าอี้ไม้ สำหรับผู้ถือศีลแปด กระนั้นหรือ

ยุคสมัยพอเปลี่ยนไป อะไรๆ บางอย่าง มันก็ต้องเปลี่ยนตาม ถูกต้องมั้ยครับ แต่ขอให้ดูให้เหมาะสม ไม่ให้โลกติเตียน ก็ใช้ได้ครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#7 เทวา...ในอนาคต

เทวา...ในอนาคต
  • Members
  • 41 โพสต์

โพสต์เมื่อ 27 October 2006 - 03:56 PM

ใช่ ข้อเเปดเราก็สงสัยค่ะ ว่า เอเรานั่งโซฟาได้หรือไม่

เเล้วรถนี่ก็มีเเต่ เก้าอี้นิ่มๆทั้งนั้นเลย

เเต่เรื่องปานะ ถึงเเม้จะรู้สึกว่าอนุโลมได้ก็อยากให้หลวงพ่อนำมาตอบปัญหาค่ะ

จะได้ กระจ่างเเจ้งกันหมด

อย่างอื่นก็พอนึกออกค่ะ

เเต่นม ไม่น่าได้นะคะ เพราะสมัยพุทธกาล นมก็มีอยู่เเล้ว
ท่านก็มิได้บัญญัติว่าให้กินได้นี่นา

เเถมมีทั้งนมเปรี้ยว นมส้ม นม โอ้ย เยอะเเยะ

#8 *ZzAONzZ*

*ZzAONzZ*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 20 October 2011 - 07:39 PM

นม จัดเป็นอาหารอันประณีต ภิกษุสามเณรไม่พึงฉันยามวิกาล แม้นจะผสมกับเครื่องดื่มต่าง ๆ ก็ไม่ควร หากฉัน ก็ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์

#9 *ZzAONzZ*

*ZzAONzZ*
  • Guests

โพสต์เมื่อ 20 October 2011 - 07:40 PM

นม จัดเป็นอาหารอันประณีต ภิกษุสามเณรไม่พึงฉันยามวิกาล แม้นจะผสมกับเครื่องดื่มต่าง ๆ ก็ไม่ควร หากฉัน ก็ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์