ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ทางแห่งความดี ตอน พึงละความโกรธ ๓


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 2 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 04 December 2006 - 12:26 PM

โดย อ. วศิน อินทสระ

พระพุทธภาษิต
โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ
สํโยชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตํ นามรูปสฺมิมสชฺชมานํ
อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา


คำแปล
บุคคลพึงละความโกรธ สละความถือตัว
ล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสีย ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ตกถึง
บุคคลเช่นนั้น
ผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล



๓. ล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสีย
สังโยชน์ แปลว่า กิเลสที่เกี่ยวเกาะหรือหน่วงเหนี่ยวสัตว์ไว้ในภพ ไม่ให้อิสระไปจาภพ
ทรงแสดงไว้ ๑๐ ประการ เป็นเบื้องต่ำ
(โอรัมภาคิยะ) ๕ เบื้องสูง (อุทธัมภาคิยะ) ๕ ดังนี้

สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ คือ
๑. สักกายทิฏฐิ - ความเห็นในตัวตน ความยึดมั่นในตัวตน
๒. วิจิกิจฉา - ความลังเลสงสัยในคุณพระรัตนตรัย และในทางดำเนินให้ถึงนิพพาน
๓. สิลัพพตปรามาส - ความลูบคลำศีลและพรตหรือวัตร
๔. กามราคะ - ความกำหนัดในกา
๕. ปฏิฆะ - ความหงุดหงิด กระทบกระทั่งทางใจ

๓ ประการแรกพระโสดาบันและพระสกทาคามีละได้
๒ ประการหลังพระอนาคามีละได้


สังโยชน์เบื้องสูง ๕ คือ
๑. รูปราคะ - ความติดใจในรูปฌาน หรือรูปภพ
๒. อรูปราคะ - ความติดใจในอรูปฌาน หรืออรูปภพ
๓. มานะ - ความทะนงตัว ความถือตัว
๔. อุทธัจจะ - ความฟุ้งซ่าน
๕. อวิชชา - ความไม่รู้

๕ อย่างนี้ พระอรหันต์ละได้

คำว่าล่วงสังโยชน์ ก็คือข้ามพ้นสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการนี้ เมื่อข้ามพ้นแล้ว ย่อมไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้กังวลอีกต่อไป

ด้วยประการฉะนี้ ทุกข์ย่อมไม่ตกถึงเขา ทุกข์ย่อมไม่ติดตามเขา ไม่เบียดเบียนย่ำยีเขา
เรื่องนี้ พระศาสดาทรงแสดงแก่พระนางโรหิณี
พระญาติของพระองค์เอง มีเรื่องย่อดังนี้ :-

เรื่องประกอบ เรื่องพระนางโรหิณี
เรื่องนี้เกิดขึ้น เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ที่นิโครธาราม เมืองกบิลพัสดุ์
สมัยนั้น พระอนุรุทธะเถระไปเมืองกบิลพัสดุ์ พร้อมด้วยภิกษุบริวาร ๕๐๐ รูป พวกพระญาติทราบข่าวการมาของท่าน จึงพากันมาหาท่าน เว้นแต่พระนางโรหิณี
พระเถระเมื่อไม่เห็นพระนางจึงถามพระญาติว่า
พระนางโรหิณีไปไหน?

ท่านทราบจากพระญาติว่า พระนางโรหิณีไม่เสด็จมาเพราะความละอายที่เป็นโรคผิวหนัง
พระเถระจึงให้เชิญพระนางมาและแนะนำให้ทรงทำบุญ

"ทำอย่างไรท่าน?" พระนางตรัสถามพระพี่ชาย
(พระนางโรหิณีเป็นพระน้องนางของพระอนุรุทธะ มีพี่น้อง ๓ คนด้วยกันคือ มหานามอนุรุทธะ
และโรหิณี ทรงเป็นพระราชโอรสธิดาของอมิโตทนะ พระอนุชาของพระจ้าสุทโธทนะ)

พระเถระจึงบอกอุบายให้ว่า ให้สละเครื่องประดับออกจำหน่าย
ได้เงินมาเท่าใดให้นำมาทำโรงฉันสำหรับภิกษุสงฆ์ ขอให้พระญาติ
ที่เป็นชายช่วยกันดำเนินการสร้างโรงฉันให้เรียบร้อย

พระนางโรหิณีขายเครื่องประดับได้กหาปณะมาหมื่นกหาปณะ ทรงสละให้สร้างโรงฉันทั้งหมด ทำเป็นสองชั้น เมื่อเสร็จแล้วพระนางได้ปัดกวาดโรงฉันเป็นประจำ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้ ถวายโภชนียขาทนียาหารแก่ภิกษุสงฆ์
โรคผิวหนังของนางค่อยๆ หายไปทีละน้อยด้วยอาศัยให้บุญช่วย

ต่อมาพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จำนวนมาก เสด็จมาเสวยที่โรงอาหารของพระนางโรหิณี
เสวยเสร็จแล้วตรัสถามหาเจ้าของทาน
เมื่อพระนางโรหิณีมาเฝ้าแล้ว จึงตรัสถามว่า
ทราบไหมว่าโรคผิวหนังที่เกิดขึ้นนั้นเพราะอะไร?

พระนางทูลตอบว่า ไม่ทราบ
พระพุทธองค์จึงตรัสว่า เกิดขึ้นเพราะความโกรธ

"หม่อมฉันทำกรรมอะไรไว้ พระเจ้าข้า?" พระนางทูลถาม
พระศาสดาจึงทรงแสดงปุพพกรรมของพระนางโรหิณี ดังนี้

ปุพพกรรมของพระนางโรหิณี
ความว่า ในอดีตกาล พระนางโรหิณีเกิดเป็นอัครมเหสีของพระเจ้ากรุงพาราณสี
มีจิตริษยาหญิงนักฟ้อนคนหนึ่งของพระราชาจึงทำเองด้วย ให้คนอื่นทำด้วย
ซึ่งกรรม คือการเอาผงเต่าร้าง หรือหมามุ่ยใหญ่ โรยลงที่ตัวของหญิงนักฟ้อนนั้น
เป็นทำนองเย้ยหยันเล่นและให้คนเอาผงเต่าร้างไปโปรยไว้บนที่นอนของหญิงนักฟ้อนนั้น

หญิงนักฟ้อนนั้นคันมาก เป็นผื่นพุพองขึ้นมาทันที ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส
นี่คือปุพพกรรมของพระนางโรหิณี
พระศาสดาทรงเล่าเรื่องนี้แล้วจึงตรัสต่อไปว่า
"บุคคลพึงละความโกรธ พึงสละความถือตัวเสีย" เป็นต้น ตามที่พรรณนามาแล้วแต่ต้น

พระนางโรหิณี สดับพระธรรมเทศนาแล้วดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล มีสรีระเกลี้ยงเกลาดังทองคำในขณะนั้นเอง

จุติจากอัตตภาพนั้นแล้วไปเกิดในภพดาวดึงส์ เป็นเทพธิดาที่รูปงามมาก
จนเทพบุตร ๔ องค์ต้องแย่งกัน ไม่อาจตกลงกันได้ จึงพากันไปหาท้าวสักกะจอมเทพแห่งชั้นดาวดึงส์

ให้ช่วยตัดสิน ท้าวสักกะถามทีละองค์ว่ามีความรู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นนาง

องค์ที่ ๑ ทูลว่า ใจเต้นเหมือนกลองศึกยามสงคราม

องค์ที่ ๒ ทูลว่า ใจแล่นไปเร็วเหมือนกระแสน้ำที่ตกจากภูเขา

องค์ที่ ๓ ทูลว่า ตาของเขาเหมือนตาปู

องค์ที่ ๔ ทูลว่า ใจของเขาหวั่นไหวเหมือนธงบนยอดเจดีย์

ท้าวสักกะเห็นนางแล้วรักเหมือนกัน จึงกล่าวว่า

"ความรู้สึกของท่านทั้งหลายยังพอระงับได้ก่อน แต่ฉันเอง ถ้าไม่ได้นางจะต้องตาย
เอาทีเดียว เพราะฉะนั้นจงให้ฉันเถอะ"


เทพบุตรทั้ง ๔ จึงพร้อมใจกันถวายนางแก่ท้าวสักกะ ปรากฎว่า
นางเป็นที่รักที่พอพระทัยของท้าวสักกะยิ่งนัก

ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#2 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 04 December 2006 - 03:26 PM

Anumotana
Sathu kah

โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้


#3 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 29 March 2007 - 02:56 PM

cool.gif ขอกราบอนุโมทนาบุญกับคุณแดงดีด้วยครับ สาธุ