ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ปกิณกะโอวาทพระเดชพระคุณ หลวงพ่อทตฺตชีโว


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 2 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 18 December 2006 - 04:57 PM

นักสร้างบารมี 2 กลุ่ม คือ
1. สร้างบารมีเป็นหมู่คณะ คือ พระสัพพัญญูพุทธเจ้าและเหล่าพุทธบริษัท ๔
2. สร้างบารมีแบบเดี่ยว คือ พระปัจเจกพุทธเจ้า

นักสร้างบารมี 2 กลุ่มนี้ ไม่เจอกันทั้งที่เป็นนักสร้างบารมีทั้งคู่
แต่เพราะทิฎฐิ ความเห็นเกี่ยวกับการสร้างบารมีต่างกัน

พระเดชพระคุณหลวงพ่อธมฺมชโย เคยพูดชัดเจนว่า

“ หมู่คณะที่วัดพระธรรมกาย จะสร้างบารมีเป็นทีม
เพราะฉะนั้น ทุกคนในหมู่คณะจะต้องมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมร่วมกัน
ไม่ใช่รับผิดชอบแค่ตัวใครตัวมัน แต่ต้องรับผิดชอบต่อหมู่คณะด้วยกัน ”


หลวงพ่อนำ ภิกขุนีวิภังค์ ครั้งเกิดเหตุภิกษุณี ต้องอาบัติ ปฐมและทุติยปราราชิก
มาอ่านแล้ววิเคราะห์ให้ผู้ฟังเห็นภาพ ความรับผิดชอบต่อหมู่คณะ เพื่อว่าต่อไป
หากมีเรื่องเสียหายเกิดในหมู่คณะ เราจะได้มีแม่บท มีแนวทางแก้ไขได้ถูกต้อง

หลวงพ่อพูดถึงนิสัยส่วนตัวของท่านว่า
แต่ไหนแต่ไรมาท่านไม่เคยปล่อยปละละเลย หรือขาดความรับผิดชอบต่อหมู่คณะ
เมื่อไปอยู่ที่ไหนหากที่นั่นเกิดปัญหา ท่านไม่ดูดาย ต้องเข้าไป take action
มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของส่วนรวมเสมอ

หลวงพ่ออ่าน ภิกขุณีวิภังค์ แล้ววิเคราะห์ ให้ลูกๆคิดตาม จับประเด็น วินิจฉัยให้ถูกต้องว่า
“ สาเหตุของปัญหา คืออะไร ? ” ( จากบุคคล และ จากส่วนรวมที่เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหา )

การวิเคราะห์และข้อคิด ของหลวงพ่อ
- กุศลจิต อาจก่อให้เกิดอกุศลจิตได้ ถ้าประมาท เช่น
สุนทรีนันทาภิกษุณี เป็นนักบวชแต่ประมาท ไม่สำรวมอินทรีย์ จนกามกำเริบ
เมื่อเกิดความกำหนัดยินดี ไม่ต้องมีใครสอน ก็รู้ด้วยสัญชาติญาณ
เรื่องกาม ที่ติดมาข้ามชาติ ว่าต้องทำอย่างไรจึงสมประสงค์
ตั้งแต่อยากเห็นกันเนืองๆ การได้เจอ สนทนา การจับ ต้อง ลูบ คลำ บีบ เคล้น เป็นต้น

หลวงพ่อเตือน การทำงานร่วมกันระหว่างพระ/อุบาสก กับอุบาสิกา , ระวังความใกล้ชิดกัน
ความคลุกคลี เริ่มจากการไม่สำรวมอินทรีย์


การแก้ไขปัญหาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในฐานะผู้บริหาร ต้องสืบสาวเรื่องราวไปตามลำดับการปกครอง โดย

1. ทรงเรียกประชุมภิกษุสงฆ์ ไม่ใช่เรียกประชุมภิกษุณีสงฆ์ เพราะภิกษุเป็นผู้ปกครองภิกษุณี
- ทรงสอบถามเรื่องราวจากภิกษุสงฆ์ ( ไม่ได้เชื่อข่าวลือ )
- ให้ที่ประชุม รับว่าเป็นเรื่องจริงก่อนแล้วทรงติเตียน
1) ติเตียนความประพฤติส่วนบุคคล ของสุนทรีนันทาภิกษุณี
2) ติเตียนหมู่คณะ คือ ภิกษุณีสงฆ์ที่ไม่สันโดษในเสนาสนะ
และติเตียนภิกษุสงฆ์ที่ปกครองภิกษุณีสงฆ์ไม่รอบคอบ

2. ไม่ทรงติเตียนนาย สาฬหะ หลานมหาอุบาสิกา วิสาขา เพราะเป็นคนนอก


3. เมื่อทรงวินิจฉัยและตัดสิน ก็ทรงประกาศการบัญญัติปฐมปาราชิกสิกขาบทภิกษุณีสงฆ์
ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นผู้ปกครองภิกษุณีสงฆ์ แล้วให้ภิกษุีสงฆ์ ไปแจ้งแก่ภิกษุณีสงฆ์เอง

4. ทรงแยกแยะความผิดส่วนบุคคลและความผิดของส่วนรวม ออกจากกัน

5. ทรงให้โอกาสผู้ทำผิดครั้งแรก แก้ไขปรับปรุง

6. ทรงจำแนกผลเสีย ของการกระทำที่เกิดกับหมู่คณะและที่เกิดส่วนตัว

7. ทรงให้เหตุผลการบัญญัติสิกขาบท เพื่อ
- ประโยชน์ต่อคนใน คือ ภิกษุ ภิกษุณี
- ประโยชน์คนนอก คือ พุทธศาสนิกชน
- ประโยชน์แก่ คนที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชน เช่น นักบวชลัทธิต่างๆ
- ความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม

ปัญหาส่วนบุคคล คือ สุนทรีนันทาภิกษุณี ไม่สำรวมอินทรีย์ จึงเกิดความกำหนัดยินดี

ปัญหาที่เกิดจากส่วนรวม คือ

๑. เหล่าภิกษุณีสงฆ์ มีอาคารวิหารอยู่แล้ว ยังไม่รู้จักพอ ไม่สันโดษ โลภ

๒. ทำไม ไม่คัดเลือกภิกษุณีที่บรรลุอรหัตผลแล้ว ซึ่งก็มีอยู่มาก

๓. รู้ว่าสุนทรีนันทาภิกษุณี ยังมีกิเลส แต่ไม่หามาตรการป้องภัยเรื่องชู้สาว

๔. ภิกษุณีสงฆ์ ไม่ติดตามดูพฤติกรรมของลูกศิษย์
( ว่า ทำงานเป็นอย่างไร มีปัญหาอะไรไหม ถ้าผิดพลาดจะได้แก้ทัน )

๕ ภิกษุสงฆ์ ก็ปล่อยให้เกิดเรื่อง แสดงว่า การติดตามดูแลหย่อนยาน

*** เมื่อเกิดปัญหาในหมู่คณะ ผู้ปกครอง ผู้บริหารก็มีส่วนแห่งความผิดนั้นด้วย
*** หลวงพ่อชมภิกษุณีชรา ที่มีความรับผิดชอบต่อหมู่คณะ คือเมื่อนางรู้เห็นใครทำผิด ก็ไม่ปกปิดไว้
แล้วยังแจ้งให้ส่วนรวมทราบ

๖. ใครรู้เห็นความผิดของบุคคลที่ก่อความเสียหายให้หมู่คณะ แล้ว
1) ไม่ตักเตือน
2) ปกปิดไว้ไม่โจทย์ด้วยตัวเอง
3) ไม่แจ้งผู้ปกครอง
สามอย่างนี้ ถือว่า ชั่ว พอๆกับคนทำผิด


*** หลวงพ่อยกตัวอย่าง คุณธรรมของพระเดชพระคุณหลวงพ่อธมฺมชโย มองการณ์ไกล ตัดไฟแต่ต้นลม ไม่ให้สิทธิพิเศษหมู่ญาติเพื่อป้องกันปัญหา เช่น

- มีน้องชาย ต่างมารดาของท่านมาขอบวช ท่านก็ขอให้ไปบวชที่วัดอื่น
- แม้น้องสาวท่าน อยากมาเป็นอุบาสิกา ถือศีล ปฏิบัติธรรมในวัดพระธรรมกาย ท่านก็แนะให้ไปที่วัดอื่น
- แม้ญาติของท่าน ที่ทำธุรกิจรับเหมางานก่อสร้าง ท่านก็ไม่ดึงมารับงานก่อสร้างของวัด

*** โปรดศึกษาเพิ่มเติม พระวินัยปิฎก เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์
ปาราชิกกัณฑ์ ปาราชิกสิกขาบทที่ ๑ เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา


วัตถุประสงค์ในการบัญญัติวินัย ๑๐
(เหตุผลที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภหรือประโยชน์ที่ทรงประสงค์ ในการทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสงฆ์สาวก
— reasons for laying down the course of training for monks;
purposes of monastic legislation)


ก. ว่าด้วยประโยชน์แก่สงฆ์หรือส่วนรวม
๑. สงฺฆสุฏฺฐุตาย (เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ คือ เพื่อความเรียบร้อยดีงามแห่งสงฆ์ ซึ่งได้ทรงชี้แจงให้มองเห็นคุณโทษแห่งความประพฤตินั้นๆ
ชัดเจนแล้วจึงทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้นไว้โดยความเห็นร่วมกัน
— for the comfort of the excellence of the unanimous Order)

๒. สงฺฆผาสุตาย
(เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ — for the comfort of the Order)

ข. ว่าด้วยประโยชน์แก่บุคคล
๓. ทุมฺมงฺกูนํ ปุคฺคลานํ นิคฺคหาย
(เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก คือ เพื่อกำราบคนผู้ด้าน ประพฤติทราม
— for the control of shameless persons)

๔. เปสลานํ ภิกฺขูนํ ผาสุวิหาราย
(เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
— for the living in comfort of well-behaved monks)

ค. ว่าด้วยประโยชน์แก่ความบริสุทธิ์ หรือแก่ชีวิต ทั้งทางกายและทางใจ
๕. ทิฏฺฐธมฺมิกานํ อาสวานํ สํวราย
(เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายอันจะบังเกิดในปัจจุบัน คือ
เพื่อระงับปิดทางความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อน ที่จะมีในปัจจุบัน
— for the restraint of the cankers in the present;
for the prevention of temporal decay and troubles)


ง. ว่าด้วยประโยชน์แก่ประชาชน
๗. อปฺปสนฺนานํ ปสาทาย
(เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส
— for the confidence of those who have not yet gained confidence)

๘. ปสนฺนานํ ภิยฺโยภาวาย
(เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว
— for the increase of the confidence of the confident)

จ. ว่าด้วยประโยชน์แก่พระศาสนา
๙. สทฺธมฺมฏฺฐิติยา
(เพื่อความตั้งมั่นแห่งสัทธรรม — for the lastingness of the true doctrine)

๑๐. วินยานุคฺคหาย
(เพื่ออนุเคราะห์วินัย คือ ทำให้มีบทบัญญัติสำหรับใช้เป็นหลักเกณฑ์จัดระเบียบของหมู่ สนับสนุนความมีวินัยให้หนักแน่นมั่นคงยิ่งขึ้น
— for the support of the discipline)

[b]Vin.III.20; A.V.70. วินย.๑/๒๐/๓๗; องฺ.ทสก.๒๔/๓๑/๗๔. [/b]


หมายเหตุ
1 ) ข้อมูลจากบันทึกย่อธรรมะและความทรงจำที่ข้าพเจ้าเคย
ได้ฟังและอ่านพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณหลวงพ่อทตฺตชีโว
รวมถึงได้ยินได้ฟังจากพระอาจารย์และกัลยาณมิตรมากมาย

2 ) ที่นำมาเผยแผ่เพื่อรำลึกถึงคุณธรรมและคุณประโยชน์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ทตฺตชีโว
ที่ท่านสร้างสรรค์ไว้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย
เนื่องในวาระวันคล้ายวันเกิดครบ ๖๖ ปีและช่วง ๓๕ พรรษากาลในเพศสมณะของพระพ่อ

#2 Peacefulness ™

Peacefulness ™
  • Members
  • 1145 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:On the planet Earth.
  • Interests:Almost everything that helps me to become better and better; especially, the Grestest Dharma of the Lord Buddha

โพสต์เมื่อ 18 December 2006 - 06:21 PM



เยี่ยมยอดไปเลยครับ ท่าน dangdee

ข้าพเจ้าใคร่ขอ อนุโมทนาบุญทุกๆบุญ กับ ท่าน dangdee สำหรับ ความเพียรอุสาหะ ความมานะพยายาม และความตั้งใจ ที่ได้ตั้งใจกระทำไว้ดีแล้ว ด้วยนะครับ

สาธุ...สาธุ...สาธุ...ครับ



ข้าพเจ้าขออนุญาตแนะนำกระทู้ ในหัวเรื่อง ปกิณกะโอวาทพระเดชพระคุณ หลวงพ่อทตฺตชีโว และที่น่าสนใจเพิ่ม สำรับ ท่านผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมต่อเนื้อง ได้ครับ

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร – วันอาสาฬหบูชา
ความรับผิดชอบร่วมกันต่อหมู่คณะ ภิกขุณีวิภังค์
การพัฒนาฆราวาสธรรมของหลวงพ่อ ทตฺตชีโว
ปัญหาการขาดแคลนเจ้าอาวาสและวิสัยทัศน์ ของผู้บริหาร
การดูแลสุขภาพของสามเณร
ข้อคิดในวันสงกรานต์
ผลเสียของการนอนดึก
งาน 3 อย่างของนักสร้างบารมี
โอวาทอบรมพระนวกปีพุทธศักราช ๒๕๓๕
การเรียนพุทธประวัติ ( พระปฐมสมโภช )
หน้าที่ของนักเรียนบาลี
คารวะธรรม
ข้อคิดงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน USA
ข้อคิดในการประชุมยุวพุทธฯ ที่นิวซีแลนด์ กลางปี พ.ศ. 2545
การฝึกอบรมธรรมทายาท
ธรรมะเทศนา มงคล 38 ประการ แบบสบายๆ โดย ท่านพระภาวนาวิริยคุณ (^-^)v

ท่านผู้สนใจ สามารถทดลองฟัง มงคล 38 ประการ โดย ท่านพระภาวนาวิริยคุณ ได้เลย โดย กดปุ่มเล่นด้านล่าง ได้เลยนะครับ

[wmv=false]http://www.takitsuba.com/Mk00_1.wma[/wmv]
ขอเชิญร่วม อนุโมทนาบุญ งานบุญกฐินพระราชทาน ที่ วัดปากน้ำภาษีเจริญ คลิ๊กที่นี้
ขอเชิญร่วม อนุโมทนาบุญ งานบุญกฐินพระราชทาน ที่ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก คลิ๊กที่นี้
.

Who am I?__>>> CLick Here <<< to see my answer Post # 7

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

For any inquiries please

.

รวมภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า:
คลิ๊กที่นี้
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ ได้รับ ภาพทั้งหมดของ คำสอนคุณยาย ฉบับรวมเล่ม และภาพ (ฉบับสมบรูณ์)
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 157 files, 557.61 MB, ธรรมมะเทศนา มงคล 38 โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว)
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 58 files, 120.99 MB, for easy listening dharmas.
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 121 really-good-to-read e-books, 295.67 MB.
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ Download โปรแกรม Free Download Manager ช่วย Download ไฟล์ใหญ่ๆ ต่างๆ ฟรีครับฟรี
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ Download โปรแกรม Acrobat Reader V.5
.
ที่มา: คลิ๊กที่นี้ ปล. สืบเนื้องมาจาก กระทู้นี้ โพสต์โดย ท่าน ฟ้าร้าง
.
เรื่อง การสร้างบารมีของพระโพติสัตว์ เข้าใจได้ไม่ยาก โปรดลอง คลิ๊กที่นี้
.
สนใจอ่าน

The basic knowledge of Buddhism to become a better buddhist Edition 2 คลิ๊กที่นี้

(With some english explanation)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

"Do not confuse having a career with having a life"
-= Hillary Clinton =-.... >>>>>>>
CLicK HeRe <<<<<< To Be wisher, To Be smarter, and To Know Better !!!
Lastest Revised: 16/12/2006 | 08:43 PM

#3 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 13 April 2007 - 10:14 AM

ขอกราบอนุโมทนาบุญกับคุณ Dangdee และคุณ Peacefulness ™ ด้วยครับ สาธุ