ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

ปกิณกะโอวาทพระเดชพระคุณ หลวงพ่อทตฺตชีโว


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 4 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 18 December 2006 - 05:16 PM

ช่วงแรกหลวงพ่อให้ความรู้จนท.โรงครัว ที่สุขภาพกายดูทรุดโทรม ทั้งที่ท่านไม่เห็นการทำงานในโรงครัว แต่สันนิษฐานจากความรู้และประสบการณ์ของท่านและสังเกตจากคนที่ท่านเคยใช้งาน เช่น
พี่..... เคยไปช่วยงานครัวแล้วเข่าบวม
ท่านเรียกอุบาสิกา 3 ท่าน มาหาแล้วพยากรณ์ว่า แต่ละคนมีสุขภาพแย่อย่างไรบ้าง
ซึ่ง 3 ท่านก็รับว่าจริง เช่น
อาการเข่าบวม หลังบวม เอวคด กระดูกคด หงุดหงิดง่าย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นต้น

นอกจากท่านสังเกตจากคนที่เคยใช้งานแล้ว
ท่านยังวิเคราะห์จาก สภาพที่อยู่อาศัย สภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนตามฤดูกาล
( นอนใกล้หน้าต่าง ลมเปลี่ยนทิศ จึงไม่สบาย )

พระบางรูปมีเสมหะมาก ท่านแนะเล่นโยคะท่าสิงโตคำราม แต่ถ้าใครเป็นเรื้อรังจะได้แค่บรรเทาเท่านั้น

ท่านเล่าว่า พระมหา ฉัตตัญชโย เคยถามท่านว่า ได้สิ่งเหล่านี้มาอย่างไร
ท่านจึงเล่าให้พระมหา ฉัตตัญชโยฟังว่า

การจะดูคนเป็น เราต้องเหนือเขา หรืออย่างน้อยเท่ากับเขา

ในแง่สุขภาพ เราเคยป่วยเหมือนเขา จึงรู้อาการและสาเหตุของโรค

สรุป ท่านได้บุคคลในทิศ ๖ ดี ทำให้ได้ฝึกฝนอบรมคุณธรรมความดีมากมาย

โยมพ่อเป็นลูกผู้ดี เป็นทหารม้า
ต่อมาในสมัย ร.๘ โดนปลดประจำการ ( ตามเหตุการณ์บ้านเมือง )
โยมพ่อจึงมาทำไร่ จากทำอะไรไม่เป็น ก็ต้องทำให้เป็นทุกอย่าง
ยอมลำบาก หนักเอาเบาสู้ เพื่อครอบครัวอยู่ดีมีสุข

ชีวิตสมัยเด็กของท่านโยมพ่อสอนทุกอย่าง
- ให้เรียนรู้ สังเกตสภาวะธรรมชาติ ดิน ฟ้า อากาศ
- ดูพฤติกรรมของสัตว์ ( จิ้งหรีด จิ้งโคร่ง มด ) ซึ่งสัตว์เหล่านี้มีสัญชาติญาณเนื่องกับสภาวะธรรมชาติ
- ดูดาวบนฟ้า ดูลักษณะเมฆ
- ดูเพื่อน
(โยมพ่อชอบให้ท่านพาเพื่อนมาเที่ยวที่บ้าน แล้วสอนว่าเพื่อนคนไหนเป็นอย่างไร ใครควรคบใกล้ ใครควรคบห่าง)

- โยมพ่อพาท่านแบกจอบ เสียม ลงไร่หลังฝนตก เพื่อดูบริเวณที่น้ำท่วมขัง จะเห็นชัดหลังฝนตก แล้วช่วยกันปรับระดับดิน

- โยมพ่อกับท่าน เคยช่วยกันขุดดิน ถางหญ้า ตามบริเวณร่มเงาของต้นไม้ แล้วมานั่งหัวเราะด้วยกัน
คนอื่นอาจไม่เข้าใจ มองว่าพ่อลูกคู่นี้แปลกๆ เพราะงานเสร็จเป็นหย่อมๆ
แต่สิ่งที่ดีคือ ท่านไม่ต้องทำงานกลางแดด จึงเป็นการถนอมสุขภาพให้โทรมน้อย

- โยมพ่อสอนดูพฤติกรรมของมด ที่คาบไข่อพยพ ( น้ำท่วมต้นขนุนตายง่าย )

- โยมพ่อท่านเป็นโรคกระเพาะ ท่านไม้รู้ว่าจะตายเมื่อไรจึงเร่งถ่ายทอดความรู้ และวางแผนหาเงิน
ให้เป็นทุนการศึกษา คือ สอนให้ท่านปลูกไม้ผล ไว้เก็บดอกเก็บผลเป็นค่าเล่าเรียน

- โยมพ่อจะทำความรู้จักค้นเคยกับครูของลูก ทำให้ครูเหล่านั้นเมตตาเคี่ยวเข็ญท่านเป็นพิเศษ

- บรรดาพ่อแม่ ญาติมิตรของหลวงพ่อ ไม่มีใครพูดโกหก ท่านจึงได้ฝึก สัจจะ

- หลวงพ่อท่านมีอัธยาศัย ยินดีรับใช้บุคคลทั้ง ๖ ทิศ
แม้แต่ลูกจ้างที่บ้าน ท่านก็อ่อนน้อม ยอมเป็นลูกมือของลูกจ้าง
ท่านจึงได้ความรู้พิเศษ จากบุคคลรอบข้างในทิศ ๖ มากมาย

( เพราะอ่อนน้อม มีคารวะ ยอมรับใช้ ทำงานเพื่อส่วนรวม ไม่อยากได้หน้า คุณธรรมจากคนอื่นจึงไหลเข้าหาท่าน )


- ท่านรักการอ่าน สมัยเรียนที่กาญจนบุรี
ท่านอ่านหนังสือ > 1,000 เล่ม ในห้องสมุด โดยเฉพาะ หนังสือวรรณคดี ประวัติศาสตร์ีและธรรมะ

- ท่านชอบใกล้ครู ยอมให้ครูใช้งานสารพัด ยิ่งโดนใช้ยิ่งได้ความรู้ประสบการณ์
( มีวุฒิธรรม ๔ )

จากการได้บุคคลในทิศ ๖ ดี ท่านจึงได้ฝึก ปุริสสธรรม ๗ โดยปริยาย

- ท่านทำงานที่ Contrast กันมาก คือ งานสมบุกสมบันที่พ่อสอน กับงานช่วยแม่ทำขนม ล้างจาน

- ท่านไม่ถนัดเข้างานสังคมมาตั้งแต่เป็นเด็ก ปัจจุบันงานสังคม (การคณะสงฆ์) ท่านไปก็เพราะ หน้าที่

- ท่านมีอัธยาศัยมีน้ำใจให้คนรอบข้าง ท่านเคยช่วยลุงที่เป็นหมอยาสมุนไพร ดูแลคนป่วย
จึงได้ความรู้เกี่ยวกับยาแผนโบราณ คุณประโยชน์จากสุมนไพร
และความรู้การรักษาโรคภัยไข้เจ็บตามภูมิปัญญาท้องถิ่น

สรุป พระเดชพระคุณ
1 ) ได้บุคคลในทิศ ๖ ดี
2 ) ท่านรักการฝึกตน อาศัยบุคคลในทิศ ๖ ฝึกฆราวาสธรรม สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ รวมถึงปุริสสธรรม ๗


*** ข้อมูลเพิ่มเติม

(๑๓๘) ฆราวาสธรรม ๔
(ธรรมสำหรับฆราวาส, ธรรมสำหรับการครองเรือน, หลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์
- virtues for a good household life; virtues for lay people)

๑. สัจจะ (ความจริง, ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง - truth and honesty)

๒. ทมะ
(การฝึกฝน, การข่มใจ ฝึกนิสัย ปรับตัว, รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง
ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา
- taming and training oneself; adjustment)

๓. ขันติ (ความอดทน, ตั้งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน
ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อถอย
- tolerance; forbearance)

๔. จาคะ (ความเสียสละ, สละกิเลส สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตนได้
ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟังความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่น
พร้อมที่จะร่วมมือ ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตนหรือเอาแต่ใจตัว
- liberality; generosity)

ในธรรมหมวดนี้ ทมะท่านมุ่งเอาด้านปัญญา ขันติท่านเน้นแง่วิริยะ.
S.I.215; Sn.189. สํ.ส.๑๕/๘๔๕/๓๑๖; ขุ.สุ.๒๕/๓๑๑/๓๖๑.

(๑๗๖) วุฒิ หรือ วุฑฒิธรรม ๔
(ธรรมเป็นเครื่องเจริญ, คุณธรรมที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม
- virtues conducive to growth)

๑. สัปปุริสังเสวะ (คบหาสัตบุรุษ, เสวนาท่านผู้รู้ผู้ทรงคุณ
- association with a good and wise man)

๒. สัทธัมมัสสวนะ (ฟังสัทธรรม, เอาใจใส่เล่าเรียน หาความรู้จริง
- listening to the good teaching)

๓. โยนิโสมนสิการ (ทำในใจโดยแยบคาย, คิดหาเหตุผลโดยถูกวิธี - critical reflection)

๔. ธัมมานุธัมมปฏิบัติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม,
ปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องตามหลักคือให้สอดคล้องพอดีตามขอบเขตความหมาย
และวัตถุประสงค์ที่สัมพันธ์กับธรรมข้ออื่นๆ,
นำสิ่งที่ได้เล่าเรียนและตริตรองเห็นแล้วไปใช้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลัก
ตามความมุ่งหมายของสิ่งนั้นๆ
- the practice in accord of all levels and aspects of the Dharma;
practice in perfect conformity to the Dharma or to the principle)


ธรรมหมวดนี้ ในบาลีที่มา เรียกว่า ธรรมที่เป็นไปเพื่อ ปัญญาวุฒิ คือ
เพื่อความเจริญงอกงามแห่งปัญญา
(virtues conducive to growth in wisdom)
A.II.145. องฺ.จตุกฺก.๒๑/๒๔๘/๓๓๒

(๒๗๒) สัปปุริสธรรม ๗
(ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ, คุณสมบัติของคนดี, ธรรมของผู้ดี
— qualities of a good man; virtues of a gentleman)

๑. ธัมมัญญุตา (ความรู้จักธรรม รู้หลัก หรือ รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ
รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล เช่น
ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง
พระมหากษัตริย์ทรงทราบว่าหลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร
มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ๆ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ๆ
จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการอันนั้นๆ เป็นต้น
— knowing the law; knowing the cause)

๒. อัตถัญญุตา (ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ
รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์
รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก เช่น
รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร
กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร
การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร
เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้างดังนี้เป็นต้น
— knowing the meaning; knowing the purpose; knowing the consequence)

๓. อัตตัญญุตา (ความรู้จักตน คือ รู้ว่า เรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ
กำลังความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร
แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป — knowing oneself)

๔. มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น
ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่
คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์
พระมหากษัตริย์รู้จักประมาณในการลงทัณฑอาชญาและในการเก็บภาษี เป็นต้น
— moderation; knowing how to be temperate)

๕. กาลัญญุตา (ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ
กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น
— knowing the proper time; knowing how to choose and keep time)

๖. ปริสัญญุตา (ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม
รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา
จะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น
— knowing the assembly; knowing the society)

๗. ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา
(ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น
ใครๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดี
ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้จะตำหนิ ยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น
— knowing the individual; knowing the different individuals)

ภิกษุผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ข้อนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสังฆคุณครบ ๙ แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ทรงประกอบด้วยธรรมเหล่านี้
(ท่านแสดงไว้เฉพาะข้อหลัก ๕ ข้อ คือ ข้อ ๑-๒-๔-๕-๖ องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๓๑/๑๖๖ A.III.๑๔๘) จึงทรงยังธรรมจักรและอาณาจักรให้เป็นไปด้วยดี

D.III.252, 283; A.IV.113 ที.ปา.๑๑/๓๓๑/๒๖๔; ๔๓๙/๓๑๒; องฺ.สตฺตก.๒๓/๖๕/๑๑๔




#2 Peacefulness ™

Peacefulness ™
  • Members
  • 1145 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:On the planet Earth.
  • Interests:Almost everything that helps me to become better and better; especially, the Grestest Dharma of the Lord Buddha

โพสต์เมื่อ 18 December 2006 - 07:02 PM



เยี่ยมยอดไปเลยครับ ท่าน dangdee

ข้าพเจ้าใคร่ขอ อนุโมทนาบุญทุกๆบุญ กับ ท่าน dangdee สำหรับ ความเพียรอุสาหะ ความมานะพยายาม และความตั้งใจ ที่ได้ตั้งใจกระทำไว้ดีแล้ว ด้วยนะครับ

สาธุ...สาธุ...สาธุ...ครับ



ข้าพเจ้าขออนุญาตแนะนำกระทู้ ในหัวเรื่อง ปกิณกะโอวาทพระเดชพระคุณ หลวงพ่อทตฺตชีโว และที่น่าสนใจเพิ่ม สำรับ ท่านผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมต่อเนื้อง ได้ครับ

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร – วันอาสาฬหบูชา
ความรับผิดชอบร่วมกันต่อหมู่คณะ ภิกขุณีวิภังค์
การพัฒนาฆราวาสธรรมของหลวงพ่อ ทตฺตชีโว
ปัญหาการขาดแคลนเจ้าอาวาสและวิสัยทัศน์ ของผู้บริหาร
การดูแลสุขภาพของสามเณร
ข้อคิดในวันสงกรานต์
ผลเสียของการนอนดึก
งาน 3 อย่างของนักสร้างบารมี
โอวาทอบรมพระนวกปีพุทธศักราช ๒๕๓๕
การเรียนพุทธประวัติ ( พระปฐมสมโภช )
หน้าที่ของนักเรียนบาลี
คารวะธรรม
ข้อคิดงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาใน USA
ข้อคิดในการประชุมยุวพุทธฯ ที่นิวซีแลนด์ กลางปี พ.ศ. 2545
การฝึกอบรมธรรมทายาท
ธรรมะเทศนา มงคล 38 ประการ แบบสบายๆ โดย ท่านพระภาวนาวิริยคุณ (^-^)v

ท่านผู้สนใจ สามารถทดลองฟัง มงคล 38 ประการ โดย ท่านพระภาวนาวิริยคุณ ได้เลย โดย กดปุ่มเล่นด้านล่าง ได้เลยนะครับ

[wmv=false]http://www.takitsuba.com/Mk00_1.wma[/wmv]
ขอเชิญร่วม อนุโมทนาบุญ งานบุญกฐินพระราชทาน ที่ วัดปากน้ำภาษีเจริญ คลิ๊กที่นี้
ขอเชิญร่วม อนุโมทนาบุญ งานบุญกฐินพระราชทาน ที่ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก คลิ๊กที่นี้
.

Who am I?__>>> CLick Here <<< to see my answer Post # 7

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

For any inquiries please

.

รวมภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า:
คลิ๊กที่นี้
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ ได้รับ ภาพทั้งหมดของ คำสอนคุณยาย ฉบับรวมเล่ม และภาพ (ฉบับสมบรูณ์)
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 157 files, 557.61 MB, ธรรมมะเทศนา มงคล 38 โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว)
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 58 files, 120.99 MB, for easy listening dharmas.
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 121 really-good-to-read e-books, 295.67 MB.
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ Download โปรแกรม Free Download Manager ช่วย Download ไฟล์ใหญ่ๆ ต่างๆ ฟรีครับฟรี
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ Download โปรแกรม Acrobat Reader V.5
.
ที่มา: คลิ๊กที่นี้ ปล. สืบเนื้องมาจาก กระทู้นี้ โพสต์โดย ท่าน ฟ้าร้าง
.
เรื่อง การสร้างบารมีของพระโพติสัตว์ เข้าใจได้ไม่ยาก โปรดลอง คลิ๊กที่นี้
.
สนใจอ่าน

The basic knowledge of Buddhism to become a better buddhist Edition 2 คลิ๊กที่นี้

(With some english explanation)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

"Do not confuse having a career with having a life"
-= Hillary Clinton =-.... >>>>>>>
CLicK HeRe <<<<<< To Be wisher, To Be smarter, and To Know Better !!!
Lastest Revised: 16/12/2006 | 08:43 PM

#3 Dd2683

Dd2683
  • Members
  • 2477 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:กรุงเทพ มหานคร
  • Interests:ความรู้ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย<br />ผลแห่งการปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 18 December 2006 - 07:17 PM

อนุโมทนาบุญทุกๆบุญ กับ ท่าน Peacefulness ™ เช่นกันนะครับ
ที่กรุณาทำ link ไว้ให้ครับ สาธุ สาธุ สาธุ

ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม

#4 Peacefulness ™

Peacefulness ™
  • Members
  • 1145 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:On the planet Earth.
  • Interests:Almost everything that helps me to become better and better; especially, the Grestest Dharma of the Lord Buddha

โพสต์เมื่อ 18 December 2006 - 07:44 PM

QUOTE(From dangdee)
อนุโมทนาบุญทุกๆบุญ กับ ท่าน Peacefulness ™ เช่นกันนะครับ
ที่กรุณาทำ link ไว้ให้ครับ สาธุ สาธุ สาธุ___By ท่าน "dangdee"
สาธุ...สาธุ...สาธุ...อนุโมทามิ

ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่งครับผม

#5 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 13 April 2007 - 10:17 AM

ขอกราบอนุโมทนาบุญกับคุณ dangdee และคุณ Peacefulness ™ ด้วยครับ สาธุ