ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

เข้าใจคำว่า "จิต ปภัสสร" กันอย่างไรบ้างครับ?


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 Tanay007

Tanay007
  • Members
  • 616 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 January 2007 - 10:10 AM

ผมค่อนข้างจะแน่ใจว่า แต่ละคนก็เข้าใจคำว่า "จิต ปภัสสร" ต่างๆ กันไปตามความรู้ความเข้าใจของตนเอง
แต่อยากจะรู้ว่า แต่ละคนคิดเห็นและเข้าใจความหมายอย่างไรบ้าง มาแชร์กันหน่อยครับ ส่วนของผม เมื่อยังไม่รู้ไม่เข้าใจความหมาย ฟังจากคำที่สอนต่อๆ กันมาก็เข้าใจเป็นอย่างหนึ่ง แต่พอได้ศึกษาในส่วนที่เป็นภาษาศาสตร์ กลับได้อีกความหมายหนึ่งโดยไม่ต้องไปตีความเลย
ซึ่งหลายๆ ท่านคงมีคำตอบอยู่ในใจ ลองมาแชร์กันดูครับ เดี๋ยวผมค่อยมาเฉลยของตัวเองในตอนเย็นๆ happy.gif

#2 บุญโต

บุญโต
  • Members
  • 2192 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • Interests:ปฏิบัติธรรม

โพสต์เมื่อ 10 January 2007 - 11:54 AM

บุญโตพอทราบมาว่าคำนี้ถ้าความหมายทางพุทธฝ่ายต่างๆ และแต่ละที่ให้ความหมายต่าง ๆ กัน dont_tell_anyone_smile.gif

สำหรับบุญโตเข้าใจว่า "จิตผ่องใส จิตที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส เรื่องเศร้าหมองทั้งมวล"

จิตเดิมนั้นประภัสสร แต่ที่เศร้าหมองเพราะกิเลส...ที่ทำให้เกิดความสกปรกของจิตใจ
แต่สามารถแก้ไขได้เพราะเกิดขึ้นอย่างมีสาเหตุ (คือเจ้าตัวกิเลสนี่เอง)
ถ้าเราสามารถละกิเลสได้ จะชั่วคราวหรือถาวร ก็จะเห็นความผ่องใสของจิตเอง
คนที่ฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอจะรู้จะเข้าใจว่า ที่ว่าจิตผ่องใส จิตสว่าง นั้น เป็นอย่างไร
(และตอนนี้บุญโตก็เข้าใจมากแล้วว่าเป็นอย่างไร หลังจากที่ได้ปฏิบัติต่อเนื่อง happy.gif )
***จิตปภัสสรของบุญโตจึงหมายถึง จิตของผู้ปฏิบัติธรรมจนสามารถหลุดจากกิเลสทั้งมวล และจิตนั้นต้องอยู่ที่เดิมทั้งนั่ง นอน ยืน เดิน***

การนอนหลับสนิทที่ไม่มีการฝันใด ๆ เลย เรียกได้ว่าจิตปภัสสรหรือปล่าว?

#3 WISH

WISH
  • Moderators
  • 3579 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 January 2007 - 01:05 PM

พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน
--------------------------------------------------------------------------------
1. ค้น : ประภัสสร
คำ : ประภัสสร
เสียง : ปฺระ-พัด-สอน
คำตั้ง : ประภัสสร
ชนิด : น.
ที่ใช้ :
ที่มา : (ป. ปภสฺสร)
นิยาม : สีเลื่อมๆ พรายๆ, แสงพราวๆ เหมือนแสงพระอาทิตย์แรกขึ้น.
ภาพ :
อ้างอิง :
ปรับปรุง : 98/4/2
--------------------------------------------------------------------------------
2. ค้น : ประภัสสร
คำ : ประภัสสร
เสียง : ปฺระ-พัด-สอน
คำตั้ง : ประภัสสร
ชนิด : น.
ที่ใช้ :
ที่มา : (ป. ปภสฺสร)
นิยาม : บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร.
ภาพ :
อ้างอิง :
ปรับปรุง : 98/4/2

ในทัศนะ จิตประภัสสร คือ
happy.gif จิตเกษม(เขมัง) ตามนิยามของมงคลชีวิต ข้อ 38
nerd_smile.gif จิตดวงนี้แหล่ะตัวมงคลที่แท้จริง ที่เรียกว่า"มังคละอุตตะมัง"
ตามพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ
unsure.gif กายพระอนาคามี(ผู้ละสังโยชน์5) เจริญวิปัชสนาญาน เดินสมาบัติเพ่งอริยสัจ เป็นอนุโลมปฏิโลม ละกิเลส(สังโยชน์)อีก5 คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และ อวิชชา จิตของพระองค์บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสอาสวะทั้งมวล จึงได้พระเนมิตกะนามว่า"อรหันต์"

ไฟล์แนบ

  • แนบไฟล์  IMG_0342.jpg   31.84K   21 ดาวน์โหลด

ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC

#4 Tanay007

Tanay007
  • Members
  • 616 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 January 2007 - 06:10 PM

เมื่อก่อนผมก็เข้าใจคำว่าจิตปภัสสร หมายจิตผ่องใส แต่ก็มีความสงสัยเหมือนกันว่า ทุกครั้งทุกคนที่ตื่นขึ้นมา มีความสดชื่น มีอารมณ์ผ่องใส นั่นหมายความว่าจิตของเขาจะปภัสสรหรือไม่?
จนกระทั่งเมื่อเราได้เขาไปดูที่เนื้อหาของศัพท์จริงๆ ที่มาจากภาษาแม่ นั่นคือภาษาบาลี ก็ได้ความหมายว่า
ปภา + สร = ปภสฺสร
ปภา = ความสว่าง, รัศมี
สร = ซ่านออก กระจายออก
ความหมายของคำว่า "ปภัสสร" ก็คือ เป็นแหล่งกระจายออก (ซ่านออก) ของความสว่าง
เพราะฉะนั้นที่บอกว่า "ธรรมชาติของจิต ปภัสสร ก็คือ จิตนั้นมีความสว่างครับ เป็นแหล่งของความสว่าง แต่ที่ยังนั่งมืดตื้อมืดมิด ก็เพราะเรื่องของกิเลสจรที่หามาบ้าง ไม่ได้ตั้งใจบ้าง ฉะนั้นผู้ปฏิบัติธรรมจึงต้องสำรวมอินทรีย์ เพื่อไม่เปิดโอกาสให้กิเลสจรนั่นเอง และจะเป็นเหตุเข้าถึงความสว่าง (ที่มีอยู่แล้ว) ได้ง่ายขึ้นครับ

#5 บุญเพิ่มทุกวัน

บุญเพิ่มทุกวัน
  • Members
  • 49 โพสต์

โพสต์เมื่อ 10 January 2007 - 07:40 PM

ตอนแรกมองผ่าน ๆ นึกว่าเป็นชื่อ กับ นามสกุล ของศิลปินสะอีก (แหม คิดไปได้) เพราะคล้ายกับชื่อของวีรชน 14 ตุลา ท่านหนึ่ง (ใช่หรือเปล่า)

#6 ภสสรจิตโต

ภสสรจิตโต
  • Members
  • 140 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:บางบัวทอง นนทบุรี
  • Interests:ธรรมทายาท n21/590

โพสต์เมื่อ 12 January 2007 - 11:23 AM

ไม่ค่อยเข้าใจมาก แต่ดีใจที่เป็นนามสกุลตัวเอง เลยเป็นที่มาของฉายาตอนอุปสมบท