ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

วิญญาณ จุติเมื่อไรครับ เมื่อตั้งครรค์


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้

#1 cheterk

cheterk
  • Members
  • 314 โพสต์
  • Interests:พระนิพพาน

โพสต์เมื่อ 18 January 2007 - 11:58 AM

วิญญาณ จุติเมื่อไรครับ เมื่อตั้งครรค์

1. 1 เดือนถือว่ามีวิญญาณ หรือยัง
2. ถ้า 1 เดือนแล้ว กินยาเอาออก จะถือเป็นกรรมของเด็ก หรือ เป็นการก่อกรรมใหม่ของเรา
3. วิธีที่ดีควรมีแนวทางอย่างไร

#2 น้อมเศียรเกล้า

น้อมเศียรเกล้า
  • Members
  • 365 โพสต์
  • Location:ถ.ลาดพร้าว
  • Interests:พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกาย การรักษาโรคด้วยวิธีธรรมชาติ <br />รำนาฏศิลป์ เล่นดนตรีไทย เล่นดนตรีสากล

โพสต์เมื่อ 18 January 2007 - 12:13 PM

กระบวนการเกิดน่าจะเริ่มตั้งแต่เข้าสู่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ของเพศพ่อแล้วล่ะค่ะ แล้วก็บังคับทำให้พ่อประกอบธาตุหยาบกับแม่ และเคลื่อนสู่ศูนย์กลางกายฐานที่7ของแม่..ด้้วยเหตุฉะนี้ ผู้เป็นพ่อจึงมีอาการแพ้ท้องก่อนแม่ค่ะ แต่อาจสังเกตุได้ยากหน่อย..

อันนี้จำมาจาก หลวงพ่อนำนั่งสมาธิ ชุดที่ 9 เรื่องการไปเกิดมาเกิดน่ะค่ะ (ชื่อตอนอาจจะคลาดเคลื่อนไปบ้างนะคะ)

ป.ล ใช้คำว่าจุติ น่าจะไม่ถูกต้องค่ะ..การจุติคือกอาการย้าย หรือจากมากกว่า เช่นจุติจากสวรรค์มาสู่....เป็นต้น

ชีวิตมนุษย์เริ่มขึ้นจากศูนย์กลางกายฐานที่7 ค่ะ ในที่นี้น้อมเศียรเกล้าว่า น่าจะเป็นตอนที่เคลื่อนเข้าสู่ฐานที่ 7ของแม่นะคะ

#3 เถลิงเกียรติ

เถลิงเกียรติ
  • Members
  • 760 โพสต์
  • Interests:N/A

โพสต์เมื่อ 18 January 2007 - 01:29 PM

ผมขออนุญาติ อัญเชิญธรรมะ
ที่หลวงพ่อวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ. ราชบุรีท่านได้แสดงธรรมในการประชุมสนทนา
ระหว่างสำนักปฏิบัติจิตภาวนาในประเทศไทย
Intradialogue between Spiritual Practice Institutes in Thailand
มาประกอบ กับกระทู้ ถ้าอ่านอย่างละเอียด
จะได้ความรู้มากเลยครับ เรื่องการกำเนิดมนุษย์ ครับ
smile.gif
มีหลายสำนักได้แสดง วิธีฝึกสมาธิไว้ที่นี่ครับ
http://www.wb-univer...e...=14&newid=1


พระราชภาวนาวิสุทธิคุณ ขอกราบนมัสการพระเถรานุเถระที่มีพรรษาสูงกว่ากระผม
พระเถรานุเถระที่มีพรรษาเท่ากระผมและต่ำกว่ากระผม
ขอเจริญสุขแก่ท่านอธิการ อ.บรรจบ และทุกท่าน

กระผมขอประมวลโดยใช้วิธีสติปัฏฐาน 4 เป็นฐาน
และจะบอกวิธีปฏิบัติไปจนถึงอาการบรรลุมรรคผล และวิธีการเผยแผ่

แนวทางปฏิบัติตามที่หลวงพ่อท่านสอน เป็นไปตามหลักสติปัฏฐาน 4
ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า เป็นการพิจารณาเห็นการกาย เวทนา จิต ธรรม
ทั้งภายในและภายนอก อันนี้เป็นสิ่งสำคัญ เฉพาะในส่วนของ
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานก็มีข้อกำหนด
นิวรณ์ 5
ขันธ์ 5
อายตนะ 12
และอริยสัจ 4
ซึ่งถ้าจะกล่าวรายละเอียดไปถึงวิปัสสนาภูมิ
ก็ต้องต่อด้วยธาตุ 18 อินทรีย์ 22 และอริยสัจ 4 และปฏิจจสมุปบาท 12
แต่จำเพาะในส่วนข้อกำหนดพิจารณาเห็นธรรมในธรรมนี้ครอบคลุมข้อมูลทั้งสิ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้ออริยสัจ 4 ย่อมประกอบด้วย ทุกขสัจจ์ สมุทัย นิโรธ
และมรรคสัจจ์ ขั้นมรรคสัจจ์นั้นเองท่านทั้งหลายคงทราบดีว่า
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ท่านสงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขา
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาวายามะ ท่านสงเคราะห์เข้าในสีลสิกขา
และสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สงเคราะห์เข้าใจจิตสิกขา
และสัมมาทิฏฐินั้นก็คือการเจริญฌานทั้ง 4 มีปฐมฌาน ทุติยฌาน จตุตถฌาน

รวมเบ็ดเสร็จคือไตรสิกขา รวมในอริยมรรคมีองค์ 8 นั้น ในส่วนของจิตสิขาก็มีการปฏิบัติไตรสิกขา อันมีนัยอริมรรคมีองค์ 8 ก็คือ สติปัฏฐาน 4 นั่นเอง
มีการพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เบื้องต้นมีสติพิจารณาเห็นนิวรณ์ 5
เห็นเพื่อกำจัดและเห็นขันธ์ 5 อายตนะ 12
อีกทั้งธาตุ 4 อินทรีย์ 12 อริยสัจ 4 จนถึงปฏิจจสมุปบาท 12 ด้วย


ในส่วนของจิตสิกขาหรืออีกนัยหนึ่ง ในส่วนของสมถภาวนาหรือสมถกรรมฐาน

อุบายวิธีสงบใจ ตรงนี้นั้น หลวงพ่อวัดปากนี้ท่านฉลาดมาก ท่านอาศัยกรรมฐานคืออารมณ์สมถะที่มีอานุภาพมากแล้วเหมาะกับจิรตอัธยาศรัยของทุกคน คือ อาโลกกสิณ อีกอย่างหนึ่ง อานาปานสติประกอบด้วย และพุทธานุสสติ ตรงอาโลกกสิณนั้น พระมหาโพธิสัตวเจ้าก่อนนะบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณทรงเจริญอาโลกสัญญากับรูปมาก่อน

นี้ปรากฏอยู่ในมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่มที่ 14 ข้อ 454, 466 หน้า 301-310
ที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปสอนพระอนุรุทธะกับคณะ
กล่าวโดยสรุป ให้อาศัยอาโลกสัญญาและรูป

เป็นอุบายวิธีสงบใจเพื่อรวมใจอันประกอบด้วยความเห็นด้วยใจ
คำจำ ความคิด ความรู้ ให้มาอยู่ที่องค์บริกรรมนิมิต
โดยปกติการเพ่งแสงสว่างเมื่อพระโยคาวจรเพ่งมณฑลกสิณ
ที่เจาะข้างผา ให้มณฑลกสิณปรากฏบนพื้นเป็นวงกลม
เพ่งกสิณแสงสว่างนั้น จนจำได้ติดตาในเบื้องต้น
ชื่อว่าบริกรรมนิมิต นี้ให้สมาธิระดับขณิกสมาธิ
เมื่อเพ่งนานไปสามารถถือเอาอุคคหนิมิตได้
สมาธินั้นถึงขั้นอุปปจารสมาธิ เห็นดวงกลาใสสว่าง
กสิณทุกอย่างเมื่อเพ่งไปแล้ว ก็จะเห็นมณฑลกสิณเป็นวงกลมใสสว่างทั้งสิ้น
อยู่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค

เพราะฉะนั้น อาโลกกสิณเป็นกสิณกลางเป็นกสิณที่มีอานุภาพมาก
ใครเจริญได้แล้วอภิญญาเกิดเร็ว คือ ทิพจักษุ ทิพโสตเกิด
และถ้าเพ่งติดต่อไปจากอคคหนิมิตจนสามารถคือเอาปฏิภาคนิมิตได้
สมาธิก็จะถึงอัปปนาสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน
ประกอบด้วย วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข เอตัคคตา
เป็นคุณเครื่องกำจัดนิวรณ์ทั้ง 5 คือ
ถีนมิทธะ วิจิกิจฉา พยาบาท อุทธัจจกุกกุจจะ และกามฉันทะ
กำจัดด้วย วิตกวิจารย์ ปีติ สุข สุข เอกัคคตา เป็นคู่กัน นี่ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป
นี่เริ่มต้นแห่งสัมมาสมาธิซึ่งเป็นแห่งสัมมาสมาธิ
ซึ่งเห็นหนึ่งอยุ่ในมรรค 3 ซี่งท่านสงเคราะห์เข้าในจิตสิกขา

หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านอาศัยอุคคหนิมิตที่เป็นดวงกลมในสั้นเอง
เอามาใช้เป็นบริกรรมนิมิตเพื่อให้สาธุชน พระภิกษุสามเณร
ได้ศึกษาโดยสะดวก จึงให้ตรึกนึกเห็นดวงแก้วกลมใส
ใจอยู่ในกลางจุดเล็กใสอยู่ในกลางของดวงใจ
เป็นธรรมชาติของมนุษย์หรือสัตว์โลกเพื่อเห็นอะไรด้วยใจ
ทำธรรมชาติทั้ง 4 อย่างของใจนั้นก็จะมารวมอยู่ที่นั่น
เมื่อนึกให้เห็นดวงแก้วใสเป็นบริกรรมนิมิต นึกเห็นในเบื้องต้น
ก็ได้สมาธิขึ้น ขณิกสมาธิ แต่ว่าเมื่อกำหนดบริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาคู่กัน
จนใจสงบถึงอุคคหนิมิตตัวจริง นำไปสู่ปฏิภาคนิมิตตัวจริง
สมาธิก็จุสูงขึ้นเป็นอุปปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิเป็นตามลำดับ
อันนี้คือคุณของอาโลกกสิณที่หลวงพ่อนำมาใช้และท่านใช้นั้น

ท่านให้ใจรวมเป็นจุดเดียวกัน
ในองค์นิมิตศูนย์กลางกาย
เหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ

ตรงนี้ท่านอาจารย์ได้กล่าว ไปแล้วส่วนหนึ่ง นั่นแลว่า
ในการฝึกเจริญภาวนาในเบื้องต้น
ท่านให้กำหนดฐานต่าง ๆ ทั้งหมด 7 ฐาน
ซึ่งท่านอาจารย์พระครูธรรมทรได้กล่าวไปแล้ว
ผมขอกล่าวเสริมว่า ให้รู้ทางเดินของจิต
จิตจะออกหรือเข้ามาสู่ศูนย์กลางกาย
ก็เปลี่ยนวาระตรงศูนย์กลางกายนั้น
เช่น เวลาจะมาเกิด หรือจะดับจะหลับหรือฝันก็จะเกิด
ใจจะเดินตามฐานนี้ แต่เป็นไปอย่างรวดเร็ว
อันนี้ท่านเห็นได้ด้วยญาณทัสสนะของท่าน
แล้วเอามาชี้แจงว่า นี่คือทางเดินของจิต

เวลาสัตว์โลกจะไปเกิดมาเกิดหรือจะหลับหรือตื่น
จะเป็นอย่างนี้ เช่นว่าสัตว์โลก
เพื่อกำลังจะตาย จิตดวงเดิมที่ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ตกศูนย์
ปรุงเป็นจิตดวงใหม่ตามอำนาจของกรรม ก่อนจะตาย
จิตดวงสุดท้าย ถ่ายทอดกรรมนั้นไปปรุงเป็นจิตดวงใหม่ตา
อำนาจของกรรมดี กรรมชั่ว คือ กมฺมํ เขตฺตํ วิญฺญานํ พีชํ ตณฺหาสิเนหํ
แล้วจะลอยเด่นขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7
แล้วดำเนินต่อไป ออกไปตรงฐานที่ 6 5 4 3 2 1
ออกทางปากช่องจมูก สำหรับสัตว์โลกที่เป็นหญิงจะออกทางปากช่องจมูกซ้าย
ชายจะออกทางปากช่องจมูกขวา เป็นธรรมชาติของเรา เวลาจะมาเกิดเช่นเดียวกัน
มาเกิดนั้น ที่จะมาปฏิสนธิวิญญาณ จะมาพร้อมด้วยรูปธรรมและนามธรรม

ในส่วนละเอียดเป็นธาตุที่ประกอบพร้อมด้วยธาตุละเอียด
ของขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท 12
เป็นธาตุละเอียดซ้อนกันอยู่ภายใน

และถ้ากล่าวโดยส่วนรวมทั้งรูปธรรมและนามธรรม นามธรรมใจ รูปธรรมกาย
กายนั้นเป็นกายทิพย์ สภาพความเป็นกายทิพย์ตั้งแต่ความเป็นมนุษย์ละเอียด
ถ้าด้วยบารมีสูงขึ้นไประดับเทวธรรม ก็จะปรากฎกายทิพย์หรือกายพรหม
มาเข้าทางปากช่องจมูกบิดา ถ้าหญิงจะเข้าทางปากช่องจมูกซ้าย
ชายจะเข้าทางปากช่องจมูกขวาไปตามฐานต่าง ๆ

แล้วไปตั้งอยู่ฐานศูนย์กลางกายของบิดาชั่วระยะหนึ่ง
ภายในประมาณไม่เกิน 7 วัน เมื่อธาตุธรรมเห็นจำ คิด รู้ คือ ใจ
ของบิดา ของลูก และของมารดาตรงกันนิ่งสนิท
ตาจะเหลือบกลับทุกคน ให้ไปดูได้ทั้งหญิงและชาย
ขณะที่ตามเหลือบกลับอายตนะภพของมนุษย์
ถ้าเป็นคุณงามควมดีระดับมนุษยธรรมก็จะดึงดูดธาตุธรรม
ของลูกออกทางศูนย์กลางกายต่าง ๆ ถ้าเป็นหญิงก็จะออกทางปากช่องจมูกซ้าย
ชายจะออกทางปากช่องจมูกขวา ไปเข้าจมูกของมารดา หญิงซ้าย
ชายขวา เหมือนกัน ไปตั้งปฏิสนธิวิญญาณที่มดลูก คือไปเจาะรังไข่ ไปที่ลางรังไข่

ขณะสเปิร์มมาโตซัวเจาะรังไข่เข้าไปแล้ว
กลายเป็นกลลรูปหรือภาษาฝรั่งเรียกว่า Embryo


ท่านกล่าวว่า หยาดน้ำมันงาอันมัชฌิมบุรุษสลัดแล้ว 7 ครั้ง
ที่มาตั้งปฏิสนธิที่มดลูกมารดา และธาตุละเอียดนั้นประกอบด้วยธาตุละเอียดของขันธ์ 5 ก็มีธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ขยายส่วนหยาบออกมาเป็นดวงกาย
มีมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุละเอียดของธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม
อยู่ภายในกลายเป็นอากาสธาตุ กลางอากาสธาตุเป็นวิญญาณธาตุ
วิญญาณธาตุเป็นธาตุสุดท้ายของนามขันธ์ 4 คือ
ธาตุละเอียดของ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั่นเอง

แต่กล่าวย่อ ว่าวิญญาณธาตุ ในส่วนของมหาภูตรูป 4
ทำหน้าที่ควบคุมที่เป็นของเหลว ของหยาบแข็งและอุณหภูมิ
ลมปราณที่อยู่ในร่างกายให้อยู่ในสภาวะที่พอเหมาะ
และเจริญวัยขึ้นมาจากอาหารของมารดา
ขึ้นมาเป็นทารกในครรภ์ ทีนี้กำเนิดตั้งอยู่ในศูนย์กลางกายเหนือสะดือขึ้นมา 2 นิ้ว
มีอยู่ในทุกคน และตรงนี้เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา
จิตในจิต ธรรมในธรรม อันนี้หลวงพ่อเห็นด้วยญาณทัสสนะขอบท่านแล้ว
เมื่อได้ปฏิบัติก็จะเห็นอย่างนี้เหมือนกัน ไม่ต้องสงสัย

เมื่อเข้าใจแล้วว่า
เหตุใดจึงเป็นศูนย์กลายกายที่ 7

จริง ๆ แล้วมันมีศูนย์กลางกายระดับที่ 6 อีกอันหนึ่ง
แต่ว่าเป็นที่จิตปรุงแต่งฐานที่ 6 อีกอันหนึ่ง แต่ว่าเป็นที่จริงปรุงแต่งฐานที่ 6
และลอยเด่นขึ้นมาเป็นฐานที่ 7 จิตก็คือธาตุละเอียดของเวทนา สัญญา สังขาร
และวิญญาณ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นความจำ ความเห็น ความคิด ความรู้ ความเห็นด้วยใจ ตั้งอยู่ตรงใจกลาง ลอยเด่นขึ้นมา ตรงนี้หลวงพ่อให้เอาใจไปตั้งอยู่ตรงนี้

เพราะจะถูกกลางของกลาง กาย เวทนา จิต ธรรม ณ ภายใน ภายนอก
คือ ส่วนหยาบ และ ณ ภายใน คือ ส่วนละเอียด ต่อ ๆ ไป จนสุดละเอียดทีเดียว

ทำอย่างไรจึงจะให้เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตใจจิต ธรรมในธรรมตรงนี้
หลวงพ่อกำหนด หลวงพ่อกำหนดวิธีอุบายสงบใจ 3 อย่าง รวมกัน
คือ อาโลกกสิณ อาศัยอุคหนิมิตมาเป็นบริกรรมนิมิต ให้เพ่งให้นึกให้เห็นด้วยใจ
เพราะใจมีธรรมชาติอยู่ว่า เห็นอะไรที่ไหนด้วยใจ ใจไปอยู่ที่ไหน
เมื่อเห็นดวงกลมใสใจก็มาอยู่ที่ดวงกลมใส
สติอยู่ตรงนี้ถ้าเผลอสติก็ให้มีสัมปชัญญะ รู้สึกตัวรู้เท่าทัน
น้อมใจเข้ามาสู่กรรมฐาน

และต้องประกอบความเพียร
อาตาปี ใจจดจ่อตรงนี้ อาตาปี สติมา สัมปชาโน
เป็นสัมปโยคธรรม เป็นเครื่องประกอบในการเจริญกรรมฐาน
วิธีปฏิบัติตรงนี้ ท่านให้ตรึกนึกเห็นดวงกลมใน
เมื่อรวมใจอันประกอบด้วย ความเห็น ความจำ ความคิด
ความรู้ 4 อย่าง มาอยู่ในองค์บริกรรมนิมิตเป็นเบื้องต้น
ตางกลางของกาย จิตเมื่อหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย
ดวงตาจะหมุนกลับ ถ้าตามันแข็งโด่ ไม่พลิกกลับ
ใจก็จะฟุ้งซ่านออกนอกตัว จะให้เข้าตัวตาต้องหมุนกลับเป็นธรรมชาติของมัน

เวลาเจริญสมถะเบื้องต้น ท่านให้เหลือบดวงตานิด ๆ เอาไว้เรื่อย

รวมความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ 4 อย่าง
ให้รวมเป็นจุดเดียวกัน กลับไปข้างหลังและลง ณ ภายใน
เพราะว่าเอาใจเข้าภายในนี้ยาก ที่ยากเพราะว่าที่เกิดมาใจออกไปแล้ว
จะกระทั่งเดี๋ยวนี้ เราจะฝึกให้อยู่ตรงนี้ เพื่อจะได้เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม
ตรงนี้มันยาก แต่ถ้าใครทำได้แล้ว เจริญกรรมฐานสะดวกมาก

อุบายที่ 1 หรือกรรมฐานที่ 1 คือ อาโลกกสิณ
ประการที่ 2 ธรรมดาใจของเราถ้าเจริญอานาปานสติ
พิจารณาเห็นลมหายใจเข้าออก เมื่อใจค่อยสงบและละเอียด
ลมหายใจจะละเอียดและสั้นเข้า ๆ และแทบจะนิ่ง
เมื่อถึงอัปปนาสมาธิ แทบจะเหมือนได้ได้หายใจ
เเต่ที่แท้ทีลมปราณปรนเปรอภายในอยู่ในร่างกาย แต่ก่อนจะถึงจุดนี้

ท่านให้มีสติระลึกเห็นลมหายใจเข้าออกผ่านและกระทบดวงกลมใสนี้ด้วย
เป็นอานาปานสติ เป็นข้อที่ 2 ข้อที่ 3 อุบายวิธีสำคัญ
เหมาะกับผู้ที่เป็นโมหจริตให้ใช้พุทธานุสสติ สัมมาอรหัง
ย่อมาจาก สัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ผุ้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
หมายเอา พระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า
อรหัง ก็หมายถึง พระผู้ไกลจากกิเลส และบาปธรรมทั้งปวง
ก็หมายเอาพระวิสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า

เมื่อขณะบริกรรม สัมมาอรหัง เบื้องต้นให้น้อมพระพุทธคุณสู่ใจเรา
คือ พระปัญญาคุณ ระวิสุทธิคุณ และพระกรุณาธิคุณ มาสู่ใจเรา
เพราะว่า 2 คำนี้ เป็นพระนามใหญ่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
คลอบคลุมคุณธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น รวมไปถึง
พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้าด้วย เพราะฉะนั้น สัมมาอรหัง

เป็นคำที่เป็นมงคลอย่างยิ่ง เช่นเดียวกันกับ พุทโธ
จะใช้อันไหนก็ได้ท่านไม่บังคับ แต่ว่าของท่านใช้สัมมาอรหัง
ทีนี้ใช้บริกรรมนิมิตตรึกนึกเห็นด้วยใจ กำหนดเห็นเป็นบริกรรมนิมิตก่อน
เมื่อใจสงบแล้วค่อยกำหนดเห็นจุดเล็ก ๆ ใส กลางดวงใยด้วยสติสัมปชัญญะ
ด้วยความเพียรต่อเนื่อง อาตาปี สติมา สัมปชาโน ประพร้อมกันไป
จากกระทั่งใจสงบ ใจสงบจะคอย ๆ ละความสังเกตเห็นลมหายใจเข้าออก

บริกรรมนิมิตเมื่อใจละเอียดเข้า ค่อย ๆ จะไปเอง บริกรรมภาวนา
เมื่อใจสงบจริง ๆ มันจะปล่อยไปเอง เมื่อปล่อยไปแล้ว
เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตตรงนี้ ในชั่วขณะจิตที่ได้ปฏิภาคนิมิต
จิตดวงนั้นได้แล้ว ตกศูนย์ทันทีเปลี่ยนวาระจิต
พร้อมด้วยองค์ 5 คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตา มันจะค่อยเต็มที่

บางท่านอาจจะลงลึกถึงทุติยฌาน ตติยฌาน ก็แล้วแต่บารมีของใคร
แต่ปรากฎว่า จิตที่ปรุงแต่ง ตั้งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
ก็จะลอยเด่นขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายเป็นดวงในแจ๋ว นี่เป็นเบื้องต้น
เบื้องต้นตรงนี้ละบริกรรมนิมิต ละบริกรรมภาวนาและปล่อยเรื่องลมหายใจมาแล้ว
และจิคดวงเดิมตกศูนย์คือละปฏิภาคนิมิตไปแล้ว

เป็นจิตดวงใหม่ตั้งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
ที่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเม ตรงนี้ถ้าได้เจริญภาวนาให้จิตละเอียด
สมาธิตั้งมั่นต่อไป ประการที่สำคัญ
เมื่อใจเราหยุดตรงกลางของกลางของหยุดเห็นเป็นดวงใจแจ่ม
จะเห็นธาตุละเอียดภายในคือ ธาตุ ธาตุละเอียดของธาตุน้ำอยู่ส่วนหน้าขวา
ธาตุดินหลัง ธาตุไฟซ้าย ธาตุลมดังกล่าวแล้ว
เป็นดวงกลมใสมีสายกลางเชื่อมอยู่ตรงกลาง

กลางอากาสธาตุเบา ๆ ตรงนั้นผู้ปฏิบัติจะรู้สึกเหมือนมีแรงดังดูดนิด ๆ
เข้ากลางของกลางแต่ว่าเรากำหนดหยุดในหยุดของกลางในหยุดนิ่ง

กลางของกลางกากาสธาตุถูกวิญญาณธาตุ ดวงใสแจ่มกล้ากว่าเดิม
นี้ด้วยอำนาจของศีลบริสุทธิ์ในกรรมฐาน เพราะว่าในกลางหยุดนิ่ง
บริสุทธิ์ ธรรมคือเจตนา ความคิดอ่านกับบริสุทธิ์
เมื่อบริสุทธิ์แล้วกระประพฤติทางกาย วาจา รวมถึงใจ
การคิด อ่านกับบริสุทธิ์ ตรงนี้เป็นสีลวิสุทธิ์
รวมใจหยุดนิ่งกลางของกลาง ๆ ลงไปอีกใสบริสุทธิ์
ศูนย์กลางขยายกว้างออกไป ก็เปลี่ยนวารจิตที่บริสุทธิ์ผ่องใส เห็นจำ คิดรู้
แนบแน่นขึ้นไป ย่องกว่า ลอยเด่นขึ้นมาตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7
ดับและก็เกิด ๆ ตรงนั้น ตรงนี้

เห็น จำ คิด รู้ คือ ใจจะบริสุทธิ์ผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา
ด้วยองค์ 5 คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตา
บางท่านอาจจะจิตละเอียดยิ่งกว่านั้น
อาจจะเห็นใสสว่างละเอียด อันนี้อาจจะถึงทุติยฌาน ตติยฌาน แล้วแต่

ตรงนี้พิจารณาสภาวะธรรมเห็นความเกิดดับ ๆ
แต่เป็นการเห็นเบื้องต้น อันนี้สีวิสุทธิ์
จิตบริสุทธิ์เป็นพื้นฐานให้เกิดทิฏฐิวิสุทธิ์

คือ ความหมดจดแห่งความเห็นในเบื้องต้น
คือ เห็นรูปธรรม ฝ่ายรูปธรรมเป็นธาตุละเอียด
คือ ธาตุละเอียดของรูปขันธ์ที่ขยายส่วนหยาบออกมา
เป็นดวงกายประกอบด้วย มหาภูตรูป 4
ควบคุมส่วนที่เป็นของแข็ง หยาบ เหลว อุณหภูมิ
ลมปราณที่อยู่ในร่างกายให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะ
ถ้าธาตุละเอียดนี้แปรปรวน คนนั้นจะเจ็บไข้

และธาตุทั้ง 6 แตก คนนั้นก็ตาย ตรงนี้เองเป็นอุบายวิธี
เพื่อเจริญภาวนาสูงขึ้นไป ได้อาศัยการชำระธาตุตรงนี้
ช่วยแก้โรคภัยไข้เจ็บแก่ญาติโยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
แก้ที่ธาตุละเอียดแล้วธาตุหยาบก็จะดีขึ้น

ในส่วนของสีลวิสุทธิ์ ถ้าผู้ใดมีความประพฤติไม่ดี
มัวหมองศีลไม่ดี ดวงธรรมหรือศีลวิสุทธิ์ตรงนี้ก็จะมัวหมองไปด้วย
เราเคยได้ยินพระพุทธเจ้า ท่านสอนภิกษุ พระวินัยบัญญัติเป็น 100 ๆ ข้อ
รับไม่ไหว มากราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ารับสิ่งให้รักษาจิตดวงเดียว
เพราะฉะนั้น สีลบริสุทธิ์เป็นเหตุเป็นปัจจัย เป็นพื้นฐานให้ถึงจิตวิสุทธิ์ ๆ
ก็จะเป็นพื้นฐานให้ถึงทิฏฐิวิสุทธิ์

เมื่อใจตหยุ่ดนิ่งกลางของกลาง ๆ
ใสสว่างจะละเอียดจิตหลุดพ้นจากกิเลสหยาบชั่วคราว
คือ ถูกกำจัดให้หมดไป คือ อวิชชา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ
จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใจจะถึงคุณธรรมของมนุษยธรรมตัวจริง
ที่บริสุทธิ์ผ่องใส โดยปรากฎภายในกายภายใจ

อยู่ในกลางของกลางดวงธรรมที่ละเอียดใส ๆ ละเอียดต่อ ๆ ไป
จนสุดละเอียดปรากฎกายละเอียดด้วยกันทุกคน อย่าสงสัย
เริ่มตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียด คือ
กายในกายภายใจซึ่งประกอบด้วยเวทนาในเวทนา จิตใจจิต และธรรมในธรรม
ที่บริสุทธิ์ผ่องใส ถ้าใครเห็นกายของมนุษย์ละเอียดผ่องใสปรากฎขึ้นแล้ว
กำหนดจิตนึกจากหยาบไปถึงละเอียด วิธิปฏิบัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ตรงตามสติปัฎฐาน 4

ตรงนี้ ทั้งรู้ทั้งเห็น และสัมผัสด้วย จากหยาบไปหาละเอียด
เราละอุปทานด้วยความรู้สึก กายก็ใส เห็นจำ
คิดรู้ ในใจก็ใส เวทยาในเวทนา ก็เป็นสุขในเวทนา
เมื่อเทียบกับกายหยาบของมนุษย์ กายมนุษย์เรานั่ง เราเมื่อย
นานก็ปวดเมื่อย แต่พอถึงกายของมนุษย์ละเอียดนั่งจะทน
ไม่เป็นไร เพราะจิตของกายมนุษย์หยาบดับลงไป

จิตของมนุษย์ละเอียดทำหน้าที่ ส่วยกายก็อยู่ต่างหาก
จากก็อยู่ส่วนจิต และเวทนาในเวทนาก็เป็นสุขเวทนา
ธรรมในธรรมก็บริสุทธิ์ด้วยอำนาจของไตรสิกขา
ขึ้นมาเป็นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา มันจะเจริญขึ้นมาโดยนัยนี้
บางคนอาจจะสงสัยว่า เรายังไม่กายอื่นอีกหรือ

มีหนังสือกาย 3 โดยพระเดชพระคุณผัน สุวโจ ท่านเขียนว่า

“เย เกจิ พุทธํ สรณํ คตาเส น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมินฺ มานุสฺสํ เคหํ เทวกายํ ปริปูเรสนฺติ”

แปลว่า บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะบุคคลเหล่านั้นจะไม่ไปสู่อบายภูมิละกายที่เป็นของมนุษย์แล้ว จักยังเทวกายให้เต็มรอบ” ยังเทวกายให้เต็มรอบไม่ต้องรอให้ตาย แล้วจะไปเกิดในเทวโลกเทวโลก พรหมโลก ไม่ต้องรอ ที่ปฏิบัติละกายมนุษย์ละยังเป็น ๆ วางอุปทานความรู้สึกทั้งสิ้น ละกายมนุษย์ยาบเข้าสู่มนุษย์ละเอียด กาย เวทนา จิต ธรรม ของมนุษย์ละเอียด เริ่มเข้าสู่กายทิพย์

กายนี้บางทีหลวงพ่อเรียกว่ากายฝัน สามารถที่จะไปดูอะไร ๆ ก็ได้
บางทีท่านดูวาระจิตของคน ๆ ที่ฟุ้งซ่าน
เช่น บุคคลหนึ่งนั่งอยู่ตรงนี้ แต่ใจไปอยู่ในนครศรีธรรมราช
เพราะฉะนั้น ใจกับกายละเอียดเขาไปด้วยกัน
รูปธรรมนามธรรมเขาได้ด้วยกันสำหรับอุปาทินกสังขาร
สังขารที่มีชีวิต มีวิญญาณครอง ภายในกาย เวทนาในเวทนา
จิตในจิต ธรรมในธรรมไปด้วยกัน เพราะฉะนั้นเป็นที่มาของเจโตปริยญาณ
ในส่วนของตรงนี้ เราจึงได้รู้ได้เห็น และต้องเป็นคุณธรรมที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
นี้เป็นตัวมนุษยธรรมแท้ ๆ แล้วเอาใจของกายมนุษย์ละเอียดเป็นฐาน

เจริญสมาธิอย่างนี้ไปด้วยกัน ตรงนี้เริ่มเข้าสู่ติลักษณานุปัสสนา
คือ กายาสุปัสสนาสติปัฏฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
จิตตานุปัสสนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนา
เห็นรู้ไปพร้อมกันหมด เมื่อเจริญภาวนาละอียดเข้าไปก็จะเข้าสู่เทวธรรม
พรหมธรรม ตมลำดับ เข้าถึงกาย เวทนา จิต ธรรม ของโลกียะ
หรือของสัตว์โลกไปจนสุดละเอียด จนถึงคุณธรรมที่พ้นโลก

คุณธรรมนั้น ถ้าจะกล่าวโดยสูงสุดก็คืออริยมรรคอริยผล
หรือมรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ของพระอริยสงฆ์
อริยเจ้าจนถึงพระอรหันต์ปัจเจกพุทธเจ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ที่เรากล่าวนี้
เบื้องต้นเป็นกล่าวถึงการข่มกิเลส
เป็นวิขัมภนวิมุตติไปตามส่วนของผู้ปฏิบัติได้

เมื่อเข้าถึงคุณธรรมนี้ อาศัยฌาน คุณธรรมนี้ชื่อว่า ธรรมกาย ขอกล่าวย่อ ๆ สั้น ๆ ว่า

“ตถา คตสฺส เหตํ วิเสฏฺฐ อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ
พรฺหมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโตอิติปิ พรฺหมภูโต อิติปิ”

แปลว่า เพราะคำว่า ธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี พรัหมภูติก็ดี เป็นชื่อของตถาคต

แล้วพระพุทธโฆษาจารย์ได้อรรถาธิบายไว้ในคัมภีร์สังมังควิลาสินี
อรรถกถา ฑีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ภาค 3 หน้า 50 ขึ้นต้นว่า

“ตสฺถ พรฺหมกาโย อิติปิ ในพระสูตรนั้น พรุทธพจน์ขึ้นต้นว่า

“ความว่า เพราะเหตุไร พระตถาคตจึงได้รับขนานนามว่า พระธรรมกาย
เพราะพระตถาคตทรงคิด” พระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกด้วยพระหทัย
แล้วทรงนำอกแสดงทางพระวาจา โดยเหตุนั้น
พระวรกายของพระผู้มีพระภาคเต้า จึงจะเป็นธรรมแท้
เพราะสำเร็จด้วยธรรม พระธรรมเห็นกายของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
ดังพรรณามาฉะนี้ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า ธรรมกาย พรหมกาย
เพราะมีธรรมเห็นกายนั่นเอง แม้จริงพระธรรมท่านเรียกว่า พรหม
เพราะเป็นของประเสริฐ พระพุทธพจน์ว่า พรฺหมภูโต
ได้แก่ สภาวธรรมชื่อว่า พรฺหมภูโต เพราะเป็นผู้เกิดจากพระธรรมนั่นเอง”
อันนี้เป็นเบื้องต้น

ทีนี้ เข้าถึงคุณธรรมก็แล้วแต่ในการเจริญภาวนาสมาธิแต่ละครั้ง ๆ
ท่านที่เจริญภาวนาจนจนตั้งมั่น กิเลส นิวรณ์ เครื่องกั้นนิวรณ์หมดไปเพียงไร
ย่อมพิจารณาเห็นสภาวธรรม เห็นอย่างไร สมมติว่า
เราพิจารณาเห็นกายในกายในส่วนเบื้องต้นว่า
ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นของไม่งดงาม อย่างนี้
ใจจดนิ่งที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ขยายความเห็น จำ คิด รู้
ของกายมนุษย์นั้นให้โตเต็มกาย สมาธิในระดับนี้จะสูงประมาณปฐมฌานขึ้นไป

แล้วอธิษฐานจิตให้เห็นส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไปตามสีสัณฐานแม้กลิ่น
ตามที่เป็นจริง ก็จะเห็นได้ทั่วตัว ตามสภาพท่เป็นจริงว่าไม่งดงามนี้เป็นข้อที่ 1
ขอยกตัวอย่าง กระผมเองเคยทั้งใจวางแผนชีวิตก่อนจะบวช 10 ปี
ก็อยู่กับครอบครัวเหมือนพี่น้อง

วันหนึ่ง พระผมนั่งรถสองแถวหลังจากไปทำธุระข้างนอก
เข้าบ้าน รถสองแถวเต็ม แต่กระผมได้ที่นั่ง มีสุภาพสตรีคนหนึ่ง
เธอหันหน้าไปตามรถ รถสองแถวเข้าซอยมันเบรก
พอเบรกทีเธอก็ไปชนกับคนข้างหน้าอยู่เครื่อง

ดังนั้น เธอจึงหันข้าง โยกไปโยกมา วัวเขาอ่อนก็มาชนตรงหน้าผม
พอชนปั๊บเราก็นั่งภาวนาอยู่ อดไม่ได้ พอนึกดูซิเป็นยังไง
มันก็เห็นหมดทั่วตัว ขออภัย เห็นเธอกำลังเป็นรอบเดือน
สกปรกที่สุด แม้แต่กลิ่นก็ได้ถึงจมูก เหม็น เห็นลิ่มเลือดท่อยู่ที่ที่รองรับไว้
ใจของเราสงบอยู่แล้ว เห็นอย่างนั้น
เท่านั้นแหละจิตไม่กำเริบและได้กายาสุสติอันนับเนื่องอยู่ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
แต่ว่าไม่ถึงขึ้นวิปัสสนาแค่สงบระงับจากกามฉันทะนิวรณ์
เป็นครูใหญ่ช่วยผมตลอดรอดฝั่ง 10 ปี ก่อนบวช เมื่อบวชแล้วก็ไม่ลำบากใจ

เรื่องต่อ ๆ ไปนั้น เมื่อเราเจริญภาวนาไปอย่างนี้
พิจารณาสภาวะธรรมเห็นตามสภาพตามความเป็นจริงว่า
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นอย่างไร
ตามหลักของการเจริญวิปัสสนา ในเบื้องต้น ติลักขณานุปัสสนานั้น
เห็นทุกข์ก็ทราบอยู่ ทุกเวทยาเป็นอย่างไร เห็นทั้งความเกิดแก่ เจ็บ ตาย
เป็นอย่างไร อันนี้เราก็ทราบกัน

ถ้าจะพิจารณาหมดตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย
ถ้าเราอาศัยหรือฌานคุณธรรมที่บริสุทธิ์คือ ธรรมกาย
พิจารณาเห็นอดีตก็เห็นได้ เช่น พระพุทธองค์เจริญบุพเพนิวาสานุสติญาณ
ในยามต้นแห่งราตรี และจะเห็นอนาคตก็เห็นได้ เช่นเดียวกัน
ที่พระพุทธองค์ทรงเห็นสัตว์โลกเป็นไปตามกรรมด้วยจุตูปญาณ
คือถ้าเราเห็นอดีตเห็นอนาคตได้ เราก็เห็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเจริญติลักขณานุปัสสนานั้น
เราจะเห็นด้วยปัญญา สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ปญฺญายปสฺสติ
อถนิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอสมคฺโค วิสุทฺธิยา

นั้นเห็นความไม่เที่ยง ก็ต้องเห็นลักษณะที่แสดงความเป็นของไม่เที่งนั้นด้วย เรียกว่าวิภาค 6 คือ เมื่อจะพิจารณาเห็นอนิจจัง ก็ต้องเห็นอนิจจลักขณะ ว่ามีอย่างไร ในขณะเดียวกัน เห็นความเป็นทุกขตา ก็ต้องเห็นทุกขลักขณัง อันนี้จะไม่ขอกล่าวมาก

จะเห็นอนัตตาได้ชัดเจน ก็ต้องอนัตตลักขณังคือ ต้องเห็น
ต้องรู้อนัตตลักษณะ ว่ามีอย่างไร อนัตตลักขณะ
คือเป็นธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง
เราก็ทราบดีว่าเพราะเบญจขันธ์ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง
อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม เป็นปัจจัยปรุงแต่ง
รูป อวิชชา ตัณหา อุปทาน และกรรม
และผัสสะเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดนามขันธ์ 3 คือ
สัญญา เวทนา และสังขาร และอวิชชา ตัณหา อุปาทานและนามรูป นั่นเอง

เป็นปัจจัยให้เกิดนามขันธ์ที่ 4 คือ วิญญาณขันธ์ เมื่อเห็นทรงนี้
เห็นเหตุปัจจัยให้เกิดแล้ว ย่อมเห็นว่านี่เป้สภาวะที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง
และย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย และเมื่อเปลี่ยนแปลงไป
ตามเหตุปัจจัยแล้วเข้าสู่ลักษระที่บ่งบอกความเป็นอนัตตา

คือ เป็นต้นว่า เป็นไปตามเหตุปัจจัยหนึ่ง เป็นสภาวะหรือธรรมชาติที่สูญคือ ว่างเปล่า คือ มีแล้วกลับไม่มี นั่นอย่างหนึ่งหรือเป็นสภาพที่ไม่มีเจ้าของ อันนี้เราทราบได้ เป็นต้น

แท้จริงแล้ว อนิจฺจลักฺขณํ ทุกฺขลกฺขณํ และ อนติลกฺขนํ นั้นมีถึง 40 ข้อ
ในปฏิสัมภิทามัคค์ ตรงนี้นำไปสู่อาการตรัสรู้และบรรลุมรรคผลเห็นอนัตตาลักษณะต่าง ๆ กัน เป็นเครื่องชี้ให้เห็นความเป็นของไม่ใช่ตัวตน ของอุปาทินกสังขาร
ตรงนี้ที่พระพุทธเจ้าตรัส

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ สพฺเพสงฺขาราทุกฺขาติ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ

โดยยกเบญจขันธ์ขึ้นพิจารณา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอน ติลักขณคตา
นี้เป็นวิปัสสนาวิธี ในระดับติลักขณานุปัสสนา ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา โดยยกเบญจขันธ์ขึ้นพิจารณาทีละอย่างแล้วตรัสรวมให้เห็นว่า สัพเพสังขารา แล้วลงท้ายว่า สัพเพธัมมา และจะพิจารณาพระพุทธดำรัสที่ว่า ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถนิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา

ที่พระองค์สอนตรงนี้ ทรงสอนในขั้นนิพพทายานเป็นอารมณ์
เพราะฉะนั้น ในส่วนนี้เป็นส่วนของสังขารทั้งปวดหรือความเป็นไปในภพ 3 ทั้งสิ้น
หมดทั่วทั้งจักรวาฬ หากสงสัยว่า ทำไมถึงทรงใช้ สัพเพ ธัมมา อนัตตา
ก็ไปดูได้ คณะฉันท์ ถ้าทรงใช้ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนตฺตา คณะฉันท์จะเป็น 9
ไม่ใช่ 8 แต่ว่า อย่างไรก็ตาม สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้นเธอเบื่อหน่ายในทุกข์
นี้เป็นขั้นที่จะเจริญวิปัสสนาญาณในส่วนของนิพพิทาญาณ
และที่ว่า อถนิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
เบื้องต้นอย่างนี้ การเจริญภาวนาที่เรากล่าวนี้ รู้อย่างนี้

เห็นอย่างนี้ ต่อเมื่อพิจารณาสภาวธรรมในส่วนของติลักขณานุปัสสนา
เห็นความเห็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาอยู่อย่างนี้
เธอผู้ปฏิบัตินั้นย่อมได้อนุโลมขันติ นี้มีปรากฎอยู่ในปฏิสัมภิทามรรค
ตรงนี้สำคัญมาก พระโยคาวจรนั้น เมื่อเจริญติลักขณานุปัสสนา
เห็นความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ของสังขารธรรมทั้งหลาย

เธอย่อมได้อนุโลมขันติ และเมื่อเธอพิจารณาเห็นความดับแห่งเบญจขันธ์เป้นนิพพาน
ที่ตรงกันข้ามกัน มีสภาวะตรงกันข้าวกัน เธอย่อมหยั่งลึกลงสู่สัมมัตถนิยาม
คือหยั่งลงมรรคและผล เพราะฉะนั้น อาการตรัสรู้และบรรลุมรรคผลนั้น

เริ่มตั้งแต่อนุโลมขันติ คือ การเห็นแจ้งแทงตลอดในพระไตรลักษณ์แล้ว
เมื่อพิจารณาอริยสัจ 4 เห็นแจ้งแทงตลอดในทุกขสัจจ์ สมุทัย 3
และนิโรธสัจจ์ นั้นแหละเข้าสู่มรรคผล นิโรธสัจจ์และมรรคสัจจ์
ซึ่งเป็นไปพร้อมกัน เธอย่อมเห็นธรรมชาติตางกันข้ามกัน
นี้มีปรากฎอยู่ในปฏิสัมภิทามรรค 40 ข้อตรงกันข้ามกันหมด


แล้วเมื่อนั้นเธอจึงหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยามคือ เที่ยงต่อมรรคญาณผลญาณ
อันนี้มีอยู่ในปฏิสัมภิทามรรค ปฏิบัติตามแบบของหลวงพ่อวัดปากน้ำนั้น
ก็เป็นไปตามนี้ คือ เมื่อจิตสงบสูงสุด ด้วยคุณธรรมระดับใดก็แต้วแต่
เข้าสู่กาย เวทนา จิต ธรรม ในระดับโลกียธรรมไปจนถึงโลกุตรธรรม
หรือโลกุตรกุศล คือ โคตรภูจิตหรือโคตรภูญาณ
เมื่อถึงจุดนั้นจิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์
(พระนิพพานเห็นได้และเมื่อมรรคจิตมรรคปัญญาหรือพลังสมาธิ
และวิปัสสนาทำหน้าที่เสมอกัน อีกด้านหนึ่งท่านเรียกว่ามรรคจิต
มรรคปัญญาอันเห็นแจ้งในไตรลักษณ์และในขณะที่โคตรจิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์ย่อมเห็นธรรมชาติที่ตรงกันข้าม ตรงนี้แหละ
เมื่อมรรครวมกันเป็นเอกสมังคีปรากฏธรรมกาย มรรค

เป็นต้นว่า พระโสดามรรค ปรากฏขึ้นปหารสังโยชน์ได้ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้
เช่นพระโสตาปฏิมรรคประหารหรือละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา

สีลพตปรมาสได้แล้ว ธรรมกายผลก็จะปรากฏนั่นแหละผลสมาบัติ
เข้าผลสมาบัติเท่านั้นเอง ปัจจเวขณญาณจะทำหน้าที่บรรลุและพิจารณา
พระนิพพานให้เห็นแจ้งด้วยตน การเห็นพระนิพพานในส่วนของโคตรภูจิต
หรือโคตรภูญาณที่ยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์แต่ว่าโคตรภูจิต
ของพระโยคาวจรเอาพระนิพพานมาเป็นอารมณ์ที่เอาได้เพราะต้องรู้ต้องเห็น

ต้องเห็นด้วย รู้ด้วย ต้องได้สัมผัส
ในขณะนั้นเองมรรคจิตมรรคปัญญาทำหน้าที่ทั้งสมาธิ
และปัญญาได้อนุโลมขันติแล้วเห็นแจ้งในอริยสัจจ์เป็นไปใยญาณ 3 คือ
สัจจญาณ กำหนดรู้ว่าแต่ละสัจจ์ที่พ้นนั้นมีอะไรบ้าง

แล้วกิจจญาณแต่ละสัจจ์นั้นควรทำอย่างไร
คือ ทุกข์ควรรู้จัก สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง
มรรคควรทำให้เกิดและเจริญขึ้นและทำได้แล้วเพียงไร
นั้นเป็นกตญาณ ช่วยนี้เห็นแจ้งตลอดในพระอริยสัจจ์โดยญาณ 3 คือ
สัจจญาณ กตญาณ และกิจญาณ

มีอาการ 12 ตรงนี้ มรรคจิตมรรคปัญญาทำหน้าที่เต็มรูป
เป็นเอกสมังคี ประหารสังโยชน์ เมื่อประหารสังโยชน์นี่แหละที่หลวงพ่อท่านสอนว่า
ธรรมกายมรรคปรากฏขึ้นเหมือนกับดวงอาทิตย์อุทัยรุ่งขึ้นสว่างกำจัดความมืดฉันใดฉันนั้นคือ กำจัดสังโยชน์ทันที แล้วตกศูนย์เข้าผลสมาบัติ เป็นธรรมกายผลปรากฏขึ้น
แล้วพิจารณาปัจเวกขณ์ นี่เป็นตามแนวของหลวงพ่อท่านสอนละเอียดลึกซึ้งลงไป
นี้เป็นการกล่าวโดยย่อ

ฉกนิบาตอังคุตรนิกาย ที่พระพุทธเจ้าตรัส การนำนิพพานให้แจ้ง
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ที่คลุกคลีกันเป็นหมู่ ยินดีพอใจในการคลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ
ตามประกอบความพอใจในหมู่ คลุกคลีกันเป็นหมู่ ๆ ผู้พอใจในหมู่ ยินดีในหมู่
ตามประกอบความพอใจในหมู่อยู่แล้วหนอ
เธอนั้นจัดมาเป็นผู้โดดเดี่ยวอันดียิ่ง ในความสงัดเงียบ

ข้อนี้ไม่เป็นฐานนี้ได้ เมื่อไม่เป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบ
แล้วจักดึงเอานิมิตแห่งสมาธิจิตและวิปัสสนาจิตได้นั้น
ข้อนั้นก็ไม่เป็นฐานะที่มิได้ เมื่อไม่ได้ถือเอานิมิตแห่งสมาธิจิต วิปัสสนาจิต
แล้วจัดยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์นั้น ข้อนี้ก็ไม่มีฐานะที่เป็นได้

เมื่อไม่ทำสัมมาสมาธิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้วอีกยัง
สัมมาสมาธิแห่ง มรรคและผลให้บริบูรณ์นั้น
ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้ เมื่อไม่ทำสัมมาสมาธิแห่งมรรค
และผลให้บริบูรณ์แล้วจักละสังโยชน์ทั้งหลายนั้น
ข้อนี้ก็ไม่เป็นฐานะที่มีได้ เมื่อไม่ละสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว
จักทำนิพพานให้แจ้งได้นั้น ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่มีได้”

เมื่อเป็นผู้โดดเดี่ยวยินดียิ่งในความสงัดเงียบแล้วอีก
คือเอานิมิตแห่งสมาบัติอธิจิต วิปัสสนาจิต ข้อนี้เป็นฐานะที่เป็นได้
มีได้ เมื่อคือนิมิตแห่งสมาธิจิต สมาธิจิต
แล้วยังสัมมาทิฏฐิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์นั้น
ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้ เมื่อทำสัมมาสมาธิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์แล้ว

จักยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผล ตรงนี้นี่ผมกล่าวมรรคจิต
มรรคปัญญาขึ้นประหารสังโยชน์แล้วเข้าผลสมาบัติ ตรงนี้
เมื่อทำสัมมาสมาธิแห่งวิปัสสนาให้บริบูรณ์ด้วยการทั้งรู้
และเห็นจัดยังสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลบริบูรณ์นั้น


ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้ เมื่อทำสัมมาสมาธิแห่งมรรคและผลให้บริบูรณ์แล้ว
จัดละสังโยชน์ทั้งหลายได้นี้เป็นฐานที่มีได้เป็นได้ เมื่อละสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว
อีกทำนิพพานให้แจ้งนั้น ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้เป็นได้แล
แล้วก็ปฏิปทา เพื่อความหลุดพ้น อันนี้ดีเจริญวิปัสสนาโดยมีสมาถะเป็นเบื้องต้นก็ได้
เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันก็ได้ และนำมุทคหิตมนัสก็ได้ อันนี้ดูได้ในปฏิสัมภาทามรรค

แต่วิชาที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสอนเบื้องต้นเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนาเบื้องต้น และเมื่อเจริญไปมาก ๆ เข้า ถึงขึ้นให้เกิดมรรคจิต มรรคปัญญานั้น ท่านเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กัน
คู่กันโดยอาการ 16 โดยความเป็นอารมณ์ โกรธ ความละ ความสละ ความออกด้วยความหลีกไป ด้วยความเป็นธรรม ละเอียด ด้วยความเป็นธรรมปราณีต ด้วยความหลุดพ้น ความไม่มีอาสวะ เหล่านี้เป็นต้น

เราเห็นตรงตามพระพุทธพจน์ว่า

ยทนิตํ ตํ ทุกฺขํ ยงฺทุกฺขํ ตหนตฺตา

สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

และ

อนิจฺจลกฺข เนหิ นิฏฺเฐอนตฺตลกฺขณํ ฤ เปฯ

ท่านอรรถกถาพระธรรมบาลได้อรรถกถาธิบายว่า
จริงอยู่เมื่อเห็นอนิจจลักษณะก็เป็นเห็นอนัตลักษณะเหมือนกัน
กับลักษณะทั้ง 3 เมื่อเห็นลักษณะหนึ่ง เป็นอันว่าเห็นลักษณะ 2 อย่างนี้เหมือนกัน

แปลว่า ไตรลักษณ์ ลักษณะ 3 นั้น เป็นเหมือนใช้ 3 ห่วง
เป็นเหตุผลซึ่งกันและกันไม่ได้แยกจากกัน และพระพุทธเจ้าตรัสตรงนี้

ยทนิต์ ตํ ทุกฺขํ ยํทุกฺขํ ต อนฺตฺตา สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

และตรัสย้อนมีในอนัตตลักขณสูตร รูปํ ภิกฺขเว อนตฺตา รูปํ จหิทํ ภิกฺเว อติตตา ถทวิสฺส พยิทํ รูปํ อาภาทาส สงฺวตฺย ยสฺมา จโร ภิกฺขเว รูปํ อนตฺตา ตสฺมารูปํอาภาทาส สงฺวตฺดิ

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ถ้ารูปนี้จัดได้เป็นอัตตา แล้วไซร้ รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเมื่ออาพาธ
แต่ภิกษุทั้งหลายเพราะรูปนี้เป็นอนัตตา รูปนี้จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ”
และคุณธรรมนั้นคืออะไรไปดูที่ปฏิสัมภิทามรรคคุณเสกสรรค์ :
ผมขอเรียนว่า โดยหลักการที่พระพุทธองค์ตรัสรู้อริยสัจนั้น
หมายความว่ารู้ความจริง สมุทัย นิโรธ มรรค และแต่ละอย่างมีกิจที่ต่างกัน

อย่างเรื่องทุกข์ ก็หมายความว่า ทุกข์เป็นอย่างนี้
ก็แสดงว่า เรื่องเกี่ยวกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นทุกข์ทั้งนั้น
เพราะอวิชชาครอบงำนั่นเอง และก็ไม่เห็นความเกิดดับ
เพราะไม่ยึดถือว่า ถ้าเห็นทุกข์ตามความเป็นจริงแล้ว
ความยึดถือทั้งหมดในเรื่องของความโลภ โกรธ หลงทั้งหลาย
จะสลายไปในขณะที่กำหนดรู้ นั่นหมายความว่า ทุกข์เป็นอย่างนี้
ก็ต้องกำหนดรู้ เป็นข้อบังคับว่า คุณจะต้องกำหนดรู้ ละทุกข์ที่กำลังปรากฏอยู่ตรงหน้า

ในขณะนี้ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องไปทำสมาธิ
หรืออะไะเพื่อให้ได้จิตสงบมีญาณเกิดขึ้นอะไร
คำสอนที่พระคุณเจ้าบรรยายได้ไม่ตรง ตัวอย่างเช่น
ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

พระคุณเจ้าพูดถูกว่า แยกจากกันไม่ได้
แต่ว่าไตรลักษณ์ก็ไม่ได้ไปทำอะไรเพื่อให้มันเกิดขึ้นมาเห็น
เพราะไตรลักษณ์มีอยู้แล้วในขณะนี้

แต่ว่าปุถุชนไม่เห็น คำถามก็ตรงที่ว่า ไม่เกี่ยวกับปฏิภาคนิมิต
หรือเป็นเรื่องที่ต้องหลับตาไปข้างใน
ต่อไปคือ อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา
ที่จำได้ คือ อธิสีลคือ

ศีลอันยิ่งคือเป็นศีลที่ไม่ยึดถือในสภาพที่ปรากฏว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน

อธิจิต คือ จิตที่บริสุทธิ์คือ อยู่เหนืออารมณ์ทั้งปวง

แม้มีอารมณ์ก็คงสภาพอารมณ์อย่างนั้นไว้ได้

อธิปัญญา คือ ปัญญาอันยิ่งคือรู้ตามความเป็นจริง

เพื่อสิ่งที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท่านั้นเอง
แต่ว่าด้วยอวิชชาเราก็ไปยึดถือว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน
เราเขา เพราะฉะนั้น หลักการที่จะประพฤตติปฏิบัติ
เหตุกับผลต้องตรงกัน เหตุอยู่ที่ไหน อวิชชาเป็นปัจจัยทำให้เกิดสังขาร
สังขารเป็นปัจจัยทำให้เกิดวิญญาณ
วิญญาณเป็นปัจจัยทำให้เกิดนามรูป สฬายตนะ ผัสสะ ต่อไป

แต่กระผมไม่ยืนยันว่า พระคุณเจ้าผิดหรือถูก
กระผมแสดงความเห็นในทัสสนะผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมเช่นเดียวกัน

ดร.บรรจบ บรรณรุจิ: ธรรมกายที่เห็นเป็นกายมนุษย์
เทวดาพรหม อย่างมันจะไม่คือว่าเป็นอัตตาหรือพระภาวนาวิสุทธิคุณ
: คำว่าอัตตาท่านหมายถึงบุคคล สัตว์ ยึดถือในสัตว์ บุคคล เรียกว่า อัตตานุทิฏฐิ แต่ว่านอกเหนือจากกัน เป็นคนละเรื่องพ้นโลกก็คือพ้นโลกวิธีเจริญอาปานสติสายหลวงพ่อพุทธทาส.


ในฐานะที่ข้าพเจ้าเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ กระทู้ต่างๆ ที่ข้าพเจ้าแสดงความเห็นใน DMC.tv นี้
อาจเป็นเรื่องที่แตกต่างหรือเกี่ยวข้องกับ วิทยาศาสตร์ หรือ วิศวกรรมศาสตร์
ดังนั้นเรื่องที่ข้าพเจ้าเขียนถ้าไม่ตรงกับความคิดเห็นของท่านใด ขออย่าได้มีอคติก่อน
แต่ถ้าตรงกับความคิดเห็นของท่านผู้ใด ขออย่าได้เชื่อไปก่อน
ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าเรื่องที่แสดงความเห็นเป็นแนวคิดของข้าพเจ้า
และข้อมูลที่ค้นคว้าเพื่อเสริมสร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนาให้มั่นคง
ซึ่งอาจจะถูกบ้างผิดบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็จะเป็นประโยชน์ เป็นข้อมูลหนึ่ง กับท่านที่ศึกษาทางพุทธศาสตร์
ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า แต่ละคนก็มีกรรมเป็นของตนเอง เราเป็นทายาทแห่งกรรม
ทำดีตามครูไม่ใหญ่ ต้องได้ดีแน่นอน
และสรุปได้ว่า การเอาธรรมในพุทธศาสนามาใช้ในการดำรงชีวิตไม่เคยล้าสมัย สามารถใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย

ถึงจะเป็นตะเกียงดวงน้อยด้อยแสง แต่ไฟแรงจุดติดดวงอื่นได้
ไม่เสียดายให้แสงสว่างกับผู้ใด ชักนำใจให้สว่างเพียงแต่ธรรม



#4 A Little Guide

A Little Guide
  • Members
  • 190 โพสต์
  • Gender:Female
  • Location:แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
  • Interests:อาสาสมัครแผนกมัคคุเทศก์<br /><br />http://www.v-guidecenter.com<br />*** ศูนย์รวม อาสาสมัครมัคคุเทศก์ ที่รักในการทำความดี ***<br /><br />เรา คือ อาสาสมัครแห่งพระรัตนตรัย

โพสต์เมื่อ 18 January 2007 - 04:05 PM

ขอกราบอนุโมทนาบุญกับคุณเถลิงเกียรติด้วยค่ะ
อ่านแล้ว แต่ยังอ่านไม่หมดค่ะ อ่านเฉพาะส่วนที่สำคัญ ให้พอเจ้าใจไปก่อน

ปล. ขอขอบพระคุณด้วยนะค๊ะ สำหรับข้อมูลธรรมะดีๆเช่นนี้

"ถ้าหากข้าพเจ้า ผิดพลาดแต่ประการใด ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ"



กำลังใจที่ดีงาม มาจากการนั่งสมาธิ
ความคิดอันวิเศษ มาจากใจที่สงบ
ความอดทนอันสูงสุด มาจากใจที่หยุดนิ่ง


น้องขวัญ
...A LiTTle GuiDE...
อาสาสมัครแผนกมัคคุเทศก์
สังกัดกองปฏิสันถาร สำนักศรัทธาภิบาล
" ใจชอบ รอบรู้ สู้งาน ปฏิภาณไว ใจบริสุทธิ์ "
สโลแกนประจำอาสาสมัคร V-Guide โดย...พระเดชพระคุณท่านพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย)

#5 หัดฝัน

หัดฝัน
  • Members
  • 4531 โพสต์
  • Gender:Male
  • Interests:ธรรมะ

โพสต์เมื่อ 18 January 2007 - 06:53 PM

ศึกษารายละเอียดยิ่งๆขึ้นไป ก็ต้องอ่านของคุณเถลิงเกียรตินะครับ ส่วนผมขอตอบแบบคร่าวๆ เบื้องต้นไปก่อน

วิญญาณจุติเมื่อไหร่ ควรถามว่า ปฏิสนธิวิญญาณเกิดขึ้นเมื่อไหร่
คำตอบ เมื่อ เชื้อของพ่อ รวมกับ ไข่ของแม่ ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมน่ะครับ (คือในมดลูก) เคยมีเคสว่า ถ้าทำเด็กหลอดแก้ว แล้วไม่เอามาใช้ บาปหรือไม่ ครูเฉลยว่า ยังไม่บาปครับ เพราะ เชื้อของพ่อ รวมกับไข่ของแม่แล้วก็จริง แต่ปฏิสนธิวิญญาณยังไม่มารวมด้วยครับ เนื่องจากสภาพแวดล้อมยังไม่เหมาะสม ดังนั้น ถ้าทำลายตอนนี้ไม่บาปครับ แต่เมื่อใดก็ตามที่ฝังไข่นั้น กลับเข้าไปในมดลูก สภาพแวดล้อมเหมาะสม ตอนนั้นแหละ ปฏิสนธิวิญญาณจะเข้ารวมกับไข่ เกิดเป็นตัวอ่อนขึ้น ถ้าทำลายตอนนี้ บาปครับ

1 เดือน ถือว่า มีวิญญาณหรือยัง ถ้ากินยาเอาออก ถือเป็นกรรมของเด็กหรือของเรา
ตอบ มีตั้งแต่เริ่มต้นแล้วล่ะครับ ส่วนถ้าทำลาย กรรมนั้น ถือเป็น(การใช้)กรรมเก่าของเด็ก แต่จะเป็นกรรมใหม่ของเรา คือ อย่างเบา เราก็จะต้องไปรับผลกรรม (วิบาก) แบบเดียวกับที่ทำกับเด็กในอนาคตนั่นแหละครับ อย่างหนักก็ลงนรกเลยทีเดียว

วิธีที่ดีควรมีแนวทางอย่างไร
หมายถึง ถ้าคิดทำลายตัวอ่อน โดยไม่บาปจะมีแนวทางอย่างไร งั้นหรือครับ อ๋อ ควรผสมเป็นเด็กหลอดแก้ว เพราะปฏิสนธิวิญญาณจะยังไม่ลงมาเกิดครับ ถ้ายังไม่พอใจไม่เอา ก็ผสมไปได้เรื่อยๆ ถ้าพร้อมเอาเมื่อไหร่ ให้ฝังไข่นั้นลงในมดลูก ถึงตอนนี้ห้ามทำลายเด็ดขาด เพราะฆ่ามนุษย์เชียวนะครับ บาปอย่างยิ่ง

แต่ทางที่ดี ถ้าใครคิดทำลายเด็กจริงๆ ก็ไม่ควรมีอะไรกันตั้งแต่แรกนะครับ การอ้างว่าไม่พร้อมนั้น เหมือนการไม่รับผิดชอบสิ่งที่จะเกิดขึ้นในภายหลังน่ะครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร

#6 ศูนย์กลางกาย

ศูนย์กลางกาย
  • Members
  • 94 โพสต์

โพสต์เมื่อ 18 January 2007 - 07:09 PM

ข้อ 1 1 เดือน มีวิญญาณแล้วครับ การปฏิสนธิวิญญาณเริ่มจากตั้งกระบวนการเกิดจากเข้าสู่ศูนย์กลางกายฐานที่ 1 2 3 4 5 6 7 ของพ่อแล้วแล้วก็บังคับทำให้พ่อประกอบธาตุธรรมส่วนหยาบกับแม่ และเคลื่อนสู่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7ของแม่..เกิดวิญญาณปฏิสนธิในรังไข่ของมารดาแล้วจึงเกิดอาการตั้งครรภ์ จากหลวงพ่อนำนั่งสมาธิ เรื่องการไปเกิดมาเกิด ถูต้องแล้วครับ

การเกิดของมนุษย์ใน พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ยักขสังยุต เล่มที่ ๒๕ หน้า ๓๘๔


[๘๐๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ารปนี้เป็นกลละก่อน มีลักษณะ หยาดน้ำมันงาทิ่ดอยู่บนปลายด้ายที่ทำด้วยขนสัตว์ เหลว ใส เล้ก กระจิ๋ว สันฐานกลม (หรือก็คือตัว ตัวเสปิมส์)
สัปดาห์ที่ 1 จากกลละเป็น อัพพุทะสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ น้ำเลือด
สัปดาห์ที่ 2 จากอัพพุทะเกิดเป็นเปสิ คล้ายดีบุกเหลว. ก้อนเหลวๆ
สัปดาห์ที่ 3 จากเปสิ เกิดเป็นฆนะ ก้อนเนื้อ มีสัณฐานเท่าไข่ไก่เกิดขึ้น.ลักษณะเป็นก้อนเนื้อ
สัปดาห์ที่ 4 จากฆนะเกิดเป็น ๕ ปุ่ม (ปัญจสาขาปุ่มตั้งขึ้น ๕ แห่ง ปุ่ม ๕ปุ่มเกิดขึ้นที่อวัยวะ (1 เดือน) สัปดาห์ที่ 5 - 42 ต่อจากนั้น มีผมขนและเล็บ (เป็นต้น) เกิดขึ้น เกสา โลมา นขาปิ จ ความว่า ผม เป็นต้นเหล่านี้ ย่อมเกิดใน ๔๒ สัปดาห์. ผม ขน เล็บ เกิดขึ้นจนถึงสัปดาห์ที่๔๒
๔๒ = ๙ – ๑๐ เดือน
มารดาของสัตว์ใน ครรภ์บริโภคข้าวน้ำโภชนาหารอย่างใด สัตว์ผู้อยู่ในครรภ์มารดานั้น ก็ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารอย่างนั้นในครรภ์นั้น. = การให้อาหารผ่านทางสายสะดือ

ที่มา พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ยักขสังยุต เล่มที่ ๒๕ หน้า ๓๘๔




ข้อ 2 1 เดือน กินยาเอาออก เป็นกรรมเก่าของเด็กที่เคยมีวิบากรรมทำแท้ง แต่เป็นกรรมใหม่ของคนที่ทำ ต่อไปก็จะโดนถูกทำแท้งอย่างนี้บ้าง ตามที่ครูไม่ใหญ่เคยบอกไว้ในโรงเรียนครับ

ข้อ 3 วิธีการที่ดีก็คือเลี้ยงดูเด็กที่มาเกิดต่อไปเพราะเขาก็คือสายเลือดของเรา อย่าก่อกรรมใหม่เลย ต้องศึกษาวิบากกรมทำแท้งให้มากๆจะได้เข้าใจกฏแห่งกรรมว่าอันตรายแค่ไหนไม่คุ้มกันเลย

ตัวอย่างcase4 ธ.ค. 2549

บุพกรรมใดทำให้คุณยายของลูกอายุสั้นและตกเลือด , คุณยาย ตายแล้วไปอยู่ที่ไหน เป็นอย่างไร ได้รับบุญที่อุทิศหรือไม่คะ , คุณยายจะได้รับผลกรรมที่คิดจะทำแท้งลูก แต่ต้องมาตายเองอย่างไรคะ

“คุณยาย” ลูกอายุสั้น “ตกเลือด” เพราะ....กรรมที่เคยทำยา “ทำแท้ง” มาให้ญาติที่อยากทำแท้งกินมาส่งผลจ่ะ !


• ตายแล้วก็ไปอยู่ “ยมโลก” ของมหานรกขุม 1 ด้วยกรรมที่ “ทำแท้ง” แต่ลูกไม่ตาย จึงไม่ได้ไปอยู่มหานรก , กำลังโดนเจ้าหน้าที่บังคับให้ “กินยา” ซึ่งเมื่อกินเข้าไปแล้วก็มีเลือดไหลออกมาท่วมเต็มไปหมดทั้งบ่อ , จนตัวเองสำลักน้ำเลือดอยู่ในนั้นจนตาย แล้วเกิดใหม่มาโดนซ้ำ ๆ อีก ทุกข์ทรมานมากจ่ะ !
• ได้รับบุญที่อุทิศไปให้แล้ว ก็ได้รับลดหย่อนผ่อนโทษลงมา แต่ยังไม่หมดกรรมจ่ะ !



case หนี้กรรมทำให้คลอดก่อนกำหนด (15 เมษายน 2546
ภรรยาตั้งครรภ์ เกิดอาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง จนต้องเข้ารับน้ำเกลือที่ รพ. บางครั้งต้องให้น้ำเกลือที่บ้านด้วย จนกระทั่งตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน 13 วัน ภรรยาคลอดได้บุตรชาย ทั้งที่แพทย์พยายามชลอการคลอดให้เด็กอยู่ในท้องครบกำหนด แต่ชลอไม่ได้

ขณะนี้ลูกชายเข้ารับการรักษาตัวอยู่ที่ห้อง I.C.U. เด็ก ต้องให้อาหารทางสายยางและใช้เครื่องช่วยหายใจ หมอบอกไม่ได้ว่านานเท่าใด คงต้องรอให้เด็กหายใจเองได้ แล้วน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ ลูกชายน้ำหนัก 1.2 ก.ก. นำความทุกข์ใจมายังครอบครัวและญาติเป็นอย่างมาก

คำถาม เจ้าของเคส ภรรยาและบุตร ทำกรรมอะไรร่วมกันมาถึงต้องมาเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้ โดยเฉพาะลูกชายที่คลอดก่อนกำหนด จะมีวิธีการใดบ้างที่จะช่วยให้ลูกชายหายเป็นปกติและแข็งแรงเหมือนกับเด็กทั่ว ๆ ไป


เจ้าของเคส ภรรยา และลูกชาย มีกระแสกรรมร่วมกัน ลูกชายเคยเป็นอดีตสามีเก่าของภรรยาในชาติอดีต เขา 2 คนรักกัน แต่งงานกันแล้วก็มีลูก อดีตสามีเก่าในอดีตชาติไม่พร้อมให้มีบุตร อยากให้ภรรยาไปทำแท้ง ปรึกษาเพื่อนที่เป็นหมอ หมอปรุงยาเพื่อทำแท้ง แต่ภรรยาแอบมาบอกกับหมอว่าอย่าทำให้แท้งเลย เพื่อไม่ให้สามีโกรธ ก็จะทำเป็นกินยาต่อหน้าเขา เขาจะได้สบายใจ ให้หมอปรุงยาให้อ่อน ๆ ที่ไม่แท้งนะ หมอตกลงเพราะสงสารและเห็นใจ แต่ก็ยังขับเด็กออก คือ ทำให้คลอดก่อนกำหนด พออดีตสามีมารู้ทีหลังก็หงุดหงิด หาเรื่องทะเลาะ แล้วแยกทางกันไป ส่วนหมอเกิดเห็นใจขึ้นมา เลยแต่งงานกันอยู่ร่วมกันมา หมอก็คือ เจ้าของเคสที่มีส่วนแห่งกรรมร่วมกับเขา เพราะเป็นคนปรุงยา อดีตสามีเป็นผู้บงการ มีเจตนาแรง ไปใช้กรรมมามากแล้ว พอชาตินี้มาเจอกัน เศษกรรมจึงทำให้เกิดเป็นลูกและคลอดก่อนกำหนด เด็กจะยังไม่ตายถ้าหากว่าไม่มีกรรมบางอย่างมาชิงช่วง แต่ก็จะโตขึ้นอย่างไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าไหร่

จะช่วยลูกชาย ก็ต้องเลี้ยงเขาไปด้วยความรักและห่วงใย ทำบุญทุก ๆ บุญ อธิษฐานจิตช่วยให้หนักเป็นเบา เบาเป็นหาย ไม่ไปทุกข์ใจ เพราะไม่เกิดประโยชน์ เมื่อลูกโตขึ้น ก็ชวนสร้างบุญกุศล ลูกจะได้พ้นเวรพ้นกรรม เราก็จะได้พ้นไปด้วย



#7 น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

น้ำฝน มัชฌิมหญิงรุ่น14

    เราคือ นักรบกล้าอาสาสมัคร กองทัพธรรม

  • Members
  • 1961 โพสต์
  • Gender:Female
  • Interests:ช่วยงานบุญที่วัด ให้ถึงที่สุดกำลัง ตราบวันที่ชีวิตจะสิ้นลมหายใจ

โพสต์เมื่อ 18 January 2007 - 08:10 PM

โห้ควรศึกษาไว้ เก็บความรุ้
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"

น้ำฝนลูกพระธัมฯ

#8 Peacefulness ™

Peacefulness ™
  • Members
  • 1145 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:On the planet Earth.
  • Interests:Almost everything that helps me to become better and better; especially, the Grestest Dharma of the Lord Buddha

โพสต์เมื่อ 19 January 2007 - 09:19 AM

ข้าพเจ้าใคร่ ขอขอบคุณ และ อนุโมทนาบุญทุกๆบุญ กับ ท่าน เถลิงเกียรติ สำหรับ ได้กรุณา นำคำอธิบาย ของ ท่านคุณครูไม่ใหญ่ มาแบ่งบัน ทบทวน กันให้ได้พิจารณากัน นะครับ กับ ท่าน หัดฝัน, ท่าน ศูนย์กลางกลาย, และกับ ทุกๆท่าน สำหรับ ทุกๆความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อ ผู้อ่าน และผู้ศึกษา อย่างเช่นข้าพเจ้าเป็นต้น ด้วยนะครับ

ยอดเยี่ยมกันทุกๆคนเลยจ้า

สาธุ...สาธุ...สาธุ...ครับ


ขอเชิญร่วม อนุโมทนาบุญ งานบุญกฐินพระราชทาน ที่ วัดปากน้ำภาษีเจริญ คลิ๊กที่นี้
ขอเชิญร่วม อนุโมทนาบุญ งานบุญกฐินพระราชทาน ที่ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก คลิ๊กที่นี้
.

Who am I?__>>> CLick Here <<< to see my answer Post # 7

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

For any inquiries please

.

รวมภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า:
คลิ๊กที่นี้
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ ได้รับ ภาพทั้งหมดของ คำสอนคุณยาย ฉบับรวมเล่ม และภาพ (ฉบับสมบรูณ์)
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 157 files, 557.61 MB, ธรรมมะเทศนา มงคล 38 โดย พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตฺตชีโว)
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 58 files, 120.99 MB, for easy listening dharmas.
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ D/L 121 really-good-to-read e-books, 295.67 MB.
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ Download โปรแกรม Free Download Manager ช่วย Download ไฟล์ใหญ่ๆ ต่างๆ ฟรีครับฟรี
คลิ๊กที่นี้ เพื่อ Download โปรแกรม Acrobat Reader V.5
.
ที่มา: คลิ๊กที่นี้ ปล. สืบเนื้องมาจาก กระทู้นี้ โพสต์โดย ท่าน ฟ้าร้าง
.
เรื่อง การสร้างบารมีของพระโพติสัตว์ เข้าใจได้ไม่ยาก โปรดลอง คลิ๊กที่นี้
.
สนใจอ่าน

The basic knowledge of Buddhism to become a better buddhist Edition 2 คลิ๊กที่นี้

(With some english explanation)

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

"Do not confuse having a career with having a life"
-= Hillary Clinton =-.... >>>>>>>
CLicK HeRe <<<<<< To Be wisher, To Be smarter, and To Know Better !!!
Lastest Revised: 16/12/2006 | 08:43 PM

#9 ปัจเจกชน บนทางสายกลาง

ปัจเจกชน บนทางสายกลาง
  • Members
  • 4109 โพสต์
  • Gender:Male
  • Location:จ. สงขลา

โพสต์เมื่อ 28 January 2007 - 07:58 AM

กราบอนุโมทนาบุญกับการถกธรรมะของทุกท่านด้วยนะครับ สาธุ