ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

Dhamma for the week 8/ 2007


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
ไม่มีการตอบกลับในกระทู้นี้

#1 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 16 February 2007 - 01:43 PM

18 กุมภาพันธ์

พระพุทธเจ้าเพียงแต่บอกหนทาง

พุทธดำรัส ตอบ “.....ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษผู้ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์พึงมาในสำนักของท่าน เขาเข้ามาหาท่านแล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปยังกรุงราชคฤห์ ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ มาเถิด ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ท่านจงไปตามามทางนั้นชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเป็นบ้างชื่อโน้น..... ไปตามทางชั่วครู่หนึ่งแล้ว จักเป็นนิคมชื่อโน้น...... จักเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์...... จักเห็นป่าที่น่ารื่นรมย์ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ สระโลกขรณีที่น่ารื่นรมย์ของเมืองราชคฤห์ บุรุษนั้นอันท่านแนะนำสั่งสอนอยู่อย่างนี้จำทางผิด กลับเดินไปเสียตรงกันข้าม ต่อมาบุรุษคนที่สอง ปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ พึงมาในสำนักของท่าน.... แล้วพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ...... ขอท่านจงชี้ทางไปเมืองราชคฤห์แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ท่านพึงบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า...... ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์....... บุรุษนั้นอันท่านแนะนำพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ พึงไปถึงเมืองราชคฤห์โดยสวัสดี ดูก่อนพราหมณ์ อะไรหอและเป็นเหตุเป็นปัจจัยในเมื่อเมืองราชคฤห์ดำรงอยู่ ทางไปเมืองราชคฤห์ก็ดำรงอยู่ ท่านผู้ชี้แจงก็ดำรงอยู่ แต่ก็บุรุษอันท่านแนะนำพร่ำสั่งอยู่อย่างนี้ คนหนึ่งจำทางผิด กลับเดินไปทางตรงกันข้าม คนหนึ่งไปถึงเมืองราชคฤห์โดยสวัสดี ?”
คณกโมคคัลลานะ “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้าเป็นแต่ผู้บอทาง”


“ดูก่อนพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล ในเมื่อนิพพานก็ดำรงอยู่ ทางไปนิพพานก็ดำรงอยู่ เราผู้ชักชวนก็ดำรงอยู่ แต่ก็สาวกของเราอันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียงส่วนน้อยยินดีนิพพานอันมีความสำเร็จเยี่ยมยอด บางพวกก็ไม่ยินดี ดูก่อนพราหมณ์ ในเรื่องนี้เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกหนทางให้”




19 กุมภาพันธ์

บันไดสู่อรหัตตผล

พุทธดำรัส ตอบ “.....ท่านจงเป็นผู้มีศีล ระวังในปาฏิโมกข์อยู่ เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยมารยาทและธรรมเป็นโคจร จงเป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหมาย
“..... ท่านจงเป็นผู้มีทวารอันระวังแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย (สำรวมอินทรีย์ อย่าถือนิมิต (ของรูปนั้น) ไว้ อย่าถือโดยอนุพยัญชนะ ซึ่งเป็นเหตุให้เหล่าอกุศลธรรมอันลามกมีอภิชฌาและโทมนัส เป็นต้น ไหลตามบุคคลผู้ไม่ระวังอินทรีย์คือตา...... จงปฏิบัติเพื่อระวังอินทรีย์ถือนัยน์ตานั้น...... ได้ยินเสียงด้วยหู แล้วดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ต้องโผฏฐัพพะ (สัมผัส) ด้วยกายแล้ว รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว อย่าถือนิมิต (ของอารมณ์นั้น ๆ ) ไว้อย่างถือโดยอนุพยัญชนะ
“...... ท่านจงเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ พิจารณาโดยอุบายอันชอบแล้ว เสพโภชนาหาร (พิจารณาว่า) เราเสพโภชนะนี้ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อให้ร่างกายสดใส ไม่ใช่เพื่อให้ร่างกายผุดผ่อง เพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อปราศจากความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยการเสพโภชนะนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น


“...... ท่านจงประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่ ท่านจงชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดิน ด้วยการนั่งสิ้นวันยังค่ำ จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดิน ด้วยการนั่งตลอดยามต้นแห่งราตรีถึงยามกลางแห่งราตรี พึงสำเร็จการนอนอย่างราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา วางเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ผูกใจหมายจะลุกขึ้น ถึงยามสุดแห่งราตรี จงกลับลุกขึ้น ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดิน ด้วยการนั่ง
“...... ท่านจงมาตามพร้อมด้วยสติและสัปชัญญะในอันก้าว ในอันถอย ในอันแล ในอันเหลียว ในอันคู้ ในอันเหยียด ในอันทรงสังฆาฏิบาตรจีวร ในอันกิน ดื่มเคี้ยวแลจิบ ในอันถ่ายอุจาระแลปัสสาวะ ในอันเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด แลนิ่ง ท่านจงเป็นคนรูตัวกระ (ทุก ๆ อย่าง)
“...... ท่านจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า ดง โคน ต้นไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำในเขา ป่าช้า ป่าเปลี่ยว ที่แจ้ง ลอมฟาง ในปัจฉาภัตต์ (นอกเพล) เธอกลับมาจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงตั้งสติไว้เฉพาะหน้า... ย่อมทำจิตใจให้บริสุทธิ์ จากอภิชฌา ย่อมทำจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายเพราพยาบาท....... มีจิตปราศจากถีนมิทธะแล้ว มีสติสัมปชัญญะ มีสำคัญในอาโลกกสิณอยู่ ทำจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ ) ทำจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา (ความสงสัยลังเล) ละนิวรณ์ทั้ง ๕ อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิต เป็นเครื่องทำปัญญาให้ถอยกำลังเหล่านี้แล้ว สงัดจากกามารมณ์ สงัดจากอกุศลธรรมนั่นเทียว.....บรรลุปฐมฌาน..... บรรลุทุติยฌาน..... บรรลุตติยฌาน...... บรรลุจตุตถฌาน


“ภิกษุเหล่าใดแล ยังเป็นเสขบุคคล ยังไม่ได้ถึงอรหัตตมรรคแล้ว ปรารถนาพระนิพพานเป็นที่สิ้นโยคะ ไม่มีธรรมอื่นจะยิ่งกว่า วาจาพร่ำสอนเช่นนี้ ของเรา มีอยู่ในภิกษุเหล่านั้น
“ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว เป็นผู้อยู่จบแล้ว มีกิจควรทำให้ทำเสร็จแล้ว มีภาระอันปลงเสียแล้ว ธรรมทั้งหลายเหท่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในอัตตภาพนี้ ทั้งสติแลสัมปชัญญะ แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น”



20 กุมภาพันธ์
ผู้แทนพระพุทธองค์

พระอานนท์ตอบ “.....ดูก่อนพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่ง อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ทรงแต่งตั้งไว้ว่า เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จักเป็นที่พึ่งอาศัยของท่านทั้งหลาย ซึ่งอาตมภาพทั้งหลายจะพึงเข้าไปหาได้ในบัดนี้
“.....ดูก่อนพราหมณ์ ไม่มีเลยแม้สักรูปหนึ่ง อันสงฆ์ที่เป็นภิกษุผู้เถระมากรูปด้วยกันสมมติแล้ว แต่งตั้งไว้ว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จล่วงลับไปแล้ว ภิกษุรูปนี้จัดเป็นที่พึ่งอาศัยของเราทั้งหลาย......
“.....ดูก่อนพราหมณ์ อาตมภาพทั้งหลายมิใช่ไม่มีที่พึ่งอาศัยเลย พวกอาตมภาพมีที่พึ่งอาศัยคือ มีธรรมเป็นที่พึ่งอาศัย”




21 กุมภาพันธ์

วิธีพิสูจน์พระอรหันต์



พุทธดำรัส ตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จ แล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่างเพื่อยินดี อย่าเพื่อคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น... พึงถามปัญหาเธอว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โวหารอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ..... ตรัสไว้ชอบนี้มี ๔ ประการ..... คือ คำกล่าวว่าเห็นอารมณ์ที่ตนเห็นแล้ว..... ได้ยินในอารมณ์ที่ตนฟังแล้ว..... ทราบในอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว.... รู้ชัดในอารมณ์ที่ตนรู้ชัดแล้ว.... ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ นี้ ?
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว.... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพันพ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้เห็น มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่...... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้ยิน..... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้ทราบ..... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้ารู้ชัด.... จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ นี้
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้นพวกเธอควรชื่นชมอนุโมทนาสาธุ


ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุอุปาทานขันธ์อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น..... ตรัสไว้ชอบ มี ๕ ประการ แล.... คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์...... ก็จิตของท่านผู้มีอายุผู้รู้อยู่เห็นอยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ?
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว..... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความชื่นใจ จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืน ซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในรูปได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งเวทนา..... รู้แจ้งสัญญา.... รู้แจ้งสังขาร..... รู้แจ้งวิญญาณแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก..... จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว..... ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ธาตุอันพระผู้มีพระภาคนั้น.... ตรัสไว้ชอบมี ๖ ประการ.... คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้


“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว...... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า.....ข้าพเจ้าครองปฐวีธาตุโดยความเป็นอนัตตา มิใช่ครองอัตตาอาศัยปฐวีธาตุเลย ข้าพเจ้าครองอาโปธาตุ โดยความเป็นอนัตตา.... ครองเตโชธาตุโดยความเป็นอนัตตา...... ครองวาโยธาตุโดยความเป็นอนัตตา.... มิใช่ครองอัตตาอาศัยวิญญาณธาตุเลย จึงทราบชัดว่าจิตของเราพื้นแล้ว.... จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็อายตนะภายในอาตนะภายนอก อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบนี้ มีอย่างละ ๖ แล คือจักษุและรูป โสตและเสียง ฆานะและกลิ่นชิวหาและรส กายและโผฏฐัพพะ มโนและธรรมารมณ์..... ก็จิตของท่านผู้มีอายุรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ?


“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว..... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นสำรอก ดับสละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทาน ที่ยึดมั่นและอนุสัยคือความตั้งใจ และความปักใจมั่นในจักษุในรูปในจักษุวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ..... ในโสต ในเสียง ในโสตวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ...... ในฆาน ในกลิ่น ในฆานวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ.... ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ ..... ในมโน ในธรรมารมณ์ ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ..... จิตของข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้.....”

22 กุมภาพันธ์ สัมมาทิฐิเป็นประธาน

พุทธดำรัส ตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๘ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือเมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสสังกัปปะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสมาธิ สมัมาญาณะจึงพอเหมาะได้ เมื่อสัมมาญาณะ สัมมาวิมุติจึงพอเหมาะได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล พระเสขะผู้ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐”


23 กุมภาพันธ์

ความสัมพันธ์ของโพชฌงค์ ๗

พุทธดำรัส ตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นภายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผอเรอ
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นสติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้าไตร่ตรองถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใดภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้าไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้นธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญธรรม วิจยสัมโพชฌงค์..... ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อเธอค้นคว้าไตรตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน


“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ..... ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน.... วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุ ปรารภแล้ว...... ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์...... วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ..... ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน.... วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุ ปรารภแล้ว...... ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์...... วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุ ปรารภแล้ว...... ภิกษุย่อมชื่อว่าเจริญวิริยสัมโพชฌงค์...... ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติระงับได้ ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว.... ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์...... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว ย่อมมีจิตตั้งมั่น
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุขย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้นสมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว...... สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ และความบริบูรณ์แก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี


“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉย จิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว..... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้.......”








24 กุมภาพันธ์

พระอริยะกับคนธรรมดา

พุทธดำรัส ตอบ “.....ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ข้อที่ความข้อนั้นเขา (สมณะ) รู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ แต่พระราชกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรง หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้แจ้ง ความข้อนั้นได้ นั้นไม่ใช้ฐานะที่จะมีได้
“.....ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนภูเขาใหญ่ไม่ห่างไกลบ้านหรือนิคมสหายสองคนออกจากบ้านหรือนิคมนั้น ไปยังภูเขาลูกนั้นแล้ว..... สหายคนหนึ่งยืนที่เชิงภูเขาเบื้องล่าง อีกคนหนึ่งขึ้นไปข้างบนภูเขา สหายที่ยืนตรงเชิงภูเขาข้างล่าง เอ่ยถามสหายผู้ยืนบนภูเขานั้นอย่างนี้ว่า แนะเพื่อน เท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขานั้น เพื่อนเห็นอะไร สหายคนนั้นตอบอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย เรายืนบนภูเขาแล้ว เห็นสวนป่าไม้ภูมิภาคและสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์
“สหายข้างล่างกล่าวอย่างนี้ว่า แนะเพื่อน ข้อที่เพื่อยืนบนภูเขาแล้ว เห็น สวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสเลย
“สหายที่ยืนบนภูเขาจึงลงมายังเชิงเขาข้างล่าง แล้วจูงแขนสหายคนนั้นให้ขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้น ให้สบายใจครู่หนึ่งแล้ว เอ่ยถามสหายนั้นว่า แนะเพื่อน เท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขาแล้ว เพื่อนเห็นอะไร ?


“สหายคนนั้นตอบอย่างนี้ว่า แนะเพื่อ เรายืนบนภูเขาแล้ว แลเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์.....”


โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้