ไปที่เนื้อหา


รูปภาพ
- - - - -

Dhamma for the week 9/2007


  • คุณไม่สามารถตั้งกระทู้ใหม่ได้
  • กรุณาลงชื่อเข้าใช้เพื่อตอบกระทู้
ไม่มีการตอบกลับในกระทู้นี้

#1 ThDk

ThDk
  • Members
  • 259 โพสต์
  • Location:Struer, Denmark
  • Interests:จุดมุ่งหมายของการประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อสำรอกราคะ... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอานุสัย.. เพื่อรู้รอบสังสารวัฎอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งผลคือ วิชชาและวิมมุติ... เพื่อญาณทัศนะ... เพื่อปรินิพพาน อันปราศจากอุปทาน.

โพสต์เมื่อ 24 February 2007 - 12:31 AM

25 กุมภาพันธ์

ทำดีด้วยความหวังและไม่หวัง

พุทธดำรัส ตอบ “.....ดูก่อนภูมิชะ ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ที่มีทิฐิผิด มีสังกัปปะผิด มีวาจาผิด มีกัมมันตะผิด มีอาชีวะผิด มีวายามะผิด มีสติผิด มีสมาธิผิด ถ้าแม้ทำความหวังแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุผล ถ้าแม้ไม่ทำความหวังแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถสามารถจะบรรลุมรรคผล ถ้าแม้ทำความหวังและไม่ทำความหวังประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็ไม่สามารถจะบรรลุมรรคผล..... นั่นเพราะอะไร ดูก่อนภูมิชะ เพราะเขาไม่สามารถจะบรรลุผลได้โดยอุบายไม่แยบคาย
“.....ดูก่อนภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการน้ำมัน.... เกลี่ยทรายลงในรางแล้วคั้นไป เอาน้ำพรมไป ๆ ถ้าแม้ทำความหวัง...... เขาก็ไม่สามารถจะได้น้ำมัน ถ้าแม้ไม่ทำความหวัง..... เขาก็ไม่สามารถจะได้น้ำมัน
“.....ดูก่อนภูมิชะ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ที่มีทิฐิชอบมีสังกัปปะชอบ มีวาจาชอบ มีกัมมันตะชอบ มีอาชีวะชอบ มีวายามะชอบมิสติชอบ มีสมาธิชอบ ถ้าแม้ทำความหวังแล้วประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล ถ้าแม้ไม่ทำความหวังประพฤติพรหมจรรย์ เขาก็สามารถบรรลุผล
“.....ดูก่อนภูมิชะ เปรียบเหมือนบุรุษต้องการน้ำมัน..... เกลี่ยงาป่นลงในรางแล้วคั้นไป...... ถ้าแม้ทำความหวัง...... เขาก็สามารถได้น้ำมัน ถ้าแม้ไม่ทำความหวัง..... เขาก็สามารถได้น้ำมัน.....”






26 กุมภาพันธ์

อันตรายของสมาธิ

พุทธดำรัส ตอบ “.....ดูก่อนอนุรุท เมื่อก่อนตรัสรู้ ยังไม่รู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ เราย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูปเหมือนกัน แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุเห็นปัจจัยได้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้ ดูก่อนอนุรุธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่าวิจิกิจฉา (ความสงสัยลังเล) แลเกิดขึ้นแล้วแก่เราก็วิจิกิจฉาเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้วิจิกิจฉาไม่เกิดขึ้นแก่เราได้อีก
“.....ดูก่อนอนุรุธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่าอมนสิการ (การไม่ใส่ใจ) แลเกิดขึ้นแล้วแก่เราก็อมนสิการ เป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน ถีนมิทธะ (ความง่วงงุน) แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความหวาดเสียว...... แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความตื่นเต้น แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความชั่วหยาบ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความเพียรที่ปรารภเกินไป แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความเพียรที่หย่อนเกินไป แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ตัณหาที่คอยกระซิบ แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... ลักษณะที่เพ่งเล็งรูป


เกินไป แลเกิดขึ้นแล้วแก่เรา...... สมาธิของเราจึงเคลื่อน...... เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจักทำให้วิจิกิจฉาอมนสิการ ถีนมิทธะความหวาดเสียว ความตื่นเต้น ความชั่วหยาบ ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน และลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไปขึ้นแก่เราได้อีก.....



27 กุมภาพันธ์

นรกมีจริงหรือ

พุทธดำรัส ตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นนั่นแลประพฤติทุจริต ทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก......
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์โทมนัสที่บุรุษถูกแทงด้วยหอกสามร้อยเล่มเป็นเหตุ กำลังเสวยอยู่นั้นเปรียบเทียบทุกข์ของนรก ยังไม่ถึงแม้ความคณนา ยังไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ยังไม่ถึงแม้การเทียบกันได้
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาลจะให้คนพาลนั้นกระทำเหตุชื่อการจำ ๕ ประการคือ ตรึงตะปูเหล็กแดงที่มือข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒ ที่เท้าข้างที่ ๑ ข้างที่ ๒ และที่ทรวงอกตรงกลาง คนพาลนั้นจะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า....... และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด
“.....เหล่านายนิรยบาล จะจับคนพาลนั้นขึงพืดแล้วเอาผึ่งถาก คนพาลนั้นจะเสวยเทวทนาอันเป็นทุกข์กล้า......
“.....เหล่านายนิรยบาล จะจับคนพาลนั้น เอาเท้าขึ้นข้างบน เอาหัวลงข้างล่าง แล้วถากด้วยพร้า คนพาลนั้นจะเสวยเทวทนาอันเป็นทุกข์กล้า......
“.....เหล่านายนิรยบาล จะเอาพาลนั้นเทียมรถ แล้วให้วิ่งกลับไปกลับมาบนแผ่นดินที่มีไฟติดทั่ว ลุกโพลง โชติช่วง คนพาลนั้นจะเสวยเทวทนาอันเป็นทุกข์กล้า......
“.....เหล่านายนิรยบาล จะให้คนพาลนั้นปีนขึ้นปีนลง ซึ่งภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ ที่มีไฟติดทั่วลุกโพลง โชติช่วง คนพาลนั้นจะเสวยเทวทนาอันเป็นทุกข์กล้า......


“.....เหล่านายนิรยบาล จะจับคนพาลนั้น เอาเท้าขึ้นข้างบน เอาหัวลงข้างล่าง แล้วพุ่งลงไปในหม้อทองแดงที่ร้อน มีไฟติดทั่ง ลุกโพลง โชติช่วง คนพาลนั้นจะเดือนเป็นฟองอยู่ในหม้อทองแดงนั้น เมื่อเขาเดือดเป็นฟองอยู่ จะพล่านขึ้นข้างบนครั้งหนึ่งบ้าง พล่านลงข้างล่างครั้งหนึ่งบ้าง พล่านไปด้านขวาครั้งหนึ่งบ้าง พล่านลงข้างล่างครั้งหนึ่งบ้าง จะเสวยเวทนาอันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบอยู่ในหม้อทองแดงนั้น และยังไม่ตายตราบเท่าบาปกรรมยังไม่สิ้นสุด
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านายนิรยบาล จะจับโยนคนพาลนั้นเข้าไปในมหานรก ก็มหานรกนั่นแล มีสี่มุมสี่ประตู แบ่งไว้โดยส่วนเท่ากัน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบไว้ด้วยแผ่นเหล็ก พื้นของนรกใหญ่นั้น ล้วนแล้วด้วยเหล็ก ลุกโพลง ประกอบด้วยไฟแผ่ไปตลอดร้อยโยชน์รอบด้น ประดิษฐานอยู่ทุกเมื่อ”


28 กุมภาพันธ์

คนเกิดเป็นสัตว์ได้

พุทธดำรัส ตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกมีหญ้าเป็นภักษา..... คือ ม้า โค ลา แพะ เนื้อ หรือแม้จำพวกอื่น ๆ ไม่ว่าชนิดไร ๆ ..... คนพาลนั่นแล ผู้กินอาหารด้วยความติใจรสเบื้องต้นในโลกนี้ทำกรรมลามกไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์จำพวกที่มีหญ้าเป็นภักษาเหล่านั้น
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกมีคูถเป็นภักษา สัตว์เดียรัจฉานเหล่านั้นได้กลิ่นคูถแต่ไกร แล้วย่อมวิ่งไปด้วยหวังว่า จักกินตรงนี้ จักกินตรงนั้น คือ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขป่า หรือแม้จำพวกอื่น ๆ ไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่มีคูถเป็นภักษา คนพาลนั่นแล..... ทำกรรมลามกไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์จำพวกที่มีมีคูถเป็นภักษา เหล่านั้น
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิด แก่ ตาย ในที่มืด คือ ตั๊กแตน มอด ไส้เดือน หรือแม้จำพวกอื่น ๆ ไม่ว่าชนิดไร ๆ คนพาลนั้นนั่นแล..... ทำกรรมลามกไว้ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้วย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์จำพวกเกิด แก่ ตายในที่มืด
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิด แก่ ตายในน้ำ... คือ ปลา เต่า จระเข้ หรือแม้จำพวกอื่น ๆ ไม่ว่าชนิดไร ๆ ..... คนพาลนั้นแล เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสัตว์จำพวกที่ เกิด แก่ ตายในน้ำ


“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีเหล่าสัตว์เดียรัจฉานจำพวกเกิด แก่ ตายในของโสโครก คือ เกิด แก่ ตายในปลาเน่าก็มี ในศพเน่าก็มี ในขนมกุมมาสเน่าก็มี ในน้ำครำก็มี ในหลุมโสโครกก็มี หรือแม้จำพวกอื่น ๆ ไม่ว่าชนิดไร ๆ ..... คนพาลนั้นแล..... เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าพึงความเป็นสหายของสัตว์จำพวกเกิด แก่ ตายในของโสโครก.....”



1 มีนาคม

คนพาลเกิดเป็นมนุษย์ได้ยาก

พุทธดำรัส ตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนทุนมีบ่วงตาเดียวไปในมหาสมุทร ทุนนั้นถูกลมตะวันออกพัดไปทางทิศตะวันตก ถูกลมตะวันตกพัดไปทางทิศตะวันออก ถูกลมเหนือพัดไปทางทิศใต้ ถูกลมใต้พัดไปทางทิศเหนือ มีเต่าตาบอดอยู่ในมหาสมุทรนั้น ล่วงไปร้อยปีจึงจะผุดขึ้นครั้งหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? เต่าตาบอดตัวนั้น จะพึงเอาคอสวมเข้าที่ทุ่นมีบ่วงตาเดียวโน้นได้บ้างไหมหนอ ?
“ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้เลยพระพุทธเจ้าข้า..... ถ้าจะเป็นไปได้ในบางครั้งบางคราว ก็โดยล่วงระยะกาลนานแน่นอน
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอดตัวนั้นจะพึงเอาคอสวมเข้าที่ทุ่นมีบ่วงตาเดียวโน้นได้ ยังจะเร็วกว่า เรากล่าวความเป็นมนุษย์ที่คนพาลผู้ไปสู่วินิบาต คราวหนึ่งแล้วจะพึงได้ ยังยากกว่านี้ นั่นเพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะในตัวคนพาลนี้ ไม่มีความประพฤติธรรม ความประพฤติสงบ การทำกุศล การทำบุญ มีแต่การกินกันเอง การเบียดเบียนคนอ่อนแอ......
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้นแลถ้าจะมาสู่ความเป็นมนุษย์ในบางครั้งบางคราว ไม่วากาลไหน ๆ โดยล่วงระยะกาลนานย่อมเกิดในสกุลต่ำ คือ สกุลคนจัณฑาล หรือสกุลพรานเนื้อ หรือสกุลคนจักสาน หรือสกุลช่างรถ หรือสกุลคนเทขยะเห็นปานนั้นในบั้นปลาย.......”



2 มีนาคม


ไม่ควรพูดรีบร้อน

พุทธดำรัส ตอบ “...... ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วนพูด อย่างพูดรีบด่วนนั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในประการแรก นั้น เมื่อรีบด่วนพูด กายก็ลำบาก จิตก็แกว่ง เสียงก็พร่า คอก็เครือ แม้คำพูดของผู้ที่รีบด่วนพูด ก็ไม่สละสลวย ไม่พึงรู้ชัดได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในประการหลังนั้น เมื่อไม่รีบด่วนพูด กายก็ไม่ลำบาก จิตก็ไม่แกว่ง เสียงก็ไม่พร่า คอก็ไม่เครือ แม้คำพูดของผู้ที่ไม่รับด่วนพูด ก็สละสลวย พึงรู้ชัดได้.....”




3 มีนาคม

วิธีพิจารณาธาตุ ๖

พุทธดำรัส ตอบ “ดูก่อนภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายใน (กายเรา) ก็มี ภายนอกก็มี ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในภายนอกนี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช้ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายปฐวีธาตุและจะให้จิตคลายกำหนัดปฐวีธาตุได้
“ดูก่อนภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน คือ อาโปธาตุภายใน (กายของเรา) ก็มี ภายนอกก็มี เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอาโปธาตุนั้นว่า..... นั่นไม่ใช้ของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ.....
“ดูก่อนภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายใน (กายของเรา) ก็มี ภายนอกก็มี..... เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น พึงเห็นวาโยธาตุนั้นว่า..... นั่นไม่ใช้ของเรา..... ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ.....
“ดูก่อนภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน คือ เตโชธาตุภายใน (กายของเรา) ก็มี ภายนอกก็มี..... เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นว่า..... นั่นไม่ใช้ของเรา..... ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ.....
“ดูก่อนภิกษุ ก็อากาศธาตุเป็นไฉน คือ อากาศธาตุภายใน (กายของเรา) ก็มี ภายนอกก็มี..... เป็นอากาศธาตุทั้งนั้น พึงเห็นอากาศธาตุนั้นว่า..... นั่นไม่ใช้ของเรา..... ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายอากาศธาตุ.....


“ต่อจากนั้น สิ่งที่เหลืออยู่อีก ก็คือ วิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง บุคคลย่อมรู้อะไร ๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ดูก่อนภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกินสุขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนาย่อมรู้สึกว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้สึกว่า ความเสวยอารมณ์ ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุข ย่อมเกิดทุกขเวทนา..... เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ความเสวยอารมณ์.... คือตัวทุกขเวทนา... ย่อมดับย่อมเข้าไปสงบ
“ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะไม้สองท่อนนั้นเอง แยกกันไปเสียคนละทาง....”



โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน

โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่

โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวง

โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา.

- สละโลกได้ ก็พ้นทุกข์ได้