ไปที่เนื้อหา


usr25095

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 16 Aug 2008
ออฟไลน์ ใช้งานล่าสุด Aug 17 2008 12:18 PM
-----

โพสต์ที่ฉันโพสต์

ในกระทู้: วัยรุ่น+วัดธรรมกาย

16 August 2008 - 11:32 PM

โหลดคัมภีร์ว่าด้วยนิพพานได้เลยทุกท่าน

ในกระทู้: วัยรุ่น+วัดธรรมกาย

16 August 2008 - 10:35 PM

นิพฺพานาพฺยากตวณฺณนา
นิพฺพานาพฺยากตํ ปน ภูมิโต โลกุตฺตรเมว, ธมฺมโตปิ จ เอกเมว, เภโท นตฺถิ ฯ ลกฺขณาทิโต ปน สนฺติลกฺขณํ นิพฺพานํ, นิวตฺติลกฺขณํ, อสงฺขตลกฺขณํ วา, อจฺจุติรสํ, อนิมิตฺตปจฺจุปฏฺฐานํ, ฯ อสงฺขตตาย ปนสฺส การกเหตุวิรหโต ปทฏฺฐานํ นตฺถิ ฯ ปาปกเหตุวเสน ปเนตํ “ ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทาติอาทิโตวจนโต” ( วิภฺ ๒๐๖ ) “ อริยมคฺคปทฏฺฐานนฺติ” วตฺตุ  วฏฺฏติ ฯ
สงฺคหโต ปน เภทาภาวา ขนฺเธสุ สงฺคหํ น คจฺฉติ, อายตนาทีสุ ธมฺมายตนธมฺมธาตูสุ สงฺคหํ คจฺฉติ ฯ
สุญฺญโต ปน อตฺตสุญฺญํ, สลกฺขณธารณโต อนตฺตกํ ธมฺมมตฺตํ อสงฺขตตาย วา อจฺจนฺตตฺตาย จ อนิจฺจตาสุญฺญํ ทุกฺขตาสุญฺญํ ราคาทิสุญฺญํ นิมิตฺตสุญฺญนฺติ ปวตฺตสุญฺญนฺติ คเหตพฺพํ ฯ
เภทโต ปน สนฺติลกฺขณาทิสภาวโต เอกวิธมฺปิ, การณปริยายโต สอุปาทิเสสนิพฺพานธาตุ, อนุปาทิเสสนิพฺพานธาตุ เจติ ทุวิธํ โหติ ฯ
สรสวเสน ปน ปริกปฺปิตาการเภทโต สุญฺญตํ อนิมิตฺตํ อปฺปณิหิตนฺติ ติวิธํ โหติ ฯ สงฺขตธมฺมเภทมุปาทาย ปฏิกฺขิปิตพฺพาการโต น จิตฺตํ, น เจตสิกํ, น รูปํ, น อตีตํ, น อนาคตํ, น ปจฺจุปฺปนฺนํ, น มคฺโค, น ผลนฺติอาทินา อนนฺตปฺปการํ โหติ ฯ ฯลฯ
นิพฺพานาพฺยากตํ นิฏฺฐิตํ ฯ
อิติ โจฬรฏฺเฐ มหากสฺสปตฺเถเรน วิรจิตา
โมหวิจฺเฉทนี นาม
อภิธมฺมมาติกตฺถวณฺณนา นิฏฺฐิตา ฯ

ในกระทู้: วัยรุ่น+วัดธรรมกาย

16 August 2008 - 07:45 PM

ก็อัพยากตนิพพาน ว่าด้วยภูมิคือที่ตั้งอยู่ เป็นโลกุตรภูมิเท่านั้น,อนึ่งแม้จะว่าด้วยธรรมคือสภาวะที่ทรงไว้ พระนิพพานนั้น ก็มีสภาวะที่ทรงไว้อย่างเดียว ความแตกต่างกัน ( ของพระนิพพานนั้น ) ย่อมไม่มี, แต่ว่าด้วยลักษณะเป็นต้น พระนิพพานนั้น มีลักษณะสงบอยู่ มีลักษณะไม่เป็นไปตาม ( ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นทุกอย่างเลย ) อีกอย่างหนึ่ง พระนิพพานนั้น มีลักษณะไม่ถูกตกแต่งคือจัดแจงไว้ มีกิจหน้าที่ไม่เคลื่อนย้ายไปมา มีความปรากฏที่ไม่มีนิมิตคือเครื่องขีดหมายไว้ ก็ปทัฏฐานคือเหตุของพระนิพพานนั้น ย่อมไม่มี เพราะพระนิพพานนั้น เว้นจากเหตุจากผู้สร้างขึ้น เพราะเป็นสภาวะที่ไม่ถูกตกแต่งคือจัดแจงขึ้นมา แต่การที่จะกล่าวพระนิพพานว่า มีอริยมรรคเป็นปทัฏฐานคือเหตุ ดังนี้นั่น ย่อมถูกต้อง เพราะพระดำรัสว่า “ทุกฺขนิโรธคามินีปฏิปทา” คือเป็นหัวข้อปฏิบัติที่ยังจิตให้ถึงสถานที่ดับทุกข์ คือพระนิพพานดังนี้เป็นต้น เพราะเป็นข้อปฏิบัติเนื่องด้วยเหตุที่ทำให้จิตถึง ( พระนิพพานเท่านั้น ) แต่ว่าด้วยการสงเคราะห์ พระนิพพานนั้น ย่อมไม่ถึงการสงเคราะห์เข้าในขันธ์ทั้งหลาย เพราะไม่มีสภาวะที่แตกต่างกันเลย ส่วนในอายาตนะทั้งหลายเป็นต้น พระนิพพานนั้นก็ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าในธรรมธาตุที่ท่านเรียกว่าธรรมายตนะ แต่ว่าด้วยความว่างเปล่า (สุญฺญโต) พระนิพพานนั้น ว่างเปล่าจากตัวตน (อตฺตสุญฺญํ) เป็นอนัตตา (อนตฺตกํ) เพราะทรงไว้ซึ่งลักษณะของมันเอง เป็นเพียงธรรมะคือสภาวะที่ทรงไว้ (ธมฺมมตฺตํ) ว่างเปล่าจากสภาวะที่เป็นสิ่งไม่เที่ยง (อนิจฺจตาสุญฺญํ) เพราะพระนิพพานเป็นสภาวะที่ไม่ถูกจัดแจงตกแต่งไว้เลย (อสงฺขตฺตาย) หรือเพราะเป็นสภาวะที่ไร้ขอบเขต (อจฺจนฺตตฺตา) ว่างเปล่าจากสภาวะที่เป็นทุกข์ (ทุกฺขตาสุญฺญํ) ว่างเปล่าจากกิเลสมีราคะเป็นต้น (ราคาทิสุญฺญํ) ว่างเปล่าจากสิ่งที่เป็นนิมิตหมายเครื่องหมายที่ขีดเขียนไว้ (นิมิตฺตสุญฺญํ) เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้จึงต้องจัดสงเคราะห์พระนิพพานไว้ว่า พระนิพพานนั้นว่างเปล่าจากความเป็นไปตาม “ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นทุก ๆ อย่างเลย” (ปวตฺตสุญฺญํ) แต่ว่าด้วยความแตกต่างกัน พระนิพพานนั้น ถึงมีสภาวะเพียงอย่างเดียว เพราะว่าตามสภาวะแล้วมีลักษณะสงบอยู่เป็นต้น แต่ถ้าว่าด้วยปริยายคือโดยอ้อมแห่งเหตุที่เป็นเทศนานั้น พระนิพพานนั้น จึงมีสองอย่าง คือ สอุปาทิเสสนิพฺพานธาตุ เรียกว่า นิพพานของคนที่หมดกิเลสแต่ยังมีชีวิตอยู่ และ อนุปาทิเสสนิพฺพานธาตุ เรียกว่า นิพพานของคนที่หมดกิเลสแต่ตายเสียแล้ว อนึ่ง ว่าด้วยประเภทแห่งอาการของนักปฏิบัติสมณธรรมที่ท่านกำหนดรู้ไว้ ด้วยอำนาจแห่งตามสภาวะ พระนิพพานนั้น มีสามอย่าง คือ มีสภาวะว่างเปล่า (สุญฺญตํ) ไม่มีนิมิต (อนิมิตฺตํ) ไม่มีที่ตั้ง (อปฺปณิหิตํ ) ว่าด้วยอาการที่ต้องปฏิเสธป้องกันคัดค้านไว้ เพราะมีการเข้าไปยึดถือเอาพระนิพพานผิดประเภท ว่าเป็นสังขตธรรม คือธรรมที่มีการถูกจัดแจงตกแต่งขึ้นไว้ (ซึ่งผิดตรงกันข้ามกันกับพระนิพพาน ที่เป็นอสังขตธรรมโดยแท้แน่นอน คือเป็นสภาวธรรมที่ไม่มีการถูกจัดแจงตกแต่งขึ้นไว้เลย) ฉะนั้น พระนิพพานนั้น จึงมีเป็นอนันตประการคือมีประการไม่สิ้นสุด (โดยมีนัยตรงกันข้ามกันกับสังขตธรรม) โดยมีนัยเป็นอนันตประการเป็นต้นว่า พระนิพพานนั้น ไม่ใช่จิต (น จิตฺตํ) ไม่ใช่เจตสิก (น เจตสิกํ) ไม่ใช่รูป (น รูปํ) ไม่ใช่อดีต (น อตีตํ) ไม่ใช่อนาคต (น อนาคตํ) ไม่ใช่ปัจจุบัน (น ปจฺจุปฺปนฺนํ) ไม่ใช่มรรคจิต (น มคฺโค) ไม่ใช่ผลจิต (น ผลํ) หมายถึง จิต เจตสิก รูป อดีต อนาคต ปัจจุบัน มรรคจิต และผลจิต ไม่มีอยู่ในนิพพานนั้นเลย นิพพานเป็นเพียงอารมณ์ของมรรคจิตและผลจิตเท่านั้นเอง ฯ

อัพยากตนิพพาน จบแล้ว ฯ

พรรณนาเนื้อความของอภิธัมมมาติกะ ชื่อว่า โมหวิจเฉทนี ที่ท่านพระมหากัสสปเถระ ได้รจนาไว้แล้ว ที่รัฐชื่อว่าโจฬะ จบแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ฯ

สรุปบทความ ว่าเรื่องของพระนิพพาน