ไปที่เนื้อหา


usr35239

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 07 Jul 2010
ออฟไลน์ ใช้งานล่าสุด Jul 09 2010 01:33 PM
-----

กระทู้ที่ฉันเริ่ม

ทำไมผมจึงอยากบวชหลังเรียนจบมหาลัย

07 July 2010 - 02:51 AM

ครับผม
เอาเป็นว่าคนถามเรื่องนี้เป็นเด็กนักศึกษาเหมือนผม แล้วรู้จักวัดและหลวงพ่อดี
น่าจะรู้ประวัติหลวงพ่อ แล้วจะถามทำไมเรื่องเรียนมหาลัยไปทำไม

หลายคนบอกว่าผมทำไม่ถูก ไม่เห็นใจพ่อแม่
แต่ถ้าอ่านบทความนี้และฟังเพลงแล้ว
จะรู้ได้เลยว่า ผมตัดสินใจถูกแล้ว
ถ้ารู้ประวัติหลวงพ่อ จะได้รู้ว่า ผม ตัดสินใจถูกแล้วครับ
อ้าว
มาอ่านกันครับ
นักศึกษา Post Modern


ปัญญาชน หรือ แค่คนชั้นกลาง






ดอกหางนกยูงสีแดงฉาน บานอยู่เต็มฟากสวรรค์


คนเดินผ่านไปมากัน เขาดั้นด้นหาสิ่งใด


ปัญญามีขายที่นี่หรือ จะแย้งซื้อได้ที่ไหน


อย่างที่โก้หรูหราราคาเท่าใด จะให้พ่อขายนามาแลกเอา


ฉันมาฉันเห็นฉันแพ้ ยินแต่เสียงด่าว่าโง่เง่า


เพลงที่นี่ไม่หวานเหมือนบ้านเรา ใครไม่เข้าถึงพอเขาเยาะเย้ย


นี่จะให้อะไรกันบ้างไหม มหาวิทยาลัยใหญ่โตเหวย


แม้นท่านมิอาจให้อะไรเลย วานนิ่งเฉยอย่าบ่นอย่าโวยวาย


‘ฉันเยาว์ฉันเขลาฉันทึ่ง ฉันจึงมาหาความหมาย


ฉันหวังเก็บอะไรไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว’


มืดจริงหนอสถาบันอันกว้างขวาง ปล่อยฉันอ้างว้างขับเคี่ยว


เดินหาซื้อปัญญาจนหน้าเซียว เทียวมาเทียวไปไม่รู้วัน


ดอกหางนกยูงสีแดงฉาน บานอยู่เต็มฟากสวรรค์


เกินพอให้เจ้าแบ่งปัน จงเก็บกันอย่าเดินผ่านเลยไป














บทร้อยกรองข้างต้นคือฉบับเต็มของกลอน “เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน” อันลือลั่น ซึ่งตีพิมพ์รวมอยู่ในหนังสือ ‘ฉันจึงมาหาความหมาย’ วรรณกรรมยุคแสวงหาของกลุ่มพระจันทร์เสี้ยว ประพันธ์โดย นักคิด-นักเขียน ‘อ.วิทยากร เชียงกูล’ สมัยยังศึกษาอยู่ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ระหว่างปี พ.ศ.2508-2512


กลอนบทดังกล่าวได้รับการกล่าวขานอย่างกว้างขวางตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ถึง ‘ความหมาย’ แห่งการดำรงอยู่ของสถาบันที่ขึ้นชื่อว่าเป็นตักศิลาแห่งความรู้ และเป็นเบ้าหลอมทัศนคติให้แก่คนหนุ่มสาวอย่าง ‘มหาวิทยาลัย’ รวมถึงคุณค่าของตัวนิสิต-นักศึกษาผู้พะยี่ห้อ ‘ปัญญาชน’


ในคำนำจากผู้เขียนฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ.2517 อ.วิทยากร ขยายความถึงงานเขียนของตัวเองไว้ว่า บรรยากาศโดยทั่วๆ ไปได้เปลี่ยนไปไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นักศึกษามหาวิทยาลัย วิทยาลัยต่างๆ ได้แสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวทางสติปัญญา ซึ่งนับว่าแตกต่างไปจากบรรยากาศของนักศึกษาช่วงสมัยที่ตัวอาจารย์ยังร่ำเรียนอยู่


กระนั้น ตอนท้ายของคำนำชิ้นนี้ อ.วิทยากร ได้แสดงทรรศนะอันน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า แม้ยุคสมัยปัจจุบัน (ขณะนั้น) จะเปลี่ยนไปจากสมัย ‘ฉันจึงมาหาความหมาย’ มาก แต่ก็ยังมีหลายคนกล่าวว่า บรรยากาศในมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง ยังไม่ได้เปลี่ยนไปมากนัก อาจารย์ที่สักแต่ ‘สอนตามตำรา’ ไปวันๆ โดยไม่เอาใจใส่ต่อการเจริญเติบโตของนักศึกษาอย่างจริงจังยังมีอยู่มาก


นักศึกษาที่เป็นพวกจารีตนิยม สนใจแต่ความ ‘สนุกสนาน-ความสุขส่วนตัว’ ก็ยังเป็นเสียงส่วนใหญ่อยู่เช่นกัน ดังนั้น ‘ฉันจึงมาหาความหมาย’ ก็ยังไม่ล้าสมัยจนเกินไป สำหรับคนอีกหลายคนซึ่งไม่ได้เริ่มแสวงหาหรือเพิ่งตั้งต้น


ในห้วงสมัยแห่งโลกาภิวัตน์ โลกถูกทำให้หดแคบลงด้วยกระแสกลบกลืนของวัฒนธรรมต่างถิ่น ภาพของหมู่มวลนักศึกษาอันคลาคล่ำในนาฏกรรมทางการเมือง 14 ตุลา 16 และการตื่นตัวทางปัญญา สังคม และจิตวิญญาณของนิสิต-นักศึกษาอันผูกโยงกับสังกัดองค์รวม พร่าเลือนหายไปพร้อมๆ กับสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่ทวีความเข้มข้นขึ้นทุกเมื่อเชื่อวัน


บางคนถึงกับค่อนขอดว่า สถานะของปัญญาชนในรั้วมหาวิทยาลัย “สิ้นสลาย” ลงไปหมดสิ้น ในยุคสารัตถะแห่ง “บริโภคนิยม” ครองเมือง


บางคนถึงกับตั้งข้อสังเกตในแง่ร้ายว่า นิสิต-นักศึกษาในยุคปัจจุบัน เป็นเพียงผลผลิตของระบบทุนนิยมที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสินค้าในการป้อนสู่สายพานอุตสาหกรรม


อุตสาหกรรมนิเทศ...อุตสาหกรรมวิศวะ...อุตสาหกรรมแพทย์...อุตสาหกรรมทนาย...อุตสาหกรรมบัญชี ฯลฯ


และอีกหลายคนต่อว่าต่อขานการเรียนในระดับอุดมศึกษาว่า เป็นเพียงหลักสูตรเขยิบชั้นคนหนุ่มสาวให้ก้าวสู่การเป็น “คนชั้นกลาง” อันไม่รู้ร้อนรู้หนาวต่อสังคมรายรอบ มากกว่าการเป็น “ปัญญาชน” ที่สามารถล่ามร้อยปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคม เพื่อผลักบานประตูไปสู่ชีวิตที่ดีงาม


สำมะหาอันใดกับข่าว ‘คาว’ ต่างๆ ของนิสิต-นักศึกษาที่อุบัติตามหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์รายวัน


ถามว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ‘นิสิต-นักศึกษา’ เป็นจำเลยหลักของข้อกล่าวหานั้นๆ หรือไม่





เรื่องสังคม (เกี่ยวอะไรกับข้าล่ะ)


มีกูรูบางท่านได้อรรถาธิบายไว้ว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประเทศ ‘เจ้าโลก’ อย่าง


‘สหรัฐอเมริกา’ ได้ดำรงตนเป็นผู้นำทางแนวคิดที่สำคัญในการพัฒนามนุษย์และสังคมแทบทุกด้าน เรียกได้ว่าต้องการเปลี่ยนโลกให้หมุนรอบดินแดนที่อ้างว่าเป็นต้นตำรับของเสรีภาพชนิดหมดจด


วัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตแบบอเมริกันได้เป็นต้นแบบของสังคมที่พึงปรารถนาของประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทย สิ่งที่ติดสอยห้อยตามมาอย่างมิอาจหลีกเลี่ยง คือการพัฒนาภายใต้กระบวนทัศน์หรือฐานคิดของวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณ/วัตถุ อันมองโลกแบบ ‘แยกส่วน’ ‘ลดส่วน’ และ ‘แบบกลไก’ ที่ให้ความสำคัญและยอมรับ ‘ความรู้’ เฉพาะกับสิ่งที่ ‘ชั่ง ตวง วัด คำนวณ’ และทดลองได้ด้วยหลักการและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เท่านั้น


ในบทความเรื่อง ‘นักศึกษาโพสต์โมเดิร์น’ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักคิดร่วมสมัยแถวหน้าของเมืองไทยเขียนถึงเรื่องนี้ไว้ว่า คนในโลกปัจจุบันพอใจที่จะรับรู้ข่าวสาร มีอารมณ์ความรู้สึก มีทรรศนะ มีความคิด และมีปฏิกิริยาเป็นเรื่องๆ ที่แยกจากกัน แต่ละเรื่องไม่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับเรื่องอื่น เสร็จสิ้นในตัวของมันเอง


“ฉะนั้น คนที่เสร็จจากเที่ยวเจ็ดมหัศจรรย์ล้านนาแล้ว ก็อาจไปกรี๊ดนักร้องญี่ปุ่นได้โดยไม่รู้สึกว่ามีอะไรที่ขัดกันในตัวเองเลย เพราะเป็นปรากฏการณ์สองอย่างที่ไม่สัมพันธ์กัน”


โลกเช่นนี้จึงไม่มีมีคำว่า “ศรัทธา” ซึ่งเป็นความเชื่อระดับพื้นฐานบางอย่างที่ให้ความหมาย ประสบการณ์ อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้


เช่นเดียวกัน คำว่า “อุดมการณ์” ย่อมไม่ก่อเกิด เพราะอุดมการณ์คือหลักคิดพื้นฐานที่ทำให้อะไรต่างๆ ในสังคม เศรษฐกิจ การเมือง หรือวัฒนธรรมสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เพื่อสามารถปฏิบัติการทางสังคมได้ ด้วยเหตุนี้ อ.นิธิ บอกว่า ผู้คนจึงไม่อาจ ‘ปฏิบัติการทางสังคม’ ได้มากกว่า ช็อปปิ้ง ทักทายกันผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือเล่นหุ้น และเลี้ยงชีพ


พูดง่ายๆ คือ คนเราสามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดบนความพอใจของตัวเอง โดยมิได้คำนึงถึงผลพวงรอบด้านที่กว้างไกลกว่า อาจเพราะไม่รู้ หรือแกล้งไม่รู้ว่ามันสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน อาทิ เราสามารถออกรอบตีกอล์ฟด้วยเงินที่หามาได้โดยน้ำพักน้ำแรง (ไม่ว่าโดยสุจริตหรือไม่) ซึ่งไม่จำเป็นต้องกังวลว่าสนามกอล์ฟแห่งนั้นจะไปเบียดบังทรัพยากรน้ำจากชาวบ้านรอบๆ แถวนั้นหรือไม่ เพราะคิดว่ากอล์ฟก็คือการออกกำลังกาย และกำลังสมองที่ดีชนิดหนึ่ง


มิพักต้องพูดถึงการต่อต้านการสร้างเขื่อนว่ามันเกี่ยวเนื่องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน ความอยุติธรรม หรือเราควรทบทวนแผนพลังงานระดับชาติอย่างไร (ไม่เห็นเข้าใจ)


ฉะนั้น การปฏิรูปการศึกษาในกระบวนทัศน์แบบองค์รวมอย่างแท้จริง จะต้องมิใช่เรื่องของความเก่ง -ดี -มีสุข ที่จำกัดอยู่ที่ระดับของ ‘ปัจเจกบุคคล’


อ.นิธิ เคยกล่าวถึงเรื่องที่เหล่านิสิต-นักศึกษาถอยห่างจากประเด็นทางสังคมนั้น เนื่องด้วยตัวมหาวิทยาลัยเองไม่รู้จักชุมชน การเรียนการสอน การวิจัย การบริการชุมชน การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลายเป็น 4 ด้านที่ไม่เชื่อมโยงต่อกัน


“เราสอนหนังสือโดยมาจากฐานของการวิจัยน้อยมาก เราสอนหนังสือโดยการนำเอาความรู้สำเร็จรูปมาจากต่างประเทศมาสอน ไม่ได้มาจากการวิจัยที่ลงไปสู่ชุมชน ทีนี้ถ้าจะมีการวิจัยเพื่อเป็นฐานการสอน ประเด็นหัวข้อการวิจัยมันจะต้องมาจากสังคมเราเอง จะมาจากประเด็นของสังคมเราเองได้ก็ต้องมาทำความรู้จักสังคมตนเองทุกระดับ แล้วนำเอาปัญหาของสังคมเราเองขึ้นไปเป็นหัวข้อการวิจัย แล้วนำเอาผลของการวิจัยไปสู่การเรียนการสอน


“เพราะฉะนั้น ไม่ได้แปลว่าเราทำได้ในระดับรากหญ้า เราไม่มีหน้าที่ไปรับใช้อุตสาหกรรม ไม่ใช่ อุตสาหกรรมก็รับใช้ได้ แต่รับใช้อย่างไรให้มันสอดคล้องกับความเป็นจริงของสังคมต่างหาก


“ในทุกสังคมนั้น การศึกษาคือการลงทุนเพื่อการเลื่อนสถานภาพทั้งนั้น แต่ในเมืองไทยเราค่อนข้างจะปิดไม่ให้ระบบที่จะเลื่อนสถานภาพเปิดกว้างแก่คนทั่วไป ฉะนั้นการศึกษาจึงเป็นเครื่องมืออย่างดีของคนชั้นนำที่จะหวงแหนสถานภาพอันสูงของตนไว้ให้แก่บุตรหลาน


“ความศักดิ์สิทธิ์ของปริญญาบัตรในเมืองไทยจึงยิ่งมีสูงกว่าสังคมอื่นๆ อีกหลายสังคม เพราะตัวปริญญาบัตรเองก็หมายถึงสถานภาพที่สูงอยู่แล้ว ทั้งยังส่อว่าผู้ถือปริญญาบัตรน่าจะสืบทอดสถานภาพที่สูงของครอบครัวและพรรคพวกเส้นสายกว้างขวางอีกด้วย”

คนมีการศึกษาต้องมีอุดมการณ์ คนไม่มีอุดมการณ์ก็เหมือนไม่มีการศึกษา นี่แหละครับ
แต่ของผมเป็นอุดมการณ์ทางพระพุทธศาสนาอยู่แล้วครับ



ทำไมผมต้องโดนเพื่อนๆ ในห้องเรียนต้องล้อว่า มหาเอย หมอผีจอมขมังเวทย์ บ้าศาสนาเอย
ทั้งที่ผมทำถูกแล้ว

นี่เป็นคำที่ผมลั่นวาจาไว้ที่หน้าองค์พระในวัดแห่งหนึ่งที่ผมธุดงค์ไปเมื่อครั้งอบรมธรรมทายาทราชมงคลอีสานรุ่นที่ 5 ที่ศูนย์อบรมเยาวชนนครราชสีมา

ข้าพเจายังมีภาระอยู่ การลาสิกขาเป็นการลาสิกขาชั่วคราวเท่านั้น ข้าพเจ้าเสร็จกิจด้านศึกษาเล่าเรียนแล้วจะขอกลับคืนสูผ้ากาสาวพัสตร์อีกครั้ง เพื่อเป็นกำลังในพระพุทธศาสนา ให้ถึงที่สุด เราจะเดินให้สุดทางธรรม (สัตว์โลกยังรอข้าอยู่ ตราบใดที่ข้าพเจ้ายังบำเพ็ญบารมีธรรมอยู่ เพื่อรื้อขนสรรพสัตว์ จะยังไม่ขอเข้านิพพาน เพื่ออนุตตรสัมโพธิญาณขนสัตว์เข้านิพพานแล้วข้าจึงจะเข้านิพพานทีหลังตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

มหาลัยสอนไว้ให้เราเป็นปัญญาชนผู้มองเห็นและแก้ปัญหาสังคม ไม่ได้สอนให้เรียนแข่งขันอย่างคลั่งบ้า
ปัญหาสังคมมาจากศีลธรรม ผมจึงมาบวชเพื่อช่วยฟื้นฟูศีลธรรมให้สังคมดี ซึ่งก็ตรงตามคำสอนมหาวิทยาลัยแล้ว
เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายอย่าสงสัยเลยว่า แล้วจะเรียนไปทำไม
ผมมาเสนอทัศนคติผมบางส่วนครับ ขออภัยด้วยครับ ที่อาจไม่ถูกใจบางท่าน
ก็ขอกราบอภัย มา ณ ที่นี้ด้วย