หมวด
การปรับร่างกาย
การหลับตา
การปรับใจ
การวางใจ
การนึกนิมิต
การใช้คำภาวนา
ความใจเย็น
การดู
การเห็น
ความหยุดนิ่ง
ฟุ้ง
เครียด-ตึง
ง่วง-หลับ
อยาก-ลุ้น
มืด
ติดลมหายใจ
นิมิตนอกตัว
นิมิตเลื่อนลอย
ขี้เกียจ-ท้อแท้
กลัว-กังวล
สงสัย
ความไม่ต่อเนื่อง
คำถามปกิณกะ

หลับตาอย่างไรจึงจะถูกวิธี

    

หมวด การหลับตา



   หลับตาสบายๆ แค่ผนังตาปิดเบาๆ อย่าเม้มตาแน่น อย่าบีบหัวตา และอย่ากดลูกนัยน์ตา หลับตาสักครึ่งลูก ปรือๆ สบายๆ
       หลับตาเบาๆ คล้ายๆ กับเรานอนหลับ ปรือ ๆ ตา หลับตาซัก  80-90 % จนกระทั่งเรา ไม่มีความรู้สึกว่าหลับตา หรือลืมตา  ให้ใจเข้าไปสู่ภายใน  แล้วจะนั่งธรรมะสนุก  นั่งจนกระทั่งเกิดความรู้สึกอยากนั่งเรื่อยๆ  
       เวลาหลับตา วางเปลือกตาให้เป็น ถ้าถูกส่วนแล้วมันแค่แตะไม่ถึงกับติด แค่สัมผัสเบาๆ เหมือนปรือๆ ตาเท่านั้น การปิดเปลือกตามีวัตถุประสงค์ไม่ให้เห็นภาพภายนอก ซึ่งจะพลอยทำให้ใจของเราฟุ้ง เหมือนเรา ปิดฉากปิดม่านของตาแค่นั้นเอง แล้วต่อจากนี้ไปเราไม่ใช้ลูกนัยน์ตากันเลย ลืมไปเลยว่าเรามีลูกนัยน์ตา 
       หลับตานี่สำคัญนะ ถ้าหลับตาเป็นจะเห็นภาพภายใน ถ้าหลับตาไม่เป็น ไปบีบเปลือกตา แบบคนทำตาหยี จะทำให้ปวดศีรษะ มึนศีรษะ แล้วไม่ได้ผลหรอก  ถ้าหลับตาไม่เป็นมันก็ไม่เห็นภาพภายใน แสงสว่างจะไม่ค่อยเกิด
       สังเกตร่างกายว่ามีตึงหรือเครียดไหม ให้สังเกตให้ดีโดยเฉพาะบริเวณลูกนัยน์ตา เปลือกตา หัวคิ้ว บริเวณ นี้มักจะตึงง่าย เพราะเวลาปฏิบัติจริงๆ แล้วมักอยากเห็น เราก็ติดความเป็นมนุษย์ มักใช้ตามนุษย์ดูวัตถุ ทำให้เกิดการกดตาของเราไปดูในท้อง ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนี้ตึง เราจึงต้องลืมธรรมชาติของมนุษย์ชั่วคราว
      



คำถามในหมวดเดียวกัน
     -  หลับตาอย่างไรจึงจะถูกวิธี ?
     -  การหลับตาที่ผิดวิธีเป็นอย่างไร ?
     -  หลับหลอกๆ เป็นอย่างไร ?

กลับหน้าสมาธิ
Bookmark and Share  
บันทึกผลการปฏิบัติธรรม