หมวด
การปรับร่างกาย
การหลับตา
การปรับใจ
การวางใจ
การนึกนิมิต
การใช้คำภาวนา
ความใจเย็น
การดู
การเห็น
ความหยุดนิ่ง
ฟุ้ง
เครียด-ตึง
ง่วง-หลับ
อยาก-ลุ้น
มืด
ติดลมหายใจ
นิมิตนอกตัว
นิมิตเลื่อนลอย
ขี้เกียจ-ท้อแท้
กลัว-กังวล
สงสัย
ความไม่ต่อเนื่อง
คำถามปกิณกะ

การปรับใจเข้าสู่ภายในมีแนวทางอย่างไรบ้าง

    

หมวด การวางใจ



   ๑. ในการปรับใจให้หยุด  ต้องไม่เร่งประสบการณ์  ไม่มีความตั้งใจมากเกินไป ไม่ได้อยากจะให้เร็ว  ไม่ได้อยาก จะให้ช้าหรืออยากจะให้ใสสว่างอะไรเลย มีแต่ใจที่หยุดนิ่งเฉย ๆ วางเฉย  ดิ่ง  นิ่ง  อยู่ตรงนั้น  สังเกตว่าใจที่นิ่ง ๆ ใน เบื้องต้นมันเหมือนว่าง ๆ ใจมันว่าง ๆ โปร่ง ๆ โล่งเบาสบาย  มันว่าง ๆ ก่อน  ว่างจากเรื่องราวทั้งหลายทั้งปวง ว่างจากคน สัตว ์สิ่งของ  มีความรู้สึกว่าเรามีสติระลึกได้อยู่กับตัวของเรา  กายของเรา  ตัวของเรา ในเบื้องต้นตรงนั้นก่อน 
       ให้ทำความรู้สึกว่าผ่อนคลาย  สบาย ๆ ใจก็ผ่อนคลาย  กายก็ผ่อนคลาย  ผ่อนคลายไปสู่ความสบาย  ความนิ่ง  ความเฉย  เราประคองอยู่แค่ตรงนั้นเอง  ประคองอยู่แค่ตรงจุดที่  เรารู้สึกว่าง ๆ โล่ง ๆ โปร่ง ๆ นิ่ง ๆ เฉย ๆ อยู่ตรงนั้น รักษาอารมณ์นี้ไปเรื่อย ๆ เบา ๆ ไม่มีความรู้สึกว่าอยากเห็นหรืออยากจะไม่เห็น    ความอยากจะเข้าไปหรืออยากไม่เข้าไป มันก็ไม่มี   รู้สึกพอใจในอารมณ์ตรงนั้น  ก็ประคองอารมณ์ตรงนี้  ให้ต่อเนื่องลงไป ทำอารมณ์นิ่ง ๆ
       ๒. เราจะสังเกตว่าพอใจเรานิ่ง ได้อารมณ์ที่นิ่ง ๆ เฉย ๆ ต่อเนื่องแล้ว  เกิดความรู้สึก  เกิดความสว่าง ๆ เหมือนเป็น ความกระจ่างในใจ ใจมันเริ่มกระจ่างขึ้นมา อารมณ์มันเคลียร์  ใจมันเริ่มเคลียร์ใส แล้วก็เกิดความสว่างขึ้นมา เหมือนเป็นความสว่างกระจ่างใจอย่างนั้น  เหมือนกับว่าตัวของเรามีความสว่างอยู่  เบื้องต้นก็เป็นความสว่าง  เหมือนความสว่าง ยามเช้า  ความสว่างนิ่มเหมือนอยู่ในหมอกขาว ๆ  เหมือนกับความสว่างที่ค่อย ๆ กระจ่างขึ้นมาแม้ว่า ยังไม่เห็นอะไรเลย  ยังเป็นภาพขาว ๆ กระจ่าง ๆ เราก็รักษาตรงนั้น ๆ ไว้ให้ต่อเนื่อง  ในเบื้องต้น  ความสว่างมันเกิดขึ้น อย่างนี้ก่อน เดี๋ยวมันจะพัฒนาขึ้นไปเอง 
       ๓. รักษาอารมณ์นิ่งเฉยไปเรื่อย ๆ ประสบการณ์จะเป็นอะไรก็ช่าง ความสว่างจะเกิดขึ้นก็เฉยนิ่งอยู่ตรงนั้น  พอถูก ส่วนมากเข้า ๆ อาจจะเห็นเป็นจุดใสเหมือนดวงดาวในอากาศเกิดขึ้นในกลางความกระจ่างนั้น  หรือบางที เป็นดวงใส ๆ สว่าง ๆ ขยายออกมาจากกลางตรงนั้น  ใสสว่าง  กระจ่างขึ้นมา  
       เห็นดวงใส ๆ สว่างเกิดขึ้นมาในกลางนั้น  เราก็มองนิ่งเฉย  การวางใจที่ดวงอย่างถูกวิธีที่สุดก็คือการมองไป
      เฉย ๆ การแตะใจก็คือการมองไปเฉย ๆ 
       ๔. พอเรา  มองดวงใสไปเรื่อย ๆ จะเห็นทางสายกลางเป็นจุดใส  เหมือนดวงดาวในอากาศ  จุดเล็ก ๆ ใส ๆ เกิดขึ้นกลางดวงธรรมนั้น  แล้วเราก็มองไปเรื่อย ๆ เบื้องต้นเราก็เห็นเหมือนมองภายนอกไปก่อน  บางครั้งเหมือนมอง จากข้างบน บางครั้งเหมือนมองใกล้ลงไป  
       ๕. แค่มองไปเฉย ๆ นี่แหละคือการวางใจที่ถูกต้องในการเข้ากลาง  มองไปเฉย ๆ เดี๋ยวจุดใสสว่างตรงกลาง
      ค่อย ๆ ขยายเป็นดวงใหม่  เดี๋ยวกลายเป็นองค์พระ ที่ขยายออกมาในกลางดวงนั้น เราก็จะเห็นจุดใสแล้วขยายออกมา  ในกลางเข้าไปเรื่อย ๆ เลย  เห็นเข้าไปเรื่อย ๆ เป็นลำดับ ๆ เราก็หยุดนิ่งเฉย  เดี๋ยวอารมณ์มันจะปรับไปเอง  ใจของคนเรานี้ แปลกเพียงแค่ทำความหยุดนิ่งเดี๋ยวจะปรับเข้าสู่สมดุล  กลับเข้าสู่ความบริบูรณ์ของอารมณ์ภายในเอง  โดยที่เราไม่ต้อง ไปพยายามปรุงแต่งหรือไปสร้างแต่อย่างใดทั้งสิ้น มันจะเกิดขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ แล้วเราจะรู้ถึงอารมณ์ที่ ละเมียดละไม  อ่อนนุ่ม  อ่อนโยน  รู้สึกว่าความสุขภายใน  มันไหลผ่านออกมาจากตรงกลางนั้น  นุ่มนวล  เบิกบาน  ถ้า ปล่อยเข้ากลางได้ก็ปล่อยเข้ากลางไปคือมองไปเฉย ๆ เดี๋ยวประสบการณ์ทุกอย่างเกิดขึ้นมาเอง
       ๖. เพราะหยุดเป็นตัวสำเร็จ เพียงแค่หยุดนิ่ง เฉย ๆ มองไปเดี๋ยวทุกอย่างเกิดขึ้นมาเอง  เราจะไม่ต้องใช้กำลัง  ไปช่วยให้ภาพเกิดขึ้นใด ๆ ทั้งสิ้น  อย่างนี้จะเป็นธรรมชาติแล้วจะมีความสุข  จะเกิดการพัฒนาไปตามลำดับ  ความใส สว่างก็จะมากขึ้น  ความสุขก็มากขึ้น ความชัดก็มากขึ้น  ผ่านเข้าไป จนบางครั้งเหมือนตัวของเราหลุดเข้าไปสู่ภายใน 
       ๗. ทำไปสบาย ๆ ไม่ต้องรีบร้อน  ทำความรู้สึกว่าคอยได้  จะคอยเป็นกี่ปี  ๑๐ ปี  ๒๐ ปี หรือ เป็นร้อยปี  พันปี  เราก็รอได้ เราก็รอนิ่งอยู่อย่างนั้น  ไม่ได้สนใจเรื่องเวลา  ไม่ได้สนใจเรื่องเวลาเลย  เป็นผู้ที่ไม่มีเวลาไปเลย  ไม่มีกาลเวลา บังคับ วันนี้กี่นาที  กี่ชั่วโมง  หรือกี่วัน  หรือกี่ปี  ไม่มีเลย  มีแต่ความรูสึกว่ามันนิ่งเฉยได้  หยุดนิ่งเฉยได้นานแสนนาน ประคับประคองอารมณ์ตรงนี้ไว้  มันจะนิ่งเฉย  เดี๋ยวดวงธรรมก็ผุดซ้อนขยายผ่านออกมา เดี๋ยวองค์พระก็ผุดซ้อนขยาย ผ่านขึ้นมาหรือว่ากายภายในก็ผุดซ้อนขยายผ่านขึ้นมา  ใจของเราจะดำเนินไปตามลำดับ เข้าไปสู่ภายในใสสว่าง  เพิ่มมากขึ้น ใสเองสว่างเอง  ไม่ต้องใช้ความพยายามใด ๆ ทั้งสิ้น เพียงแค่หยุดนิ่งเท่านั้น
      
      
      
      



คำถามในหมวดเดียวกัน
     -  ที่ว่าการทำสมาธิทำใจหยุดนิ่งเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง หมายความว่าอย่างไร ?
     -  การวางใจมีกี่ลักษณะ ?
     -  จะรู้ได้อย่างไรว่าวางใจเบาเกินไป หนักเกินไป หรือพอดี ?
     -  วางใจอย่างไร จึงถูกวิธี ?
     -  การวางใจถูกวิธีสังเกตได้อย่างไร ?
     -  สังเกตอย่างไรว่าเราวางใจดีแล้ว ?
     -  สังเกตได้อย่างไรว่านั่งผิดวิธี ?
     -  เครื่องมือตรวจวัดว่าเราทำสมาธิถูกต้องหรือไม่ คืออะไร ?
     -  การวางใจเบาๆ สบายๆ ฟังดูมันง่าย แต่ทำไมยังทำไม่ได้สักที ?
     -  การปรับใจเพื่อรักษาใจให้ละเอียดต่อเนื่อง ควรปรับใจอย่างไรได้บ้าง ?
     -  ทำใจหลวมๆ เป็นอย่างไร ?
     -  นั่งแล้วไม่มีอะไรให้ดูเลย จะทำใจอย่างไร ?
     -  การปล่อยใจที่ถูกวิธี เป็นอย่างไร ?
     -  ทำอย่างไรใจจะเคลื่อนเข้าไปข้างในโดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง ?
     -  เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราทำใจได้ถูกต้องกับประสบการณ์ภายในต่าง ที่เกิดขึ้น ๆ ?
     -  นั่งสมาธิแล้ว อารมณ์จะสว่าง ๆ แล้วก็นิ่ง ๆ ใส ๆ และในอารมณ์นั้นจะได้กลิ่นดอกไม้ หอมมากเลย แต่พอลืมตามา กลิ่นดอกไม้ก็หายไป ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไ ?
     -  เวลาเริ่มนั่ง ทำใจสงบนิ่งเป็นกายละเอียดเลย นี่ข้ามขั้นตอนมากใช่ไหม ?
     -  ก่อนเลิกนั่งสมาธิ ควรทำใจอย่างไรบ้าง ?
     -  ก่อนนอนและตื่นนอน ควรฝึกวางใจอย่างไร ?
     -  ทำอย่างไรใจจึงจะหยุดได้ ?
     -  วิธีฟังเทปนำนั่งสมาธิควรปฏิบัติอย่างไร ?
     -  การปรับใจเข้าสู่ภายในมีแนวทางอย่างไรบ้าง ?

กลับหน้าสมาธิ
Bookmark and Share  
บันทึกผลการปฏิบัติธรรม