หมวด
การปรับร่างกาย
การหลับตา
การปรับใจ
การวางใจ
การนึกนิมิต
การใช้คำภาวนา
ความใจเย็น
การดู
การเห็น
ความหยุดนิ่ง
ฟุ้ง
เครียด-ตึง
ง่วง-หลับ
อยาก-ลุ้น
มืด
ติดลมหายใจ
นิมิตนอกตัว
นิมิตเลื่อนลอย
ขี้เกียจ-ท้อแท้
กลัว-กังวล
สงสัย
ความไม่ต่อเนื่อง
คำถามปกิณกะ

การดูที่ถูกวิธีเป็นอย่างไร

    

หมวด การดู



   ๑) อย่าไปเน้นให้ชัด “ดูเฉยๆ ดูอย่างเดียว มีให้ดูแค่ไหน ก็ดูแค่นั้น” มีให้ดูแค่ลัวๆ ลางๆ ไม่ชัดเจน ก็ดูแค่นั้น อย่ารำคาญว่า แหมทำไมไม่ชัดเจน เราอยากจะดูให้มันชัดๆ “มีแค่ไหน เราก็ดูแค่นั้น ดูเฉยๆ เดี๋ยวจะชัดขึ้นเอง
        ๒) ดูไปเรื่อยๆ ไม่เผลอ มีอะไรเกิดขึ้นที่ศูนย์กลางกาย เราก็ดูเรื่อยไป มีความมืดให้ดู เราก็ดูความมืด มีวัตถุก้อนทึบๆ ให้ดู จะทรงกลมหรือทรงอะไรก็แล้วแต่ เราก็ดูเรื่อยไป มีแสงสว่าง เกิดขึ้นมา ก็ดูไปเรื่อยๆ  ใจจะโล่ง จะเป็นปล่อง เป็นช่อง เป็นโพลง เราก็มองตรงกลางเรื่อยไป มองเฉยๆ มีหลุมลึกเป็นบ่อบ้าง เป็นหุบเหวบ้าง มีอาการคล้ายๆ จะหล่นลงไป ก็อย่าไปฝืน ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ มันจะวูบก็ช่างมัน มันไม่ลงก็ช่างมัน ลงไปช้าๆ ก็ช่างมัน ไม่ลุ้น ไม่ดัน เฉยๆ อย่างเดียว ลงไปแค่ไหน ก็ช่างมัน ลงแล้วถอนขึ้นมาก็ช่างมัน มีดาวให้ดูเราก็ดูดาวไป ดวงใสแค่ไหน เราก็ดูไปเรื่อยๆ ดูตรงกลาง ภาพอะไรเกิดขึ้นมา ดูไปเรื่อยๆ ภาพนั้นจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เปลี่ยนไปสู่ความไม่เปลี่ยน
        ๓) ดูอย่างสบายทุกภาพ ดูมืด ดูจุดสว่าง ช่างมันอย่างเดียว ง่ายๆ ดูไปเรื่อยๆ ดูธรรมดา สบายๆ เป็นหัวใจ ให้ได้ตั้งแต่เบื้องต้น เบื้องปลาย ดูธรรมดา เฉยๆ มีอะไรให้ดูก็ดูไป บางครั้งภาพองค์พระเปลี่ยนไปเป็นดวงแก้ว ก็ยิ่งดีใหญ่ เราก็ดูไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ  จะเห็นอะไรก็ตามเกิดขึ้นที่ศูนย์กลางกาย มองไปเรื่อยๆ มองไปเฉยๆ ด้วยใจที่เบิกบาน สบายๆ
        ๔) ดูโดยไม่ต้องคิดอะไร ถ้าเห็นแต่พระพักตร์องค์พระ ก็ดูคลุมๆ ไปก่อน ดูเฉยๆ แล้วไม่ต้องคิดอะไร อย่าคิดว่า แหมเห็นแต่เศียร ทำไมไม่เห็นทีเดียวทั้งองค์ มีให้ดูตรงไหน เราก็ดูตรงนั้น พอเราวางใจเฉยๆ ก็จะเห็นชัดทั้งองค์ขึ้นมาเองในภายหลัง
        ๕) ดูเข้าไปตรงกลาง อย่าชำเลืองดูข้างนอก  การดู ให้ดูตรงกลางต่อไป อย่าชำเลืองดูข้างนอก ยกเว้นเห็นเอง สมมติว่า ขณะนั่ง เราเกิดเห็นไปเองว่า ห้องนี้เหมือนกับเป็นองค์พระ ตัวของเรานั่งอยู่ข้างใน อย่างนี้ไม่เป็นไร  แต่ถ้าเราเข้าไปอยู่ข้างในแล้วมีความรู้สึกอยากจะดู จึงชำเลืองๆ อย่างนี้ ไม่ได้นะ เพราะถ้าเราชำเลืองดูจิตจะไม่รวม เข้าข้างใน
        ๖) ไม่ตื่นเต้นหรือยินดียินร้าย ถ้าเราประคองใจให้หยุดนิ่ง อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ช้าความสว่างก็จะเกิดขึ้นเอง หรือ ดวงนิมิตก็จะเกิดขึ้นเอง  เมื่อเกิดขึ้นแล้ว วิธีประคอง คือ ทำใจเฉย  อย่าไปตื่นเต้น  อย่าใจดีจนเกินไป 
       ถ้าเราอดไม่ได้ จึงตื่นเต้นดีใจ หรือตกใจ นิมิตนั้นจะหายไป เราก็รักษาหยุดกับนิ่งไว้นานๆ ต่อไปใหม่ หยุด นิ่ง เฉยๆ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ตื่นเต้นอะไรทั้งสิ้น มีอะไรให้ดูตรงกลาง เราก็ดูไปเรื่อยๆ เช่น มีความมืดให้ดู เราก็ดูความมืดไป อย่าไปกลุ้มใจ อย่าไปวิตกกังวล ดูไปเดี๋ยวมันจะสว่างไปเอง จากมืดๆ นั่นแหละ สว่างไปเอง ถ้าเราไม่กังวล เมื่อมีแสงสว่างให้ดู เราก็ดูแสงสว่างเรื่อยไป ต่อไปแสงสว่างมันก็จะเปลี่ยนไป เป็นจุดสว่างบ้าง เป็นดวงใสๆ บ้าง เป็นดวงใหญ่บ้าง ดวงเล็กบ้าง เราก็ดูไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ เดี๋ยวเห็น เดี๋ยวหาย ก็ช่างมัน หายไป เหลือแต่ความมืด เราก็ดูความมืด กลับมา เป็นดวงใส เราก็ดูดวงใส ถ้าเป็นดวงให้ดู ก็ดูไปที่จุดกึ่งกลางของดวง ถ้าเป็นจุดสว่าง ก็ให้ดูไปที่กึ่งกลางของจุดสว่างนั้น ถ้าหาจุดกึ่งกลางของจุดสว่างไม่ได้ ก็ให้ดูไปที่จุดสว่างอย่างเดียว ดูเฉยๆ ดูอย่างสบายๆ
       ๗) ไม่เอ๊ะอ๊ะ ไม่ผิดหวัง  มีอะไรให้ดู ก็ดูไป เหมือนเราเดินเล่น ผ่านอะไรระหว่างทาง มีอะไรให้ดูก็ดูไป เฉยๆ ไม่ต้องคิดอะไร เห็นอะไรก็ไม่ต้องคิด เอ๊ะ อ๊ะแต่ถ้าสงสัย พอหยุดดูจะไม่นิ่ง ถ้าเราทำใจว่า ทันทีที่หลับตา จะเห็นความมืดเป็นภาพแรก คำว่าผิดหวังก็จะไม่เกิด เพราะเราไม่ได้หวังผิด
       อย่าไปเสียดายดวงแก้ว อย่าไปมัวไล่จับ เพราะกลัวจะไม่อยู่ เราดูเฉยๆ หายไปก็ช่าง ดวงแก้วมีเป็นล้านๆ ดวงในตัวของเรา หายไปแค่ดวงเดียว เหลืออีกตั้งเยอะ ดูไปสบายๆ หายไปก็ช่าง นิ่งอย่างเดียว เฉยๆ อย่างเดียว ทำอย่างนี้จะได้ดี 
       ไม่ปฏิเสธภาพ ไม่ปรุงแต่ง  เมื่อค่อย ๆ ดูไป ใจก็เริ่มคุ้นกับภาพภายใน ซึ่งชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง ก็ให้ดูไปเรื่อยๆ จากชัดน้อยจนชัดมาก ดูไปจนชัดมากๆ ถ้าเป็นแสงสว่าง ก็จากแสงน้อยไปจนแสงมาก เมื่อเราเฉยๆ ไม่ปฏิเสธภาพที่เกิดขึ้น และไม่ปรุงแต่ง ใจก็จะเริ่มหยุด นิ่ง เฉย
       ๘) มองเรื่อยๆ เดี๋ยวเข้าไปตรงกลางเอง มองที่จุดกึ่งกลางของสิ่งที่เห็น ถ้าเห็นองค์พระเห็นแต่เศียรพระ เราก็มองเศียรไป มองไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็จะเข้าไปอยู่ในกลางขององค์พระได้เอง อย่างสบายๆ ถ้าตึงหรือเครียด ต้องผ่อนคลาย ถ้าฟุ้ง หรือเคลิ้ม พอรู้ตัว เราก็กลับมาเริ่มต้นใหม่ ภาวนาใหม่ ทิ้งอารมณ์นั้นไป เริ่มใหม่อย่างง่ายๆ นิมิตเกิดขึ้นมาแล้วหายไป   ก็อย่าเสียดาย ทำนิ่งเฉยๆ จะเห็นแสงสว่าง จะเป็นดวงแก้ว จะเป็นองค์พระ จะเป็นกายอะไรก็แล้วแต่ เห็นมาประเดี๋ยวเดียวหายไป ก็อย่าเสียดาย อย่ามัวควานหา อย่าตามหา ให้นิ่งเฉย “ หายได้ หายไป เรานิ่งเฉยอยู่ที่ศูนย์กลางกายอย่างเดียว “ ทำใจให้นิ่งแน่น ให้หนักแน่นอยู่ในกลาง ไม่ช้าใจจะค่อยๆ ละเอียดไปเรื่อยๆ จนกระทั่งหยุดนิ่งเข้าถึงธรรมกาย
      
      



คำถามในหมวดเดียวกัน
     -  การดูที่ถูกวิธีเป็นอย่างไร ?
     -  จะเป็นผู้ดูที่ดีได้อย่างไร ?
     -  ดูเฉย ๆ แบบผ่านๆ หมายความว่าอย่างไร ?
     -  ภาพเปลี่ยนไปจะทำอย่างไร ?
     -  บางครั้งเห็นภาพเคลื่อนไหว ไม่นิ่งเลย จะทำอย่างไร ?
     -  ทำไมให้ดูแต่ตรงกลาง ?
     -  ทำอย่างไรจึงจะไม่ฝืนประสบการณ์ ?
     -  บางครั้งนั่งแล้วรู้สึกว่าท้องของตัวเอง ก็แค่นี้ แต่เห็นองค์พระหรือดวงแก้วเกิดขึ้นมากมาย ก็เลยไม่ทราบว่าจะดูองค์ไหนหรือว่าดวงไหนดี ?
     -  มีภาพเกิดขึ้นเหมือนกับวีดีโอที่กรอเทปกลับเหมือนภาพมัน...ถอยหลัง...ผุดขึ้นมาเป็นสายไม่หยุดเลย จะต้องทำอย่างไร ?
     -  เห็นภาพหมู่สงฆ์แล้ว ปิติใจ แต่ภาพไม่ชัดจะทำอย่างไรต่อไป ?
     -  ศิลปะการทำสมาธิอยู่ที่ไหน ?

กลับหน้าสมาธิ
Bookmark and Share  
บันทึกผลการปฏิบัติธรรม