นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโลมาน่าจะเคยอยู่บนบกมาก่อน จากฟอสซิลพอจะคาดเดาได้ว่ามีบรรพบุรุษร่วมกับกวางและฮิปโป

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
โลมาปากขวดที่ชาวประมงญี่ปุ่นจับได้ มีครีบเกินออกมาจากปกติ 2 คู่ ซึ่งชื่อว่าเป็นร่องรอยของ "ขา" ที่เคยเก็บไว้หลังวิวัฒนาการลงสู่น้ำ


เอพี – ชาวประมงญี่ปุ่นจับโลมาปากขวด 4 ครีบได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าครีบคู่ที่สอง น่าจะเป็นร่องรอยของขาที่โลมาซ่อนไว้ตั้งแต่กำเนิด อีกทั้งยังมีฟอสซิลที่แสดงให้เห็นว่าสัตว์ทะเลชนิดนี้น่าจะเคยอาศัยอยู่บนพื้นดินมาก่อน
       
       ชาวประมงจับโลมาปากขวด 4 ครีบที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ที่ชายฝั่งของอำเภอวากายามา
(Wakayama) ทางตะวันตกของประเทศญี่ปุ่นได้เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา และได้แจ้งไปยัง
พิพิธภัณฑ์ปลาวาฬไทจิ (Taiji Whaling Museum)
       
       ทั้งนี้ ซากฟอสซิลของปลาวาฬและโลมาแสดงให้เห็นว่า  ในเมื่อ 50 ล้านปีก่อน
สัตว์ทั้ง 2 ชนิดมี 4 ขาและเป็นสัตว์บกมาก่อน อีกทั้งมีบรรพบุรุษร่วมกับฮิปโปและกวาง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสัตว์บกทั้ง 2 ชนิดนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสัตว์น้ำ และขาค่อยๆ หดหายไป
       
       นอกจากนี้ ปลาวาฬและโลมาที่อยู่ในท้องแม่ก็มีร่องรอยของอวัยวะบางอย่างที่ยื่นออกมา แต่ส่วนใหญ่เมื่อคลอดออกมาแล้ว ร่องรอยดังกล่าวก็ถูกซ่อนหายไป
       
       ลักษณะที่ยื่นออกมานั้นเคยพบใกล้บริเวณหางของทั้งโลมาและวาฬที่เคยจับได้ในอดีต
แต่โลมา 4 ครีบที่ชาวประมงญี่ปุ่นจับได้ครั้งนี้ นักวิจัยชื้ว่าเป็นครั้งแรกที่พบการพัฒนาของครีบที่สมบูรณ์
       
       “เชื่อว่าครีบเหล่านี้น่าจะเป็นร่องรอยจากบรรพบุรุษของโลมาตั้งแต่สมัยยังอาศัยอยู่บนบก นับเป็นการค้นพบที่ไม่คาดคิดมาก่อน” ไซอิจิ โอซูมิ (Seiji Osumi) ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยสัตว์น้ำ
ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแห่งโตเกียว (Tokyo's Institute of Cetacean Research) เปิดเผย        
       ครีบคู่ที่สองของโลมาที่จับได้นั้นมีขนาดประมาณฝ่ามือคน แต่เล็กกว่าครีบคู่หน้า
อยู่บริเวณใต้หาง โลมาวัย 5 ขวบตัวนี้มีความยาว 8.92 ฟุต ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าโลมาใช้ครีบคู่หลัง
ช่วยบังคับทิศทางในการว่ายน้ำหรือไม่
       

       อย่างไรก็ดีการผ่าเหล่าผิดธรรมชาติอาจเป็นเหตุให้สัตว์สมัยดึกดำบรรพ์ปรับพัฒนาการตัวเอง มาเป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งโลมาปากขวด 4 ครีบตัวนี้ทางพิพิธภัณฑ์จะเลี้ยงไว้เพื่อเอ็กซเรย์และทดสอบทางพันธุกรรมต่อไป
 
 
 
 
ที่มา- 
 
บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages//2006-11-08-2.html
เมื่อ 24 กรกฎาคม 2567 20:24
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv