ไซมอน เบเรสฟอร์ด ไวลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของโนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิรก์
       โนเกียและซีเมนส์ร่วมนำเสนอวิชั่นพร้อมแบรนด์ “โนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิรก์” เป็นครั้งแรก ชูจุดแข็งของความแข็งแกร่ง 2 แบรนด์รวมกันก้าวขึ้นสู่ผู้นำตลาดในภูมิภาคที่กำลังเติบโต ภาคใต้แนวคิด Connect the World บริษัทร่วมทุนใหม่นี้จะมีศักยภาพในการนำเสนอโซลูชันแบบ end-to-end ด้วยผลิตภัณฑ์สำหรับระบบพื้นฐานและไร้สายที่หลากหลาย จับโอกาสที่โลกกำลังเข้าสู่ยุคคอมมูนิตี้ที่คาดว่าในปี 2015 คนกว่า 5,000 ล้านคนทั่วโลกจะสื่อสารกันให้เป็นโอกาสทางการตลาด ขณะที่คาดว่าแผนการควบรวมกิจการของบริษัทร่วมทุนใหม่นี้คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปีนี้
       
       นายไซมอน เบเรสฟอร์ด ไวลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของโนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิรก์ กล่าวว่า หลังจากโนเกีย-ซีเมนส์ ประกาศเป้าหมายในการควบรวมกิจการเมื่อประมาณกลางปีที่ผ่านมา นับถึง ณ วันนี้คาดว่าการดำเนินงานทุกอย่างจะเสร็จสิ้นได้ประมาณไตรมาสแรกของปี 2007 หรืออย่างช้าประมาณเดือนเมษายนของปีนี้ นับจากนี้ต่อไปจะเกิดผู้นำในตลาดรายใหม่ที่นำจุดแข็งของ 2 แบรนด์มารวมกัน
       
       ผู้บริหารคนใหม่ “โนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิรก์” กล่าวเปิดตัวบริษัทใหม่พร้อมโชว์แนวคิดเป็นครั้งแรกว่า เป็นโอกาสเหมาะของโนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิรก์ ที่จะก้าวขึ้นสู่ผู้นำในตลาดที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว การควบรวมของโนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิรก์ ถือเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น โลกแห่งการสื่อสารโทรคมนาคมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เราต้องสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ออกสู่ตลาดด้วยความรวดเร็ว
       
       “บริษัทใหม่จะมีจุดแข็งเพราะสามารถนำเสนอโปรดักส์ได้กว้างมากขึ้น ทั้ง end-To-end โซลูชัน บรอดแบนด์ 3G ที่ครอบคลุมทั้งเทอร์มินอล และเน็ตเวิรก์ ตลอดจนอินฟราสตักเจอร์ ”
       
       CEO คนใหม่ กล่าวว่า ทันทีที่ธุรกิจที่เกิดจากบริษัทใหม่เดินหน้า จะเกิดบริษัทใหม่ที่เป็นผู้นำในตลาดขึ้นอีกบริษัทหนึ่ง โดยจากตัวเลขรายได้หลังการรวมกิจการเฉพาะด้านเครือข่ายสิ้นสุดปี 2005 มีประมาณ 15.8 พันล้านยูโร นับเป็นรายได้ติดอยู่ในกลุ่ม 1/3 ของโลก มาในปี 2006 โนเกีย-มีรายได้ 21 พันล้านยูโร ขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ของโลกแซงหน้าอัลคาเทล-ลูเซ่นท์ ไปแล้ว และเป็นที่ 1 ในเอเชียแปซิฟิก ทั้งยังมีพนักงานรวมประมาณ 6 หมื่นคน ขณะที่อัลคาเทล-ลูเซ่นท์หลังรวมกิจการจะมีพนักงานประมาณ 8 หมื่นคน
       
       หลังการรวมกิจการหลายคนมองว่าจะเกิดช่วงเวลาหนึ่งเหมือนตกอยู่ในหลุมอากาศที่จะทำให้บริษัทใหม่ โนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิรก์ สะดุด มีผลประกอบการไม่ดีไประยะหนึ่ง ส่วนหนึ่งอาจมาจากการสับสนของลูกค้า หรือความไม่ลงตัวภายในองค์กรเอง ประเด็นนี้ ผู้บริหารใหม่ กล่าวว่า จากผลประกอบการในปี 2006 ที่ผ่านเป็นตัวเลขที่โชว์ให้เห็นว่าตรงกันข้ามกับความคิดเหล่านี้ โนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิรก์ สามารถผ่านมาได้ ทั้งยังไต่อันดับขึ้นเป็นที่ 2 อีกด้วย อาจเป็นไปได้ว่าฟินแลนด์กับเยอรมนีอาจรวมตัวกันง่ายกว่าเพราะเป็นยุโรปเหมือนกัน ไม่เหมือนกับยุโรปกับอเมริกา โดยพบว่า 75 เปอร์เซ็นต์ของโอเปอเรเตอร์ทั่วโลกไม่เป็นลูกค้าของโนเกียก็ซีเมนส์ โปรดักส์ใดโปรดักส์หนึ่ง

       “จากวิชั่นที่ว่า โลกอนาคตเป็นบรอดแบนด์ IP คนกว่า 5,000 ล้านคนทั่วโลกจะสื่อสารกันทั่วโลก บริษัทใหม่เราจะช่วยลูกค้าที่เป็นโอเปอเรเตอร์ ในการจับโอกาสที่โลกกำลังเข้าสู่คอมมูนิตี้ให้เป็นโอกาสทางการตลาด ช่วยให้โอเปอเรเตอร์จัดหาบริการให้กับลูกค้าได้มากที่สุด และด้วยสเกลที่ใหญ่ขึ้นจะเป็นข้อได้เปรียบที่โมโตโรล่า นอร์เทล หรือแม้แต่หัวเหว่ยก็ต้องหนักใจ”
       
       ผู้บริหารโนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิรก์ กล่าวว่า องค์กรใหม่จะมาพร้อมกับการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น เมื่อมองในแง่การวิจัยและพัฒนา (R&D) โนเกีย ซีเมนส์ เน็ตเวิรก์ ติดอันดับท็อป 40 ในโลกและเป็นอันดับ 1 ของโลกในบริษัทด้านโทรคมนาคมที่ใช้เงินลงทุนด้านวิจัยและพัฒนามากที่สุด
       
       คาร์ล คริสทอฟ คาเซอร์ลิท Chief Market Operations Offcer (CMO) กล่าวว่า นวัตกรรมที่ดีต้องมาเร็วและแข่งขันได้ โดยแนวคิดนี้จะเป็นที่มาของเป้าหมายขององค์กรใหม่ คือ
1.ช่วยลูกค้าในการถ่ายโอนทางธุรกิจ จับฉวยโอกาสใหม่ ๆ ทางการตลาดท่ามกลางโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 2.ให้การซัปพอร์ตลูกค้าในการสร้างรายได้ด้วยวิธีการใหม่ๆ ช่วยนำนวัตกรรมใหม่ๆมาสร้างสรรค์ตลาด ช่วยโอเปอเรเตอร์คิดหาสิ่งที่ลูกค้าต้องการและนำมาพัฒนาเป็นโปรดักส์ แทนที่จะพัฒนาโปรดักส์ก่อนแล้วส่งให้โอเปอเรเตอร์ทำตลาดตาม        
      3. สินค้า บริการ ตลอดจนโซลูชั่นต้องช่วยให้ลูกค้าลดต้นทุนในการประกอบการ ปฏิบัติการ จับมือกับลูกค้าในการพัฒนาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการบริหารงาน บริหารโครงข่าย
4.ร่วมกับลูกค้าพัฒนาความต้องการของตลาดเกิดใหม่ สร้างความใกล้ชิดกับลูกค้า หาโซลูชันที่มีราคาสมเหตุ-ผลทั้งวอยส์ ดาต้า และโซลูชัน
5. ใช้ความได้เปรียบของการบริษัทใหม่ทางด้าน “ไอพี เซ็นทริก คอนเวอร์เจน” ชี้ให้เห็นโอกาสใหม่ๆทางธุรกิจสำหรับเซอร์วิสโพรวายเดอร์
6. ทำงานใกล้ชิดกับลูกค้า เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
และ 7.นำความได้เปรียบด้าน end-to-end โซลูชั่น ไม่ว่าจะเป็นโมบาย หรือฟิกส์มาร่วมกันเพื่อให้ลูกค้ามีการลงทุนที่ต่ำลง
       
       “เราต้องการให้โทรคมนาคมไร้รอยต่อ” คาร์ลกล่าว
       
       ไมก้า เวห์วิเลเนน Chief Operating Officer (COO) กล่าวว่า องค์กรใหม่กำลังท้าทายกับคน 5,000 ล้านคนทั่วโลกที่จะสื่อสารกันจึงต้องมีการจัดสรรแบ่งสายงานให้ชัดเจน เพื่อให้ครอบคลุมตลาดได้หมด โดยจะแบ่งเป็น 6 กลุ่มคือ 1. เรดิโอ แอ็กเซส 2. เซอร์วิส คอล แอนด์แอปพลิเคชัน 3. โอเปอร์เรชั่น ซัปพอร์ต ซิสเต็มส์ 4. บรอดแบนด์แอ็กเซส 5. ไอพี เน็ตเวิร์กกิ้ง แอนด์ทรานสปอร์ตและ 6. เซอร์วิส
       
       “ 3G พูดกันมา 15 ปีแล้ว ทุกวันนี้มีคนใช้ประมาณ 100 ล้านคนทั่วโลก แต่นับจากนี้ต่อไปจะเริ่มวิ่งแล้ว คนจะเริ่มใช้มากขึ้น”
 
 
 
 
 
ที่มา-       
 
บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages//2007-02-20-2.html
เมื่อ 5 กรกฎาคม 2567 02:08
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv