คริสตัลสีเขียวที่พบในศพมนุษย์ยุคกว่า 2,500 ปี สร้างปริศนาอีกชิ้นแก่นักโบราณคดีจีน
       ซินหัวเน็ต- ทีมนักโบราณคดีจีนพบชิ้นส่วนคริสตัลสีเขียวกระจายอยู่ในศพ
ที่ถูกฝังอยู่ในหลุมฝังโลงศพหมู่จำนวน 47 โลง สันนิษฐานประวัติย้อนหลังไปถึงสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก(770-221 ก่อนคริสต์ศักราช)อายุร่วม 2,500 ปี
       
       หลุมฝังโลงศพหมู่ดังกล่าว ตั้งอยู่ในในหมู่บ้านหลีเจี่ย เมืองจิ้งอัน มณฑลเจียงซีทางภาคตะวันออกของจีน นับเป็นการค้นพบจำนวนโลงศพที่มากที่สุดในหลุมเดียว
       
       ขณะที่ หวังย่าหรง นักวิจัยของบัณฑิตยสถานด้านสังคมศาสตร์กำลังทำความสะอาดศพของโลงหมายเลข 34 บริเวณกระดูกไหปลาร้า,,กระดูกเข่า,กะโหลก และฟันซึ่งอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ก็พบชิ้นส่วนคริสตัลซึ่งมีลักษณะเรียวยาวสีเขียวเข้ม ขนาดยาวสุด 8.5 ซม. ส่วนชิ้นอื่นๆมีความยาวระหว่าง 1-3 ซม. มีความเข้มอ่อนของสีไม่เท่ากัน และมีความแข็งในระดับหนึ่ง ซึ่งพบเห็นได้ยากมากในการศึกษาโบราณคดีในอดีต
       
       ศาตราจารย์ ถงหัวผู้เชี่ยวชาญของศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น ได้นำเอาตัวอย่างคริสตัลไปวิเคราะห์ พบว่าส่วนประกอบที่สำคัญของคริสตัลสีเขียวคือ ฟอสฟอรัส,เหล็ก และออกซิเจน ซึ่งก็คือสารประกอบเหล็กฟอสเฟต
       
       ขณะนี้ทีมผู้เชี่ยวชาญกำลังวิเคราะห์ตัวอย่างคริสตัลเหล่านี้เพิ่มเติม เพื่อวิเคราะห์สูตรโครงสร้างของคริสตัลและกลไกการเปลี่ยนสี
       
       สีว์ฉังชิง หัวหน้าทีมขุดค้นกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ นักโบราณคดีค้นพบวัตถุเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซม. บริเวณส่วนสมองของกระโหลก เป็นคริสตัลสีเขียวทรงกลม เมื่อนำตัวอย่างคริสตัลไปใส่ในโถแก้วเป็นเวลา 1 สัปดาห์ พบว่าคริสตัลเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นดำ ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการผุพังสลายตัวทางเคมีที่เรียกว่า “คาร์บอนเนชั่น”.
 
 
 
 
 
 
ที่มา-
บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages//2007-07-11-3.html
เมื่อ 26 กรกฎาคม 2567 09:24
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv