"รุท วีนโฮเวน" ตอบได้ เพราะเขาเป็นผู้คิดค้น "ฐานข้อมูลแห่งความสุขโลก" เมื่อพ.ศ.2542

วีนโฮเวน เริ่มศึกษาเรื่องความสุขมาตั้งแต่ 40 กว่าปีก่อน โดยใช้ข้อมูลจากนักวิชาการด้านสังคม ที่ถามประชาชนว่า อะไรที่ทำให้มีความสุขในชีวิต โดยเลือกสเกลของความสุขตั้งแต่ 0 จนถึง 10 แต่วิธีนี้ เก่าเกินไปเสียแล้ว เพราะยังขาดความแน่นอน เช่น ผู้ใช้ยาเสพติดอาจจะให้ระดับของความสุขอยู่ในระดับสูงอยู่ตลอดเวลา

ดัชนีการวัดความสุขในปัจจุบันนี้ จึงรวบรวมคำถามของความสุขในหลายๆ ปัจจัย เช่น การศึกษา การโภชนาการ อิสรภาพโดยไม่ต้องตกอยู่ในความกลัวและความรุนแรง ความเท่าเทียมกันในด้านเพศ และโอกาสในการเลือก

จากข้อมูลความสุขของประชาชน 95 ชาติ ที่ "วีนฮาเวน" ทำการศึกษามาพบว่า ชาวเดนมาร์กมีความสุขมากที่สุด วัดความสุขได้ที่ 8.2 รองลงมาคือ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ไอซ์แลนด์ และฟินแลนด์ ซึ่งประเทศทั้งหมดนี้ มีรายได้ต่อประชากรสูง ขณะที่ประเทศที่มีความสุขน้อยที่สุดคือ แทนซาเนีย วัดได้ 3.2 ประเทศที่อยู่ในกลุ่มใกล้ๆ กันคือ ซิมบับเว มอลโดวา ยูเครน และอาร์เมเนีย ประเทศทั้งหมดนี้ มีรายได้ต่อประชากรต่ำ ในส่วนของชาวอเมริกันนั้น เป็นผู้ที่มีความสุขเป็นอันดับที่ 15 ของโลก แม้ว่าชาวอเมริกันจะมีทางเลือกเยอะ แต่คะแนนความสุขหดหายลงไป เพราะปัญหาด้านการโภชนาการและอาชญากรรม ขณะที่ความสุขของ "ภูฏาน" อยู่ที่ลำดับ 8

นอกจาก "รายได้" แล้ว "อิสระภาพส่วนบุคคล" ยังมีส่วนทำให้เกิดความสุข เช่น สตรีที่รัฐเคราลาของอินเดีย แม้จะจนแต่สามารถเลือกใช้ชีวิตได้ตามทางของตนเอง สตรีที่รัฐนี้มีระดับความสุขมากกว่าสตรีที่ต้องพึ่งพาบิดาหรือสามีที่เข้มงวด

ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่ช่วยให้มีความสุข เช่น การสำรวจในชาวอเมริกันพบว่า ผู้ที่แต่งงานมีความสุขมากกว่าคนเป็นโสด แต่การมีลูกไม่ได้ทำให้ระดับของความสุขสูงขึ้นเสมอไป การศึกษาและไอคิวมีส่วนบ้างเล็กน้อย คนหน้าตาดีมีความสุขมากกว่าคนหน้าตาขี้เหร่
 
 
 
 
 
ที่มา- 
 
บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages//2007-08-30-2.html
เมื่อ 26 กรกฎาคม 2567 16:23
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv