เป็น  อยู่  คือ ...วิถีชาวไทย

 

        ประเทศไทยให้เสรีในการนับถือศาสนา  คนไทยจึงเลยเลือกถือศาสนาต่างๆได้ตามความสมัครใจ  ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ  ซึ่งก็ได้นับถือสืบต่อการมาช้านาน  จนกลายเป็นรากฐานของความเชื่อ  วัฒนธรรม  ประเพณี  ส่วนใหญ่  และเป็นเอกลักษณ์ของชาติในปัจจุบัน

 

การนับถือศาสนา  ของประเทศไทย

 

        คนไทยประมาณร้อยละ  94  นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท  และประมาณร้อยละ  5    นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทางภาคใต้ตอนล่าง  ศาสนาคริสต์มีประมาณร้อยละ  0.7  นอกจากนี้ยังมีชาวซิกข์  ชาวฮินดูและอื่นๆ  เช่น  เต๋า  ขงจื๊อ  ยิว

เกร็ดความรู้

        พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย  ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ  พ.ศ. 1826

      ประเทศไทยมีภาษาไทย  เป็นภาษาราชการ  มีตัวอักษรไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ  ส่วนในแต่ละภาคก็จะมีภาษาถิ่น  มีสำเนียงการพูดและการใช้คำศัพท์บางคำที่แตกต่างกันไป  แบ่งหลักๆได้เป็นภาคเหนือ  ภาคอีสาน  ภาคกลาง  ภาคใต้  แต่เราใช้ตัวอักษรและภาษาเขียนแบบเดียวกันทั่วประเทศ

      เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย  มีพยัญชนะ  44  รูป  (21  เสียง)  (32  เสียง)  วรรณยุกต์  4  รูป  (5  เสียง)พยัญชนะไทยจะเขียนเรียงตัวไปตามแนวนอน  จากซ้ายไปขวา  ส่วนสระจะอยู่หน้า  บน  ล่าง  และหลังพยัญชนะ 

ได้แก่

พยัญชนะ ไทย

 

เสียงสระและรูปวรรณยุกต์


สระและวรรณยุกต์ไทย

 

         ภาษาไทยมีตัวเลขไทยใช้เป็นของตัวเอง  แต่โดยทั่งไปนิยมใช้เลขอารบิก

 

ตัวเลขไทย

 

 

     สวัสดี  เป็นคำทักมายของคนไทย  เป็นวัฒนธรรมการทักทายเมื่อพบปะ  หรือเมื่อต้องการบอกล่า  คนไทยมักกล่าวคำ  สวัสดี  พร้อมๆกับการไหว้  ซึ่งเป็นการแสดงถึงความมีสัมมาคารวะและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน  นอกจากนี้การไหว้ยังใช้ประกอบเมื่อต้องการกล่าวคำว่า  “ขอบคุณ”  หรือ  “ขอโทษ”  ได้ด้วย

 

คำทักทาย ของชาวไทย

       การไหว้  เป็นการแสดงมิตรภาพ  มิตรไมตรีอันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย  เวลาไหว้เราก็ยกมือทั้งสองข้างขึ้นประนมให้นิ้วชิดกันและปลายนิ้วไม่แยกออกจากกัน

     การศึกษาของคนไทยในระบบมี  2  ระดับ  คือ  การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา

การศึกษาขั้นพื้นฐาน  ประกอบด้วย

     ระดับก่อนประถมศึกษา  สำหรับเด็กอายุ  3 – 6  ขวบ  ใช้เวลา  3  ปี

     ระดับประถมศึกษา  ใช้เวลาเรียน  6  ปี

     ระดับมัธยมศึกษา  แบ่งเป็นตอนต้น  3  ปี  และตอนปลาย  3  ปี  ซึ่งในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีแยกประเภทเป็นสายสามัญเพื่อปูพื้นฐานการศึกษาต่อ  กับสายอาชีวศึกษาที่เน้นความรู้ด้านทักษะเพื่อการประกอบอาชีพ

การศึกษาระดับอุดมศึกษา  มี  2  ระดับ  คือ  ต่ำกว่าปริญญา  (อนุปริญญา)  และระดับปริญญา

 

บทความที่เกี่ยวข้องกับเป็น  อยู่  คือ... วิถีชาวไทย
 
อาเซียน 10 ประเทศ
ไทยหนึ่งในประชาคมอาเซียน
ทำเลที่ตั้ง ของประเทศไทย
ทรัพยากรธรรมชาติ และสัตว์ป่าในประเทศไทย
ปกบ้านครองเมือง ของประเทศไทย
ทำมาค้าขาย ของประเทศไทย
บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages/ความรู้รอบตัว/เป็น-อยู่-คือ-วิถีชาวไทย.html
เมื่อ 3 กรกฎาคม 2567 18:20
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv