เรียนรู้บริขาร

เรียนรู้บริขาร
 
 

     อุปสมบท แปลว่า การเข้าถึง คือ การบวช เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา

     บรรพชา (อ่านว่า บันพะชา, บันพะชา) แปลว่า การงดเว้นจากความชั่ว หมายถึง การบวชเป็นนักบวช

     บรรพชา เดิมใช้หมายถึง การบวชเป็นนักบวชทั่วไป เช่น เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา สาวกบรรพชา และเรียกนักบวชเช่นนั้นว่า "บรรพชิต" แต่ในสมัยปัจจุบัน คำนี้ใช้เรียกเฉพาะการบวชเป็นสามเณรเท่านั้น ส่วนการบวชเป็นพระภิกษุเรียกว่า "อุปสมบท"

     ความจริง การบวชเป็นพระภิกษุนั้นจะต้องผ่านขั้นตอนการเป็นสามเณรก่อนแล้วจึงอุปสมบท ดังนั้น จึงเรียกรวมกันว่า "บรรพชาอุปสมบท"

    บริขาร (อ่านว่า บอริขาน) คือ เครื่องใช้สอยที่จำเป็นของพระภิกษุ ซึ่งมี ๘ อย่าง เรียกว่า "อัฐบริขาร" (อ่านว่า อัตถะ) แปลว่า บริขาร ๘ ประกอบด้วย
 
          ๑. สบง (ผ้านุ่ง)
          ๒. จีวร (ผ้าห่ม)
          ๓. สังฆาฏิ (ผ้าซ้อน)
          ๔. บาตร
          ๕. มีดโกน
          ๖. เข็ม
          ๗. ประคด/รัดประคด
          ๘. ธมกรก (ที่กรองน้ำ)

ศัพท์ต่างๆ ที่ควรรู้
 
     - นมัสการ  การทำความนอบน้อม, การทำความเคารพด้วยการยกมือไหว้
     - เจริญพร  คำเริ่มและคำรับที่ภิกษุสามเณรใช้พูดกับคฤหัสถ์ผู้ใหญ่และสุภาพชนทั่วไป ตลอดจนใช้เป็นคำขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่ภิกษุสามเณรมีไปถึงบุคคลเช่นนั้นด้วย (เทียบได้กับคำว่า "เรียน" และ "ครับ" หรือ "ขอรับ")
     - นิมนต์  เชิญ, เชื้อเชิญ (ใช้กับพระภิกษุและสามเณร)
     - พระอุปัชฌาย์  พระเถระผู้เป็นประธานการบวชกุลบุตรในพระพุทธศาสนา
     - อุปัฏฐาก  ผู้บำรุง, ผู้รับใช้, ผู้ดูแลความเป็นอยู่, ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสามเณร; ถ้าเป็นหญิงใช้ "อุปัฏฐายิกา"
     - ทายก  ผู้ถวายจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร, ถ้าเป็นเพศหญิงเรียกว่า "ทายิกา"
     - ฆราวาส นัยแรกแปลว่า การอยู่ครองเรือน, ผู้อยู่ในเรือน ได้แก่ ชาวบ้านทั่วไปที่มิใช่นักบวช

ศัพท์ต่างๆ ที่ควรรู้
 
     - ผ้าอาบน้ำฝน  ผ้าที่พระภิกษุสามเณรใช้ผลัดเปลี่ยนเวลาสรงน้ำ (อาบน้ำ)
    - จตุปัจจัย  ปัจจัย ๔; สิ่งของสำหรับใช้สอยที่จำเป็นสำหรับภิกษุสามเณร ซึ่งภิกษุสามเณรต้องอาศัยเป็นอยู่ มี ๔ อย่าง ได้แก่ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) (ในปัจจุบัน เงินที่ถวายพระหรือวัด ก็นิยมเรียกว่าปัจจัย)
     - กุฏิ  อาคารที่เป็นโรงเรือนหรือตึกอันเป็นที่อยู่พำนักอาศัยของพระภิกษุสามเณร
     - กัป  อายุของโลกตั้งแต่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ จนถึงเวลาโลกแตกสลายไป
     - ภัตตาหาร  อาหารสำหรับภิกษุสามเณรฉัน
     - ฉัน  กิน, รับประทาน (ใช้กับพระภิกษุและสามเณร)
     - จำวัด  นอนหลับ
     - อาสนะ ที่นั่ง, เครื่องปูรองนั่ง
     - สรง  อาบน้ำ

บริขารเบื้องต้น
 
 
 
บาตร
 
 
 
จัวร
 
 
ประคด/รัดประคด
 
ผ้ารัดอก
 
 
 
อังสะ
 
 
 
 
สบง

 

บทความที่เกี่ยวข้องกับคู่มือนักเรียนเตรียมบวชสามเณร
 
สามเณร คือ ใคร
พระคุณพ่อแม่
บุตรที่ดี ย่อมมีความกตัญญูกตเวที
วิธีตอบแทนคุณพ่อคุณแม่ที่ดีที่สุด คือ อะไร
บวชแล้ว "ผู้บวช" ได้อะไร
บวชแล้ว "สังคมและประเทศชาติ" และ "พระพุทธศาสนา" ได้อะไร
พระภิกษุ ทายาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การสนทนาระหว่างฆราวาสกับพระภิกษุ/สามเณร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรมครูของมนุษย์และเทวดา
ทำไมต้องกราบพระ
ศีล คุ้มครองตนจากบาปและอกุศล
ชาดกเกี่ยวกับอานิสงส์ของการรักษาศีล
บุญ เบื้องหลังความสุขและความสำเร็จ
 
บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages/คู่มือเตรียมบวชสามเณร/เรียนรู้บริขาร.html
เมื่อ 1 กรกฎาคม 2567 17:08
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv