กิจที่สำคัญที่สุด
 
องค์พระผุดซ้อน
 
องค์พระผุดซ้อน
 
        ท่านเคยคิดไหมว่า  หากเราทราบแน่นอนว่า  จะมีชีวิตอยู่ถึง ๑๐๐ ปี  เราจะวางแผนชีวิตอย่างไร  หรือรู้แน่ว่าจะมีชีวิตอีกเพียง ๑ วัน  เราจะทำอะไรก่อนหลัง  แผนของคนส่วนใหญ่ก็เป็นที่คาดได้ว่า  แผน ๑๐๐ ปี กับแผน ๑ วัน  คงจะต่างกันมากทีเดียวแต่สำหรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ไม่ว่าจะมีชีวิตอยู่นานแค่ไหน  “กิจที่สำคัญที่สุด”  ของชีวิตก็ยังคงเป็นเช่นเดิม คือ การปฎิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย  เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง  ดังที่พระองค์ตรัสไว้ใน  เจลสูตร  และ  สัตติสตสูตร  ว่า
 
          พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า  “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เมื่อผ้าหรือศรีษะถูกไฟไหม้แล้ว  เธอควรกระทำอย่างไร”
 
         “ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า  “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  เมื่อผ้าหรือศรีษะถูกไฟไหม้แล้ว  ควรจะกระทำความพอใจ ความพยายาม  ความอุตสาหะ  ความไม่ย่นย่อ  ความไม่ท้อถอย  สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า  เพื่อดับไปบนผ้าหรือศรีษะนั้น”
 
          พ.  “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  พวกเธอควรวางเฉย  ไม่ใส่ใจถึงผ้าหรือศรีษะที่ถูกไฟไหม้  แล้วพึงกระทำความพอใจ  ความพยายาม  ความอุตสาหะ  ความไม่ย่นย่อ  ความไม่ท้อถอย  สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า  เพื่อปฏิบัติให้รู้แจ้งอริสัจ ๔  ที่ยังไม่รู้แจ้ง  ตามความเป็นจริง
 
          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เปรียบเหมือนใครๆ  พึงกล่าวกับบุรุษผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี  มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปีว่า “มาเถิด  พ่อมหาจำเริญ  ชนทั้งหลายจักเอาหอกครั้งละ ๑๐๐ เล่มทิ่มแทงท่าน  ในเวลาเช้า...  ในเวลาเที่ยง...  ในเวลาเย็น  ท่านนั้นถูกเขาเอาหอก  ๓๐๐  เล่มทิ่มแทงอยู่ทุกวันๆ  ตลอดอายุ ๑๐๐ ปี  มีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี เมื่อล่วงไป ๑๐๐ ปี  จักรู้แจ้งอริยสัจ ๔  ที่ยังไม่ได้รู้แจ้ง
 
 
ความสุขภายในที่ทุกคนมีเหมือนกัน
 
 
ความสุขภายในที่ทุกคนมีเหมือนกัน
 
 
          กุลบุตรผู้เห็นประโยชน์ควรจะรับเอาข้อเสนอนั้น  ข้อนั้นเพราะเหตุไร
 
          เพราะว่าสงสารนี้  มีเบื้องต้นและที่สุดกำหนดรู้ไม่ได้  เบื้องต้นและที่สุดแห่งการประหารด้วยหอก ดาบ หลาวและขวาน  ย่อมไม่ปรากฏ  ฉันใด  ก็ข้อนี้พึงมีได้  ฉันนั้นว่า  ก็เราไม่กล่าวว่า  การรู้แจ้งอริสัจ ๔ เป็นไปด้วยทุกข์ โทมนัส  แต่เรากล่าวว่าการรู้แจ้งอริสัจ ๔ เป็นไปพร้อมด้วยสุข  โสมนัส เท่านั้น
 
          อริยสัจ ๔  เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ  ทุกขสมุทัยอริสัจ  ทุกขนิโรธอริยสัจ  และทุกขนิโรธคามินีปฎิทาอริยสัจ
 
         ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เพราะฉะนั้นแหละ  เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร  เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ  นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
 
 
การปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน
 
การปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายใน
 
 
         สรุปได้ว่า  การปฏิบัติธรรม  เป็นกิจที่ต้องทำอย่างรีบด่วนที่สุด  ด่วนกว่าการดับไฟที่กำลังไหม้บนศรีษะ  เพราะความทุกข์เผ็ดร้อนของภัยในวัฏฏะที่ทุกข์แสนสาหัสอย่างไม่มีสิ้นสุด
 
         การปฏิบัติธรรม  เป็นกิจที่จำเป็นต้องทำ  แม้ต้องแลกด้วยความทุกข์ทรมานแสนสาหัส  จากความเจ็บปวดที่ยิ่งกว่าตาย  เพราะหากเข้าถึงพระธรรมกาย  ทำพระนิพพานให้แจ้งได้ความทุกข์เจ็บปวดนี้เป็นเพียง  การลงทุนเล็กน้อย  เมื่อเทียบกับผลกำไร  คือการพ้นจากทุกข์ภัยในวัฏฏะอย่างถาวร  และบรมสุขที่ได้รับ
 
 
 
 
แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
โดยพระมหาเถระ รุ่นปี พ.ศ. 2534 หน้า  199 - 201
 
 
บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages/แรงบันดาลใจ-จากพระไตรปิฎก/กิจที่สำคัญที่สุด.html
เมื่อ 4 กรกฎาคม 2567 05:17
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv