ความสุขของคนดี
 
 
“สุขที่ใจ”  มิใช่สุขด้วยวัตถุใดๆ  แล้วอะไรเล่า
 
“สุขที่ใจ”  มิใช่สุขด้วยวัตถุใดๆ  แล้วอะไรเล่า
 
 
        มิอาจปฎิเสธได้ว่า  สิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการคือ  “ความสุข”  แต่การตีค่าความสุขนั้นอาจมีบรรทัดฐานที่แตกต่างกัน  บ้างก็วัดด้วยทรัพย์สมบัติ  บ้างก็วัดด้วยอำนาจวาสนา  บ้างก็วัดด้วยยศถาบรรดาศักดิ์  แต่สิ่งเหล่านั้นพอได้มาแล้วก็มิได้มีความสุขล้วนๆ  อย่างที่ปรารถนา  เพราะอันที่จริงความสุขที่มนุษย์ปรารถนานั้นคือ  “สุขที่ใจ”  มิใช่สุขด้วยวัตถุใดๆ  แล้วอะไรเล่า  คือสิ่งที่จะเติมความสุขใจล้วนๆ  ให้กับเราได้ทุกวันคืน  คำตอบหาได้จากเรื่องต่อไปนี้
 
          สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตะวันอารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี  เขตกรุงสาวัตถี  ตรัสสอนพระภิกษุเรื่อง  ภูมิของคนพาล  และบัณฑิต  ในความตอนหนึ่งได้กล่าวถึง  ความสุขใจที่คนทำความดีจะได้รับในปัจจุบัน ๓  ประการโดยสรุป  คือ
 
๑. เมื่อไปในที่ต่างๆ  ได้ยินผู้คนกล่าวถึง  เรื่องความดีใดๆ  ก็ได้ระลึกถึงความดีของตนเอง  เกิดความปลื้มใจ
๒. เมื่อเห็นผู้ประพฤติผิดสีลธรรมโดนลงโทษ  ก็เกิดความสบายใจว่าเราเป็นผู้มีศีล  จะไม่ถูกลงโทษเช่นนั้น
๓. เกิดความมั่นใจว่า  ความดีที่ทำไว้ย่อมคุ้มครองป้องกันจากภัยทั้งหลาย  แม้ตายไปก็ย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์
 
มีเนื้อความดังนี้
 
ความสุขใจเล็กๆ
 
ความสุขใจเล็กๆ
 
 
“ภิกษทั้งหลาย  ถ้าบัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสประการที่ ๑  นี้ในปัจจุบัน
 
               อีกประการหนึ่ง  บัณฑิตเห็นพระราชาทั้งหลายรับสั่งให้จับโจรผู้ประพฤติผิดมาลงอาญาด้วยประการต่างๆ  คือ  ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง  ด้วยหวายบ้าง  ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง  ตัดมือบ้าง  ตัดเท้าบ้าง  ตัดมือและเท้าบ้าง  ตัดใบหูบ้าง  ตัดจมูกบ้าง  ตัดใบหูและจมูกบ้าง  วางก้อนเหล็กแดงบนศรีษะบ้าง  ถลกหนังศรีษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง  เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหูบ้าง  เอาผ้าตัวราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง  พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง  ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้า  ให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง  ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว  ทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง  สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าเสียบหลาวทั้ง ๕ ทิศ  เอาไฟเผาบ้าง  ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง  เนื้อ  เอ็นออกมาบ้าง  เฉือนเนื้อออกเป็นแว่นๆ  เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง  เฉือนหนัง  เนื้อ  เอ็น  ออกเหลือไว้แต่กระดูกบ้าง  ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง  เสียบให้ติดดินแล้วจับเขาหมุนได้รอบบ้าง  ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือนตั่งใบไม้บ้าง  รดน้ำด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง  ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่กระดูกบ้าง  ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง  ตัดศรีษะออกด้วยดาบบ้าง
 
          ในขณะที่เห็นนั้น  บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า  “เพราะเหตุแห่งบาปกรรมเช่นไร  พระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้วลงอาญาด้วยประการต่างๆ ฯลฯ  ก็ธรรมเหล่านั้นไม่มีในเรา  และเราก็ไม่ปรากฏในธรรมเหล่านั้น
 

บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสประการที่ ๒

 
บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสประการที่ ๒ 
        
 
  ภิกษุทั้งหลาย  บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสประการที่ ๒  นี้ในปัจจุบัน
 
          อีกประการหนึ่ง  ในสมัยนั้น  กรรมดีที่บัณฑิตทำ  คือ  การประพฤติกายสุจริต  วจีสุจริต  มโนสุจริตไว้ในกาลก่อนย่อมคุ้มครอง  ป้องกันบัณฑิตผู้อยู่บนตั่ง  บนเตียง  หรือนอนบนพื้น  เปรียบเหมือนเงาของยอดภูเขาใหญ่  ย่อมบดบัง  ครอบคลุมแผ่นดินใหญ่ในเวลาเย็น  แม้ฉะนั้น
 
          ในเรื่องนั้น  บัณฑิตมีความคิดอย่างนี้ว่า  “เราไม่ได้ทำความชั่วไว้หนอ  ไม่ได้ทำกรรมหยาบช้าไว้  ไม่ได้ทำกรรมเศร้าหมองไว้  เราทำแต่ความดี  ทำแต่กุศล  ทำแต่สิ่งที่ป้องกันสิ่งน่ากลัวไว้  เราตายแล้วจะไปสู่สุคติ ฯลฯ”  เขาย่อมไม่เศร้าโศกไม่ลำบากใจ  ไม่ร่ำไร  ไม่ทุบอกคร่ำครวญ  ไม่ถึงความหลงใหล
 
          ภิกษุทั้งหลาย  บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสประการที่  ๓  นี้ในปัจจุบัน
 
          จากนั้นตรัสถึงความสุขในปรโลกของคนดี  คือ  ไปสู่สุคติโลกสวรรค์  และเมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ย่อมบริบูรณ์ด้วยรูปสมบัติ  ทรัพย์สมบัติ และคุณสมบัติ  จึงได้โอกาสสร้างความดีต่อไปอีก  ตายไปก็ไปสู่สุคติอีก  นับครั้งไม่ถ้วน
 
          โดยตรัสสรรเสริญ  ความสุขของสวรรค์  ว่า  “เป็นสถานที่น่าปรารถนา  น่าใคร่  น่าพอใจโดยส่วนเดียว”ว่า
 
          “ภิกษุทั้งหลาย  แม้การเปรียบเทียบกับความสุขของพระเจ้าจักรพรรดิผู้สมบรูณ์ด้วยรัตนะ  ๗  ประการ  และฤทธิ์  ๔  ประการ  ดังนี้
 

ก้อนหินขนาดย่อมๆ  เท่าฝ่าพระหัตถ์ขึ้นมาแล้วตรัสถาม

 
ก้อนหินขนาดย่อมๆ  เท่าฝ่าพระหัตถ์ขึ้นมาแล้วตรัสถาม
 
 
         พระผู้มีพระภาคทรงหยิบก้อนหินขนาดย่อมๆ  เท่าฝ่าพระหัตถ์ขึ้นมาแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า  “ภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร  คือ  ก้อนหินขนาดย่อมๆ  เท่าฝ่ามือที่เราถืออยู่นี้  กับขุนเขาหิมพานต์  อย่างไหนใหญ่กว่ากัน”
 
          “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ก้อนหินขนาดย่อมๆ  เท่าฝ่าพระหัตถ์ที่พระองค์ทรงถืออยู่นี้มีประมาณน้อยนัก  เปรียบเทียบกับขุนเขาหิมพานต์แล้ว  ไม่ถึงการนับ  ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยวไม่ถึงแม้การเทียบกันได้เลย  พระพุทธเจ้าข้า”
 
          “ภิกษุทั้งหลาย  ฉันนั้นเหมือนกัน  สุขโสมนัสที่พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นผู้สมบรูณ์ด้วยแก้ว ๗  ประการ  และฤทธิ์  ๔  ประการ  ทรงเสวยสุขโสมนัสอันมีความสมบรูณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการและฤทธิ์ ๔ ประการนั้นเป็นเหตุ  เปรียบเทียบกับสุขที่เป็นทิพย์แล้ว  ไม่มีการนับ  ไม่มีถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว  ไม่ถึงแม้การเทียบกันได้เลย
 
          บัณฑิตนั้น  เพราะเวลาล่วงเลยมานาน  ในบางครั้งบางคราว  ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์  ก็จะเกิดในตระกูลสูง  คือ  ตระกูลขัตติยมหาศาล  ตระกูลพราหมณ์มหาศาล  หรือตระกูลคหบดีมหาศาล  เห็นปานนั้น  อันเป็นตระกูลมั่งคั่ง  มีทรัพย์มาก  มีโภคะทรัพย์และธัญชาติมาก  และบัณฑิตนั้นเป็นผู้มีรูปงามน่าเลื่อมใส  มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก  มีปกติได้ข้าว  น้ำ  ผ้า  ยาน  ดอกไม้  ของหอม  เครื่องลูบไล้  ที่นอน  ที่พัก  และเครื่องประทีป  เขาจึงประพฤติกายสุจริต  วจีสุจริต  มโนสุจริต  หลังจากตายแล้ว  จึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์อีก
 
          ภิกษุทั้งหลาย  เปรียบเหมือนนักเลงพนัน  ได้รับโภคสมบัติมากมาย  ความชนะของนักเลงการพนันผู้ได้รับโภคสมบัติมาก  เพราะการชนะพนันนั้นเป็นเพียงเล็กน้อย  โดยที่แท้ความชนะของบัณฑิตผู้ประพฤติกายสุจริต  วจีสุจริต  มโนสุจริต  หลังจากตายแล้ว  จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์  เป็นความชนะที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น  นี้เป็นภูมิของบัณฑิตที่บัณฑิตบำเพ็ญไว้ทั้งสิ้น”
 
 
คนดีมีศีลธรรมย่อมเป็นผู้ชนะในโลกทั้งสอง
คนดีมีศีลธรรมย่อมเป็นผู้ชนะในโลกทั้งสอง 
 
 
           คนดีมีศีลธรรมนั้น  ย่อมเป็นผู้ชนะในโลกทั้งสอง  คือ  ในปัจจุบันชาติก็มีความสุขทั้งกายและใจ  เป็นผู้สมบรูณ์ด้วยโภคทรัพย์สมบัติ  ความแข็งแรง  และความสุขใจ  จาก  ทาน  ศีล  ภาวนา  ที่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง  และในปรโลกชีวิตหลังความตายย่อมได้เสวยทิพย์สมบัติอันยิ่งใหญ่ในโลกสวรรค์  แม้เมื่อหมดอายุ  หมดบุญในภพสวรรค์มาเกิดเป็นมนุษย์  ก็ได้เกิดมาพร้อมด้วยรูปสมบัติ  ทรัพย์สมบัติ  คุณสมบัติ  ทำให้มีโอกาสสร้างความดีต่อๆ  ไปอีกในชาตินั้นๆ  จึงได้เป็นผู้เวียนว่ายอยู่ในภพทั้งสอง  คือ  มนุษยโลก  และเทวโลก  จนกว่าจะถึงที่สุดแห่งธรรม
 
 
 
 
แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
โดยพระมหาเถระ รุ่นปี พ.ศ. 2534 หน้า  173 - 179
 
บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages/แรงบันดาลใจ-จากพระไตรปิฎก/ความสุขของคนดี.html
เมื่อ 23 กรกฎาคม 2567 16:06
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv