ธุดงค์ผ่านเมืองผิดตรงไหน

เดินธุดงค์ในเมืองผิดพระวินัย หรือผิดที่เข้าใจไม่ตรงกัน

เดินธุดงค์ในเมืองผิดพระวินัย หรือผิดที่เข้าใจไม่ตรงกัน

การเดินธุดงค์ธรรมชัยในช่วงเดือนมกราคม มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อหลัก
คือ เพื่อสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ และ เพื่อปฏิบัติธรรมโปรดญาติโยม


พระภิกษุวัดพระธรรมกายเดินธุดงค์ผ่านเมืองผิดตรงไหน

     การเดินทางของพระภิกษุวัดพระธรรมกาย หรือที่เราคุ้นเคยกันคือ คำว่า "ธรรมยาตรา" คือ การเดินไปของคณะพระภิกษุ ที่ในขณะนี้กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันพอสมควร ใน 3 ประเด็น คือ หนึ่ง ทำให้รถติด สอง คือ ถูกต้องตามหลักพระพุทธหลักศาสนาหรือเปล่า และสาม คือการเดินธุดงค์เช่นนี้ผิดไปจากหลักของธุดงควัตร  แท้จริงแล้ว ความจริงเป็นเช่นไร

เดินธุดงค์ในเมืองผิดพระวินัย หรือผิดที่เข้าใจไม่ตรงกัน
การเดินธุดงค์ในเมือง

ประเด็นที่ 1 การเดินธุดงค์เข้าเมืองทำให้รถติด

     ในแต่ละวันมีสาเหตุหลายประการที่ทำให้เกิดรถติดได้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุที่ทราบล่วงหน้า เช่น การจัดกิจกรรมแห่นักกีฬาที่ได้แชมป์, กิจกรรมทางการเมือง เป็นต้น และเหตุการไม่คาดฝัน  เช่น การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน สิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้การจราจรติดขัด เคลื่อนตัวไม่สะดวก เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคนอื่น

     สำหรับกิจกรรมทางศาสนา "ธรรมยาตรา ธุดงค์ธรรมชัย" เป็นกิจกรรมที่มีการประชาสัมพันธ์ล่วงหน้า มีตารางการเดินในแต่ละวันที่ชัดเจน ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการออกเดินธุดงค์ในแต่ละวัน จุดพัก จุดปลายทางในแต่ละวัน มีการจัดทำเป็นแผนที่รายวัน บริการข้อมูลเส้นทาง ถนน ทางเลี่ยง มีระบบ dmcgps ให้ติดตามข้อมูลหัวขบน ท้ายขบวน ผู้สนใจในกิจกรรมนี้สามารถเข้าไปศึกษาการเดินทางล่วงหน้าได้ที่ http://www.dmc.tv/tudong รวมถึงผู้สัญจรไปมาก็สามารถทราบข่าวล่วงหน้าจากประชาสัมพันธ์เข้าไปดูเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางได้

เดินธุดงค์ในเมืองผิดพระวินัย หรือผิดที่เข้าใจไม่ตรงกัน
สภาพการจราจรขณะมีขบวนพระธุดงค์จาริกผ่าน

เดินธุดงค์ในเมืองผิดพระวินัย หรือผิดที่เข้าใจไม่ตรงกัน
สภาพการจราจรขณะมีขบวนพระธุดงค์จาริกผ่าน

     ทั้งนี้ กิจกรรม "ธรรมยาตรา ธุดงค์ธรรมชัย" เป็นกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่ เพราะการที่คณะสงฆ์หมู่มากมารวมตัวกันนั้น เป็นสิ่งที่สังคมไม่เคยเห็น หากจะมีใครเคยได้ศึกษาในพระไตรปิฎก อาจพอได้เคยทราบว่าพระพุทธเจ้า ท่านก็มักที่จะเดินทางไปพร้อมกับคณะสงฆ์หมู่ใหญ่จำนวนเป็นหมื่น เป็นแสน ทำให้พระพุทธศาสนาทรงแสนยานุภาพ เป็นที่น่าศรัทธา เลือมใสของผู้พบเห็น

     ความจริงแล้วเหตุการณ์เดินของคณะสงฆ์หมู่ใหญ่ของวัดพระธรรมกายในครั้งนี้ เป็นที่น่าแปลกตา และแปลกใจยิ่งของสังคมไทยในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเดิน เข้าเมือง และการเดินของพระจำนวนมากถึงพันกว่ารูป การที่มีกระแสข่าวออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันในขณะนี้ ถือว่าน้อยมาก เมือเปรียบเทียบกับข่าวที่สื่อมักหยิบมานำเสนอ บ่อยครั้งศรัทธาของสังคมต่อพระสงฆ์ไทย ลดน้อย ถอยลงไป เพียงแค่ข่าวพระไม่ดีเพียง 1 รูป ทีแต่ละสื่อนำมาเล่นข่าวกันโดยไมได้คิด ถึงผลกระทบที่จะตามมา แท้จริงแล้วยังมีพระภิกษุที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตั้งใจมาบวชศึกษาธรรมตามแบบอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่อีกจำนวนมากกว่ามากๆ อย่างน้อยวันนี้เราก็เห็นแล้วว่ามีมากเป็นพันรูป

เดินธุดงค์ในเมืองผิดพระวินัย หรือผิดที่เข้าใจไม่ตรงกัน
การเดินของคณะสงฆ์หมู่ใหญ่

     หากวันนี้พระธุดงค์ธรรมชัย คณะนี้ ไม่กล้าฝ่ากระแสสังคม เดินผ่านเมืองแล้วละก็ เชื่อเหลือเกินว่า ยากที่คนจะได้รับรู้เรื่องราวเหล่านี้ ถึงแม้ข่าวที่ทราบจะเป็นข่าวทางลบเสียก่อน แต่หากพิจารณาแล้วก็จะทราบว่า ธุดงค์ธรรมชัย เป็นเหตุให้รถติดได้ แต่ไม่ได้ติดหนักอย่างที่เข้าใจกัน

ประเด็นที่ 2 การเดินผ่านเมือง ผิดหลักพระพุทธศาสนา

     การเดินธุดงค์ของวัดพระธรรมกาย ไม่ได้ผิดไปจากหลักการทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า เพราะในการจาริกของพระพุทธองค์นั้น ไม่ได้ทรงเลือกว่าในเมืองหรือในป่า แต่ทรงเลือกว่าจาริกไป ณ ที่ใด จะเกิดประโยชน์ต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายได้มากน้อยกว่ากัน

พระภิกษุในสมัยพุทธกาลเดินธุดงค์ผ่านเมืองบ้างไหม

     ตัวอย่างหนึ่ง ในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงนำพระสงฆ์สาวกจำนวนนับหมื่นรูป เดินธุดงค์ธรรมยาตรา จากเมืองสู่เมืองเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา อาทิ นำพระสงฆ์ 14,000 รูป เดินธรรมยาตราจากกรุงราชคฤห์สู่กรุงกบิลพัสดุ์ ตอนหลังตรัสรู้ใหม่ๆ แม้พระเจ้าสุทโธทนะจะส่งคณะมาทูลอาราธนาให้เสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ถึง 10 คณะ พระพุทธเจ้าก็ยังไม่ไป ทรงรอให้สถานการณ์พร้อม มีพระสงฆ์สาวกจำนวนมากแล้วจึงนำขบวนธรรมยาตราไปพร้อมๆ กัน เพราะสามารถสร้างศรัทธาได้ดีกว่า และในหลายๆแห่งชาวเมืองก็จะมาต้อนรับคณะสงฆ์ โดยโปรยดอกไม้บนทางที่คณะสงฆ์เดินผ่าน วัดพระธรรมกายจึงได้ปฏิบัติตามแบบอย่างของชาวพุทธครั้งพุทธกาล (อ่านเพิ่มเติม)

เดินธุดงค์ในเมืองผิดพระวินัย หรือผิดที่เข้าใจไม่ตรงกัน
การเดินธุดงค์ธรรมชัยในจังหวัดกาญจนบุรี

ประเด็นที่ 3 การเดินธุดงค์ของวัดพระธรรมกาย ผิดหลักธุดงควัตร

ลักปฏิบัติในการถือธุดงควัตร     

     ธุดงควัตร เป็นหลักธรรมที่ค่อนข้างจะไกลตัวบุคคลทั่วๆ ไปในสังคม จึงอาจทำให้เกิดอคติต่อการเดินธุดงค์เข้าเมืองของพระวัดพระธรรมกายในครั้งนี้ เพราะเมื่อพูดถึงเรื่องธุดงค์ ก็มักจะนึกถึงพระที่แบกกลด สะพายบาตร เดินไปตามท้องถนน เดินไปตามข้างทางเวลาเราไปต่างจังหวัด หรือพระที่ปักกลดตามโคนไม้บ้าง ตามที่รกร้างว่างเปล่า ตามหมู่บ้านบ้าง ไม่ใช่ภาพพระที่จะมาแบกลด สะพายย่ามเข้าเมือง

    จริงแล้วคำว่าธุดงค์เป็นคำที่กว้างขวาง และปฏิบัติได้หลายวิธี คำว่าธุดงค์ เป็นคำของพระพุทธเจ้า เป็นภาษามคธ มาจากคำว่า ธูตังคะ แปลเป็นภาษาไทยทับศัพท์ว่า ธุดงค์ เมื่อนำเอาธุดงค์มาประพฤติปฏิบัติ ก็เติมคำว่าวัตรเข้าไป ส่วนคำว่า วัตร แปลว่าข้อปฏิบัติ รวมกันจึงเป็นคำว่า ธุดงควัตร หมายถึง ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับธุดงค์

เดินธุดงค์ในเมืองผิดพระวินัย หรือผิดที่เข้าใจไม่ตรงกัน
ปฏิบัติธรรม ออกเดินธุดงค์ ของศูนย์อบรมวัดวังประจบ
โครงการอุปสมบทมู่ทุกหมู่บ้านทั่วไทย รุ่น เข้าพรรษา ปี พ.ศ. 2555


    ธุดงค์ เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่ได้มีการบังคับ แล้วแต่ภิกษุรูปใดจะสมัครใจปฏิบัติ เป็นที่นิยมของผู้มุ่งกำจัดขัดเกลากิเลส เป็นข้อที่ทรงอนุญาต นั่นหมายความว่า ถ้าทำได้ ปฏิบัติได้ แต่ถ้าไม่ได้ปฏิบัติก็ไม่ได้เสียหายอะไร เพียงแต่ว่าจะไม่ได้สิ่งที่ดีๆ ก็คือ ไม่อาจที่จะกำจัดกิเลสได้เท่านั้นเอง

   ธุดงควัตร จึงคล้ายๆ กับประตูที่เปิดกว้างๆ ไว้ว่า เชิญเข้ามา ถ้าเข้ามาในนี้แล้ว จะสามารถขจัดขัดเกลากิเลสได้ จะเจริญได้ รุ่งเรืองได้ แต่ถ้าไม่เข้า ก็ไมได้ผิดอะไร เพียงแต่ว่าไม่ได้ขัดเกลากิเลสให้ยิ่งยวดขึ้น เหมือนกับการศึกษาที่พ้นเกณฑ์บังคับไปแล้ว เช่น ประตูมหาวิทยาลัย การศึกษานอกโรงเรียนต่างๆ ก็เปิดกว้าง ใครจะมาสมัครก็ได้ แต่ถ้าสมัครแล้ว เรียนแล้ว ก็จะได้ความรู้ ได้ปริญญา ไปประกอบอาชีพ พ้นจากความยากลำบาก อย่างนี้เป็นต้น แต่ถ้าใครไม่สมัครใจที่จะเข้าไปในโรงเรียนนั้น ในมหาวิทยาลัยนั้น ก็ไม่ได้เสียหายอะไร มีแต่เพียงว่าจะไม่ได้รับประโยชน์เท่านั้น

เดินธุดงค์ในเมืองผิดพระวินัย หรือผิดที่เข้าใจไม่ตรงกัน
พระธุดงค์ธรรมชัยปฏิบัติในช่วงออกเดินธุดงค์

ธุดงควัตรมี 13 ข้อ คือ

            1. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
            2. ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร
            3. ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร
            4. ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร
            5. ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร
            6. ถือการฉันในภาชนะเดียวคือฉันในบาตรเป็นวัตร
            7. ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
            8. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
            9. ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
            10. ถือการอยู่อัพโภกาสที่แจ้งเป็นวัตร
            11. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
            12. ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร
            13. ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร

    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ให้หลักปฏิบัติไว้ 13 ข้อด้วยกัน โดยให้เลือกปฏิบัติได้ โดยคณะพระธุดงค์ธรรมชัยก็ได้ชีแจงไปแล้วว่า คณะพระธุดงค์ธรรมชัยนี้ เลือกปฏิบัติตามธุดงควัตร 2 ข้อคือ หนึ่ง ฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร สอง การถืออยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดให้เป็นวัตร {ธุดงควัตร}

เดินธุดงค์ในเมืองผิดพระวินัย หรือผิดที่เข้าใจไม่ตรงกัน
การเดินธุดงค์ไม่ว่าในป่า หรือในเมือง ของพุทธบุตร ลูกพระสัมมาสัมพุทธเจ้า...
เป็นการเดินที่น่าสรรเสริญ น่ายกย่องทั้งปวง

 

ความเข้าใจที่ไม่ตรงกันของการเดินธุดงค์ธรรมชัย

     ด้วยความที่วัดพระธรรมกายได้จัดให้มีการเดินธุดงค์ของพระธรรมทายาท หลังบวชจบโครงการ หรือหลังออกพรรษา ก็จะมีธรรมเนียมให้พระออกเดินธุดงค์ แบกกลด สะพายย่ามไปโปรดญาติโยมตามทางและไปพัฒนาวัดร้าง และได้ใช้ชื่อเรียกว่า "ธุดงค์ธรรมชัย" มาโดยตลอด ต่อมาในปี พ.ศ.2554 เริ่มจัดให้มีการเดินธุดงค์เพื่อสถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์ หรือ เส้นทางแห่งการสร้างบุญบารมีของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ประกอบด้วย อนุสรณ์สถานทั้ง 6 แห่ง ดังนี้

แห่งที่ 1: อนุสรณ์สถานมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (โลตัสแลนด์) อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี : สถานที่เกิดด้วยรูปกายเนื้อ
แห่งที่ 2: วัดสองพี่น้อง พระอารามหลวง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี : สถานที่เกิดในเพศสมณะ
แห่งที่ 3: วัดโบสถ์บน ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี : สถานที่เกิดด้วยกายธรรม
แห่งที่ 4: วัดบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม : สถานที่เผยแผ่วิชชาธรรมกายครั้งแรก
แห่งที่ 5: วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร : สถานที่ค้นคว้าและเผยแผ่วิชชาธรรมกาย
แห่งที่ 6: วัดพระธรรมกาย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี : สถานที่ขยายวิชชาธรรมกาย

    จึงได้มีการเดินขบวนธรรมยาตราโดยใช้ชื่อเดียวกันว่า "ธุดงค์ธรรมชัย" เพราะเป็นคำที่ให้ความหมายถึง ชัยชนะแห่งธรรม จนเป็นสาเหตุให้หลายๆ คนเกิดความไม่เข้าใจ มุ่งตำหนิไปที่คำว่า "ธุดงค์" ว่า ไม่ถูกต้อง เพราะเข้าใจว่าธุดงค์คือ การเดินไปปฏิบัติธรรมในป่า ในที่วิเวกเท่านั้น ซึ่ง คำว่า "ธุดงค์ธรรมชัย" ก็ตรงกับความหมาย ทั้ง 2 กรณี คือ ความหมายในภาษาไทยที่คนทั่วไปเข้าใจ คือ การเดินไป จาริกไป และความหมายในทางพระพุทธศาสนาดั้งเดิม คือ ธุดงค์ธรรมชัย ปฏิบัติตามธุดงควัตรถึง 2 ข้อ จากทั้งหมด 13 ข้อที่มีบัญญัติไว้ให้เลือกปฏิบัติ

ประเด็นกล่าวขานต่อการเดินธุดงค์ธรรมชัย จากสังคมออนไลน์ โลกโซเชียลมีเดีย

     เป็นเรื่องธรรมดาที่จะพบเห็นการต่อต้านบนสังคมออนไลน์ เพราะในสมัยนี้นักเลงคีย์บอร์ดมีอยู่จำนวนมาก โดยธรรมชาติของคนมักไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นทางด้านดี หรือการชื่นชม โดยมากมักจะพบในแง่ลบเสียมากกว่า สำหรับธุดงค์ธรรมชัย กระแสตอบรับจากคนในหลายๆ ภาคส่วน ไม่ว่าจะในคนพื้นที่ หน่วยงานข้าราชการในท้องที่ คนที่มาร่วมงานจากต่างท้องถิ่น และต่างประเทศก็มีอยู่จำนวนมากเลยทีเดียว ดังนั้น ต่อกระแสต่อต้านนั้น เป็นสิ่งเล็กน้อย แต่ก็เป็นสิ่งที่คณะทำงานรับฟัง และจักได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม และทุกฝ่าย

 

ธุดงค์กับดอกไม้
ธุดงค์เป็นวัตรแต่ไม่เป็นศีล
ข้อแนะนำในการโปรยกลีบดอกดาวรวยอย่างถูกหลักวิชชา

ไปโปรยกลีบดอกไม้ต้อนรับพระธุดงค์แล้วได้อะไร ?
ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน เป็นผู้ประเสริฐ
มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
พระธุดงค์มาโปรดแล้ว
ปลื้มไปกับธุดงค์ธรรมชัยปีที่ 3 เผยแผ่ธรรมเชิงรุก ตามแนวทางพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
การเดินธุดงค์ของพระมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
การเดินธุดงค์ธรรมยาตรา ทำไม? ต้องเดินธุดงค์ธรรมยาตราในเมือง
ธุดงค์ธรรมชัย... จาริกไปเพื่อประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน
ธุดงค์ธรรมชัย รื้อฟื้นพุทธประเพณี...สู่ความรุ่งเรืองเช่นย้อนยุคพุทธกาล
ธุดงค์ธรรมชัย จาริกไปตามพุทธโอวาท

ธุดงค์ธรรมยาตรา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ได้ผลดียิ่งตั้งแต่ครั้งพุทธกาล
ธุดงค์ธรรมชัย ... พุทธประเพณีคู่พุทธมหานคร
ธุดงค์ธรรมชัย... ฝึกตน ทนหิว บำเพ็ญตบะ เป็นพระแท้
ธุดงค์ธรรมชัย ... เปิดใจให้กว้าง เพื่องานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ธุดงค์ธรรมชัย ... การเห็นสมณะเป็นมงคลอย่างยิ่ง
ธุดงค์ธรรมชัย... เพื่องานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ธุดงค์ธรรมชัยทำให้รถติด หรือทำให้คนติดในรสพระธรรม
เดินธุดงค์ในเมืองผิดพระวินัย หรือผิดที่เข้าใจไม่ตรงกัน

พระพุทธศาสนากับเยาวชนไทย
กลอนธุดงค์ธรรมชัย รวมบทกลอนเกี่ยวกับการเดินธุดงค์ธรรมชัย
พระธุดงค์ ภาพพระเดินธุดงค์
ทุ่งดาวเรือง เหลืองอร่าม จ.เลย

ไขข้อข้องใจธุดงค์ธรรมชัย


ชี้ "ธุดงค์ธรรมชัย"ถูกต้องตามหลักทางพระพุทธศาสนา
หน่วยงานราชการ ภาครัฐ เอกชน ให้ก้ารสนับสนุนธุดงค์ธรรมชัย
ป.ธ.9 ราชบัณฑิตแจง ธุดงค์ธรรมชัยกลางกรุงไม่ผิดพระธรรมวินัย
ถาม-ตอบ ธุดงค์ธรรมชัย
ถาม- ตอบ มหาธรรมยาตราธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางพระผู้ปราบมาร

รวมสื่อลงข่าวธุดงค์ธรรมชัย

รวมสื่อลงข่าวธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 1 (2-25 มกราคม พ.ศ. 2555)
รวมสื่อลงข่าวธุดงค์ธรรมชัย ปี 2555 (อัญเชิญหลวงปู่ทองคำ 2-6 เมษายน พ.ศ.2555)
รวมสื่อไทย ลงข่าวธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 2  (2-27 มกราคม พ.ศ. 2556)
รวมสื่อต่างประเทศ ลงข่าวธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 2  (2-27 มกราคม พ.ศ. 2556)
รวมสื่อลงข่าวธุดงค์ธรรมชัย ปี 2557

รวมสื่อลงข่าวธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 4 (2-31 มกราคม พ.ศ. 2558)
 
 

ผลตอบรับธุดงค์ธรรมชัย

ชาวกรุงปลื้ม ขานรับธุดงค์ธรรมชัย
ชาวกรุงปลื้มธุดงค์ธรรมชัย
ความรู้สึกของผู้มาร่วมโปรยดาวรวย
ปลื้มธุดงค์ธรรมชัยปีที่ 2
ความประทับใจที่มีต่อธุดงค์ธรรมชัยปีที่ 3
ความปลื้มธุดงค์ธรรมชัยปีที่ 4

ธุดงค์ธรรมชัยปีที่ผ่านมา

ธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 1 วันที่ 2-25 มกราคม พ.ศ. 2555
ธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 2 วันที่ 2-27 มกราคม พ.ศ. 2556
ธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 3 วันที่ 2-28 มกราคม พ.ศ. 2557
ธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 4 วันที่ 2-31 มกราคม พ.ศ. 2558

รวมเพลงธุดงค์ธรรมชัย

รวมเพลงธุดงค์ธรรมชัย

รวมวิดีโอทบทวนบุญถวายภัตตาหารเช้า

 

รวมเพลงธุดงค์ธรรมชัย

 
บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages/scoop/ธุดงค์ผ่านเมืองผิดตรงไหน.html
เมื่อ 3 กรกฎาคม 2567 17:16
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv